วันที่ 7 พฤษภาคม 2024

“จุรินทร์”ยันพาณิชย์หนุน SME ให้ทันสมัยเป็นรากฐานสังคม

People Unity : “จุรินทร์” สั่งจัดรับฟังความเห็นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบบัญชีเพื่อขยายอำนาจทีเอ ย้ำบริษัท CSR ที่ถูกต้องทำเพื่อสังคมมากกว่าบริษัทอื่น เน้นก.พาณิชย์ส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจ SME ให้ทันสมัยเป็นรากฐานสังคม

เมื่อเวลา 10.00 น.-11.00 น. วันที่ 20 ตุลาคม 2562 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของสมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากรแห่งประเทศไทย ณ รร.ริชมอนด์ ถนนรัตนาธิเบศ จ.นนทบุรี

นายจุรินทร์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการพัฒนาและผลักดันเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจ SME ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มีความแข็งแกร่งโดยปรับเปลี่ยนจากผู้ประกอบการ SME ดั้งเดิม (Tradition SME)ไปสู่ผู้ประกอบการที่เน้นนวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น (Smart Enterprise ) ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจเกิดความตระหนัก และมีจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจในการจัดทำบัญชี และการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงลดต้นทุนการประกอบการ และเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันผมจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพธุรกิจ SME ของประเทศไทยให้สอดรับกับยุคดิจิตอลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง

การประกอบธุรกิจเพื่อสังคม CSR นั้นต้องแตกต่างจากธุรกิจ ปกติ แต่ต้องทำเพื่อสังคมเข้มข้นเป็นรูปธรรมกว่า เพราะได้รับสิทธิพิเศษมากกว่านิติบุคคลธรรมดาทั่วไป ดังนั้นต้องนำสิทธิพิเศษนั้นไปแลกกับการทำเพื่อสังคม ตอนนี้มีประกาศที่ลงนามไปทั้งหมด 4 ฉบับประกาศในราช 1.ประกาศเรื่องกำกับดูแลกิจการที่ดีลงนามเองเมื่อ 14 กย.2562 2.ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เรื่องกำหนดรายการอื่นเพื่อสังคม 3.ประกาศเรื่องระยะเวลาดำเนินการแระกอบธุรกิจเพื้อสังคม 24 กย2562 4.ประกาศเรื่องเงื่อนไขการนำกำไรไปใช้เพื่อสังคมต้องเป็นไปตามเงื่อนไข พรบ.วิสาหกิจเพื่อสังคม มาตรา 5

นายจุรินทร์ กล่าวว่า เรื่องการจดทะเบียนออนไลน์ สามารถดำเนินการได้แล้ว เรื่องต่อมากรณีบริษัทจำกัดคนเดียวเป็นเรื่องตรากฎหมายอยู่ระหว่างกฤษฎีการอกลับมาครมและเข้่สภาฯต่อไป เช่นกันกับบริษัท 2 คนจำกัดและ 3 คนจำกัด อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ไปทีละขยัก ส่วนเรื่องการขอหนังสือรับรองหรือนำส่งงบการเงินด้วยระบบอิเลคทรอนิคสามารถดำเนินการได้แล้ว 10 ธนาคาร และนำส่งงบการเงินประจำปีทาวอิเลคทรอนิคได้ โดยเมื่อปี 2561 สามารคใช้ได้ถึง ร้อยละ 91 และขณะนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กำลังพัฒนาเรื่องการยืนยันตัวตนผ่านทางออนไลน์

” ส่วนเรื่องขอเพิ่มอำนาจทีเอ ( Tax Auditor) หรือผู้ตรวจสอบบัญชี ให้สามารถตรวจสอบรับรองบัญชีมากกว่าเดิมนั้นเป็นเรื่องที่ไม่มีนโยบายขณะนี้เพราะมีทั้งบวกและลบแต่สิ่งที่มีนโยบาย คือ ต้องให้ทุกฝ่ายต้องมีความเห็นสอดคล้องกันเสียก่อน ดังนั้นจึงควรจัดเวทีรับฟังความเห็นทุกสมาคม ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ตกผลึกว่าสุดท้ายควรเป็นอย่างไร เมื่อสรุปความเห็นแล้วจึงค่อยดำเนินการ ” นายจุรินทร์ กล่าว

ด้าน ดร.สมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย นายกสมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากรแห่งประเทศไทยว่า การประชุมใหญ่สามัญสมาชิกในวันนี้ถือเป็นการครบรอบ 12 ปี ของการก่อตั้งสมาคมซึ่งมีสมาชิกจำนวนมากกว่า 1600 ท่าน ประกอบด้วยผู้สอบบัญชีภาษีอากร นักบัญชีผู้ประกอบการ และกลุ่มเครือข่ายพันธมิตรจาก 4 สมาคมซึ่งถือเป็นการรวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพด้านบัญชี ซึ่งมีทั้งผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และผู้สอบบัญชีภาษีอากร เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่ร่วมช่วยกันส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจ SME

รมว.สุชาติ เร่งแก้ปัญหาการว่างงาน ประเดิมจ้างงานในพื้นที่ EEC 3 จังหวัด 40,951 อัตรา

