วันที่ 29 เมษายน 2024

“ประภัตร”แนะเร่งขึ้นทะเบียนปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภาพกำจัดศัตรูพืชสูตรโครงการหลวง

People Unity : “ประภัตร” ออกโรงหาสารทางเลือกทดแทน 3 สารพิษเกษตรให้ชาวไร่ชาวนา แนะหน่วยงานเร่งขึ้นทะเบียนปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภาพกำจัดศัตรูพืชสูตรโครงการหลวง และสูตรภูมิปัญญาชาวบ้าน ให้จบรู้ผลใน3-7วันนี้ ลั่นไม่กระทบต้นทุนทำเกษตร

เมื่อวันที่ 23 ต.ค.2562 นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงกรณีการแบน 3 สารเคมี คลอร์ไพรีฟอส พาราควอต ไกลโฟเซต ยกระดับเป็นวัตถุอันตรายประเภท 4 โดยห้าม จำหน่าย ผลิต ครอบครอง นำเข้า ส่งออก ให้มีผลวันที่ 1 ธ.ค.นี้ทันทีว่าคนไทยส่วนใหญ่เห็นว่าสาร 3 ตัวมีอันตรายต่อร่างกาย ตนเห็นด้วยที่ยุติการใช้สารเคมี โดยกระทรวงเกษตรฯทุกคนเห็นด้วยเราสนับสนุนการแบนสารครั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯจะร่วมมือกับทุกฝ่ายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเพราะต้องยอมรับว่าเกษตรกรบางส่วน ยังเคยชินกับการใช้สารเคมี ดังนั้นการปรับเปลี่ยนให้มาใช้สารทางเลือกในการทำเกษตรปลอดภัย จะต้องทำให้เกษตรกรเกิดความเชื่อถือในสารชีวภัณฑ์ตัวใหม่ ที่เป็นอินทรีย์ มาทดแทน โดยจะไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นไม่ให้เป็นภาระกับชาวไร่ชาวนา

“ชาวไร่ ชาวนา บางส่วนยังติดการใช้สารเคมี เพราะเคยใช้อะไร ที่หาง่าย ฉีดแล้วหญ้า แมลง ตายทันที ถ้ามาใช้ตัวใหม่ศัตรูพืชตายช้าลง ก็ยังอยากใช้ตัวเดิม ซึ่งการแบน3สารในครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศ ขอให้ทุกฝ่ายจะต้องมาพูดกันช่วยกัน หันหน้ามาช่วยกัน ทำให้เกษตรกรฐานราก ให้อยู่ได้ เพราะเกษตรกรเป็นฐานใหญ่ของประเทศ ใครมีข้อคิดเห็นดีๆมาเสนอได้ ซึ่งสารทดแทน มีมากหลายอย่าง สิ่งสำคัญต้องทำให้เกษตรกร เชื่อถือ ในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ที่อาจกำจัดศัตรูพืชได้ช้ากว่า3สาร ซึ่งต้องหาทางเลือก ทางออกทำเกษตรที่มีความปลอดภัยต่อร่างกายมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนต้องคิดทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อคนไทย ไม่ให้แผ่นดินไทย เต็มไปด้วยสารพิษ เป็นที่ทิ้งสารเคมีที่ต่างประเทศ แต่มีเพียงคนกลุ่มเดียวได้ผลประโยชนมหาศาลจากการเอาเปรียบคนไทยมาตลอด ซึ่งจากนี้กรมวิชาการเกษตร ต้องเปิดรับการขึ้นทะเบียน ให้กับสารทดแทน สารชีวภัณฑ์ ที่คิดค้นโดยคนไทย นำภูมิปัญญาชาวบ้าน มาขึ้นทะเบียนสูตรต่างๆไว้ ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภาพ วีธีการทำเกษตรปลอดสาร ที่ใช้ทำในโครงการหลวง ของในหลวงรัชกาลที่9 พระองค์ทรงทำต้นแบบไว้มากมายให้คนไทย” นายประภัตร กล่าว

