วันที่ 5 พฤษภาคม 2024

“จุรินทร์”ยันพาณิชย์หนุน SME ให้ทันสมัยเป็นรากฐานสังคม

People Unity : “จุรินทร์” สั่งจัดรับฟังความเห็นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบบัญชีเพื่อขยายอำนาจทีเอ ย้ำบริษัท CSR ที่ถูกต้องทำเพื่อสังคมมากกว่าบริษัทอื่น เน้นก.พาณิชย์ส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจ SME ให้ทันสมัยเป็นรากฐานสังคม

เมื่อเวลา 10.00 น.-11.00 น. วันที่ 20 ตุลาคม 2562 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของสมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากรแห่งประเทศไทย ณ รร.ริชมอนด์ ถนนรัตนาธิเบศ จ.นนทบุรี

นายจุรินทร์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการพัฒนาและผลักดันเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจ SME ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มีความแข็งแกร่งโดยปรับเปลี่ยนจากผู้ประกอบการ SME ดั้งเดิม (Tradition SME)ไปสู่ผู้ประกอบการที่เน้นนวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น (Smart Enterprise ) ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจเกิดความตระหนัก และมีจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจในการจัดทำบัญชี และการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงลดต้นทุนการประกอบการ และเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันผมจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพธุรกิจ SME ของประเทศไทยให้สอดรับกับยุคดิจิตอลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง

การประกอบธุรกิจเพื่อสังคม CSR นั้นต้องแตกต่างจากธุรกิจ ปกติ แต่ต้องทำเพื่อสังคมเข้มข้นเป็นรูปธรรมกว่า เพราะได้รับสิทธิพิเศษมากกว่านิติบุคคลธรรมดาทั่วไป ดังนั้นต้องนำสิทธิพิเศษนั้นไปแลกกับการทำเพื่อสังคม ตอนนี้มีประกาศที่ลงนามไปทั้งหมด 4 ฉบับประกาศในราช 1.ประกาศเรื่องกำกับดูแลกิจการที่ดีลงนามเองเมื่อ 14 กย.2562 2.ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เรื่องกำหนดรายการอื่นเพื่อสังคม 3.ประกาศเรื่องระยะเวลาดำเนินการแระกอบธุรกิจเพื้อสังคม 24 กย2562 4.ประกาศเรื่องเงื่อนไขการนำกำไรไปใช้เพื่อสังคมต้องเป็นไปตามเงื่อนไข พรบ.วิสาหกิจเพื่อสังคม มาตรา 5

นายจุรินทร์ กล่าวว่า เรื่องการจดทะเบียนออนไลน์ สามารถดำเนินการได้แล้ว เรื่องต่อมากรณีบริษัทจำกัดคนเดียวเป็นเรื่องตรากฎหมายอยู่ระหว่างกฤษฎีการอกลับมาครมและเข้่สภาฯต่อไป เช่นกันกับบริษัท 2 คนจำกัดและ 3 คนจำกัด อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ไปทีละขยัก ส่วนเรื่องการขอหนังสือรับรองหรือนำส่งงบการเงินด้วยระบบอิเลคทรอนิคสามารถดำเนินการได้แล้ว 10 ธนาคาร และนำส่งงบการเงินประจำปีทาวอิเลคทรอนิคได้ โดยเมื่อปี 2561 สามารคใช้ได้ถึง ร้อยละ 91 และขณะนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กำลังพัฒนาเรื่องการยืนยันตัวตนผ่านทางออนไลน์

” ส่วนเรื่องขอเพิ่มอำนาจทีเอ ( Tax Auditor) หรือผู้ตรวจสอบบัญชี ให้สามารถตรวจสอบรับรองบัญชีมากกว่าเดิมนั้นเป็นเรื่องที่ไม่มีนโยบายขณะนี้เพราะมีทั้งบวกและลบแต่สิ่งที่มีนโยบาย คือ ต้องให้ทุกฝ่ายต้องมีความเห็นสอดคล้องกันเสียก่อน ดังนั้นจึงควรจัดเวทีรับฟังความเห็นทุกสมาคม ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ตกผลึกว่าสุดท้ายควรเป็นอย่างไร เมื่อสรุปความเห็นแล้วจึงค่อยดำเนินการ ” นายจุรินทร์ กล่าว

ด้าน ดร.สมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย นายกสมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากรแห่งประเทศไทยว่า การประชุมใหญ่สามัญสมาชิกในวันนี้ถือเป็นการครบรอบ 12 ปี ของการก่อตั้งสมาคมซึ่งมีสมาชิกจำนวนมากกว่า 1600 ท่าน ประกอบด้วยผู้สอบบัญชีภาษีอากร นักบัญชีผู้ประกอบการ และกลุ่มเครือข่ายพันธมิตรจาก 4 สมาคมซึ่งถือเป็นการรวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพด้านบัญชี ซึ่งมีทั้งผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และผู้สอบบัญชีภาษีอากร เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่ร่วมช่วยกันส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจ SME

ฉลองความสำเร็จ! นายกฯ ต้อนรับนักท่องเที่ยวครบ 10 ล้านคน

People Unity News : 10 ธันวาคม 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – นายกฯ ต้อนรับนักท่องเที่ยว ฉลองครบ 10 ล้านคน หลังเปิดประเทศ พร้อมผลักดันยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติสู่ 20 ล้านคนในปี 2566 เชิญชวนคนไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวดุจญาติมิตร

พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้ที่โชคดีที่สุด (The Luckiest Tourist ) ในกิจกรรม “Amazing Thailand 10 Million Celebrations” ฉลองต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติครบ 10 ล้านคน ตามเป้าหมายสูงสุดปี 2565 ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งไว้ ประกาศความสำเร็จแบรนด์ Amazing Thailand เพื่อตอกย้ำความเชื่อมั่นประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมในใจนักท่องเที่ยว เตรียมเดินหน้าดันยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติสู่ 20 ล้านคนในปี 2566 ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดกิจกรรมในโอกาสที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยในปี 2565 ครบ 10 ล้านคน เพื่อเฉลิมฉลองและต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ทั้งทางบกและทางอากาศทั่วประเทศ ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ และสนามบินสมุย ด่านพรมแดนหนองคาย และด่านพรมแดนสะเดา

พลเอก ประยุทธ์  กล่าวว่าในช่วงที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การเดินทางไปมาหาสู่ของคนทั่วโลกต้องสะดุดลง เพราะถูกจำกัดด้วยมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดของแต่ละประเทศ คนไทยเรามีความเชื่อว่าฟ้าหลังฝน ย่อมสดใสเสมอ วันนี้ท้องฟ้าเปิดแล้วเป็นผลมาจากคนไทยเราร่วมแรงร่วมใจกัน ฟันฝ่าอุปสรรค พร้อมๆ กับชาวโลกจนสามารถเปิดประเทศอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและยั่งยืน โดยมีมาตรการและแผนการปฏิบัติที่รัดกุม เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ เพื่อรองรับการมาเยือนของทุกๆ คน วันนี้เราได้มีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวมากกว่า 10 ล้านคนแล้ว ซึ่งเราจะไม่หยุดอยู่กับความสำเร็จนี้ แต่เราจะยิ่งสร้างความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยยังคงเป็นหนึ่งในจุดหมายการเดินทางของคนทั่วโลกนั้น มีความพร้อมในทุกๆ ด้านเพื่อรองรับการมาเยือนของชาวต่างชาติ นอกจากความสวยงามของธรรมชาติที่ผ่านการพักฟื้นสู่ความอุดมสมบูรณ์ อาหาร และศิลปวัฒนธรรมไทยอันเป็นเอกลักษณ์น่าประทับใจแล้ว การอำนวยความสะดวก ดูแลความปลอดภัยในการเดินทาง เช่น บนเรือต้องมีชูชีพที่ครบ และสมบูรณ์ ความคับคั่งของคนในสถานที่ท่องเที่ยว ต้องไม่เกินขีดจำกัดและอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด เพราะสิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงความเอาใจใส่ ความจริงใจในการดูแลผู้มาเยือนเหมือนคนในครอบครัวของเรา ที่สำคัญคือรอยยิ้ม ด้วยความรัก ความโอบอ้อมอารีและมารยาทที่งดงาม ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมเป็นเจ้าบ้านที่ดีดูแลนักท่องเที่ยวทุกคน ที่ถือเป็นแขกของคนไทยทั้งประเทศ

สำหรับการจัดกิจกรรม “Amazing Thailand 10 Million Celebrations” นอกจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีแล้ว ยังมีนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ศาสตราจารย์พิเศษทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ ททท. นายอับดุลอาซิส อับดุลเลาะห์ อัลคุเดย์ รักษาการเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. ร่วมให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว ด้วยการจัดแสดงขบวนกลองยาว พร้อมมอบพวงมาลัยต้อนรับ และของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวใน 2 เที่ยวบิน ได้แก่ เที่ยวบิน TG923 การบินไทย ซึ่งมีผู้โดยสาร จำนวน 348 ราย เดินทางจากท่าอากาศนานาชาติแฟรงก์เฟิร์ต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเที่ยวบิน SV 846 สายการบินซาอุดีอาระเบียน แอร์ไลน์ : ซาอุเดีย (Saudi Arabian Airlines : Saudia) จำนวน 357 ราย  เดินทางจากกรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย

Advertisement

อนุญาตปลูกกัญชงไปแล้วกว่า 3,000 ไร่ พร้อมสนับสนุนให้แปรรูปส่งออกนำรายได้เข้าประเทศ

People Unity News : อนุญาตปลูกกัญชงไปแล้วกว่า 3,000 ไร่ พร้อมสนับสนุนให้มีการแปรรูปเพื่อส่งออกนำรายได้เข้าประเทศ

16 ตุลาคม 2564 นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนให้ใช้ประโยชน์จากพืชกัญชง (Hemp) เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน ซึ่งกฎกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อ วันที่ 29 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา โดยเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนทั้ง เกษตรกร ภาครัฐและเอกชน ประชาชนทั่วไปสามารถขออนุญาตและนำกัญชงไปใช้ในทุกวัตถุประสงค์ ตั้งแต่การแพทย์ การศึกษา วิจัย การใช้ตามวิถีชีวิต ใช้เป็นเมล็ดพันธุ์และการค้า เพื่อนำส่วนต่างๆของกัญชงไปแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ทั้งยา อาหาร เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น

หลังจากการปลดล็อคกัญชง ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ขณะนี้มีผู้ขออนุญาตผลิต (ปลูก) เชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม โดยได้รับอนุญาตแล้ว 324 ราย เนื้อที่ 3,250 ไร่ และอยู่ในระหว่างออกใบอนุญาต 127 ราย และขออนุญาตเพื่อศึกษาวิเคราะห์ วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์ ได้รับอนุญาตแล้ว 34 ราย และอยู่ในระหว่างออกใบอนุญาต 11 ราย สำหรับในส่วนของการนำเข้า มีผู้ได้รับอนุญาตนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชง 86 ราย จำนวน 6,179,304 เมล็ด มูลค่า 926,895,600 บาท ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก อย. พร้อมส่งเสริมกัญชงให้เป็นพืชที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน รวมทั้งพร้อมสนับสนุนให้มีการแปรรูปเพื่อส่งออกนำรายได้เข้าประเทศต่อไป