สุชาติ ชมกลิ่น

People Unity News : รมว.แรงงาน เร่งขับเคลื่อนนโยบายแก้ปัญหาว่างงาน มุ่งเป้าฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 เดินหน้าจ้างงานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) หลังสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 คลี่คลาย กว่า 40,951 อัตรา มุ่งเป้าฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังโรงงานปิดตัวเป็นจำนวนมาก แนะเด็กไทยเลือกเรียนสายอาชีพ เพื่อให้สอดคล้องตลาดแรงงาน

นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เผยว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญกับปัญหาการว่างงานที่เกิดกับพี่น้องแรงงานในทุกภาคส่วนของประเทศไทย ซึ่งวิกฤตการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานของไทยเป็นอย่างมาก รวมทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ แม้กระทั่งในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ต้องเผชิญกับสภาวะดังกล่าว ซึ่งกรมการจัดหางานไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้เร่งหามาตรการเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมให้ประชาชนได้เกิดการจ้างงาน โดยเฉพาะในส่วนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ใน 3 จังหวัด คือ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนด้านแรงงานเศรษฐกิจและสังคม  โดยเร่งเตรียมตำแหน่งงานว่าง พร้อมร่วมมือกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง อบรมยกระดับฝีมือแรงงานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เนื่องจากเป็นพื้นที่ส่งเสริมการลงทุน ประกอบกับรัฐบาลมีมาตรการในการจูงใจนักลงทุนให้มาลงทุนในพื้นที่ EEC  โดยเฉพาะการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมใหม่

“ขณะนี้ สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศได้คลี่คลายลง กรมการจัดหางานมีแนวคิดจะกระตุ้น การจ้างงานในพื้นที่ EEC ทันที ซึ่งจะสอดรับการเป็นพื้นที่การลงทุนของรัฐบาล ที่ดึงให้นักลงทุนมาประกอบกิจการเพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์ในพื้นที่ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยประเภทงานที่ EEC มีความต้องการแรงงานมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.แรงงานด้านการผลิตอื่นๆ แรงงานทั่วไป 12,706  อัตรา 2.พนักงานรักษาความปลอดภัย 11,437 อัตรา  3.พนักงานบริการอื่นๆ 1,807 อัตรา 4.ช่างอัญมณีและช่างประดิษฐ์เครื่องประดับอื่นๆ 1,186 อัตรา 5.ผู้ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ 872 อัตรา 6.ช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า 826 อัตรา  7.ช่างเทคนิควิศวกรรมโยธา (ก่อสร้าง) 618 อัตรา 8.พนักงานขาย และผู้นำเสนอสินค้าอื่นๆ 609 อัตรา 9.เจ้าหน้าที่เทคนิคเคมี ช่างเทคนิค (อินทรีย์เคมี ยาง พลาสติก โพลิเมอร์ สี กระดาษ น้ำมัน เส้นใย อาหารและเครื่องดื่ม) 604 อัตรา 10.เจ้าหน้าที่การตลาด 516 อัตรา และอื่นๆ (ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องกลอื่นๆ แม่บ้านและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ช่างเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า ฯลฯ) 9,770 อัตรา โดยแรงงานที่ต้องการในพื้นที่ EEC มีทุกระดับตั้งแต่แรงงานฝีมือ กึ่งฝีมือ และไร้ฝีมือ ซึ่งมีความต้องการครอบคลุมตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงปริญญาตรี ขึ้นไป” นายสุชาติ กล่าว

Advertising

“จุรินทร์”นำทำ MOU ธุรกิจตุรกี-ไทย วันเดียวยอด 3,512 ล้าน

People Unity News : “จุรินทร์”นำทำ MOU ธุรกิจตุรกี-ไทย วันเดียวยอด 3,512 ล้าน สินค้ายางพารา-ข้าว-มันสำปะหลัง-อาหาร

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2562 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติภารกิจในการเยือนกรุงอีสตันบูล ประเทศตุรกี โดยเป็นประธานการลงนามข้อตกลง หรือ MOU ในกลุ่มสินค้ายางพารา และผลิตภัณฑ์ สินค้าอาหาร ระหว่างนักธุรกิจไทยและตุรกี พร้อมกล่าวว่า ตนรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลงนามบันทึกความเข้าใจในวันนี้ เพราะตุรกีถือเป็นประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่มีประชากรมากถึง 80 ล้านคนมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในแต่ละปีมากกว่า 40 ล้านคนและที่สำคัญตุรกีตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ทางการค้าที่มีความสำคัญเป็นประตูสู่ 3 ทวีป คือทั้งทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาสามารถเชื่อมต่อการค้าได้ทั้งทางด้านเหนือ-ใต้-ตะวันตก-ตะวันออก

และนอกจากนั้นก็ยังมีความสำคัญทางการค้ากับตะวันออกกลางด้วย ตุรกีจึงเป็นตลาดที่ประเทศไทยเห็นว่ามีศักยภาพ และตุรกีเป็นตลาดที่มีความสำพันธ์ที่ดีกับประเทศไทยและประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยนั้นก็ถือว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่อยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบในภูมิภาคเอเชียนั้นก็คือสามารถที่จะเป็นประตูไปสู่ทวีปเอเชียได้มีเส้นทางการค้าที่สะดวกเชื่อมต่อไปยัง จีนอินเดีย และอาเซียน ซึ่งนักธุรกิจทั้งไทยตุรกีสามารถใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเชิงสภาพภูมิศาสตร์ให้เป็นประโยชน์กับทั้งสองประเทศ

