วันที่ 18 พฤษภาคม 2024

“อลงกรณ์”ยืนยันรัฐบาลห่วงใยชาวประมงเร่งรัดแก้ไขปัญหาประมงคืบหน้า

People Unity News : “อลงกรณ์”ยืนยันรัฐบาลห่วงใยชาวประมงเร่งรัดแก้ไขปัญหาประมงคืบหน้า ทั้งเรื่องสินเชื่อประมงและการซื้อเรือออกนอกระบบใช้งบเกือบ 2 หมื่นล้าน รวมทั้งการแก้ไขกฎหมายล้าหลังไม่เป็นธรรม

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2562นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนวันนี้ (3 ต.ค. 2562) เกี่ยวกับกรณีนายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยระบุว่ารัฐบาลไม่มีมาตรการในการช่วยเหลือและไม่ได้รับการเหลียวแลและมีการดำเนินการที่ล่าช้ามากว่า นายกสมาคมการประมงได้ร่วมประชุมกับทุกสมาคมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอด 3 เดือนถึง 8 ครั้ง และมีการประชุมย่อยอื่นๆ กว่า 10 ครั้ง ย่อมทราบถึงความใส่ใจของรัฐบาลที่มีต่อชาวประมงและความก้าวหน้าในแต่ละข้อเรียกร้องซึ่งมีถึง 34 เรื่อง จึงไม่เข้าใจว่าทำไมถึงออกมาพูดราวกับว่ารัฐบาลไม่เหลียวแลจึงต้องชี้แจงว่าปัญหาประมงที่สะสมหมักหมมมานานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการร่วมกับสมาคมประมงทุกสมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดการแก้ปัญหาและฟื้นฟูศักยภาพประมงเช่นโครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูศักยภาพทั้งประมงพื้นบ้านประมงพาณิชย์และประมงนอกน่านน้ำ1หมื่นล้านโดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยกว่า2พันล้านและโครงการซื้อเรือที่ประสงค์จะนำออกนอกระบบกว่า2พันลำวงเงิน7พันล้านเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรที่ยังยืนเป็นวงเงินรวมกันกว่า 17,000 ล้านซึ่งรัฐมนตรีเกษตรฯ ได้ลงนามไปตั้งแต่เดือนที่แล้วขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงบประมาณเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไปโดยเฉพาะโครงการสินเชื่อจากธกส.นั้นถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ธกส.จะให้สินเชื่ออาชีพประมงและไม่เคยมีรัฐบาลใดเคยดำเนินการมาก่อน

สำหรับข้อเรียกร้องเรื่องการแก้ไขกฎระเบียบและกฎหมายประมงนั้นกระทรวงเกษตรฯได้ตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานทั้งยกร่างกฎหมายใหม่เช่นพรบ.กองทุนประมงและพรบ.สภาการประมงแห่งชาติให้แล้วเสร็จใน 90 วัน รวมทั้งแก้ไขกฎระเบียบรวมทั้งกฎหมายที่มีบทบัญญัติโทษรุนแรงเกินมาตรฐานสากลและกฎไอยูยู (IUU) ซึ่งหลายฉบับอยู่ในขั้นตอนกฎษฎีกาและเตรียมเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ส่วนการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานตามมาตรา 83 ของ พรก.ประมงนั้น กรมประมงได้ส่งเรื่องให้กระทรวงแรงงานแล้วเพื่อนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าว เพื่อดำเนินการจัดหาแรงงานประมงต่อไป

“หลังจากประชุมร่วมกับทุกสมาคมประมง 6 ครั้งใน 6 สัปดาห์แรก จนมีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อนรัฐมนตรีเกษตรฯ ได้
แต่งตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยและคณะอนุกรรมการ 4 คณะ ได้แก่

1.คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพื้นบ้าน
2.คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพาณิชย์ และการประมงนอกน่านน้าไทย
3คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้า
4.คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมง

ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาการประมงของไทยแบบยั่งยืนโดยมีการประชุมทันทีหลังมีการแต่งตั้งอย่างน้อย 2 ครั้งในเดือนตุลาคมรวมทั้งสร้างโอกาสให้กับชาวประมงและผู้ประกอบการประมงด้วยการขยายความร่วมมือไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนกลุ่มประเทศแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียรวมทั้งองค์การสากลเช่นยูเอ็นและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)” นายอลงกรณ์กล่าว

ด้านปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำอันเป็นผลเนื่องมาจากการนำเข้าสัตว์น้ำ จากต่างประเทศนั้นทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งรัดการบังคับใช้กฎหมายและมีมาตรการในการควบคุมการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานการแก้ไขการทำการประมงผิดกฎหมายรวมถึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างเข้มข้นและจับกุมไปแล้วหลายกรณีเพื่อป้องกันการทะลักเข้ามาของสินค้าสัตว์น้ำที่ผิดสุขอนามัยสัตว์น้ำและได้จากการทำการประมงผิดกฎหมาย

“บิ๊กตู่”หารือทวิภาคี”มหาธีร์”ยันแก้ปัญหาชายแดนใต้โดยสันติวิธี

People Unity News : “บิ๊กตู่”หารือทวิภาคี”มหาธีร์” ยันไทยและมาเลเซียให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้โดยสันติวิธี

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 เวลา 16.20 น. ณ ห้องแซฟไฟร์ 108 อาคารอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือทวิภาคีกับตุน ดร. มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ภายหลังเสร็จสิ้น ศาตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรียินดีกับความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ใกล้ชิดในทุกมิติ และจากการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มีผลการหารือที่นำไปสู่ความร่วมมือที่เกิดผลเป็นรูปธรรมหลายประการ พร้อมขอบคุณมาเลเซียที่สนับสนุนการเป็นประธานอาเซียนของไทย

นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวยินดีกับความสำเร็จการเป็นประธานอาเซียนของไทย ทั้งนี้ ไทยและมาเลเซียในฐานะสมาชิกอาเซียนต่างมีพัฒนาการความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง และร่วมสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยอาเซียนเป็นการรวมกลุ่มระดับภูมิภาคที่มีพัฒนาการและการเติบโตไปด้วยกัน