Advertising

นายกฯอยากเห็น ปตท. ลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น นำคนไทยไปร่วมทุน

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 13 ธันวาคม 2566 นายกฯแสดงความยินดีครบรอบ 45 ปี ปตท. หวังให้ช่วยสร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่ เป็นเจ้าสัวน้อย

ค่ำวานนี้ (12 พ.ย. 66) เวลา 18.30 น.  ณ เพลนารี ฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ  นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานงานเลี้ยงรับรองขอบคุณผู้มีส่วนได้เสีย เนื่องในวาระครบรอบ 45 ปี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  โดยมีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผู้แทนภาครัฐ ผู้แทนภาคเอกชน  ผู้บริหารและพนักงานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  เข้าร่วมงาน

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาร่วมงานในวาระครบรอบ 45 ปี ของบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเป็นบริษัทที่นำธงชาติไทยไปปักในนิตยสาร ฟอร์จูน โกลบอล 500 และเคยไต่อันดับถึง TOP 100 แต่เมื่อมีบริษัทอื่นมาก็ถูกเบียดไป  แต่บริษัท ปตท. มีการเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างความภาคภูมิใจสูงสุดให้กับคนไทยที่มีบริษัทระดับโลกได้   ไม่ต้องพูดถึงความสำเร็จในธุรกิจ ปตท. ที่ได้ดำเนินการในช่วง 45 ปีที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมกับทุกรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมในการดูแลคนไทยทุกคนไม่ว่าจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งไหน  รวมถึงวิกฤตโรคระบาดโควิด 19  ในอดีต 45 ปีที่ผ่านมา บริษัท ปตท.เป็นบริษัทที่ยืนเคียงข้างพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน  เป็นที่พึ่งของทุกคนเป็นบริษัทที่ไม่ได้คำนึงถึงแค่ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นอย่างเดียว  แต่ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ความสุขสบายของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เนื่องในโอกาส 45 ปีของบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ตนมีข้อคิด 2-3 ข้อ ข้อแรกด้วยงบดุลของบริษัทที่แข็งแกร่งมาก สิ่งที่ต้องการคือ บริษัท ปตท. ไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นนำพาผู้มีความรู้จากประเทศไทยไปร่วมทุนไปทำการเจรจาการค้าไปพัฒนาประเทศนั้นๆ ด้วยทุนของคนไทยด้วยองค์ความรู้ของคนไทย  ตนเชื่อว่า ยังมีอีกหลายประเทศที่เราสามารถไปลงทุนได้ทำการค้าขายได้  รัฐบาลพร้อมสนับสนุนทั้งการลงทุนและให้มาลงทุนในประเทศไทย  พร้อมเชื่อว่า ปตท. พร้อมที่จะเป็น partner กับบริษัทข้ามชาติทั้งหลายที่มาลงทุนในประเทศไทย  อีกทั้ง รัฐบาลพร้อมที่จะนำ ปตท.เดินเคียงคู่ไปกับรัฐบาลเพื่อที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา  พร้อมทั้งให้ ปตท.เดินทางออกไปต่างประเทศเพื่อไปร่วมทุนกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในหลายบริษัทเพื่อทำให้คนไทยมีความภาคภูมิใจ

นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง พลังงานบริสุทธิ์ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นเรื่องที่ปัจจุบันนี้ได้มีการพูดคุยกันมาก ถ้าประเทศไหนบริษัทไหนจะมาลงทุนที่ประเทศไทยเขารู้เรื่องนี้อยู่แล้ว ประเทศไทยมีความพร้อมสูงสุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคนี้ในการที่จะรองรับการลงทุนที่ต้องการพลังงานบริสุทธิ์  ปตท. เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นองค์กรที่ทำให้ประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านนี้  อย่างไรก็ตาม นายกฯ ขอให้ทุกคนอย่า ลด ละ ในการที่จะพัฒนาเรื่องนี้ต่อไป  ต้องทำให้เราไปถึงจุดมุ่งหมายได้และดึงดูดนักลงทุนที่มีความต้องการลงทุนในการพึ่งพาพลังงานบริสุทธิ์ ซึ่งเชื่อว่า ปตท. สามารถทำได้และทำดีอยู่แล้ว

ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี  กล่าวถึง การสร้างแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่ที่มองเข้ามาบริษัทใหญ่ๆอย่าง ปตท. บริษัทที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก อยากให้ ปตท.มีส่วนปั้นพัฒนาดูแลเยาวชนที่เพิ่งเข้ามาในวงการธุรกิจ  ปั้นพัฒนาให้เขาเป็นเจ้าสัวน้อยให้ได้ไม่ใช่แค่ให้เขามาอยู่ภายใต้ของบริษัท ปตท. หลายคนอาจจะเข้าใจว่า ปตท.จ้างสนับสนุนเป็นแหล่งงานให้กับคนรุ่นใหม่มากมาย  ตนเชื่อว่า หลายคนมีความต้องการที่จะแตกต่างกันไป หลายคนมีความต้องการทำงานเป็นพนักงานของ ปตท. หลายคนต้องการให้เป็นหน่วยงานช่วยปั้นให้เขาเป็นเจ้าสัวตัวน้อยได้และพัฒนาต่อไปเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ

“วันนี้ถือเป็นวันดีที่มีนักธุรกิจชั้นนำ มีอดีตผู้ว่าการ ปตท. มีผู้ที่มีอุปการคุณ  คณะกรรมการที่มารวมตัวกันอยู่ในที่นี้  มาเฉลิมฉลองความสำเร็จของ ปตท.  ซึ่งเชื่อว่าภารกิจอันยิ่งใหญ่ของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยยังไม่จบเพียงแค่นี้ ขอเป็นกำลังใจเป็นแรงใจ ขอเป็นเพื่อนที่เดินเข้ามาไปด้วยกันในอนาคตที่สดใสเพื่อจะยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนให้ดีขึ้นควบคู่ไปกับ ปตท.” นายกฯ กล่าว

Advertisement

“สนธิรัตน์”เผยปี 63 เริ่มคิกออฟลงทุนโรงไฟฟ้าชุมชน

People Unity News : “สนธิรัตน์”เผยนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนได้รับความสนใจจากผู้ประกอบและท้องถิ่นทั่วประเทศอย่างคึกคัก เตรียมออกประกาศหลักเกณฑ์ลงทุนและเริ่มคิกออฟ ปี ’63 ตั้งเป้าหมาย 1,000 MW ดันเศรษฐกิจไทยเงินสะพัดกว่า 1 แสนล้านบาท

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากว่า ขณะนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ยกร่างหลักเกณฑ์และแนวทางการร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าชุมชนเสร็จแล้ว โดยจัดทำรายละเอียดที่ครบสมบูรณ์และได้นำข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ได้รับจากเวทีรับฟังความความคิดเห็นมาปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนและประชาชน

หลังจากนี้ พพ.เตรียมนำเสนอร่างหลักเกณฑ์ฯ นี้ ต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก จากนั้นจะเข้าสู่ที่ประชุม คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ต่อไป คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2563

“โครงการโรงไฟฟ้าชุมชน เป็นนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชนทุกพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเป็นเจ้าของพลังงานได้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ ยกระดับชุมชนสู่การเป็นผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้จำหน่ายไฟฟ้า ขณะนี้จึงได้รับความสนใจอย่างมากมาย มีองค์กรท้องถิ่นและผู้ประกอบการที่มีศักยภาพลงทุน สอบถามเข้ามายังกระทรวงพลังงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ร่างหลักเกณฑ์ฯ ที่กำลังจะออกมานี้จึงถือเป็นการสร้างความชัดเจนให้ทุกฝ่ายได้ดำเนินงานขั้นต่อไป”

นายสนธิรัตน์ เชื่อมั่นว่า โรงไฟฟ้าชุมชนถือเป็นการพลิกมิติด้านพลังงานครั้งสำคัญ จากที่เคยถูกมองว่าอยู่ในกลุ่มทุนใหญ่ มาสู่มือของประชาชนคนเล็ก คนน้อยสามารถมีสิทธิ์ มีเสียง มีส่วนร่วมกับชุมชนของตนเองได้ โดยอาศัยวัตถุดิบทางการเกษตร พืชผลพลังงานตามบริบทของท้องถิ่น และทรัพยากรหมุนเวียนตามธรรมชาติ เช่น แสงแดด นับว่าสอดคล้องกับทิศทางด้านพลังงานสะอาดและกระแสอนุรักษ์ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังก้าวไปอีกด้วย

สำหรับขนาดของโรงไฟฟ้าชุมชนแต่ละแห่งนั้น จะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (vspp) ซึ่งมีขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์/โรง มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท/เมกะวัตต์ ซึ่งนโยบายของกระทรวงพลังงาน มีเป้าหมายจะส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนรวมทั้งสิ้น 1,000 เมกะวัตต์ (MW) ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากคิดเป็นเม็ดเงินลงทุนในภาพรวมไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท โดยจะเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนประเภทนี้และเข้าระบบได้ในปี 2565 ที่สำคัญ โครงการประเภท Quick Win จะสามารถส่งไฟฟ้าเข้าระบบได้ภายใน 6 เดือนหลังจากการได้ผลการคัดเลือก

ในส่วนรูปแบบการขายไฟฟ้าคืนกลับมายังภาครัฐนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระบุว่า ได้มอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เตรียมข้อมูลปริมาณความต้องการไฟฟ้าในแต่ละภูมิภาคไว้แล้วว่าในแต่ละพื้นที่มีมากน้อยอย่างไร พร้อมวางระบบสายส่งที่มีศักยภาพ ส่วนการเปิดการรับซื้อไฟฟ้าจะเป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งปัจจุบัน กกพ.เตรียมความพร้อมเบื้องต้นไว้ระดับหนึ่งเช่นเดียวกัน จึงมั่นใจว่าโครงการนี้จะมีความพร้อมดำเนินการ สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างเป็นระบบ

ผู้เอาประกันบริษัทเอเชียประกันภัย ร้อง รมว.คลัง ช่วย ยังไม่ได้รับเงินชดเชยสินไหมทดแทน

People Unity News : ผู้เอาประกันบริษัทเอเชียประกันภัย ร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังไม่ได้รับเงินชดเชยสินไหมทดแทน ประกันภัยโควิด-19 แบบ “เจอ จ่าย จบ” ประกันภัยรถยนต์ และประกันประเภทอื่น

