วันที่ 6 พฤษภาคม 2024

ธนาคารออมสินจัด 4 กระบวนการสนองนโยบายคลังสานต่อก้าวต่อไปเราไม่ทิ้งกันสู้ภัยโควิด

People Unity News : ธนาคารออมสินสานต่อก้าวต่อไปเราไม่ทิ้งกันสู้ภัยโควิด จัดมาตรการ “เยียวยา ฟื้นฟู ส่งเสริมสร้างอาชีพ คืนความสุข สร้างภูมิคุ้มกัน” เตรียมวงเงินปล่อยสินเชื่อใหม่ 40,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยต่ำ ให้ผ่อนเบาๆ

25 พฤษภาคม 2563 ณ ห้องวายุภักษ์ 4 กระทรวงการคลัง ได้มีพิธีแถลงข่าวการดำเนินมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ร่วมกับหน่วยงานภายใต้สังกัด และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) โดยได้บูรณาการการทำงานร่วมกันในการดูแลเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ด้วยการสานต่อโครงการ “ก้าวต่อไปเราไม่ทิ้งกันสู้ภัยโควิด-19” และจัดตั้ง “ทีมเราไม่ทิ้งกัน” เพื่อติดตาม สำรวจ และรับทราบความเดือดร้อน พร้อมเร่งเยียวยา ฟื้นฟู คืนอาชีพ คืนความสุขให้กับประชาชน ตลอดจนออกมาตรการเพื่อเติมความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแกร่ง โดยมี ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานแถลงข่าว พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงการคลัง ผู้บริหารหน่วยงานภายใต้สังกัด และผู้บริหารสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดย ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เข้าร่วมในพิธี

ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินได้ดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ตามแนวทางที่กระทรวงการคลัง ได้กำหนดกรอบและแนวทางไว้ โดยได้ออกมาตรการดูแลเป็นการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่เป็นลูกค้าและประชาชนทั่วไป ได้แก่ มาตรการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลา 6 เดือน มาตรการให้เงินกู้ฉุกเฉิน 10,000 บาท และ 50,000 บาท การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟท์โลน แก่สถาบันการเงิน น็อนแบงก์ ตลอดจนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของธนาคารออมสิน การลงพื้นที่ตรวจสอบสิทธิ์ผู้ลงทะเบียนที่ขอทบทวนสิทธิ์ตามมาตรการชดเชยรายได้ให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และล่าสุด ได้ดำเนินการรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้ลงทะเบียนในมาตรการลงทะเบียนขอรับเงินชดเชยรายได้จากประชาชนที่ลงทะเบียนแล้วยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ 5,000 บาท อีกด้วย

“ช่วง 1-2 เดือนนี้ จะเห็นได้ว่ามีผู้มาติดต่อที่สาขาธนาคารออมสินเป็นจำนวนมาก หลายสาขามีคนเข้าแถวรอจนล้นออกมานอกสาขาเป็นคิวยาวมาก ท่ามกลางการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งธนาคารฯได้ปฏิบัติตามแนวทางที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ทั้งในส่วนการรับรองลูกค้าและการดูแลความพร้อมของพนักงาน โดยหลายธุรกรรมได้แนะนำให้ลูกค้าใช้บริการออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น การลงทะเบียนสินเชื่อฉุกเฉินรายย่อย ซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะกัน เสี่ยงต่อการติดเชื้อ” ดร.ชาติชาย กล่าว

ทั้งนี้ ความคืบหน้าของมาตรการที่ธนาคารออมสินดำเนินการอยู่ ได้แก่

1.การพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลา 6 เดือน จนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2563 มีผู้ที่ได้รับประโยชน์ ทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีวงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท รวม 2,894,333 ราย วงเงินรวม 1.129 ล้านล้านบาท

2.สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) หรือ เงินกู้ฉุกเฉิน วงเงิน 10,000 บาทต่อราย สำหรับผู้มีอาชีพอิสระ และวงเงิน 50,000 บาทต่อราย สำหรับผู้มีรายได้ประจำ วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีผู้ยื่นกู้แล้วจำนวน 2,663,197 ราย และได้ส่งข้อความ SMS นัดให้มายื่นเอกสารแล้ว 1,969,739 ราย โดยได้ดำเนินการอนุมัติไปแล้ว 310,006 ราย คิดเป็นวงเงิน 7,527.16 ล้านบาท โดยปริมาณงานในส่วนนี้มีมากกว่างานปกติถึง 10 เท่าตัว ซึ่งธนาคารฯได้เร่งดำเนินการอย่างเต็มกำลัง และทำทุกวันโดยไม่มีวันหยุด ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2563