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณรัฐบาลมาเลเซียที่ได้เชิญหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้ไปพบปะหารือ และสนับสนุนความพยายามของไทยในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้โดยสันติวิธี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้กล่าวย้ำถึงการสนับสนุนการแก้ปัญหาของไทยและเห็นพ้องว่าแบ่งแยกดินแดนจะต้องไม่เกิดขึ้นหรือแบ่งแยกได้

ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องเร่งเสริมสร้างความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานชายแดน พร้อมผลักดันการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขนส่งสินค้าทางถนนข้าม พรมแดนได้ในเร็ววัน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าอย่างไร้รอยต่อระหว่าง กรุงเทพฯ ถึงท่าเรือปีนัง ยะโฮร์บารู และต่อไปยังสิงคโปร์ รวมทั้ง ถนนเชื่อมด่านฯที่จะเร่งดำเนินการเพื่อก่อสร้างถนนได้ในโอกาสอันใกล้ หากทั้งสองฝ่ายเร่งหาข้อสรุปโดยนายกรัฐมนตรีหวังว่า มาเลเซียจะสนับสนุนการนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในภาคใต้ของไทย และเป็นปัจจัยสนับสนุนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ของไทยในมิติด้านเศรษฐกิจอีกด้วย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องในการร่วมมือแก้ปัญหาการลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายตามแนวชายแดน และปัญหาการจัดเก็บภาษี เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ

“บิ๊กตู่”กระตุ้นผู้นำอาเซียน สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ รับมือพลวัตเศรษฐกิจ

People Unity News : “บิ๊กตู่”เปิดประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 อย่างเป็นทางการ ย้ำแนวคิด “ร่วมมือร่วมใจ ก้าวไกลยั่งยืน” แนะต้องสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ สำหรับการเติบโตเศรษฐกิจ

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2562 เวลา09.15น. ห้อง Grand Diamond Ballroom ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานและกล่าวถ้อยแถลงในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 โดยมีผู้นำจากประเทศสมาชิกอาเซียน เลขาธิการอาเซียน เลขาธิการสหประชาชาติ กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ เข้าร่วม ภายหลังเสร็จสิ้น ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แนวคิดหลัก “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) โดยเป็นการประชุมในระดับผู้นำครั้งสุดท้ายของปี ภายใต้การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย โดยนอกจากผู้นำอาเซียนแล้ว ยังมีผู้นำประเทศคู่เจรจาของอาเซียนที่จะเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องได้แก่ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี และรัสเซีย รวมทั้งเลขาธิการสหประชาชาติ ที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 10 นอกจากนี้ ยังมีผู้นำจากภาคีภายนอก และองค์การระหว่างประเทศที่ได้รับเชิญเป็นแขกของประธาน (Guest of the Chair) เข้าร่วมด้วย ได้แก่ กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF)

นายกรัฐมนตรียินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงเทพฯ และนนทบุรี ซึ่งเกิดจากความเป็นหุ้นส่วนและมิตรภาพกับประชาคมโลก อันจะช่วยยกระดับภูมิภาคอาเซียนให้ก้าวไปข้างหน้า

เมื่อพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเนื้อร้องเพลงดิอาเซียนเวย์ “We dare to dream, we care to share” เพื่อเป็นการทบทวนความกล้าฝันจากรุ่นสู่รุ่น และหารือแนวทางร่วมกันในการสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และมองไปสู่อนาคต ภายใต้แนวคิดหลัก “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ด้วยความร่วมมือครั้งนั้นนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมหลายประการ อาทิ การรับรองวิสัยทัศน์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน และเอกสารมุมมองของอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก

เพื่อสานต่อผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 นายกรัฐมนตรีขอกล่าวเนื้อร้องอีกท่อนหนึ่ง คือ “ASEAN we are bonded as one. Looking out to the world.” “อาเซียนเราผูกพันกันเป็นหนึ่ง มองออกไปสู่โลก” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของอาเซียน ที่ไม่เพียงความร่วมมือร่วมใจเฉพาะในภูมิภาค แต่ยังให้ความสำคัญกับหุ้นส่วนนอกภูมิภาค ซึ่งถือเป็น “กัลยาณมิตร” ที่ช่วยสนับสนุนให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายที่วาดฝันไว้ และขยายผลสู่นอกภูมิภาคอาเซียน

ในปัจจุบัน ภูมิภาคอาเซียนและโลกต่างเผชิญกับความท้าทายและความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น อาทิ เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งในปีนี้มีแนวโน้มจะขยายตัวต่ำที่สุดในรอบสิบปีจากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) การแข่งขันทางภูมิยุทธศาสตร์ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของความขัดแย้งทางการค้าและปัญหาอื่น ๆ ระหว่างบางประเทศ ความท้าทายต่อระบบพหุภาคีนิยม ปัญหาอาชญกรรมข้ามชาติ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และขยะทะเล ดังนั้น ความเป็นหุ้นส่วนและมิตรภาพ อันแน่นแฟ้นจึงมีความสำคัญที่จะทำให้ภูมิภาคอาเซียนครอบคลุมพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดียพร้อมรับมือ และก้าวผ่านความท้าท้ายเหล่านี้ไปได้

ในช่วงการประชุมระหว่างวันที่ 3 – 4 พฤศจิกายน 2562 นี้ ถือว่าเป็นวาระสำคัญที่จะสะท้อนถึงความเป็นหุ้นส่วนและมิตรภาพระหว่างภูมิภาคอาเซียนกับประชาคมโลก เพื่อร่วมมือร่วมใจ สานต่อผลลัพธ์จากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 และวางแนวทางร่วมกันในการใช้ประโยชน์จากความเป็นแกนกลางและจุดเด่นของภูมิภาคอาเซียนที่เป็นมิตรกับทุกประเทศ และไม่เป็นศัตรูกับใคร เพื่อรับมือและแก้ไขปัญหาระดับภูมิภาคและระดับโลก และสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ โดยดำเนินการในสองแนวทาง คือ การสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับสันติภาพและเสถียรภาพในระยะยาว ไปพร้อมกับการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีพลวัตและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทั้งสองมิตินี้ถือว่าเป็น “สองด้านของเหรียญเดียวกัน” ที่จะนำมาซึ่งภูมิภาคที่ยั่งยืน