วันนี้ 21 ม.ค. 65 นายชื่นชอบ คงอุดม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงการคลัง) รับหนังสือร้องเรียนจากประชาชนตัวแทนผู้เอาประกันของบริษัทเอเชียประกันภัย ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน)  ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 โดยมีกรมธรรม์จากประกันภัยโควิด-19 แบบ “เจอ จ่าย จบ” ประกันภัยรถยนต์ ประกันประเภทอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการขายประกันของบริษัท โดยซื้อกรมธรรม์ประกันภัยไปแล้ว แต่ยังไม่มีได้รับเงินชดเชย และปัญหาเคลมประกัน “เจอ จ่าย จบ” เนื่องจากผู้เอาประกันได้ติดต่อผ่านกองทุนประกันวินาศภัยเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินชดเชยสินไหมทดแทน มีบางรายยื่นหนังสือตามหลัง แต่กลับได้รับเงินชดเชยก่อน โดยต้องการทราบว่า ฐานะกองทุนประกันวินาศภัย 5,000 ล้านบาท รองรับปัญหาของผู้เอาเอเชียประกันครอบคลุมอย่างไรบ้าง จึงต้องยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 2 กระทรวงการคลัง

Advertising

ประยุทธ์ หารือ หอการค้าร่วมต่างประเทศ แสวงหาความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน

People Unity News : ประยุทธ์ หารือ หอการค้าร่วมต่างประเทศ ยืนยันพร้อมร่วมมือทุกมิติ มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ Upskill – Reskill

วันนี้ (17 ก.พ. 65) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้การต้อนรับ นายสแตนลีย์ คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ เพื่อหารือด้านความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และแก้ไขปัญหาที่ยังเป็นอุปสรรคระหว่างกันจากสถานการณ์โควิด-19

ด้านประธาน JFCCT ขอบคุณรัฐบาลสำหรับการสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนทางการค้าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และแสดงความเชื่อมั่นนโยบายการเปิดประเทศของไทย และพร้อมสนับสนุนการพัฒนาทักษะของทรัพยากรบุคคล (Upskill – Reskill) ผ่านการอบรม และใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ ซึ่งจะถ่ายทอด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ซึ่งไทยกำหนดให้ “ประเทศไทย 4.0” เป็นแนวนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

นโยบายสีเขียว BCG Model และการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี 2565 และให้ความสำคัญกับภาคธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาล (ESG) ซึ่งการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG และการดำเนินธุรกิจของ ภาคเอกชนบนพื้นฐานของ ESG จะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

Advertising

ครม.เห็นชอบแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงปี 2562 ระยะเร่งด่วน

People Unity : ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (30 กรกฎาคม 2562) มีมติรับทราบสถานการณ์และแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงปี 2562 ระยะเร่งด่วน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ตามที่ได้เกิดสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง (มิถุนายน 2562 ถึงปัจจุบัน) ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร ดังนั้น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการให้ทุกส่วนราชการและเหล่าทัพสนับสนุนอากาศยานและกำลังพลร่วมการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง และร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็ว

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ติดตามสถานการณ์ และดำเนินการแก้ไขปัญหาฝนทิ้งช่วง ที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร สรุปได้ดังนี้

1.สถานการณ์และแนวโน้ม

สภาพฝน กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายปริมาณฝนในช่วงฤดูฝนปี 2562 จะมีปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศน้อยกว่าปี 2561 และน้อยกว่าค่าปกติประมาณ 5-10 % (ปีที่แล้วต่ำกว่าค่าปกติ 3%) โดยช่วงต้นเดือนกรกฎาคม บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลง และมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติ ก่อให้เกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2562 มีปริมาณน้ำใช้การได้ทั้งประเทศ 10,729 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุ (น้อยกว่าปริมาณน้ำปี 2561 อยู่ 11,484 ล้านลูกบาศก์เมตร) โดยมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรต่ำกว่าร้อยละ 30 ของความจุ รวม 19 แห่ง ปริมาตรระหว่างร้อยละ 30 – 50 รวม 10 แห่ง และปริมาตรมากกว่าร้อยละ 50 รวม 6 แห่ง ซึ่งถือว่าขณะนี้มีปริมาณน้ำน้อย

สถานการณ์การเพาะปลูกข้าวปี 2562/63 จากข้อมูลการสำรวจของกรมส่งเสริมการเกษตร  ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2562 จำนวน 47.88 ล้านไร่ ยังไม่ปลูกอีก 12.45 ล้านไร่ ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบ พบว่า ฝนทิ้งช่วงจะส่งผลต่อปริมาณ คุณภาพ ผลผลิตของเกษตรกรจะลดลงหรือเสียหาย และผลกระทบต่อรายได้ของครัวเรือนเกษตรกร ปัจจุบันยังไม่มีรายงานความเสียหายและไม่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯตามระเบียบกระทรวงการคลัง

2.แนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงและบรรเทาผลกระทบ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการทันที และเตรียมการแก้ไขในระยะยาว โดยบูรณาการกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อให้ปฏิบัติงานได้ทันที และมีแผนปฏิบัติที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาในระยะต่อไป

การเผชิญเหตุระยะเร่งด่วน

1.ปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและพื้นที่การเกษตรที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร บูรณาการการปฏิบัติร่วมกับกองทัพ โดยกองทัพสนับสนุนอากาศยานเพิ่ม จำนวน 7 ลำ จากกองทัพบก 1 ลำ กองทัพอากาศ 5 ลำ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1 ลำ พร้อมกำลังพล 88 นาย

2.สำรวจพื้นที่ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค พร้อมสนับสนุนเครื่องจักรเครื่องมือ เช่น รถบรรทุกน้ำ เครื่องสูบน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ทันที และสร้างการรับรู้ ร่วมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด ดำเนินการ ดังนี้