เพื่อให้เป็นประตูการค้าระหว่างกันที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งประเทศไทยและตุรกีกำลังมีการเจรจา FTAระหว่างกัน ซึ่งผมได้คุยกับท่านปลัดตั้งเป้าหมายว่าอยากจะเห็น FTA ไทย ตุรกีเสร็จในกลางปีหน้า ซึ่งการทำ FTA นั้นแม้ว่าทั้งไทยและตุรกีจะมีศักยภาพในอุตสาหกรรมเดียวกันและมีความใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์อุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอัญมณี อุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมอาหาร แต่ว่า FTA จะส่งผลให้การค้าทั้งไทยและตุรกีนั้นมีความเกื้อกูลกันมากกว่าที่จะแข่งขันกันเอง

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ผลที่คาดหวังหลังจากเอฟทีเอไทยตุรกีเสร็จสิ้นคาดว่าในปี 2565 การค้าระหว่างไทยตุรกีจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับรัฐบาลไทยขอเรียนให้ทราบว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับสินค้ายางพาราเป็นอย่างยิ่งเพราะประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกยางพารารายสำคัญของโลกสินค้ายางพาราไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานระดับสากล ซึ่งสอดรับกับที่ตุรกีเป็นประเทศนำเข้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยางรายสำคัญของโลกจึงเป็นโอกาสดีที่จะร่วมมือกันยกระดับตัวเลขการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมยางพาราให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป

นอกจากยางพาราแล้วรัฐบาลไทยยังให้ความสำคัญกับการส่งออกทั้งผลิตภัณฑ์การเกษตรอื่นๆไม่ว่าจะเป็นข้าว มันสำปะหลัง และอาหาร ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะตลาดตุรกี ขณะเดียวกันประเทศไทยก็พร้อมที่จะนำเข้าสินค้าเกษตรของตุรกีเข้าสู่ประเทศไทยเช่นเดียวกันการเยือนธุรกิจครั้งนี้ผมได้นำนักธุรกิจทั้งจากส่วนของนักธุรกิจด้านยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง ทูน่ากระป๋อง และอาหาร มาร่วมในกิจกรรมครั้งนี้และมาร่วมลงนาม MOU พร้อมทั้งพบปะทำ Bisiness Networking เพื่อทำธุรกิจการค้าให้ขยายตัวต่อไปอย่างเป็นรูปประธรรมมากยิ่งขึ้น

“หวังว่าการทำกิจกรรมทั้งสองอย่างในวันนี้จะสำเร็จด้วยดีและเกิดประโยชน์กับการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศอย่างที่คาดการณ์ไว้ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณนักธุรกิจชาวตุรกีทุกท่านที่สละเวลาอันมีค่ามาร่วมงานในวันนี้เชื่อว่างานในวันนี้จะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักธุรกิจของทั้งสองประเทศได้มีโอกาสพบปะทำความรู้จักแสดงศักยภาพของกันและกันเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจและก้าวหน้าไปพร้อมกันอันจะนำไปสู่การขยายโอกาสทางการค้าใหม่ใหม่และยกระดับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศต่อไป” นายจุรินทร์ กล่าว

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แจ้งว่าสำหรับการลงนามข้อตกลง หรือ MOU ในกลุ่มสินค้ายางพารา และผลิตภัณฑ์ สินค้าอาหาร ระหว่างนักธุรกิจไทยและตุรกี ประกอบด้วย ผู้ส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ไทย บริษัทไทยฮั้ว จำกัด(มหาชน) กับ บริษัท KOLSAN TYPE ,ผู้ส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ไทย บริษัทไทยฮั้ว จำกัด(มหาชน) กับ บริษัท Sayeste Kaucak ,การยางแห่งประเทศไทย กับ Turkish Rubber Association การยางแห่งประเทศไทย กับ REP Kaucak ,ผู้ส่งออกข้าวไทย บริษัท โตมี อินเตอร์เทรด จำกัด กับ บริษัท Dervisoglu ,ผู้ส่งออกข้าวไทย บริษัท เอส อินเตอร์ ไรซ์ จำกัด กับ บริษัท Harbiyeli ,ผู้ส่งออกมันสำปะหลังไทย บริษัท SB Premier Product จำกัด กับ บริษัท Argo Pacific ,ผู้ส่งออกมันสำปะหลังไทย บริษัท Chaiyong Agricultural Silo จำกัด กับ บริษัท Argo Pacific ,ผู้ส่งออกมันสำปะหลังไทย บริษัท Thong Tapioca (1999)จำกัด กับ บริษัท Argo Pacific และ ผู้ส่งออกไทย บริษัท สุรีย์ อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด กับ บริษัท Dolfin Gida