ประการที่หนึ่ง การสร้างภูมิภาคที่มีเสถียรภาพ ต้องมุ่งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในระดับยุทธศาสตร์บนพื้นฐานของหลักการ 3M คือ การเคารพซึ่งกันและกัน การไว้เนื้อเชื่อใจ และการมีผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อลดการเผชิญหน้าระหว่างกัน นอกจากนี้ ต้องมุ่งวางรากฐานด้านกฎกติกา ด้วยการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือสำคัญที่ภูมิภาคอาเซียนมี ทั้งการนำหลักการสำคัญของสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) นำมาใช้ในบริบทที่กว้างมากกว่าภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่เราได้ต้อนรับอัครภาคีของสนธิสัญญาฯ เพิ่มเติม สะท้อนให้เห็นถึงการที่ประเทศต่าง ๆ ยอมรับในหลักการพื้นฐานและกฎกติกาของการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค รวมไปถึงการมีกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน การมีโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาคที่เข้มแข็งและมีภูมิภาคอาเซียนเป็นแกนกลาง อาทิ การประชุมสุดยอดอาเซียนตะวันออก อาเซียนบวกสาม เออาร์เอฟ และความร่วมมืออาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ ตลอดจนความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการจัดทำประมวลการปฏิบัติ (COC) ในทะเลจีนใต้ระหว่างภูมิภาคอาเซียนกับจีน และการฝึกผสมทางทะเลระหว่างภูมิภาคอาเซียนกับสหรัฐ เป็นต้น

ประการที่สอง คือ การสร้างภูมิภาคที่มั่งคั่งและยั่งยืน ผ่านการผลักดันการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ดำเนินการให้เสร็จในปีนี้ เพื่อช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน รวมทั้งส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกไปพร้อมกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค ทั้งกรอบความร่วมมือ ACMECS และเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (GBA) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคในอนาคต นอกจากนี้ ยังต้องมุ่งส่งเสริมความเชื่อมโยงที่ไร้รอยต่อในภูมิภาคอาเซียนด้วยการสร้างความเกื้อกูลระหว่างยุทธศาสตร์ ความเชื่อมโยงต่าง ๆ ทั้งภายในอาเซียนและนอกภูมิภาค ตั้งแต่การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ระหว่างประชาชน ทางการเงิน และด้านดิจิทัล รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุค 4IR เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ MSMEs เกษตรกร กลุ่มธุรกิจสตาร์ท-อัพ รวมถึงผู้ประกอบการท้องถิ่น ให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุน และปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมของอาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ภูมิภาคอาเซียนจำเป็นต้องมี “กระบวนทัศน์” ใหม่สาหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีพลวัต มีความยั่งยืน และครอบคลุมทุกภาคส่วน ไม่ทิ้งใครข้างหลัง โดยต้องให้ความสำคัญกับ การพัฒนาทุนมนุษย์ และการรักษาสภาพแวดล้อมควบคู่ไปพร้อมกัน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาขยะทะเล ด้วยการดำเนินการตามกรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเล ปัญหามลพิษทางอากาศ ด้วยการปฏิบัติตามข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน และปัญหาประมง IUU ด้วยการพัฒนาเครือข่ายอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหาการประมง IUU ซึ่งทั้งหมดต้องพึ่งพาความร่วมมือกับหุ้นส่วนอาเซียนและมิตรประเทศ

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าความมั่นคงที่ยั่งยืนและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ดังนั้น การสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างประชาชน ผ่านการส่งเสริมอัตลักษณ์ของภูมิภาคอาเซียนและสายใยทางวัฒนธรรมระหว่างกัน จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับภาคีภายนอก

ตลอดปี 2562 ที่ผ่านมา ด้วยความร่วมมือร่วมใจของประเทศสมาชิกอาเซียนและประชาชนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราบรรลุเป้าหมายและร่วมสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมหลายประการ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ศูนย์อาเซียนทั้ง 7 แห่งในประเทศไทย โดยนายกรัฐมนตรียินดีที่จะได้ร่วมเปิดตัว 3 ศูนย์สุดท้าย จากทั้งหมด 7 ศูนย์ ให้เป็นมรดกของการลงทุนจากความร่วมมือร่วมใจเพื่อประโยชน์ต่อทุกคนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อลูกหลานของพวกเรา และเพื่ออนาคตของภูมิภาค

นายกรัฐมนตรีขอเชิญชวนทุกคน ร่วมมือ ร่วมใจ และจับมือกับหุ้นส่วนให้แน่นขึ้น เพื่อร่วมกันสานต่อเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งอาเซียนที่จะสร้างภูมิภาคที่มีสันติภาพ มีเสถียรภาพ และมีความไพบูลย์ เพื่อวางรากฐานประชาคมอาเซียนที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนให้แก่คนรุ่นนี้และคนรุ่นหน้า โดยให้ประชาคมอาเซียนของพวกเราที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และมองไปสู่อนาคต สามารถเป็นพลังสำคัญ ในการบรรลุความฝันนี้ โดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภูมิภาคและประชาคมโลก เพื่อประโยชน์ต่อไป

“จุรินทร์”เปิดถกสุดยอดนักธุรกิจ-ลงทุนอาเซียน แนะร่วมมือรับมือ”AI-4IR”

People Unity News : “จุรินทร์”เปิดงานประชุมสุดยอดด้านธุรกิจและการลงทุนของอาเซียน มุ่งนำเศรษฐกิจอาเซียนรับมือยุคดิจิทัลและการปฎิวัตอุตสาหกรรม

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2562 เวลา 8.40 น. ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี (Hall 6) ก่อนการเปิดการประชุม Asean Summit อย่างเป็นทางการวันนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน ASEAN Businesses and Investment Summit 2019 ของภาคเอกชนที่เข้าร่วมงานด้วย