นายประภัตร กล่าวว่ากรมวิชาการเกษตร ต้องเปิดรับการขอจดขึ้นทะเบียน สูตรปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช ที่เป็นอินทรีย์ ทำในประเทศได้ผลดี ทุกวันนี้ทำใช้กันในชุมชนมีเป็นจำนวนมาก และต้องให้รู้ผลโดยเร็วภายใน3-7วัน เพื่อมาเป็นสารทางเลือกให้กับเกษตรกร รวมทั้งควรเปิดโอกาส ผู้ประกอบการ ผู้คิดค้น ที่มีสารทดแทน ใครมีของดี นำมาเข้าสู่ขั้นตอนทางวิชาการ และกรมวิชาการเกษตร ต้องบอกมาว่าไม่ให้ขึ้นทะเบียนเพราะอะไรใน 3-7วัน หากเครื่องมือตรวจสอบไม่พอ ตนจะขอให้เอกชน มาช่วยเพื่อการทดสอบจะได้รวดเร็วขึ้น เพราะชาวไร่ ชาวนา ต้องมีทางเลือกให้เขาโดยไม่กระทบต้นทุน ซึ่งตนเห็นว่าโครงการหลวง ทั่วประเทศ มีสารอินทรีย์ สูตรกำจัดวัชพืช แมลง ที่เกษตรกรสามารถทำได้เอง ให้หน่วยงานเข้าไปดู นำมาขึ้นทะเบียนโดยเร็วเพื่อให้นำทำเองใช้ได้อย่างแพร่หลาย ทั้งมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเกษตรกรอีกด้วย

ยืนตายซากเพราะเหตุนี้!! ธ.กรุงไทยชี้มี SME เพียง 0.2% ที่ทำวิจัยและพัฒนาสินค้า

People Unity : ธนาคารกรุงไทยเผยมีผู้ประกอบการ SME ทำวิจัยและพัฒนาสินค้าเพียง 0.2% ซึ่งปัญหาหลักเกิดจากขาดบุคลากร เครื่องมือและข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี มีต้นทุนสูง แม้การทำวิจัยและพัฒนาสามารถช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และเพิ่มโอกาสรอดให้กับธุรกิจ แนะเริ่มต้นทำวิจัย โดยหาไอเดียจากปัญหากวนใจผู้บริโภคก่อน จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ชี้ขอรับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้จากหน่วยงานรัฐ และสินเชื่อพิเศษจากสถาบันการเงินชั้นนำ

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงาน Global Business Development and Strategy ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า แม้ว่าการทำวิจัยและพัฒนา หรือ R&D  จะช่วยให้เกิดนวัตกรรมทางสินค้า ลดต้นทุนการผลิต อันนำไปสู่การเพิ่มรายได้และโอกาสรอดของธุรกิจ แต่จากการทำบทวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการ SME จำนวน 3 ล้านราย มีเพียง 5 พันรายเท่านั้นที่ทำ R&D หรือคิดเป็น 0.2%  โดยปัญหาเกิดจาก 3 อุปสรรค คือ ขาดบุคลากรและเครื่องมือ  เข้าไม่ถึงข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ๆ และต้นทุนการทำ R&D ที่สูงเกินไป อย่างไรก็ตามมีผู้ประกอบการหลายรายพบทางออกและประสบความสำเร็จผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ

“งานวิจัยในต่างประเทศพบว่า แม้บริษัทจะลงทุนด้าน R&D ไม่มาก แต่หากสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ตรงจุดและรวดเร็ว จะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ถึง 6-23% ดังนั้น จึงอยากแนะนำว่า การทำ R&D ควรเริ่มหาไอเดียจาก Pain Point หรือปัญหากวนใจในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจและคิดผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์ ประกอบกับการทำ R&D จะทำให้ผลิตภัณฑ์โดดเด่นและลอกเลียนแบบได้ยากขึ้น ที่ผ่านมาบ่อยครั้งมี SME ทำ R&D  แล้วประสบความสำเร็จมากกว่าบริษัทขนาดใหญ่ ”

ดร.กิตติพงษ์ เรือนทิพย์ รองผู้อำนวยการ ผู้ร่วมทำบทวิจัย ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการสามารถเข้ารับความช่วยเหลือด้านบุคลากรและเครื่องมือจากศูนย์วิจัยของสถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัยเฉพาะอุตสาหกรรม และศูนย์วิจัยจากหน่วยงานภายใต้การดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เช่น สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยการสนับสนุนมี 4 ระดับ ได้แก่ ให้คำปรึกษาเบื้องต้น ให้ใช้เครื่องมือ ทีมวิจัย หรือสถานที่ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และเป็นพี่เลี้ยงช่วยพัฒนาสินค้าตั้งแต่ต้นจนจบ นอกจากนี้ ยังสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรืองานวิจัยใหม่ๆทางออนไลน์ ที่ www.thailandtechshow.com ที่รวบรวมผลงานวิจัยจาก สวทช. นำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้