โดยรวมยอดเฉพาะช่วงเช้าวันนี้ (16พย.2562) ทั้งยางพารา 60,000 ตัน มูลค่า 2,727 ข้าว 6,000 ตัน มูลค่า 85 ล้านบาท และมันสำปะหลัง 150,000 ตัน มูลค่า 650 ล้านบาท ละซอลปรุงรส 10 ล้านบาท รวม มูลค่าเบื้องต้น 3,512 ล้านบาท

จากนั้นเวลา 11.20 – 12.00 น. เวลาท้องถิ่น กรุงอีสตันบูล ประเทศตุรกี (ห่างจากประเทศไทย 4 ชม.) นายจุรินทร์ พบปะภาคเอกชนในกิจกรรม Business Networking อีกกว่า 15 ราย เพื่อแสดงศักยภาพของประเทศไทย และอุตสาหกรรมยางพาราและอาหารของไทย และสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางการค้าระหว่างนักธุรกิจไทยและตุรกี

“ประภัตร”วางแผนเชิงรุกเพิ่มผลผลิตเมล็ดพันธุ์ดี ตั้งเป้า เพิ่มผลผลิต 2 แสนตัน

People Unity News : “ประภัตร”วางแผนเชิงรุกเพิ่มผลผลิตเมล็ดพันธุ์ดี ตั้งเป้า เพิ่มผลผลิต 2 แสนตันกระจายสู่เกษตรกร ปลูกข้าวคุณภาพ

เมื่อวันที่ 16 พ.ย.2562 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ของกรมการข้าว พร้อมด้วย นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)พร้อมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก ต.วังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลกว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญกับเกษตรกรด้วยการช่วยเหลือและสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรมีคุณภาพดีโดยในภาคการผลิตข้าวนั้น เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีมีคุณภาพเป็นปัจจัยแรกที่สำคัญในการผลิตข้าวคุณภาพดี และได้ให้ความสำคัญและติดตามการทำงานของกรมการข้าวมาอย่างต่อเนื่อง

ในการประชุมวันนี้ได้สร้างความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมการข้าว ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนงาน โดยได้สั่งการให้กรมการข้าวเร่งผลิตเมล็ดพันธุ์ จากเดิมเป้าหมาย 85,000 ตัน/ปี เป็น 260,000 ตัน/ปี ให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร และช่วยเหลือเกษตรกรกรณีเกิดปัญหาภัยพิบัติหรือเกิดโรคในข้าว และให้แต่ละศูนย์สามารถผลิตได้ตามเป้าหมาย จึงได้ระดมความคิดเห็นร่วมกันทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเป้าหมายศักยภาพการผลิต อาทิ ข้าวหอมมะลิ ปทุมธานี ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว รวมทั้งสนับสนุนเครื่องมือ รถเกี่ยว เครื่องปักดำ เครื่องคัด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งเชื่อว่าจะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพเพียงพออย่างแน่นอน

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมการข้าวมีภารกิจหลักในการผลิตเมล็ดพันธุ์ ชั้นพันธุ์คัด พันธุ์หลัก พันธุ์ขยาย และพันธุ์จำหน่าย เพื่อเพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยมี 1. กองวิจัยและพัฒนาข้าว ซึ่งมีศูนย์วิจัยข้าว 28 แห่ง ผลิตเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์คัด และพันธุ์หลัก ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การผลิต ดูแลหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปข้าววิทยาการเมล็ดพันธุ์และมาตรฐานพันธุ์ โดยมีการบูรณาการทำงานวิจัยร่วมกับ NECTEC ดำเนินโครงการพัฒนาระบบออนไลน์ จัดทำฐานข้อมูลร่วมกัน เพื่อการประเมินสถานการณ์เมล็ดพันธุ์ข้าว และ 2. กองเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยมี ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว 29 แห่ง มีหน้าที่วางแผนและผลิต เมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยายและชั้นพันธุ์จำหน่ายเพื่อสนับสนุนส่งเสริมและกระจายพันธุ์ข้าวตามนโยบายคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ ส่งเสริมเผยแพร่และกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไปสู่เกษตรกร พัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในท้องถิ่น เช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ข้าวชุมชน สนับสนุนการดำเนินธุรกิจเมล็ดพันธุ์ของเอกชน ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตการใช้และการตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าว ถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาการเมล็ดพันธุ์ สนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัดและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์ข้าวและเกษตรกร

อย่างไรก็ตามการประชุมครั้งนี้ได้เยี่ยมชมแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก พร้อมทั้งชมการสาธิตการใช้โดรนเพื่อการเกษตร ตลอดจนเยี่ยมชมโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ด ชมกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ณ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพิษณุโลก ต.วังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลกด้วย

ชาวประมงเฮรัฐบาลไฟเขียวสินเชื่อประมงหมื่นล้านเตรียมคิกออฟสินเชื่อมิถุนายน 63

People Unity News : คณะรัฐมนตรี ไฟเขียวสินเชื่อประมงหมื่นล้านยุควิกฤติโควิด ด้าน “คณะกก.ฟื้นฟูประมง” นัดประชุมศุกร์นี้ เตรียมคิกออฟสินเชื่อเดือนมิถุนายน 2563