นายจุรินทร์ กล่าวถึงภายใต้แนวคิด “Empowering ASEAN 4.0” ซึ่งภาคเอกชนโดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนได้จัดขึ้นในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศสมาชิก เพื่อรับมือกับโอกาสและความท้าทายในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือที่เรียกว่า 4IR (The Fourth Industrial Revolution) ที่มีเศรษฐกิจดิจิตอลเป็นแรงผลักดันสำคัญ ตนขอแสดงความชื่นชมต่อภาคเอกชนที่ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาประชาคมอาเซียนไปสู่ยุค 4.0 หรือยุคดิจิทัล ซึ่งนับว่าเป็นวาระที่สำคัญและเหมาะสมกับช่วงเวลานี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันคงไม่สามารถรปฏิเสธได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็วที่ส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้ในทุกที่และทุกเวลาและทำให้การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้อย่างไร้ขีดจำกัดตลอดจน AI และหุ่นยนต์ก้าวเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้กล่าวถึงข้างต้นยังส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการค้า การบริการ การบริโภค และการผลิต ซึ่งก่อให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ แต่ในทางกลับกันเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ก็ส่งผลให้ธุรกิจแบบดั้งเดิมที่ปรับตัวไม่ทันต้องทยอยปิดตัวลงในทุกภูมิภาคของโลก

“หากมองย้อนมาในภูมิภาคเออาเซียนเศรษฐกิจดิจิทัลมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2018 มีมูลค่าสูงถึง 7.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่มีมูลค่าราว 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต คือ การขยายตัวของชนชั้นกลาง การเพิ่มขึ้นของประชากรที่ใช้อินเตอร์เน็ต รวมทั้งการปรับตัวของ SME ในภูมิภาคที่หันมาใช้ดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆเช่นสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีน มีสัดส่วนถึงร้อยละ 35 27 และ 16 ของ GDP ตามลำดับแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจดิจิทัล ในอาเซียนยังมีโอกาสเจริญเติบโตอีกมาก โดยการศึกษาจากสามบริษัทชั้นนำของโลกอย่าง Google , Temasek Holding และ Ben & Co พบว่าในอีก 6 ปีข้างหน้า หรือในปี 2025 เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน จะถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าตัวโดยมีมูลค่าสูงถึง 2.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ” นายจุรินทร์ กล่าว

นายจุรินทร์ กล่าว่า อาเซียนตระหนักถึงบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะนำมาซึ่งโอกาสทางเศรษฐกิจต่อประเทศสมาชิก จึงได้มีการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ไปสู่เศรษฐกิจที่เช่าของอาเซียน เช่น 1. การจัดทำข้อตกลงด้าน E-Commerce เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน 2.การจัดทำกรอบบูรณาการด้านดิจิตอลของอาเซี่ยน เพื่อเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้า การคุ้มครองข้อมูลการพัฒนาระบบชำระเงินการพนาทักษะของบุคลากรและการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาธุรกิจ 3.การจัดทำแนวทางพัฒนาแรงงานมีทักษะและผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อการรับมือกับ 4IR ซึ่งภาคเอกชนโดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนได้มีบทบาทในการผลักดันการทำแนวทางดังกล่าวเพื่อเตรียมความพร้อมแรงงานรองรับอาชีพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตผ่าน Reskilling และ Upskilling

นายจุรินทร์ กล่าวย้ำว่า ความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้ A-BIS จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่ออนาคตของอาเซียนผมเชื่อมั่นว่าภายใต้ความร่วมมือนี้จะทำให้เกิดความเข้มแข็งระหว่างรัฐกับเอกชนจะทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์และพร้อมรองรับความท้าทายจากการเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างเข้มแข็งและยังยืนต่อไป

จากนั้นรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เข้าร่วมพิธีเปิดสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่35 ต่อไปโดยเป็นภารกิจร่วมกับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

“ฟีฟ่า”มอบเสื้อนักฟุตบอลสีน้ำเงินผู้นำอาเซียน เป็นสักขีพยานเซ็นเอ็มโอยูหนุนแข่งจัดบอลโลกปี2034

People Unity News : ฮือฮา! “บิ๊กตู่”นำผู้นำอาเซียนเป็นสักขีพยาน “ฟีฟ่า”เซ็นเอ็มโอยู หนุน”อาเซียน” เสนอตัวจัดแข่งบอลโลกปี 2034 ขณะที่ “ประธาน ฟีฟ่า” ได้มอบเสื้อนักฟุตบอลสีน้ำเงินให้ผู้นำทั้ง 10 ประเทศ

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน เวลา 17.00 น.ที่ห้อง Sapphire 205 – 206 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่า การกระทรวงกลาโหม และผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้าร่วม การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 แบบเต็มคณะ

ต่อมาเวลา 19.00 น.ภายหลังเสร็จการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 แบบเต็มคณะ บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา มาเลเซีย ลาว บรูไน ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย ได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ว่าด้วยความร่วมมือทางด้านกีฬาฟุตบอลระหว่างอาเซียนกับสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) โดยนายจันนี อินฟันตีโน ประธานฟีฟ่า และดาโต๊ะ ปาดูกา ลิม จ๊อก ฮอย เลขาธิการอาเซียน เป็นผู้ลงนาม เพื่อส่งเสริมกีฬาฟุตบอลในภูมิภาคอาเซียน และสนับสนุนความปรารถนาร่วมกันของประชาคมอาเซียนที่จะเสนอตัวร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2034 (พ.ศ.2577)

พร้อมกันนี้ประธาน ฟีฟ่าได้มอบเสื้อนักฟุตบอลสีน้ำเงินให้ผู้นำทั้ง 10 ประเทศ เพื่อเป็นที่ระลึก โดยด้านหลังเสื้อดังกล่าวสกรีนชื่อผู้นำของแต่ละคน และหมายเลข โดยผู้นำ 7 คนที่รวมถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้เสื้อหมายเลข 9 ขณะที่มี 2 คน คือสมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ แห่งบรูไนดารุสซาลาม และนายโรดิโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ได้หมายเลข 10 ส่วนนายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้หมายเลข 21

ทั้งนี้ที่ประชุมเจ้าหน้าที่กีฬาอาวุโส (Senior Officials Meeting on Sports: SOMS )ครั้งที่ 8 ณ กรุงเนปยีดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในเดือนตุลาคม 2561 ได้รับแจ้งจากนาย Fank Grothanus ผู้แทนสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือ FIFA ว่า FIFA สนใจที่จะจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับอาเซียน เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านกีฬาฟุตบอลในอาเซียนเพื่อไปสู่ระดับมาตรฐานสากล