3.เงินกู้ซอฟท์โลน 150,000 ล้านบาท ได้มีผู้ยื่นกู้แล้ว 12,352 ราย วงเงินรวม 131,976.81 ล้านบาท ปัจจุบันได้อนุมัติแล้ว 105,242.34 ล้านบาท คงเหลือวงเงินที่กำลังทยอยอนุมัติอีก 44,757.66 ล้านบาท คาดว่าภายในเดือนมิถุนายน 2563 จะสามารถอนุมัติได้ทั้งหมด

ล่าสุดธนาคารออมสินได้อนุมัติซอฟท์โลน อีก 2,000 ล้านบาท ให้กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อนำไปปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ 2% ให้กับสำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่นำทรัพย์สินมาจำนำในช่วงนี้โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ

ดร.ชาติชาย กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการ “ก้าวต่อไปเราไม่ทิ้งกันสู้ภัยโควิด-19” ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ทั้ง 9 แห่ง ธนาคารออมสินได้กำหนดแนวทาง “เยียวยา ฟื้นฟู ส่งเสริมสร้างอาชีพ คืนความสุข สร้างภูมิคุ้มกัน” ด้วยแนวคิด “คืนความสุข สร้างภูมิคุ้มกัน” ผ่าน 4 กระบวนการ คือ 1. เยียวยา ดำเนินการภายใต้มาตรการเสริมสภาพคล่องต่อเนื่องหลังจากการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนสิ้นสุด ด้วยการพักชำระหนี้ต่อเนื่องอีก 2 ปี โดยให้เลือกชำระดอกเบี้ย 50 – 100% ได้ตามความสามารถ และยังคืนดอกเบี้ยให้อีก 20% (Cash Back) กรณีผ่อนขำระดีต่อเนื่อง รวมถึงขยายระยะเวลาผ่อนชำระออกไป ขณะเดียวกันได้ตั้งทีมคลินิกคลังสมอง หมอคลัง “เราไม่ทิ้งกัน” บริการด้วยระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์/ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์/สื่อสังคมออนไลน์ธนาคารออมสิน เช่น GSB Society ซึ่งจะเชื่อมโยงข้อมูลกับเว็บไซต์เราไม่ทิ้งกัน รับเรื่องเยียวยา ให้คำปรึกษา ประสานเครือข่ายเพื่ออำนวยความสะดวกให้บริการประชาชนอย่างครอบคลุม รวดเร็วธนาคารออมสิน ยินดีดูแลผู้ได้รับผลกระทบที่เดินเข้ามาหาเรา ด้วยมุ่งหวังให้คนไทยสามารถดำเนินชีวิตฝ่าฟันผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ไปให้ได้

กระบวนการที่ 2 การคืนอาชีพ ธนาคารฯได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย อาทิ มหาวิทยาลัยประชาชน สร้างงานชุมชน โครงการช่างประชารัฐ ให้ช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ผ่านเครือข่ายพันธมิตร รวมถึงมีการจัด “ตลาดนัดเราไม่ทิ้งกัน” ทั่วประเทศ ขณะที่ กระบวนการที่ 3 คืนความสุข โดยธนาคารฯได้ร่วมกับชุมชนต่างๆ ดำเนินการ “ตู้คลังออมสินปันสุข” ทุกชุมชน ซึ่งได้นำร่องจัดทำไปแล้วในหลายพื้นที่ และต่อไปจะดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม “ออมสินดูแล ห่วงใย ไม่ทิ้งกัน” สำหรับกระบวนการสุดท้าย กระบวนการที่ 4 ฟื้นฟูรายได้ ด้วยการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาผ่อนนาน จำนวน 4 ประเภท วงเงินสินเชื่อประเภทละ 10,000 ล้านบาท รวมวงเงินสินเชื่อ 40,000 ล้านบาท ได้แก่ สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ สินเชื่อก่อร่างสร้างตัวใหม่ สินเชื่อคลายกังวล และ สินเชื่อซอฟท์โลนเยียวยาผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกและธุรกิจท่องเที่ยว

“ปัจจุบัน ศบค. (ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19) ได้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทำกิจกรรมหรือดำเนินชีวิตได้เป็นปกติให้มากที่สุดภายใต้หลักเกณฑ์ควบคุมการแพร่ระบาด ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังได้เร่งออกมาตรการฟื้นฟูฯ ออกมาควบคู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมนี้ เพื่อช่วยให้ประชาชนอุ่นใจได้ว่าหากต้องการความช่วยเหลือ จะได้รับอย่างแน่นอน โดยธนาคารออมสินยินดีดูแลผู้ต้องการฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ ด้วยมุ่งหวังให้สามารถดำเนินชีวิตฝ่าฟันผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ให้มีความเป็นอยู่อย่างปกติตามสถานการณ์โดยเร็วและเหมาะสม” ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวในที่สุด