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย แถลงเมื่อ 27 พ.ค.63 ว่า คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง วงเงินสินเชื่อรวม 10,300 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอเมื่อวันที่ 26 พ.ค.63 ซึ่งเป็นโครงการสินเชื่อประมงที่มีเงินมากที่สุดครอบคลุมทั้งประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ครั้งแรกของประเทศ และยังเป็นโครงการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมมากที่สุดของทุกภาคส่วนภายใต้การทำงานของคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยกับกรมประมงและสมาคมประมงทุกสมาคมโดยจะมีการประชุมคณะกรรมการฟื้นฟูฯในวันศุกร์ที่ 29 พ.ค.นี้ ที่กรมประมงเพื่อซักซ้อมความเข้าใจและเตรียมพร้อมในการคิกออฟเปิดโครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องประมงทันทีในเดือนมิถุนายน 2563

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า จากผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐ-จีนและวิกฤติโควิด19 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายการให้ความช่วยเหลือประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้านเพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพด้วยการจัดหาแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวประมงให้สามารถกลับมาประกอบอาชีพประมงเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพต่อไป โดยตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยเป็นกลไกทำงานขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปีที่แล้ว และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ นำเสนอโครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องประมง 10,300 ล้านบาทให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวานนี้

นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า โครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง วงเงินสินเชื่อรวม 10,300 ล้านบาท และกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการ จำนวน 2,164.1 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าชดเชยดอกเบี้ย จำนวน 2,163 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการประมงกู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี และผู้ประกอบการประมงสมทบร้อยละ 4 ต่อปี เป็นระยะเวลา 7 ปี นับแต่วันที่กู้ แบ่งเป็น (1) ธนาคารออมสิน ให้ผู้ประกอบการประมงที่มีเรือประมงขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท ให้กู้รายละไม่เกิน 10 ล้านบาทรวมเป็นวงเงินชดเชยดอกเบี้ย จำนวน 1,050 ล้านบาท และ (2) ธ.ก.ส. ให้ผู้ประกอบการประมงที่มีเรือประมงขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส วงเงินสินเชื่อ 5,300 ล้านบาท ให้กู้รายละไม่เกิน 5 ล้านบาทรวมเป็นวงเงินชดเชยดอกเบี้ย จำนวน 1,113 ล้านบาท โดยให้ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส.

Advertising

Advertising

“สมคิด”ถกขุนคลังลั่นรักษาศก.ไม่ให้ชะลอไปมากกว่านี้

People Unity News : “สมคิด”ถกขุนคลังหาแนวทางสร้างแรงส่งเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนได้ถึงปีหน้า ลั่นต้องไม่ให้ชะลอไปมากกว่านี้ ครม.เศรษฐกิจ เร่งขับเคลื่อนโค้งสุดท้ายดัน GDP ทั้งปีโตในกรอบ 2.7-3.2%,เล็งออกมาตรการกระตุ้นเพิ่ม-จี้ รสก.ลงทุนกว่าแสนล้าน

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังหารือกับนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่า ปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลเพื่อให้เกิดแรงส่งทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ประเทศเติบโต โดยปีนี้ต้องรักษาระดับการโตของเศรษฐกิจไม่ให้ชะลอไปมากกว่านี้ โดยไตรมาส 4 ของปี 2562 ต้องทำให้ได้ดี เพื่อสร้างแรงส่งทางเศรษฐกิจให้ต่อเนื่องไปปีหน้า เพราะขณะนี้คนไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ปีหน้าจะเป็นอย่างไร ขณะที่กระทรวงการคลังรู้อยู่แล้วว่าต้องทำอย่างไร และกำลังคิดว่าควรมีมาตรการอะไรออกมา โดยสิ่งที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยนอกจากการส่งออกแล้ว ยังมีเรื่องการเชื่อมั่นที่ยังไม่ฟื้นตัว ที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่กัน

ครม.เศรษฐกิจ เร่งขับเคลื่อนโค้งสุดท้ายดัน GDP ทั้งปีโตในกรอบ 2.7-3.2%

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการรัฐมนตรี (ครม.เศรษฐกิจ) เปิดเผยว่า วันนี้ที่ประชุมฯ รับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 3/62 ที่ขยายตัว 2.4% และคาดว่าในไตรมาส 4/62 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นราว 2.8% และทั้งปี 62 คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 2.6% ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วพบว่าไทยยังอยู่ในกลุ่มประเทศที่การเติบโตยังขยายตัวเร่งขึ้น ซึ่งรัฐบาลต้องขับเคลื่อนให้มีการเติบโตต่อเนื่องไป เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น การลงทุน การจับจ่ายใช้สอย

“รัฐบาลพยายามเร่งเครื่องขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงโค้งสุดท้าย ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมีวงรอบอย่างน้อย 2-3 ปี ตอนนี้ผ่านไปปีครึ่งแล้ว ยังมีปัญหาเรื่อง Trade War และ Brexit ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก เราคุมปัจจัยภายนอกไม่ได้จึงต้องมาเน้นกระตุ้นภายในประเทศ ทั้งการบริโภคภาคเอกชน การลงทุน…ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 3/62 เริ่มหยุดเซแล้ว ตัวเลขไตรมาส 4/62 น่าจะสะท้อนว่าค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น แต่รัฐบาลไม่ได้รอ จะมีมาตรการเพิ่มเติมในช่วงเวลาที่เหลือ”นายกอบศักดิ์ กล่าว

นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมฯ เห็นชอบที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้เติบโตได้ดีขึ้นเพื่อเป็นแรงส่งให้กับเศรษฐกิจในปีหน้า โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้เศรษฐกิจทั้งปีนี้เติบโตในกรอบ 2.7-3.2% ด้วยการเร่งรัดให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายการลงทุนกว่า 1.15 แสนล้านบาทในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ และเตรียมที่จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมโดเน้นที่เศรษฐกิจในประเทศ

พร้อมทั้ง ปลดล็อคปัญหาและอุปสรรคของโครงการลงทุนต่าง ๆ ที่เป็นขั้นตอนของกฎหมาย เช่น กำหนดสกุลเงินกู้โครงการรถไฟไทย-จีนเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐเพื่อลดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน, ข้อกำหนดเรื่อง Roadside Station โครงการทางพิเศษบางปะอิน-นครราชสีมา, โครงการรถไฟรางคู่ นครปฐม-ชุมพร, ลพบุรี-ปากน้ำโพ, ทางด่วนพิเศษพระราม 3 เป็นต้น โดยขณะนี้มาตรการต่างๆ ได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งที่ประชุมฯ จะได้ติดตามผลว่าเป็นอย่างไร และในช่วงปลายปีที่เป็นโค้งสุดท้ายจะมีมาตรการเสริมอีกหรือไม่

“งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจกว่า 1 แสนล้านบาทนี้มีคำยืนยันจากหน่วยงานแล้วว่าได้รับอนุมัติให้ดำเนินการลงทุนภายในปีนี้”นายกอบศักดิ์ กล่าว

สำหรับการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นยังมีข้อจำกัดเรื่องชนเพดานงบ ทำให้เหลืองบที่จะนำมาใช้ได้ราว 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

นายกอบศักดิ์ ยังชี้แจงกรณีที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมวพาณิชย์ มักไม่ได้เข้าร่วมประชุม ครม.เศรษฐกิจว่า เกิดจากความผิดพลาดในการจัดตารางงานของตนเอง เนื่องจาดไปตรงกับที่นายจุรินทร์ติดภารกิจต้องประชุมอาเซียน และเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการเรื่องการส่งออกอย่างเข้มข้น โดยคาดหวังที่จะให้มีการส่งออกได้จริง ถ้าเป็นไปได้น่าจะมีออเดอร์สินค้าเกษตรจากจีนเข้ามาในช่วงเดือน ธ.ค.62

สำหรับในปี 63 ได้กำหนด 5 แนวทางการบริหารจัดการเศรษฐกิจ คือ 1.การดูแลเกษตรกร แรงงาน ผู้มีรายได้น้อย SMEs เศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนปัญหาภัยแล้ง 2.การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ 3.การขับเคลื่อนการส่งออกให้ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 3% 4.ส่งเสริมการท่องเที่ยว ตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 41.8 ล้านคน รายได้ 2.22 ล้านล้านบาท และ 5.ตั้งเป้าส่งเสริมการลงทุนกว่า 3 ล้านล้านบาท ขยายตัว 5.9% จากปีนี้

“จุรินทร์”รุกสร้าง”สนามบินพังงา”รองรับท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน

People Unity : “จุรินทร์”รุกสร้าง”สนามบินพังงา” ระดมทุกฝ่ายเร่งงานรองรับท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน

วันที่ 25 ต.ค.2562 เวลา 14.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางตรวจราชการ ราชการจังหวัดภูเก็ตและพังงา ได้ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 6 ของรองนายกรัฐมนตรี ภาคใต้ฝั่งอันดามันซึ่งเป็นเขตตรวจราชการในอำนาจรับผิดชอบ ประกอบด้วย ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล เวลา 14.30 น.นายจุรินทร์ เป็นประธานการประชุมกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ที่ท่าอากาศยานภูเก็ต ในวาระการก่อสร้างสนามบินพังงงา โดยภายหลังการประชุม

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรีให้ทำหน้าที่เป็นประธานรับผิดชอบ วันนี้ได้เดินทางมากับ นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะ ประเด็นสำคัญก็คือ การติดตามการคืบหน้าการก่อสร้างสนามบินพังงา ซึ่งสถานการณ์ผู้โดยสารและการท่องเที่ยวในเขตอันดามัน ปัจจุบันนี้สนามบินหลัก ที่ต้องรองรับผู้โดยสารจำนวนมากที่สุดก็คือสนามบินภูเก็ต ปรากฏว่าในสถานการณ์ปัจจุบันหลังจากที่ได้มีการขยายทุกอย่างแล้วนาทีนี้ ศักยภาพของสนามบินภูเก็ตสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 12 ล้านคน แต่ข้อเท็จจริงขณะนี้มีผู้โดยสารรวมกันแล้ว 18 ล้านคนซึ่งเกินศักยภาพที่จะรองรับได้ไป 5.5 ล้านคน