โดยนาง Fatima Samoura เลขาธิการ FIFA ได้มีหนังสือถึงเลขาธิการอาเซียน ลงวันที่ 25 มกราคม 2562 เสนอให้มีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ FIFA โดยการจัดทำ MoU ซึ่งไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความร่วมมือในอนาคต โดยสำนักเลขาธิการอาเซียน ได้หารือในเบื้องต้นกับ FIFA เพื่อกำหนดสาขาความร่วมมือที่จะระบุใน MoU ซึ่งสอดคล้องกับแผนการดำเนินการด้านกีฬาอาเซียนค.ศ. 2016 ถึง 2020 และ FIFA 2.0: The Vision for the Future and UNESCO’s Kazan Action Plan ด้วยต่อมานาย Kung Phoak รองเลขาธิการอาเซียนด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนได้มีหนังสือถึง SOMS ลงวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2019 เพื่อสอบถามข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำ MoU กับ FIFA ได้ ซึ่ง SOMSไม่มีขัดข้องใดๆ

รองเลขาธิการอาเซียนด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมีหนังสือถึงเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประเทศสมาชิกอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ลงวันที่ 9 กันยายน 2562 นำส่งร่าง MoU ระหว่างอาเซียนกับ FIFA ซึ่งทาง SOMS ให้ความเห็นชอบโดยวิธี ad-referendum แล้วเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 เพื่อขอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาและดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายภายในและมอบหมายให้เลขาธิการอาเซียนลงนามใน MoU ร่วมกับประธาน FIFA โดยคาดหวังว่าจะสามารถลงนามได้ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียนครั้งที่ 5 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในเดือนตุลาคม 2562 หรือในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 ณ กรุงเทพมหานคร ในเดือนพฤศจิกายน 2562

โดยร่าง MoU ดังกล่าวกำหนดสาขาความร่วมมือ 4 ด้านได้แก่ 1) Sports Integrity 2) Sports for Development 3) FIFA’s Football for Schools Programme และ 4) Professional Capacity Building โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กีฬาฟุตบอลเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและวิถีสุขภาพที่ดีและสนับสนุนให้ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ที่ประชุม ครม.ของไทย มีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอคือเห็นชอบร่าง MoU และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับรองร่าง MoU ดังกล่าวร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน

ในช่วงการประชุม AMMS ครั้งที่ 5 และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 7 ถึง 9 ตุลาคม 2562 ณ กรุงมะนิลา รายงานความคืบหน้าให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการภายในของประเทศสมาชิกอาเซียนว่ามี 3 ประเทศที่ให้การรับรองเอ็มโออยู่แล้วได้แก่ อินโดนิเซีย สปป.ลาว และประเทศไทย และขอให้ประเทศสมาชิกที่เหลือเร่งรัดการดำเนินกระบวนการภายในโดยคาดหวังว่าเลขาธิการอาเซียนจะสามารถลงนาม MoU ร่วมกับประธาน FIFA ได้ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35

เลขาฯยูเอ็นขอ”บิ๊กตู่”ดันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม-ลดขยะทะเล

People Unity News : “บิ๊กตู่”ยันไทยและอาเซียนร่วมมือยูเอ็นเดินหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืน นำการประชุมผู้นำอาเซียนเน้นเป้าหมายประชาชนเป็นศูนย์กลาง ขณะที่เลขาฯยูเอ็นขอไทยช่วยผลักดันการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม-ลดขยะในทะเล

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 ที่ห้อง Sappire 108 ชั้น 1 อาคารอิมแพค ฟอรั่ม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้พบหารือกับ นายอันโตนิอู กุแตเรช เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง โดย นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกฯ ยินดีที่ได้พบกับเลขาธิการสหประชาชาติอีกครั้ง ภายหลังจากที่พบเมื่อเดือนกันยายนในช่วงการประชุม UNGA 74 ขอบคุณที่เดินทางมาร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน – สหประชาชาติ ครั้งที่ 10 นี้

พล.อ. ประยุทธ์ ยืนยันว่า ไทยให้ความสำคัญกับการสร้างหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และระหว่างอาเซียนกับกลุ่มภูมิภาคต่างๆ ซึ่งอาเซียนพร้อมร่วมมือกับสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกลุ่มต่างๆ เกี่ยวกับแนวทาง องค์ความรู้ และประสบการณ์ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย SDGs ไปด้วยกัน ทั้งนี้ ไทยยินดีเพิ่มบทบาท และมีส่วนร่วมในกรอบสหประชาชาติมากขึ้น ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นท้าทายที่สืบเนื่องจากการประชุม UNGA 74

ด้าน เลขาธิการสหประชาชาติ ชื่นชมไทยและนายกฯ ที่มีบทบาทในเวทีระหว่างอย่างกระตือรือร้น ทั้งการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการแสดงวิสัยทัศน์ในประเด็นท้าทายต่างๆ ในโลก ชื่นชมบทบาทของไทยที่โดดเด่นในเรื่องการดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs และยืนยันว่าองค์การสหประชาชาติให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยขอให้ไทยช่วยเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันเพื่อแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก การใช้พลังงานหมุนเวียน ตลอดจน ชื่นชมความริเริ่มของไทยในการประชุมเกี่ยวกับการลดขยะในทะเล

ทั้งสองฝ่ายเชื่อมั่นในความร่วมมือร่วมกันทั้งระหว่างไทยกับสหประชาชาติ และระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติ โดยเชื่อมั่นว่าความเข้าใจในระดับพหุภาคีเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในโอกาสนี้ นายกฯ ย้ำนโยบายของไทยที่สอดคล้องกับแนวทางความร่วมมือกับสหประชาชาติ อาทิ การแก้ไขปัญหาการประมง IUU การต่อต้านการค้ามนุษย์ การป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ และสิทธิมนุษยชน โดยในโอกาสนี้ นายกฯ ยินดีสนับสนุน ESCAP และทีมงานสหประชาชาติ ในการจัดงานครบรอบ 75 ปี ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในตอนท้าย เลขาธิการสหประชาชาติ อวยพรให้นายกฯ และประเทศไทย ประสบความสำเร็จในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งนี้