Advertising

Advertising

กรมสรรพากรคืนภาษีบุคคลธรรมดาปี 62 ให้กับผู้ขอคืนไปแล้ว 95% ช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าประชาชน

People Unity News : กรมสรรพากรคืนภาษีบุคคลธรรมดาปีภาษี 2562 ให้กับผู้ที่ขอคืนไปแล้ว 2,741,738 แบบ สูงถึงเกือบร้อยละ 95 จากผู้ที่ขอคืนภาษี 2,909,264 แบบ จำนวนเงินที่คืนให้แล้ว 28,072.52 ล้านบาท โดยผู้ที่ชำระภาษีไว้เกินและได้รับภาษีคืนแล้ว เพราะเป็นผู้ที่ยื่นแบบผ่านทางอินเทอร์เน็ต ยื่นเอกสารประกอบการขอคืนถูกต้อง และผูกบัญชีธนาคารที่ขอคืนกับระบบพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน

นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “ขณะนี้กรมสรรพากรได้เร่งดำเนินการพิจารณาและอนุมัติคืนภาษีตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90  ภ.ง.ด.91 ประจำปีภาษี 2562 ที่ผู้เสียภาษียื่นขอคืนภาษีไปแล้วรวมจำนวน 2,741,738 แบบ จากแบบที่ยื่นขอคืนทั้งหมด 2,909,264 แบบ คิดเป็นร้อยละ 94.24 เป็นจำนวนเงินภาษีที่คืนให้แล้วรวม 28,072.52 ล้านบาท (ข้อมูล ณ 12 พฤษภาคม 2563) สำหรับผู้ที่ชำระภาษีไว้เกินและได้รับภาษีคืนจากกรมสรรพากรไปแล้ว เนื่องจากเป็นผู้ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางระบบอินเทอร์เน็ต มีการจัดส่งเอกสารประกอบการพิจารณาคืนภาษีถูกต้องครบถ้วน และมีการผูกบัญชีธนาคารที่ขอคืนกับระบบพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน ทั้งนี้ ผู้เสียภาษีที่ขอคืนภาษีสามารถตรวจสอบ และติดตามสถานะการขอคืนภาษีได้ด้วยตนเองที่ www.rd.go.th ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง”

สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161 หรือที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ

โฆษณา

“พุทธิพงษ์” ถกบิ๊กเอกชน-รัฐวิสาหกิจด้านไอที หาแนวทางความร่วมมือสร้างงานให้คนไทยทำ

People Unity News : 9 พฤษภาคม 2563 ที่อาคารดีป้า ลาดพร้าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมหารือภาคเอกชน-รัฐวิสาหกิจหาแนวทางความร่วมมือในการบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือผู้ว่างงานนัดแรก หวังช่วยให้ประชาชนไทยมีงานทำ หลังสิ้นสุดวิกฤต COVID-19 พร้อมรองรับยุคเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัล และสภาวะ New Normal

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือผู้ว่างงานจากผลกระทบสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ครั้งที่ 1ร่วมกับคณะผู้บริหารจากบริษัทเอกชนขนาดใหญ่และรัฐวิสาหกิจ รวม 19 บริษัทวานนี้ ประกอบด้วย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด บริษัท เดลล์ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน)บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)(DTAC) บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (CAT) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป

โดย นายพุทธิพงษ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้มีการหารือใน 3 ประเด็นหลักคือ ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ว่างงาน พนักงานที่ถูกลดค่าตอบแทน และนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังหางานหรือเริ่มประกอบธุรกิจ อีกทั้งการพัฒนา National Digital Workplace Platform ซึ่งดีป้าจะเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการพัฒนาระบบ พร้อมร่วมมือกับบริษัทด้านดิจิทัลในการจับคู่งาน (Matching) กับผู้ที่ต้องการงาน ทั้งในรูปแบบ Digital Supporter (Non-technical) ไปจนถึง Programmer และ Data Scientist ซึ่งรัฐบาลได้ขอความร่วมมือจากภาคเอกชนในการนำส่งข้อมูลตำแหน่งงานว่างด้านดิจิทัล และนอกเหนือจากดิจิทัล เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยบริษัทจะมีสิทธิ์ในการเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติและคัดเลือกผู้สมัครด้วยตนเอง

ประเด็นถัดมาคือ การช่วยเหลือประชาชนที่ต้องการพัฒนาทักษะและความสามารถด้านต่างๆ เพิ่มเติม Reskill และ Upskill เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด รองรับการก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล รวมถึงสภาวะ New Normal โดยดีป้าจะดำเนินการช่วยเหลือและประสานงานกับบริษัทด้านดิจิทัลในการพัฒนาหลักสูตร และมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประเด็นสุดท้ายคือข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการและข้อเรียกร้องที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ โดยคณะผู้บริหารจะนำผลการประชุมครั้งนี้กลับไปหารือและนำข้อสรุปกลับมาประชุมร่วมกันอีกครั้งหลังจากนี้