นายจุรินทร์ กล่าวว่า จึงเป็นที่มาที่จำเป็นต้องมีสนามบินอีกแห่งในเขตอันดามันที่มารองรับนักท่องเที่ยวและผู้โดยสารที่ล้นจากสนามบินภูเก็ต โครงการสนามบินจังหวัดพังงาซึ่งเกิดขึ้น ซึ่งได้มีการศึกษาเบื้องต้นเตรียมการที่จะก่อสร้างสนามบิน จะรองรับผู้โดยสารเที่ยวรวมกันที่ 25 ล้านคนซึ่งผลจากการหารือร่วมกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปว่า 1.มีความจำเป็นในการสร้างสนามบินเพื่อร่วมกันทำงานเพื่อรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นทุกวันในฝั่งอันดามันรวมทั้งนักท่องเที่ยว 2.ที่ประชุมมีมติรัฐมนตรีช่วยคมนาคมประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหาข้อสรุปว่าจากดำเนินการเพื่อให้สนามบินพังงามีความคืบหน้าต่อไปภายใต้การดำเนินการของหน่วยงานในส่วนของกระทรวงคมนาคมหน่วยใดระหว่างกรมการท่าอากาศยาน กับ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) 3.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาติดตามเรื่องนี้โดยใกล้ชิดต่อไป และ 4.ให้ผู้ตรวจสำนักนายกรัฐมนตรีติดตาม รายงานการตรวจราชการ นี้

ภารกิจตรวจราชการในครั้งนี้ นายจุรินทร์เดินทาง ภายหลังเสร็จจากภารกิจช่วงเช้า คือ การประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ครั้งที่ 2/2562 นายจุรินทร์ และคณะประกอบด้วย นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายไชยยศ จิรเมธากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายเรวัต อารีรอบ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตส.ส.ภูเก็ต นายเจือ ราชสีห์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ นางอัญชลี วานิช เทพบุตร อดีตส.ส.ภูเก็ต นางกันตวรรณ ตันเถียร ส.ส.พังงา ร่วมกับ นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าฯภูเก็ต นายจำเริญ ทิพยพงศ์ธาดา ผู้ว่าฯพังงา เรืออากาศตรี ธานี ช่วงชู ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต นางชัชชิดา อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลนุทธ์องค์กร และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ประชุม หารือ และลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อตรวจสอบพิกัดพื้นที่การสร้างสนามบินพังงา สำหรับรองรับประชาชนชาวพังงา และการท่องเที่ยงฝั่งทะเลอันดามัน โดยการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่นั้น มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการก่อสร้างสนามบินประมาณกว่า 7,300 ไร่ จากการสำรวจพบว่าพื้นที่ภายในจังหวัดภูเก็ตไม่มีพื้นที่ว่างเพียงพอและไม่มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมจึงพิจารณาหาพื้นที่จับหวัดพังงา

“ประภัตร”เปิดด่านการค้าโค-กระบือ ที่ชายแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สอด​ จ.ตาก

People Unity : “ประภัตร”เปิดด่านการค้าโค-กระบือ ที่ชายแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สอด​ จ.ตาก พร้อมลงนามความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่กับหน่วยงานภาครัฐ

วันที่ 24 ต.ค.2562 นายประภัตร โพธสุธน  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดด่านการค้าโค-กระบือ  ที่บริเวณท่า 23 (ท่าลุงคำ) ริมแม่น้ำเมย บ้านวังแก้ว(ห้วยกะโหลก หมู่ 4 ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก โดยมี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก​ นายชัยวุฒิ บรรณวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์  นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก เขต 3  พรรคพลังประชารัฐ​ นายชัยพฤกติ์ เชียรธานรักษ์ นายอำเภอแม่สอด​ ดร.เทอดเกียรติ​ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีนครแม่สอด​ ​และเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ จำนวนกว่า 300 คน ให้การต้อนรับ

ในโอาสนี้ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก  กล่าวรายงานสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าโค-กระบือ จากนั้นรมช.เกษตรได้ตรวจเยี่ยมคอกสัตว์ และพบปะเกษตรกรผู้เลี้ยง กลุ่มผู้ค้าขาย โค-กระบือ และผู้เลี้ยงโคขุน หลังจากนั้นได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงาน ที่ด่านกักกันสัตว์ตาก(แม่สอด) คอกกักบ้านวังแก้ว
นายประภัตร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ จีนเข้ามาตีตลาด โค กระบืออย่างหนัก และยังกดราคา  ทำให้เมื่อ 2-3 เดือน​ เราจำเป็นต้องปิดด่าน เพื่อให้ตลาดขาดและมีความต้องการมากขึ้น

วันนึ้จึงมาทำให้เปิดด่านการค้าโค-กระบือ ที่ชายแดนไทย-เมียนมา และเพิ่มราคาระหว่าง กก.ละ   99 -​100  บาท และกลับส่งไปขายจีน กก.ละ 105-110 บาท​ (ซึ่งคิดนน.ตัวโค ระหว่าง 320-400 กก.) ส่วนขนาด นน.ตัวที่เล็กก็ราคาลดน้อยลง กก.ละ  95 บาท เพื่อนำไปขุนต่อ  โดยมีตลาดกลางซื้อขาย และมีการประกันราคาด้วย  ทั้งนี้แต่ละครอบครัวจะได้รับโค- กระบือรายละ 5 ตัวต่อครอบครัวและสามารถนำมาเป็นหลักประกัน ในการกู้ได้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้อีกด้วย นอกจากนี้ภายในงานกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ลงนาม MOU ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการดำเนินโครงการฯ เป็นอย่างดี