นำการประชุมผู้นำอาเซียนเน้นเป้าหมายประชาชนเป็นศูนย์กลาง

ต่อมาเวลา 17:00 น. ณ ห้อง Sapphire 205 – 206 พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธานการประชุมการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 แบบเต็มคณะ(Plenary) โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมด้วย พร้อมกับผู้นำประเทศอาเซียนทั้งหมด

ช่วงเปิดการประชุม พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า ยินดีที่ได้พบทุกท่านอีกครั้งที่ประเทศไทย และประสงค์จะใช้โอกาสนี้แลกเปลี่ยนมุมมองและวิสัยทัศน์ และติดตามการดำเนินการเพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมาย และทิศทางของอาเซียนต่อไป โดยภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาตนได้นำผลการประชุมดังกล่าวไปหารือกับผู้นำ G 20 ที่นครโอซากา และได้นำเสนอประเด็นความร่วมมือที่สำคัญ 4 ประการ ระหว่างอาเซียนกับประเทศสมาชิก G 20 เพื่อต่อยอดให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมคือ 1 การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 2 การเข้าถึงแหล่งทุน 3 การพัฒนาทุนมนุษย์ และ 4 การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งรวมถึงการแก้ปัญหาขยะทะเล

นอกจากนี้ยังได้นำประเด็นความร่วมมือที่ส่งเสริมความยั่งยืนในมิติต่างๆไปหารือต่อในช่วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่นครนิวยอร์กเมื่อเดือนกันยายน รวมทั้งได้ส่งเสริม “เสียงของอาเซียน”ในเวทีสหประชาชาติโดยได้กล่าวถ้อยแถลงในนามของอาเซียนในการประชุมไคลเมท แอ๊กชั่น ซัมมิท (Climate Action Summit) และ เอส ดี จี ซัมมิท ( SDG Summit )ซึ่งสะท้อนความมุ่งมั่นของอาเซียนในการร่วมมือ กับประชาคมโลก เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติ

การดำเนินการทั้งหมดนี้ก็เพื่อ สนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียน ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และมองไปสู่อนาคตทั้งนี้โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับมิตรประเทศและภาคส่วนต่างๆ เพื่อการบรรลุเป้าประสงค์ข้างต้น เนื่องจากอาเซียนไม่สามารถทำเรื่องนี้ได้สำเร็จโดยลำพัง ตนเชื่อว่าความเป็นหุ้นส่วนและการเป็นมิตรกับประเทศต่างๆ นอกภูมิภาคจะช่วยประชาคมอาเซียนของเราขับเคลื่อนแนวคิดหลักของอาเซียนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน ต่อไปในโอกาสนี้ โดยตอนหนึ่งนายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวถึงท่านนายกรัฐมนตรีแคนาดาได้ฝากความปรารถนาดีมายังผู้นำอาเซียนทุกท่าน และขอให้การประชุมสุดยอดในครั้งนี้ประสบความสำเร็จสมตามเจตนารมย์

จากนั้นนายกรัฐมนตรีประเทศไทยได้นำการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 โดยคาดว่าจะใช้เวลาพอสมควรขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ในเวทีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่นายจุรินทร์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานสิ่นสุดเมื้อวานนี้นั้นได้ทำหน้าที่สรุปเนื้อหาและข้อบทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหุ้นส่วนเศรษฐกิจและการค้าโดยเฉพาะเป็นการเจรจาเงื่อนไขระหว่างกันซึ่งก็ได้ว่ามีการรายงานให้พลเอกประยุทธ์ได้รับทราบเพื่อได้มีข้อสรุปในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งนี้ด้วย

“ธนาธร”ลั่นต้องทะเยอทะยาน! แก้รธน.60 เพื่อคนรุ่นต่อไป

People Unity News : “ธนาธร” ลงใต้ชี้รัฐธรรมนูญ 60 ให้อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งสูงส่งกว่าอำนาจประชาชน – ไม่แปลกใจจัดสรรงบเอื้อกลุ่มทุน – ลั่นนี่คือเวลาที่ต้องคิดอย่างทะเยอทะยานเพื่อคนรุ่นต่อไป!

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 ที่โรงแรมชัยคณาธานี จ.พัทลุง เครือข่ายภาคประชาสังคมกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ ร่วมจัดเวทีเสวนา “แก้ปัญหาปากท้องประชาชน ต้องแก้รัฐธรรมนูญ?” โดย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ร่วมเวทีเสวนาและรับฟังปัญหาจากเครือข่ายต่างๆ ทั้งนี้ นายธนาธร เริ่มต้นด้วยการถามผู้เข้าร่วมว่า หากสมมุติว่าที่นี่เป็นสภา แล้วเราต้องตัดสินใจว่ามีงบประมาณก้อนหนึ่งประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท จะเอาไปทำอะไร 4 ตัวเลือก 1.เพิ่มเบี้ยเลี้ยงดูบุตรจากคนละ 600 บาทต่อเดือนสำหรับคนจน เป็น 700 บาทต่อเดือนแบบถ้วนหน้า ใช้งบ 1.7 หมื่นล้านบาท 2.นำไปพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก 10,000 โรงทั่วประเทศ โรงละ 2 ล้านบาท ใช้งบ 2 หมื่นล้านบาท 3.นำไปอุดหนุนค่าสัมปทานให้กับบริษัทโทรคมนาคมที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ 2 หมื่นล้านบาท หรือ 4.นำไปซื้อเรือดำน้ำ 3 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ทุกคนในห้องร่วมกันยกมือให้กับตัวเลือกที่ 1 และ 2 โดยไม่มีใครเลือกตั้งเลือกที่ 3 และ 4 เลยแม้แต่คนเดียวส

ชี้ “อำนาจ” ไม่ได้อยู่กับ ปชช.-งบจึงไม่เคยถึง

นายธนาธร กล่าวว่า หากนี่เป็นสภาจริงๆ เราคงจะได้นำงบประมาณไปพัฒนาสิ่งเหล่านี้ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ในความเป็นจริงของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ผ่านมา ได้มีการใช้ ม. 44 ไปลดค่าสัมปทานให้กับทุนคมนาคมไปแล้วกว่า 2 หมื่นล้านบาท และซื้อเรือดำน้ำไปแล้ว 3 หมื่นล้านบาท นี่คือตัวอย่างที่ชัดเจนของอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ความจนหรือรวยในประเทศนี้ไม่ใช่เรื่องของบุญทำกรรมแต่ง เหตุผลที่คนส่วนใหญ่ยังยากจนเป็นเพราะพวกเขาไม่มีอำนาจ สิ่งที่เรามานั่งพูดกันวันนี้ รัฐธรรมนูญ 2560 ก็คือเรื่องของอำนาจ