“อุปสรรคด้านต้นทุนที่สูงเกินไป มีหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงิน ที่พร้อมสนับสนุนเงินทุนให้เปล่า และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เช่น โครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของ สวทช. วงเงินกู้สูงสุด 30 ล้านบาท โครงการนวัตกรรมดี ไม่มีดอกเบี้ย โครงการ Startup&Innobiz วงเงินกู้สูงสุด 40 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ประกอบการประสบความสำเร็จ  สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพเทียบเท่าต่างประเทศ เช่น มีบริษัทนำคำปรึกษาจากสถาบันอาหารไปต่อยอดไอเดียจนผลิตขนมข้าวกล้องไทยส่งขายต่างประเทศ ได้เทคโนโลยีจาก สวทช. ไปผลิตแป้งมันสำปะหลังไร้กลูเตนเจ้าแรกของไทย ได้ทีมวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มาร่วมผลิตเทคโนโลยีลดน้ำตาลในน้ำผลไม้ด้วยจุลินทรีย์  หรือได้พี่เลี้ยงจากอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ช่วยทำเก้าอี้ทำฟันโดยใช้พลังงานจากลม เป็นต้น”

เศรษฐกิจ : ยืนตายซากเพราะเหตุนี้!! ธ.กรุงไทยชี้มี SME เพียง 0.2% ที่ทำวิจัยและพัฒนาสินค้า

People Unity : 18 มิถุนายน 2562 เวลา 23.00 น.

 

“สมาคมธนาคารไทย” หนุน “กทม.” ขับเคลื่อนสู่เมืองเศรษฐกิจสีเขียว สร้างการเติบโตยั่งยืน

People Unity News : 18 กรกฎาคม 65 สมาคมธนาคารไทย พร้อมขับเคลื่อน “กรุงเทพมหานคร” สู่เมืองเศรษฐกิจสีเขียว ชูนโยบายสนับสนุน BCG สินเชื่อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำโครงสร้างพื้นฐานด้าน “ดิจิทัล” ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับการให้บริการของ กทม. เสริมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องยุทธศาสตร์ 3 ปีของสมาคมฯ

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารสมาคมธนาคารไทย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ว่า การประชุมในวันนี้ มีหลายประเด็นที่เน้นแนวทางความร่วมมือในหลายด้าน ซึ่งสมาคมธนาคารไทย เป็นหน่วยงานที่ 3 ที่ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร หลังจากเข้าพบสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดเป็น 3 เสาหลักเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยในอนาคตจะรีบผลักดันให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมฯ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนหารือความคิดเห็นและความร่วมมือร่วมกันทุกเดือนระหว่าง กทม.กับภาคธุรกิจ อาทิ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งวันนี้ทางสมาคมธนาคารไทยได้รับทราบเป้าประสงค์ แนวคิดของ กทม.แล้ว และอยากร่วมผลักดันกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นเมืองหลักของการสร้างงาน สามารถดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก สร้างความสุขให้คนไทยและเป็นเมืองหลักสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ โดยการตั้งคณะกรรมการฯ คาดว่าจะสำเร็จภายใน 1 เดือน เนื่องจากการพัฒนาเมืองต้องมีความร่วมมือกันเพราะเมืองคือแหล่งงาน แหล่งอาชีพ เมืองจะอยู่ได้ต้องมีการสร้างงานสร้างเศรษฐกิจที่มีคุณภาพขึ้น

โดย กทม.จะอำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจเอกชน ด้วยการลดขั้นตอนต่างๆ ส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ ส่งเสริมการลงทุนในประเทศ โดยทำควบคู่กับเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงการใช้เทคโนโลยีนำมาปรับปรุงคุณภาพชีวิต โดยในปัจจุบันธนาคารก้าวหน้ามากในเรื่องของ Application การให้บริการ เทคโนโลยีการพิสูจน์ตัวตน ซึ่ง กทม.อาจจะนำบางส่วนมาใช้งานกับ Application ของ กทม.ด้วย เช่น การให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนเรื่องการใช้ Application รวมถึงการให้ข้อมูลให้ชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย โดยจัดทำฐานข้อมูลและ Open Data

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่า กทม. ดูแลชุมชนกว่า 2,000 ชุมชน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลมหาศาล คนจำนวนมากในชุมชนต้องการแหล่งเงินทุน แหล่งเงินกู้ หากสามารถทำการเชื่อมฐานข้อมูลให้รู้หลักแหล่งที่อยู่อาศัยและตัวตนของผู้กู้ รวมถึงการใช้เทคโนโลยี Application ต่างๆ เพื่อทำให้ธนาคารเข้าถึงลูกค้า และลูกค้าก็เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น ก็จะแก้ปัญหาในปัจจุบันที่ประชาชนต้องไปกู้หนี้นอกระบบได้ เนื่องจาก กทม.มีข้อมูลชุมชนมากมายหากพัฒนาเป็นฐานข้อมูล และธนาคารสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ก็จะทำให้คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น เพราะหัวใจของการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือการเข้าถึงแหล่งเงิน หากประชาชนประกอบธุรกิจได้ดีขึ้น ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำ เพราะแหล่งเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้หลุดพ้นจากกับดักความยากจนได้ เบื้องต้นอาจจะเริ่มพัฒนาจาก 1 ชุมชน หรือ 1 อาชีพก่อน เช่น ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเนื่องจากมีหลักแหล่งตัวตนชัดเจนเพื่อให้สามารถเข้าถึงระบบแหล่งเงินทุนได้ หากประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นต้นแบบที่จะขยายความสำเร็จนี้ต่อไป