2.1 ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการสำรวจข้อมูลพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วง รวมทั้งจัดทำชุดข้อมูลแนวโน้ม/สถานการณ์น้ำในอนาคต วิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น วิธีการบริหารจัดการความเสี่ยง เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในไร่นา การสะสมน้ำต้นทุน และความชื้นในดิน เป็นต้น เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกร และผู้ใช้น้ำได้ตระหนักและเข้าใจสถานการณ์ความเสี่ยง และให้ความร่วมมือในระดับที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูล แนวโน้ม เรียนรู้ที่จะปรับตัวและบรรเทาผลกระทบให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น วิธีการดูแลรักษาพืชในภาวะแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง ปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อยทดแทนการเพาะปลูกข้าวในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2562

2.2 การจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ และเครื่องจักรเครื่องมือสนับสนุนอื่นๆทั้งประเทศ จำนวน 4,850 หน่วย เพื่อสนับสนุนและพร้อมให้การช่วยเหลือทันท่วงที กระจายอยู่ตามโครงการชลประทานทุกจังหวัด และเตรียมพร้อมแหล่งน้ำต้นทุนในพื้นที่ใกล้เคียงระบบชลประทาน สำหรับการแจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

2.3 แจ้งเตือนให้เกษตรกรที่ยังไม่ได้เริ่มทำการปลูกข้าว ให้ชะลอการปลูกไปจนกว่าจะสิ้นสุดภาวะฝนทิ้งช่วง หรือจนกว่าปริมาณและการกระจายของฝนมีความสม่ำเสมอ และหากมีภาวะการขาดแคลนน้ำให้ดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด รวมทั้ง สร้างการรับรู้ ร่วมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้มีการใช้น้ำประหยัดอย่างต่อเนื่อง

2.4 วางแผนการเพาะปลูกพืชและปฏิทินการเพาะปลูกเป็นการล่วงหน้า โดยเฉพาะในฤดูแล้งปี 2562/63 ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์สถานการณ์น้ำ

2.5 จัดตั้ง War room ทุกจังหวัด เร่งสำรวจพื้นที่ประสบฝนทิ้งช่วงทุกจังหวัดพร้อมช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบฝนทิ้งช่วง และแนะนำให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนเกษตรกรหรือปรับปรุงทะเบียนก่อนเกิดความเสียหาย

3.ปรับแผนการระบายน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุ และเพิ่มความเข้มงวดติดตาม กำกับ การจัดสรรน้ำในระดับพื้นที่เพื่อให้ใช้น้ำอย่างประหยัด และมีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศเพียงพอถึงฤดูแล้งปี 2562/63 ดำเนินการ ดังนี้

3.1 เก็บน้ำในอ่างเก็บน้ำไว้ให้มากที่สุด ไม่ระบายน้ำจากเขื่อนจนกว่าปริมาณน้ำจะมากกว่าเส้นควบคุมตอนล่าง และบริหารปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงสู่ระบบคลองชลประทาน แทนการบริหารน้ำที่ระบายจากเขื่อน

3.2 พื้นที่ดอนที่ยังไม่ได้ปลูก ให้ประชาสัมพันธ์แนะนำให้เกษตรกรชะลอการเพาะปลูกตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ หรือสนับสนุนการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายของผลผลิต สำหรับพื้นที่เพาะปลูกแล้ว จะดำเนินมาตรการส่งน้ำแบบประณีตด้วยวิธีเปียกสลับแห้ง ส่งน้ำแบบรอบเวรหมุนเวียนในแต่ละพื้นที่

3.3 จัดแผนหมุนเวียน/จัดรอบเวรการใช้น้ำในระบบลุ่มน้ำ และบริหารจัดการน้ำที่จัดสรรอย่างเข้มงวด และสอดคล้องกับสถานการณ์

3.4 พิจารณาการใช้น้ำจากแก้มลิงธรรมชาติ และเสริมแหล่งน้ำด้วยบ่อน้ำบาดาล ในพื้นที่ที่เป็นที่ดอน

3.5 การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เมื่อประเมินน้ำฝนที่ตกลงมาแล้ว พบว่ามีความจำเป็นต้องปรับลดแผนการระบายน้ำ เพื่อประหยัดการใช้น้ำตลอดฤดูฝน และให้มีปริมาณน้ำเพียงพอ สำหรับการอุปบริโภค บริโภค ในปี 2563 เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำเป็นไปได้ตามแผนที่วางไว้ จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการควบคุมการบริหารจัดการน้ำ ดังนี้

1) ประตูระบายน้ำที่รับน้ำจากแม่น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะเปิดรับน้ำเฉพาะการอุปโภคบริโภคเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ อาคารเชื่อมต่อที่ดูแลโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดทำปฏิทินการรับน้ำส่งให้กรมชลประทาน

2) ลำน้ำหรือคลองส่งน้ำที่มีความจำเป็นต้องรับน้ำเข้าเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลิ่งลำน้ำ ให้รับน้ำเข้าในเกณฑ์ต่ำสุด ซึ่งกรมชลประทานจะกำหนดอัตราการรับน้ำที่เหมาะสมให้

3) ขอความร่วมมือ ไม่ให้เกษตรกร ทำการปิดกั้นลำน้ำหรือสูบน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูกเช่นกัน ทั้งนี้ หากพื้นที่ใดมีความจำเป็นจะต้องสูบน้ำเพื่อใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค ให้จัดทำปฏิทินการสูบน้ำ ส่งให้กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ

4) สถานีสูบน้ำของการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และการประปาส่วนท้องถิ่นสามารถทำการสูบน้ำได้ตามปกติ ทั้งนี้ให้จัดทำปฏิทินการสูบน้ำ ส่งให้กรมชลประทาน

5) ลดการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีนและในระบบชลประทาน

6) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้มีการปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำ คูคลอง และแหล่งน้ำต่างๆ เนื่องจากทำให้ต้องระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อเจือจางน้ำเสีย

การช่วยเหลือเยียวยาระยะสั้น

1.การบรรเทาความเดือดร้อนด้านรายได้เพื่อเสริมสภาพคล่องของเศรษฐกิจครัวเรือนเกษตรกรที่ประสบภัยฝนทิ้งช่วง โดยการสนับสนุนเงินทุนแก่สมาชิกสหกรณ์ สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ให้สหกรณ์วงเงิน 1,600 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 เป็นระยะเวลา 3 – 5 ปี โดยมีวงเงินกู้ให้สมาชิกรายละไม่เกิน 30,000 – 50,000บาท ผ่านการดำเนินโครงการ 3 โครงการ ได้แก่

1.1 โครงการส่งเสริมอาชีพสมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง วงเงิน 600 ล้านบาท มี 2 กิจกรรม ได้แก่ ให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อพัฒนาอาชีพ และเพื่อจัดหาแหล่งน้ำทำการเกษตร

1.2 โครงการจัดหาแหล่งน้ำให้สมาชิกสหกรณ์ วงเงิน 400 ล้านบาท

1.3  โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ วงเงิน 600 ล้านบาท

2. การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ เกษตรกรจะได้รับการช่วยเหลือ ข้าว ไร่ละ 1,113 บาท พืชไร่ ไร่ละ 1,148 บาท พืชสวนและอื่นๆ ไร่ละ 1,690 บาท รายละไม่เกิน 30 ไร่ โดยเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือภายใน 90 วัน

3.โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิงที่ซื้อประกันภัยกับ ธ.ก.ส. จะได้รับการช่วยเหลือ ไร่ละ 1,260 บาท และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562 เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิงที่ซื้อประกันภัยกับ ธ.ก.ส. จะได้รับการช่วยเหลือ ไร่ละ 1,500 บาท

4.เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง (มิถุนายน – สิงหาคม 2562) ตามความต้องการพันธุ์ข้าวของเกษตร โดยต้องคำนึงปริมาณน้ำและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

การดำเนินการในระยะต่อไป

1.ประเมินความเสี่ยงต่อปริมาณน้ำต้นทุนในอนาคต เพื่อนำไปสู่การบริหารความต้องการน้ำภาคเกษตรและวางแผนการเพาะปลูกพืชที่สอดคล้องกับปริมาณน้ำ โดยกำหนดปฏิทินการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสถานการณ์น้ำ

2.ประเมินความเสี่ยงต่อระดับความมั่นคงด้านอาหาร และผลกระทบต่อการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร การดำรงชีวิต และสภาพคล่องทางการเงินของครัวเรือนเกษตรกร รวมทั้งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง

3.ประเมินความเสี่ยง ต่อการปฏิบัติงานเพื่อการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน โดยวิเคราะห์มาตรการ งบประมาณที่จะช่วยเหลือเยียวยา และสนับสนุนเกษตรกรให้สามารถประกอบอาชีพการเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ หากพบความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหายต่อผลผลิต เกษตรกรเสียโอกาสในการผลิต และกระทบต่อรายได้ในครัวเรือนจนอาจทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน และไม่สามารถดำรงชีพขั้นพื้นฐาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจชุมชน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา มาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ให้สามารถปรับตัวและมีความพร้อมที่จะเผชิญเหตุ และสามารถบริหารความเสี่ยงได้ด้วยตนเองในระดับหนึ่ง เช่น มาตรการเสริมสภาพคล่องทางการเงิน มาตรการเพิ่มขีดความสามารถการผลิตและการตลาด โดยยึดหลักที่จะไม่สร้างภาระงบประมาณภาครัฐ รวมทั้งเป็นมาตรการที่ส่งเสริมให้เกษตรกรมีศักยภาพ และความพร้อมที่จะรับมือกับภาวะฝนทิ้งช่วง ในอนาคตได้ดีกว่าปัจจุบัน รวมทั้ง เป็นมาตรการที่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบได้ในห้วงเวลาที่เหมาะสมหรือทันต่อสถานการณ์ต่อไป

เศรษฐกิจ : ครม.เห็นชอบแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงปี 2562 ระยะเร่งด่วน

People Unity : post 31 กรกฎาคม 2562 เวลา 12.30 น.

รัฐบาล เร่งแก้หนี้ครัวเรือน ไกล่เกลี่ยแพ่งสำเร็จ 53,030 เรื่อง

People Unity News : 19 สิงหาคม 2566 ทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาล เผยผลสำเร็จแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ดำเนินการไกล่เกลี่ยสำเร็จ ทางแพ่ง 53,030 เรื่อง ลดค่าใช้จ่ายประชาชน 6,887,960,640 บาท ทางอาญา 353 เรื่อง ลดต้นทุนภาครัฐ 27,044,036 บาท

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลสำเร็จการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ตามนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า นับแต่พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 รัฐบาล โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ดังนี้ ฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ย 2,708 คน ขึ้นทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ย 4,656 คน เปิดหน่วยบริการไกล่เกลี่ย 1,963 แห่ง (หน่วยงานของรัฐ 82 แห่ง และศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน 1,881 แห่ง) ดำเนินการไกล่เกลี่ยสำเร็จ แบ่งเป็น ข้อพิพาททางแพ่ง 53,030 เรื่อง ลดค่าใช้จ่ายประชาชน 6,887,960,640 บาท ข้อพิพาททางอาญา 353 เรื่อง ลดต้นทุนภาครัฐ 27,044,036 บาท