“นี่คือเรื่องอำนาจที่จะเอางบจากภาษีประชาชนกว่า 3 ล้านล้านบาท จะเอาไปใช้เพื่อใคร ถามว่าทำไมในข้อเท็จจริงมันกลับถูกนำไปใช้ในสิ่งที่คนทั้งห้องนี้ไม่ได้เลือกเลย คำตอบเพราะอำนาจไม่ได้อยู่ที่ประชาชน และรัฐธรรมนูญ 60 คือ รัฐธรรมนูญที่บอกว่า อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งสูงส่งกว่าอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง นี่คือรัฐธรรมนูญที่ไม่มีอำนาจของประชาชนอยู่ในนั้น ที่มาของอำนาจมาจากไหนอำนาจต้องรับใช้คนกลุ่มนั้น คนที่มีอำนาจในปัจจุบันก็คือกลุ่มคนเดียวกันกับที่รัฐประหารปี 2557 มาจากระบบราชการ กลุ่มทุน ปืนและรถถัง ไม่มีประชาชนเป็นที่มาของอำนาจ พวกเขาจึงออกแบบงบประมาณออกมาแบบนี้ ไปอุ้มกลุ่มทุน ไปหล่อเลี้ยงระบบราชการที่ใหญ่เทอะทะ” นายธนาธร กล่าว

คิดอย่างทะเยอทะยานแก้ รธน.เพื่อคนรุ่นต่อไป

นายธนาธร กล่าวว่า ดังนั้น ถ้าเราอยากเห็นสังคมไทยเดินไปข้างหน้า โดยที่ดอกผลของการพัฒนาได้รับการแจกจ่ายอย่างถ้วนหน้า ถ้าเราอยากเห็นสังคมไทยอยู่ในโลกาภิวัฒน์ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ถ้าเราอยากเห็นงบประมาณถูกนำไปใช้เพื่อประชาชน ถ้าเราอยากเห็นสิ่งเหล่านี้ เราต้องแก้รัฐธรรมนูญ ผมว่านี่คือโจทย์ใหญ่ ว่าตกลงอำนาจในประเทศนี้เป็นของใคร อำนาจในการจัดสรรงบประมาณ 3.2 ล้านล้าน ใครควรจะได้เป็นคนจัดสรร นี่คือเวลาที่เราต้องคิดอย่างทะเยอทะยานเพื่อคนรุ่นต่อไป เพื่อให้ปัญหานี้จบในคนรุ่นเรา ว่าอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรในประเทศนี้ ควรอยู่ที่ประชาชน และเพื่อจะแก้ปัญหานี้ เราต้องทำให้ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตย, ยุติระบบราชการรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง,การลดบทบาทของกองทัพ มีการแต่การทำ 3 อย่างนี้เท่านั้น ประเทศไทยถึงจะเดินไปข้างหน้าได้ และจะทำอย่างนี้ได้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าก้าวแรกก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

“อนุทิน”แข่งเรือแม่น้ำมูลสตึกบุรีรัมย์ 4 หมื่นคนชมเงินสะพัด 30 ล้าน

People Unity News :”อนุทิน” ร่วมงานแข่งเรือ “บุรีรัมย์” ริมแม่น้ำมูล อ.สตึก คาดยอดผู้ชมแตะ 40,000 คน เงินสะพัดไม่น้อยกว่า 30 ล้าน

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 บริเวณลานสวนเฉลิมพระเกียรติ ริมแม่น้ำมูล อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าร่วมงานแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานในหลวงรัชกาลที่ 10 ประจำปี 2562 ซึ่งมีนายรังสิกร ทิมาตฤกะ ส.ส.บุรัมย์ เป็นประธานอำนวยการ

การแข่งขันเรือยาวของอำเภอสตึก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน ถือว่าเป็นสนามท้ายๆของการประเพณีแข่งเรือยาวของไทย จึงเป็นการแข่งขันที่มียอดผู้ติดตามสูงที่สุดสนามหนึ่ง ทั้งนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมงานแข่งเรือไม่น้อยกว่า 40,000 คน จะมีเงินสะพัดไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท

“ถาวร”เปิดเที่ยวบินฤดูหนาวสนามบินกระบี่ ชวนนักท่องเที่ยวมาไทย

People Unity News : “ถาวร”เปิดเที่ยวบินฤดูหนาวสนามบินกระบี่ ชวนนักท่องเที่ยวมาไทย ช่วยกระตุ้นรายได้ในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “เบิกฟ้ารับท่องเที่ยวสู่ท่าอากาศยานกระบี่ Welcome High Season Krabi International Airport” โดยมีนายเจือ ราชสีห์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พันตำรวจโท หม่อมหลวง กิติบดี ประวิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ นายสมัย โชติสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม นายสมเกียรติ มณีสถิตย์ รองอธิบดีกรมท่าอากาศยาน นายอรรถพร เนื่องอุดม ผู้อำนวยการท่าอากาศยานกระบี่ ผู้บริหารกรมท่าอากาศยาน ผู้บริหารหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม ภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อมวลชน และหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ เข้าร่วม เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 ณ ท่าอากาศยานกระบี่

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรม “เบิกฟ้ารับท่องเที่ยวสู่ท่าอากาศยานกระบี่ Welcome High Season Krabi International Airport” ว่าเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวและสายการบินได้ทราบถึงเส้นทางการท่องเที่ยวของไทยอีกเส้นทางหนึ่ง ที่ผ่านมาท่าอากาศยานกระบี่ถือเป็นท่าอากาศยานอันดับหนึ่งของกรมท่าอากาศยานที่มีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารทั้งจากในและต่างประเทศ โดยในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะเน้นย้ำและช่วยกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมายังจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้จ่าย ก่อให้เกิดรายได้ในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับชาวบ้านในชุมชน ผู้ประกอบการร้านอาหาร ที่พัก สายการบิน และการบริการขนส่งด้านต่างๆ เช่น รถเช่า เรือโดยสาร เป็นต้น