ด้าน ดร.ณัฐพลกล่าวว่า ดีป้าคาดหวังว่า การประชุมนัดแรกในวันนี้จะส่งผลให้คน IT คน Non IT รวมถึงผู้ที่ต้องการยกระดับทักษะเพื่อประกอบอาชีพใหม่มีช่องทางการหางานผ่านแพลตฟอร์มที่รัฐและเอกชนบูรณาการการทำงาน โดยมี ดีป้า เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งในเรื่องของการสร้างสังคมดิจิทัลเพื่อให้ประชาชนไทยสามารถปรับตัวรับยุค New Normal และสามารถสืบค้นงานที่ตรงตามความเชี่ยวชาญและทักษะที่เปลี่ยนไปได้

โฆษณา

แบงก์ชาติเผยลูกหนี้ SMEs ได้รับการช่วยเหลือสินเชื่อ soft loan รอบแรกกระจายตัวดี

People Unity News : ธปท. เผยลูกหนี้ SMEs ได้รับการช่วยเหลือสินเชื่อ soft loan รอบแรกกระจายตัวดี

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธปท. ได้แจ้งข้อมูลการให้สินเชื่อ soft loan ของ ธปท. ครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563 ว่า มีลูกหนี้ได้รับสินเชื่อ soft loan จำนวน 16,326 ราย วงเงินรวม 22,788 ล้านบาท นั้น ขอแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมว่า สินเชื่อมีการกระจายตัวค่อนข้างทั่วถึงโดยไม่ได้กระจุกตัวแก่ลูกหนี้กลุ่มใดเป็นพิเศษ และกระจายไปในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กในหลายอุตสาหกรรมทั่วประเทศ

โดย 76% ของ SMEs ที่ได้รับ soft loan เป็น SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินต่ำกว่า 20 ล้านบาท (วงเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562) ทั้งนี้ คาดว่าในสัปดาห์ต่อไปจะมีสถาบันการเงินยื่นคำขอสินเชื่อมาเพิ่มอีก ซึ่งจะทำให้สามารถเร่งช่วยเหลือ SMEs ได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

โฆษณา

ครบ 1 เดือนมาตรการเยียวยา 5,000 บาท มีผู้ผ่านเกณฑ์แล้ว 10.6 ล้านราย โอนเงินแล้ว 7.5 ล้านราย

People Unity News : ความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5,000 บาท หลังดำเนินการมาแล้วครบ 1 เดือน มีจำนวนการลงทะเบียนรวมทั้งสิ้น 28.8 ล้านรายการ (ปิดรับลงทะเบียนเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563) ในจำนวนนี้เมื่อหักการลงทะเบียนซ้ำหลายครั้งออกแล้ว คงเหลือผู้ลงทะเบียน 24 ล้านราย

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5,000 บาท หลังดำเนินการมาแล้วครบ 1 เดือน มีจำนวนการลงทะเบียนรวมทั้งสิ้น 28.8 ล้านรายการ (ปิดรับลงทะเบียนเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563) ในจำนวนนี้เมื่อหักการลงทะเบียนซ้ำหลายครั้งออกแล้ว คงเหลือผู้ลงทะเบียน 24 ล้านราย โดยพบว่าเป็นผู้ไม่ผ่านการยืนยันตัวตนจากฐานข้อมูลของกรมการปกครอง 1.7 ล้านราย คงเหลือผู้ลงทะเบียนที่เข้าสู่ขั้นตอนการคัดกรองตามหลักเกณฑ์จำนวน 22.3 ล้านราย

กระทรวงการคลังได้ใช้ฐานข้อมูลและระบบการคัดกรองคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนแล้วพบว่ามีผู้ที่ไม่ผ่านคุณสมบัติจะได้รับสิทธิ เนื่องจากมีสิทธิหรือเข้าข่ายจะได้รับสิทธิเยียวยาจากรัฐบาลผ่านทางกลไกอื่นอยู่แล้ว แบ่งเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรตามฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร 4.2 ล้านราย เป็นข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ หรือผู้รับเบี้ยหวัดและผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิชดเชยรายได้ในระบบประกันสังคม 1.1 ล้านราย และมีผู้ขอยกเลิกการลงทะเบียน 9.5 แสนราย