“จุรินทร์”รุดหารือผู้นำเข้าข้าวไทยรายใหญ่ในอเมริกา

People Unity News : “จุรินทร์”รุดหารือผู้นำเข้าข้าวไทยรายใหญ่ในอเมริกา เน้นมาตรฐานและเพิ่มยอดส่งออกด้วยคุณภาพข้าวระดับพรีเมี่ยม  

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 8 พ.ย.2562 ตามเวลาท้องถิ่นลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้นำเข้าข้าวจากประเทศไทยเพื่อจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเข้าพบหารือแลกเปลี่ยนถึงอุปสรรคปัญหาและโอกาสการพัฒนาการค้าเพิ่มปริมาณการส่งออกจากประเทศไทย โดยใช้เวลาหารือกว่า 2 ชม. ตัวแทนผู้ประกอบการที่สหรัฐอเมริการายใหญ่ร่วม 13 ราย เช่น Otis MaAllister,Inc. ,Sun Lee , Asian Trading Corp, Vinh-Sanh Trading &First World, U.S Trading Co., N.A Trading, H.C Food , Chayothai LLC, American Commercial Transportation เป็นต้น

นายจุรินทร์กล่าวขอบคุณผู้ประกอบการทั้งหมดที่หลายรายเดินทางมาจากรัฐไกลๆ เพื่อมาเข้าพบหารือที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอเร์นีย เป็นการให้ความสำคัญต่อการหารืออย่างยิ่ง โดยปัจจุบันนี้ข้าวไทยส่งออกสหรัฐอเมริกาปีละประมาณ 500,000 ตัน โดยเฉพาะข้าวหอมมะลินั้นถือว่าอเมริกาเป็นตลาดสำคัญอันดับต้นๆ ของไทย

และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ สหรัฐอเมริกานำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.92 ไทยให้ความสำคัญกับตลาดสหรัฐและการผูกสัมพันธ์กับผู้นำเข้าข้าวและผู้ค้าข้าวมากประกอบกับราคาข้าวหอมมะลิไทยในช่วงนี้ค่อนข้างสูง ซึ่งการมาเยือนครั้งนี้จะเป็นโอกาสที่ทำให้รู้จักผู้นำเข้าเพื่อขอทราบสถานการณ์ตลาดและแนวทางความร่วมมือในการส่งเสริมการขายตลาดข้าวไทย

ปัจจุบันการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายข้าวหอมมะลิไทยร่วมกับผู้นำเข้าและห้างซูเปอร์มาร์เก็ตสำคัญทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งเข้าร่วมงานแสดงสินค้าสำคัญ การประชาสัมพันธ์ผ่านสถาบันสอนทำอาหาร การเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย การร่วมกับร้านอาหารไทยประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิและอื่นๆ เป็นต้น

“รัฐบาลไทยให้ความสำคัญคู่ค้าทุกระดับ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่นำเข้าข้าวและสินค้าอาหารจากไทยมาอย่างยาวนาน ทางกระทรวงพาณิชย์ก็พร้อมทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ค้าทุกราย และหวังว่าจะมีโอกาสต้อนรับเสมอ จากนี้ไปเราจะเน้นการทำตลาดและทำประชาสัมพันธ์เชิงรุกมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการบริโภคข้าวไทยให้เป็นข้าวพรีเมี่ยม เป็นข้าวคุณภาพดี” นายจุรินทร์กล่าว

แบงก์ชาติเผยลูกหนี้ SMEs ได้รับการช่วยเหลือสินเชื่อ soft loan รอบแรกกระจายตัวดี

People Unity News : ธปท. เผยลูกหนี้ SMEs ได้รับการช่วยเหลือสินเชื่อ soft loan รอบแรกกระจายตัวดี

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธปท. ได้แจ้งข้อมูลการให้สินเชื่อ soft loan ของ ธปท. ครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563 ว่า มีลูกหนี้ได้รับสินเชื่อ soft loan จำนวน 16,326 ราย วงเงินรวม 22,788 ล้านบาท นั้น ขอแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมว่า สินเชื่อมีการกระจายตัวค่อนข้างทั่วถึงโดยไม่ได้กระจุกตัวแก่ลูกหนี้กลุ่มใดเป็นพิเศษ และกระจายไปในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กในหลายอุตสาหกรรมทั่วประเทศ

โดย 76% ของ SMEs ที่ได้รับ soft loan เป็น SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินต่ำกว่า 20 ล้านบาท (วงเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562) ทั้งนี้ คาดว่าในสัปดาห์ต่อไปจะมีสถาบันการเงินยื่นคำขอสินเชื่อมาเพิ่มอีก ซึ่งจะทำให้สามารถเร่งช่วยเหลือ SMEs ได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

โฆษณา

Verified by ExactMetrics