สำหรับงานในวันนี้ได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วนทั้งในด้านการขนส่งทางอากาศ เช่น ผู้ประกอบการสายการบินที่มาแสดงถึงความพร้อมให้บริการ และแนะนำเส้นทางบินใหม่แก่นักท่องเที่ยว จังหวัดกระบี่ ทั้งในส่วนของส่วนราชการ และวิสาหกิจชุมชนที่นำผลิตภัณฑ์สินค้าจากฝีมือของชาวบ้านมาจัดจำหน่ายและจัดแสดง รวมไปจนถึงผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ที่มาร่วมประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวได้ชมกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นความร่วมมือที่ดี ที่จะมีส่วนสนับสนุนให้บรรยากาศการท่องเที่ยว รวมถึงเศรษฐกิจในภาพรวมเป็นไปอย่างดี

นอกจากนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมยังได้กล่าวอีกว่า กระทรวงคมนาคม และกรมท่าอากาศยานได้ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชน ซึ่งที่ผ่านมากรมท่าอากาศยานได้เน้นย้ำในเรื่องของภารกิจนอกจากการให้บริการด้านการขนส่งทางอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลแล้ว ยังส่งเสริมให้ท่าอากาศยานมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของชุมชนและส่งเสริมให้ชุมชนเกิดรายได้อีกด้วย

“บิ๊กตู่”แนะ”จุรินทร์”ปั้นสินค้าจากถิ่นกำเนิดโชว์ผู้นำอาเซียน

People Unity News : “บิ๊กตู่”แนะ”จุรินทร์”ปั้นสินค้าจากถิ่นกำเนิด มีสไตล์และเพิ่มมูลค่าการค้า โชว์ผู้นำอาเซียน หวังช่วยผู้ประกอบการในประเทศ

เมื่อเวลา 9.45 น.วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมกับ นายจุรินทร์ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมชมนิทรรศการอาเซียนสไตล์ เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชมุ สุดยอดอาเซียนครั้ง ที่ 35 รัฐบาลจึงได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ จัดงานแสดงสินค้าไทย (งาน ASEAN STYLES) คู่ขนานกับการประชุมดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ และแสดงศักยภาพเศรษฐกิจไทยให้เป็นที่รู้จักพร้อมเปิดให้เข้าชมเฉพาะผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,500 ราย งาน ASEAN STYLES จัดระหว่างวันที่ 2-4 พ.ย. 62 เวลา 09.00-18.00 น ณ Hall 5 อิมแพค พื้นที่ 6,750 ตาราเมตร ภายในงานจะแบ่งออกเป็น 2 โซนหลัก

โดยวันนี้นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดิมชมการจัดงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้นำอาเซียนและคณะด้วย ได้แก่โซนนิทรรศการประกอบด้วย คูหา ASEAN Pavilion แสดงศักยภาพเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน โดยให้ความสาคัญเป็นพิเศษกับประเทศไทยในฐานะที่เป็นประธานอาเซียนมีการจัดแสดงสินค้าศักยภาพโดดเด่นของแต่ละประเทศ สมาชิกพร้อมวีดีทัศน์ประชาสัมพันธ์เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศ

เวทีกลางสำหรับการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย(กลองไทยประยกุต์ศิลปะการต่อสู้มวยไทย การแสดงพื้นบ้านสี่ภาคและการแสดงโขนเด็ก) นิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ ที่ประสานงานโดยหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ เป็นพื้นที่จัดแสดง ผลงานสินค้านวัตกรรม สินค้าที่มีการออกแบบดี และ ได้รับการส่งเสริมด้านการตลาด พร้อมจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทต่างๆ โซนงานแสดงสินค้าพื้นที่ภายในงานจะแบ่งออกเป็น 4 โซนหลักรวม 80 คูหาประกอบด้วย สินค้าOTOP/ศิลปหัตถกรรมจากภูมิภาคต่างๆของไทย 20 คูหาสินค้าเด่นๆอาทิ กระจูด วรรณีเชียงใหม่ ศิลาดลจักรสา นบริบรูณ์ผ้าใยกัญชง เป็นต้น รวมทั้งสินค้าไลฟ์สไตล์ 20 คูหา สินค้าเกษตรและอาหารนวัตกรรม 20 คูหา สินค้าศักยภาพจากกล่มุประเทศอาเซียน 20 คูหา มาครบทั้ง 9 ประเทศอาเซียน บรูไน 1 คูหาฟิลิปปินส์ ลาว กัมพชูา เวียดนาม อินโด ชาติละ 2 คูหา มาเลเซีย สิงคโปร์ ชาติละ 3 คูหา และ เมียนมา 5 คูหา

พลเอกประยุทธ์ ได้เน้นย้ำกับรองนายกรัฐมนตรีจุรินทร์ว่าประเทศไทยเราต้องให้ความสำคัญกับสินค้าจากถิ่นกำเนิด หรือ GI (Geographical Indication)ให้มากที่สุดทั้งนี้เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งออกและสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในประเทศซึ่งนายจุรินทร์ได้ยืนยันกับนายกรัฐมนตรีว่ากระทรวงพาณิชย์ถือเป็นนโยบายหลักและขณะนี้ได้ประสานงานผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศพร้อมกับทางพาณิชย์จังหวัดให้คัดเลือกสินค้าพร้อมกับจัดโมบายเพื่อให้ความรู้ด้านนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นของการทำงานและยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง

โดยระหว่างชมนิทรรศการนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ ได้พบกับนายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ซึ่งเข้ามาชมนิทรรศการเป็นผู้นำคนแรกด้วย สำหรับกําหนดการ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 (35th ASEAN Summit) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยเวลา 10.00 น.-10.30 น. รองนายกรัฐมนตรีต้อนรับนายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมงาน ASEAN STYLES เสร็จแล้ว จากนั้น16.20-16.50 น.เข้าร่วมการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เวลา 17.00 -18.30 น. จะเป็นการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 แบบเต็มคณะ และเวลา 19.00 -19.30 น.หารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีเวียดนาม

Verified by ExactMetrics