ดังนั้น จึงมีผู้ที่เข้าข่ายสามารถได้รับสิทธิการชดเชยรายได้ตามมาตรการเยียวยา 5,000 บาท จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 16 ล้านราย ซึ่งเป็นผู้ผ่านเกณฑ์แล้วจำนวน 10.6 ล้านราย และกระทรวงการคลังได้โอนเงินเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับสิทธิส่วนใหญ่จำนวน 7.5 ล้านรายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 เมษายนถึงวันที่ 29 เมษายน 2563 ในวันที่ 30 เมษายน 2563 จะมีการโอนเงินเยียวยาผู้ได้รับสิทธิอีก 4.8 แสนราย ส่วนที่เหลืออีก 2.6 ล้านราย จะเร่งโอนให้ภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2563 กลุ่มนี้จะได้รับเงินเยียวยาของรอบเดือนเมษายนด้วยรวมเป็น 2 เดือน โดยขอให้ตรวจสอบสถานะล่าสุดได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2563 เวลา 6.00 น. เป็นต้นไป หากได้รับสิทธิจะพบข้อความว่า “ท่านได้รับสิทธิมาตรการเยียวยา 5,000 บาท กระทรวงการคลังจะดำเนินการโอนเงินให้ท่านโดยเร็วที่สุด”

สำหรับกลุ่มที่ขอข้อมูลการประกอบอาชีพเพิ่มเติมยังคงเหลือผู้ที่ไม่มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีก 1 ล้านราย โปรดมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการรับสิทธิจากมาตรการเยียวยาอย่างรวดเร็ว และสำหรับผู้ที่ขอทบทวนสิทธิจำนวน 3.5 ล้านราย ทีมผู้พิทักษ์สิทธิอยู่ระหว่างการลงพื้นที่เพื่อยืนยันตัวตนและตรวจสอบการประกอบอาชีพตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ ซึ่งกระทรวงการคลังจะเร่งดำเนินการให้ทราบผลโดยเร็วต่อไป

โฆษณา

ททท.ชวนท่องเที่ยวเสมือนจริงผ่านเทคโนโลยี “Virtual Tours” ช่วงกักตัวอยู่บ้าน

People Unity News : ททท. ชวนสัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวเสมือนจริงผ่านเทคโนโลยี “Virtual Tours” 10 ที่ 9 จังหวัดทั่วไทยในช่วงระหว่างกักตัวอยู่บ้านเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

กองสารสนเทศการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ นำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาผนวกกับการเดินทางท่องเที่ยว (Virtual Tours) พาชมสถานที่ท่องเที่ยว 10 แห่งใน 9 จังหวัดทั่วประเทศ ผ่านทางเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียของ ททท. ในช่วงระหว่างกักตัว อยู่บ้านเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด-19)

นายศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา ททท. กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลกและของไทย ทำให้ประชาชนต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด คือ อยู่บ้านเพื่อหยุดเชื้อ ไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวตามปกติได้ ททท. จึงได้นำเทคโนโลยี ทัวร์เสมือนจริง (Virtual Tours) ที่สามารถนำเสนอประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว โดยพานักท่องเที่ยวสัมผัสบรรยากาศและกลิ่นอายประสบการณ์เสมือนจริงที่ได้เข้าไปเดินท่องเที่ยวอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ด้วย Virtual Tours to 10 places in 9 provinces นำเสนอแหล่งท่องเที่ยว 10 แห่งใน 9 จังหวัดทั่วประเทศไทย ประกอบด้วย ภาคเหนือ ได้แก่ วัดศรีชุม จ.สุโขทัย คุ้มเจ้าหลวง จ.แพร่ วัดนันตาราม จ.พะเยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ปราสาทสด๊กก๊อกธม จ.สระแก้ว ปราสาทหินพิมาย จ. นครราชสีมา ภาคตะวันออก ได้แก่ อ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี ภาคกลาง ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ และพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จ.ลพบุรี วัดบางกุ้ง จ.สมุทรสงคราม และ ภาคใต้ ได้แก่ วังเจ้าเมืองพัทลุง จ.พัทลุง บ้านท่านขุน วัดมหาธาตุ และบ้านหนังตะลุง จ.นครศรีธรรมราช

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชม Virtual Tours to 10 places in 9 provinces ได้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2563 เป็นต้นไป ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ www.tourismthailand.org  Facebook page : Amazing Thailand และ Twitter @ThailandFanClub และ @go2Thailand  อีกทั้ง สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองสารสนเทศการตลาด ททท. โทร. 02-250-5500 ต่อ 2842

โฆษณา

ออมสิน จับมือ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับขึ้นเงินรางวัลสลากฯ เริ่มงวดแรก 16 พ.ค.นี้

People Unity News : ธนาคารออมสิน ร่วมกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ให้บริการรับขึ้นเงินรางวัลสลากฯ ให้กับประชาชนและผู้รับซื้อ ทุกรางวัล ยกเว้นรางวัลที่ 1 คิดค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 ผ่านธนาคารออมสิน 1,062 สาขาทั่วประเทศ เริ่มงวดแรก 16 พฤษภาคมนี้