นางสาวรัชดา กล่าวว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ร่วมมือกับกรมบังคับคดีสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และสถาบันการเงินจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน และยุติธรรมพบประชาชน ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องให้แก่ประชาชนที่เป็นหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หนี้เช่าซื้อรถยนต์ หนี้สินข้าราชการ หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล จำนวน 45,958 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 44,735 เรื่อง ทุนทรัพย์ที่ไกล่เกลี่ย 6,465 ล้านบาท ลดค่าใช้จ่ายประชาชน 5,810 ล้านบาท

“รัฐบาล มุ่งแก้ไขปัญหา บรรเทาความเดือนร้อนของพี่น้องประชาชน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงการแก้ไขปัญหา โดยได้จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนให้ครอบคลุมระดับตำบล ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้นำกระบวนการไกล่เกลี่ยมาใช้ก่อนฟ้องคดีต่อศาล เพิ่มทุนทรัพย์ทางแพ่งและความผิดทางอาญาให้ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้มากขึ้น รวมถึงจัดตั้งหน่วยงานระดับกรมรองรับภารกิจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีและหลังศาลพิพากษา ขอเชิญชวนประชาชนที่มีคดีพิพาทก่อนฟ้อง และหลังศาลมีคำพิพากษา ร่วมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ตอบโจทย์การแก้ไขหนี้สิน หนี้ กยศ. หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ ร่วมกันหาทางออก ฝ่าวิกฤติ สร้างโอกาส ก้าวไปด้วยกัน โดยส่วนกลาง จัดขึ้นทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 2 ของทุกเดือน ณ อาคารกระทรวงยุติธรรม (แห่งใหม่) ถนนแจ้งวัฒนะ หล้กสี่” นางสาวรัชดา ระบุ

Advertisement

โฆษกรัฐบาลชี้แจง พ่อค้าแม่ค้า “โครงการเราชนะ” ถูกเรียกเงินคืนเพราะทำผิดเงื่อนไข

People Unity News : โฆษกรัฐบาลชี้แจง พ่อค้าแม่ค้า “โครงการเราชนะ” ถูกเรียกเงินคืนเพราะทำผิดเงื่อนไข รัฐบาลมุ่งลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ช่วยพ่อค้า แม่ค้ารายย่อย วอนเห็นใจการทำงานของส่วนราชการ ต้องปกป้องและให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนส่วนใหญ่ที่ร่วมโครงการ

11 ต.ค. 64 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แจงกรณีที่เกิดกระแสในโลกออนไลน์กรณีกระทรวงการคลังได้ตรวจสอบผู้ประกอบการที่ไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ประกอบการในโครงการเยียวยาของรัฐ โครงการเราชนะ ตรวจพบลักษณะธุรกรรมที่ผิดเงื่อนไข อาทิ ร้านค้ารับสแกนแล้วแลกเป็นเงินสด มีการสแกนเงินเต็มจำนวนวงเงินสิทธิ (1,000 2,000 บาท เป็นต้น) จำนวนมากและร้านค้าออนไลน์ที่รับสแกนซื้อ-ขายข้ามจังหวัด ทำให้จุดรับเงินขยับไปมาเกิน 7,000 กิโลเมตรใน 1 วัน หรือบางรายอยู่นอกพื้นที่ในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะการประกอบกิจการของผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนไว้กับโครงการ  จึงจำเป็นต้องมีหนังสือประทับตราแจ้งคำสั่งผลการพิจารณาให้ผู้ประกอบการ 2,099 ราย ที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการเราชนะ  ผู้ประกอบการที่ขาดคุณสมบัติการเข้าร่วมโครงการเราชนะ (เป็นร้านค้าจากโครงการคนละครึ่ง แต่มีสถานะเป็นนิติบุคคล) ผู้ประกอบการที่ชี้แจงแล้วแต่ไม่สอดคล้องกับธุรกรรมที่ตรวจพบ  อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่ง พร้อมแสดงหลักฐานให้ทบทวนผลการพิจารณาต่อผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งกระทรวงการคลังมีขั้นตอนการดำเนินงานกับผู้ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข ตั้งแต่การระงับสิทธิการใช้แอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ชั่วคราวจนถึงการดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามลำดับ  รวมทั้งยังได้มีการจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการเราชนะ เพื่อติดตามตรวจสอบการกระทำที่เข้าข่ายฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการอย่างใกล้ชิดด้วย

โฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรีกล่าวอีกว่า วิงวอนขอให้เห็นใจการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ทุกอย่างต้องยึดตามระเบียบและกฎหมายรองรับ  ซึ่งผู้ประกอบการที่สมัครใจร่วมโครงการ  ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนด ตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการด้วย หากมีการดำเนินการที่ละเมิดกติกาหรือผิดวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ส่วนราชการที่รับผิดชอบก็มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามข้อบังคับ  เพื่อปกป้องและรักษาสิทธิของประชาชน และให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคำยินยอม เนื่องจากเงินทุกบาทที่นำใช้จ่ายมาจากภาษีของคนไทยทุกคน ขณะเดียวกันก็ฝากย้ำเตือนไปยังผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการอย่าได้มีธุรกรรมเสี่ยง เพราะพบว่ามีการผิดเงื่อนไข อาจเสียสิทธิในการเข้าร่วมโครงการหรือมาตรการอื่นของรัฐอื่นๆในอนาคตด้วย

Advertising

Verified by ExactMetrics