วันนี้ (27 มีนาคม 2563) ณ ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต ในฐานะประธานกรรมการธนาคารออมสิน และประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการให้บริการขึ้นรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ระหว่าง ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และ พ.ต.อ.บุญส่ง จันทรีศรี ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งธนาคารออมสินจะเป็นตัวแทนในการให้บริการรับขึ้นเงินรางวัล ผ่านธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มทางเลือกและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ถูกรางวัลสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารฯพร้อมเป็นตัวแทนสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ในการให้บริการรับขึ้นเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ผ่านช่องทางธนาคารออมสินสาขาทั่วประเทศ ที่มีอยู่กว่า 1,062 แห่ง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนผู้ถูกรางวัล และผู้รับซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล/สลากการกุศล สามารถขึ้นเงินรางวัลได้ง่าย และสะดวกสบายขึ้น นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยสูง เพราะสามารถฝากเงินเข้าบัญชี เพื่อทำธุรกรรมอื่นๆของธนาคารได้ทันที รวมถึงสาขาของธนาคารออมสินทุกแห่ง สามารถตรวจสอบสลากฯด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันปัญหาการปลอมแปลง

ทั้งนี้ การขอรับขึ้นเงินรางวัล ผู้ถูกรางวัลจะต้องนำสลากกินแบ่งรัฐบาล/สลากการกุศล ฉบับจริง มาติดต่อด้วยตนเองที่ธนาคารออมสินสาขา โดยธนาคารจะรับขึ้นเงินทุกรางวัล ยกเว้นรางวัลที่ 1 และรับเฉพาะสลากงวดปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งสามารถขึ้นรางวัลได้ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันออกรางวัลในงวดนั้น ไปจนถึงเวลา 12.00 น. ของวันออกรางวัลในงวดถัดไป โดยจะคิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 ของมูลค่ารางวัลแต่ละรางวัล และค่าอากรแสตมป์ ร้อยละ 0.5 – 1.0 ของมูลค่ารางวัล ตามประเภทของสลาก รวมเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 1.5 – 2.0 ของมูลค่ารางวัล ซึ่งจะเริ่มเปิดให้บริการขึ้นรางวัลสลากฯ ได้ตั้งแต่งวดแรกวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ตามสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสินทุกช่องทาง ได้แก่ Website : www.gsb.or.th, Line Official, Facebook : GSB Society หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ธนาคารออมสิน Call Center โทร.1115

พ.ต.อ.บุญส่ง จันทรีศรี ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สำนักงานสลากฯ มีตัวแทนให้บริการรับขึ้นเงินรางวัล ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารกรุงไทย จากเดิมสามารถขึ้นเงินรางวัลได้ที่สำนักงานสลากฯ ถนนสนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี เพียงแห่งเดียว หรือตามแผงลอตเตอรี่และร้านค้าบางแห่ง ซึ่งคิดค่าธรรมเนียมสูงถึงร้อยละ 2-5 สำหรับความร่วมมือนี้ในครั้งนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ถูกรางวัลมีทางเลือกมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าธรรมเนียมที่ถูกเรียกเก็บเมื่อนำสลากไปขึ้นเงินรางวัลที่แผงลอตเตอรี่หรือร้านค้าบางแห่ง และสามารถช่วยบรรเทาปัญหาการนำสลากฯปลอมมาขึ้นเงินรางวัลได้อีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากสาขาของธนาคารออมสินมีมาตรฐานในการตรวจสอบสลากฯที่ดี มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย และมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรมเป็นอย่างดี

โฆษณา

“บิ๊กตู่” จะผลักดันเอสเอ็มอีไทยสู่ตลาดออนไลน์ ยืนยันพัฒนาระบบภาษีเพื่อความเป็นธรรม

People Unity News : นายกรัฐมนตรีจะผลักดันเอสเอ็มอีไทย สู่ตลาดออนไลน์ ยืนยันพัฒนาระบบภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรม

ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ก.พ.2563 เวลา 14.10 น. ณ อาคารรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงว่า จะผลักดันเอสเอ็มอีไทย สู่ตลาดออนไลน์ โดยนายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณีรัฐบาลจีนเปิดสินค้าออนไลน์เสรี รัฐบาลมีแนวทางให้การอบรม ให้การเรียนรู้ผู้ประกอบการ ถ้าให้อย่างเดิม ช่วยทุกอย่างจะเป็นยาชาหรือยาพิษ ฉะนั้นต้องร่วมมือพัฒนาร่วมกัน ปฏิรูปร้านค้าปลีก ร้านค้าย่อย เอสเอ็มอีต่างๆ โดยวันนี้มีการพัฒนารูปแบบตลาดออนไลน์มากขึ้นทั้งในส่วนของสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน มีกองทุนชุมชน กองทุนการเงินประชาชน ที่กำลังดำเนินการอยู่

สำหรับการปรับปรุงระบบภาษี นายกรัฐมนตรียืนยันว่าไม่ต้องการไปรีดภาษีใคร ถ้าไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีก็มีการดูแลอย่างหนึ่ง เมื่อเสียภาษีได้ก็ต้องช่วยกันดูแลเสียภาษี ตนไม่เคยบอกว่าประชาชนไม่เสียภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนใหญ่ก็กลับเข้ามาสู่เรื่องงบท้องถิ่น ซึ่งได้จำนวนไม่ถึง 100,000 ล้านบาท แต่ใช้งบประมาณท้องถิ่นประมาณ 400,000 ล้านบาท จึงใช้งบกลางมาสนับสนุน 300,000 ล้านบาท ฉะนั้น ต้องทำให้ท้องถิ่นมีรายได้มากขึ้น และต้องมีการพัฒนาระบบภาษี รัฐบาลกำลังพัฒนาปรับปรุง ต้องทำให้ทุกคนเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ เป็นพลเมืองที่ถูกกระตุ้นด้วยตัวของเขาเอง ขณะเดียวกันก็ต้องมีการช่วยเหลือตามสมควร

นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงเรื่องการลงทุน ยืนยันว่ารัฐบาลก่อนและรัฐบาลนี้ไม่ต้องการสนับสนุนการทำผิดกฎหมายแม้แต่นิดเดียว การอนุมัติเห็นชอบก็เสนอมาจากคณะกรรมการหลายๆส่วน ตนขอยืนยันในคณะรัฐมนตรีและตนเชื่อมั่นในข้าราชการ ฉะนั้น การที่จะอ้างจากโน่นจากนี่ก็ไม่เป็นธรรมกับตนมากนัก ทั้งนี้ ตนเป็นคนริเริ่ม Big Data ให้ทุกคนไปทำ Big Data เพื่อมาใช้ประโยชน์ โดย Big Data มาจาก 3 ส่วน คือรัฐบาล โซเชียลมีเดีย และจากการเยี่ยมเยียนประชาชน ถือเป็นฐานข้อมูลที่รัฐบาลมี จำนวนคนก็ยังมีการแยกประเภท แยกรายได้ ว่าจะช่วยเหลืออย่างไร ไม่ใช่การเหมาจ่ายทั้งหมดด้วย

โฆษณา

ไบโอเทค เปิดตัวข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ ‘หอมนาคา’ สะเทินน้ำสะเทินบก สายพันธุ์แรกของไทย

People Unity News : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พัฒนา ข้าวหอมนาคาข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ที่ทนทานต่อภาวะน้ำท่วมฉับพลัน ทนแล้ง และทนโรค ถือเป็น ข้าวเหนียวสะเทินน้ำสะเทินบกสายพันธุ์แรกของไทย

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ไบโอเทค สวทช. กล่าวว่า ปัญหาหลักของการปลูกข้าวเหนียวที่พี่น้องชาวนาต้องเผชิญ คือ ‘ข้าวล้ม’ เพราะข้าวเหนียวพันธุ์ไทยเป็นข้าวต้นสูง เวลาลมฝนมาแรงข้าวจะล้มนอนแม้ยังออกไม่เต็มรวง ปีไหนแล้ง ‘ขาดน้ำ’ ผลผลิตจะออกน้อย หนำซ้ำยังต้องเผชิญกับ ‘โรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง’ ทำให้การเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้เป็นความทุกข์ของคนทำนา เพราะชะตาชีวิตต้องแขวนอยู่บนปัจจัยเสี่ยงที่ไม่อาจควบคุมได้ นักวิจัยไทยจึงพยายามพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวเพื่อเอาชนะปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง

“จนในปีที่ผ่านมา ไบโอเทค สวทช. ร่วมกับนายศรีสวัสดิ์ ขันทอง และคณะวิจัย นำความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม มาศึกษาและพัฒนาพันธุกรรมของข้าวเหนียวไทย เพื่อชูยีนเด่น ลดยีนด้อย ผ่านการผสมและคัดเลือกพันธุ์อย่างเหมาะสม จนได้ผลงานข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ ‘หอมนาคา’ ที่สามารถจมอยู่ในน้ำได้นาน 1 – 2 สัปดาห์ และทนทานต่อการขาดน้ำในบางระยะของการปลูกข้าว สอดรับกับสภาพพื้นที่ และยังทนทานต่อโรคไหม้และขอบใบแห้ง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักทำให้ชาวนาสูญเสียผลผลิตอีกด้วย ข้าวเหนียวหอมนาคาสามารถปลูกได้ตลอดปี เพราะเป็นข้าวไม่ไวแสง ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง มีระยะเวลาในการปลูกประมาณ 130 – 140 วัน โดดเด่นด้วยลักษณะลำต้นไม่สูง เก็บเกี่ยวง่าย สามารถเก็บได้ด้วยเครื่องทุ่นแรง สอดรับกับการทำนาสมัยใหม่และแนวโน้มการทำนาในอนาคตที่เครื่องจักรจะเข้ามาแทนที่ ทั้งนี้ผลจากการทดลองปลูกพบว่า ในพื้นที่ภาคเหนือมีผลผลิต 800 – 900 กิโลกรัมต่อไร่ และภาคอีสานมีผลผลิตสูงถึง 700 – 800 กิโลกรัมต่อไร่ ต่างจากเดิมที่มักมีผลผลิตเพียง 400 – 500 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น ในด้านกระแสตอบรับจากผู้บริโภค ข้าวเหนียวหอมนาคาเป็นที่ชื่นชอบ เพราะเมื่อนำมานึ่งรับประทาน ข้าวมีความหอมและนุ่ม ถูกปากคนไทย อีกทั้งเมื่อหยิบทานข้าวจะไม่ติดมือ วางตั้งทิ้งไว้ข้าวก็ไม่แข็ง และนำไปอุ่นซ้ำข้าวก็ไม่เละ ถือเป็นความโดดเด่นทางพันธุกรรม”

ดร.ธีรยุทธ กล่าวว่า การดำเนินงานต่อจากนี้ คณะวิจัยตั้งเป้าเผยแพร่ความรู้เรื่องการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้ชาวนาสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เอง ลดการพึ่งพิงรัฐหรือนายทุน ในด้านการค้าคณะวิจัยได้เจรจากับโรงสี ถึงข้อเด่นของข้าวสายพันธุ์นี้เพื่อให้เกิดการรับซื้อไปจำหน่ายต่อ ซึ่งโรงสีค่อนข้างให้ความสนใจ นอกจากนั้นผลจากการทดสอบเรื่องการแปรรูป ข้าวเหนียวสามารถพองตัวเป็นข้าวพองได้ดี จึงอยู่ในช่วงของการเจรจาให้โรงงานได้ลองนำไปใช้เป็นวัตถุดิบทำอาหารแปรรูป ส่วนสุดท้ายคือทางด้านผลกำไรจากการขายข้าวที่ชาวนาจะได้รับ คณะวิจัยมีความเห็นว่าราคาข้าวน่าจะอยู่ในเกณฑ์ทั่วไปของตลาด เพื่อให้เกิดการซื้อง่ายขายคล่อง เพราะกำไรที่ชาวนาจะได้เพิ่มมาจากปริมาณผลผลิตที่ได้มากขึ้นจากแต่ละรอบการปลูก และปริมาณการใช้ยาและสารเคมีที่ลดลงอยู่แล้ว การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวครั้งนี้ ถือเป็นผลงานสำคัญของการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยกระดูกสันหลังของชาติฝ่าฟันอุปสรรคในการทำการเกษตร ท่ามกลางสถานการณ์ธรรมชาติที่แปรปรวน

โฆษณา

Startup ไทยเตรียมเฮ “พุทธิพงษ์” ชักชวน Amazon Web Services สนับสนุน Startup ไทย

People Unity News : Startup ไทย เตรียมเฮ รมว.ดีอีเอส ชักชวน Amazon Web Services ร่วมสนับสนุน Startup ไทย

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกัณต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และคณะฯ ได้เดินทางเข้าหารือความร่วมมือกับผู้บริหารระดับสูงของ Amazon Web Services (AWS) ณ สำนักงานใหญ่ Amazon Seattle สำหรับ AWS มีความถนัดในเรื่องระบบ cloud ซึ่งมีระบบสนับสนุนหลายระบบ รวมถึง e-commerce ของ Amazon เองและยังมีบริการเรื่องระบบความปลอดภัยของข้อมูล และมีโครงการพัฒนา startup ด้วย

“ผมเห็นว่า Amazon มีโอกาสมากในไทย เพราะเป็นบริษัทที่ startup ในไทยรู้จักเป็นอย่างดี ผมจึง ชักชวนให้ AWS มาทำกิจกรรมเพิ่มขึ้นในประเทศไทย และสนับสนุนประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งต่อไปจะเห็นความร่วมมือระหว่าง depa และ AWS มากขึ้น จะมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนระหว่าง startup และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างเครือข่าย startup ไทยและอเมริกา จะมีการจัดกิจกรรมในประเทศไทยมากขึ้น รวมไปถึงการขายใน launch pad ซึ่งเป็น platform ขายสินค้าที่เป็นนวัตกรรมของ startup บน amazon.com เป็นประโยชน์อย่างมากในการยกระดับ startup ไทยสู่สากล” รมว.ดีอีเอส กล่าว

โฆษณา

Verified by ExactMetrics