“ปัจจุบันหลายชุมชน ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ แนวคิดที่จะตั้งอาสาสมัครเทคโนโลยีประจำชุมชน ซึ่งอาจเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่เข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อจะแนะนำเทคโนโลยีต่างๆนี้ให้คนในชุมชน รวมถึงรวบรวมฐานข้อมูลของชุมชน ซึ่งส่วนหนึ่งเราเริ่มอบรมอาสาสมัครเทคโนโลยีไปบางส่วนบ้างแล้วก็คือคนกวาดถนนของ กทม.ที่สามารถใช้เทคโนโลยี Traffy Fondue ได้ ประมาณ 10,000 คน เนื่องจากอาศัยอยู่ในทุกเขตและทุกชุมชน ซึ่งอนาคตอาจจะเป็นผู้แนะนำเทคโนโลยีทางธนาคารเพื่อให้คนในชุมชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน จะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกทม.ได้ ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลในรูปธรรมได้ ภายใน 6 เดือน” นายชัชชาติกล่าว

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ และธนาคารสมาชิกพร้อมสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของ กทม. สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 3 ปีของสมาคมฯที่มุ่งยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน และเสริมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับสังคมและประเทศ

ทั้งนี้ สมาคมฯ จะร่วมผลักดันภาคธุรกิจปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และ BCG Economy หรือโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนสินเชื่อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งเดินหน้าให้ความรู้ทางการเงินและดิจิทัล สร้างกลไกในการเพิ่มวินัยทางการเงินและส่งเสริมการออมเงิน โดยเฉพาะการออมเพื่อการเกษียณอายุ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมให้ประชาชนและภาคธุรกิจเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินมากขึ้น รวมถึงการสนับสนุนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสให้เข้าถึงบริการการเงินขั้นพื้นฐานของภาคธนาคาร

นอกจากนี้ จะนำเทคโนโลยีทางการเงินเข้ามาช่วยในการพัฒนา กทม. และผลักดันให้เกิด Digital Transformation โดยส่งเสริมการนำระบบ Digital มาใช้ในกระบวนการทำงาน ทั้งการชำระเงิน การเก็บค่าธรรมเนียม การชำระค่าปรับ การออกใบเสร็จแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสนับสนุนให้นำระบบ Digital Payment มาใช้ทุกเขตและทุกหน่วยงานของกทม. และสนับสนุนให้นำระบบ Digital Supply Chain Finance Platform มาใช้การจัดซื้อจัดจ้างของกทม.และบริษัทในเครือข่ายของ กทม. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความโปร่งใส สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และยังช่วยให้ SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการจัดซื้อจัดจ้างของกทม.สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น อีกทั้ง พร้อมร่วมมือพัฒนาทรัพยากรบุคคลในรูปแบบ Knowledge Sharing หรือ Capacity Building เพื่อให้เกิดการประสานประโยชน์ (Synergy) ร่วมกัน

สมาคมฯ ยังสนับสนุนการพัฒนา กทม. เป็นเมืองนำร่องในการเชื่อมโยงระบบชำระเงินของนักท่องเที่ยวในภูมิภาค เมื่อเดินทางมาท่องเที่ยว ซึ่งเป็นไปตามแผนงาน Regional Championing ของสมาคมฯในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ นักลงทุนและประชาชน สามารถทำกิจกรรมการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และการชำระเงินของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ต้นทุนต่ำ

“สมาคมธนาคารไทย พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการพัฒนา กทม.ให้แข็งแกร่งในทุกด้าน เป็นเมืองที่น่าอยู่ และเป็นศูนย์กลางในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน” นายผยง กล่าว

Advertisement

นายกฯ ชื่นชมการแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าสินค้าข้าว

People Unity News : 2 กรกฎาคม 2566 โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ชื่นชมการแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าสินค้าข้าว “สาโท ข้าวเหนียวดำลืมผัว และข้าวเจ้า กข41” โดยศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก เตรียมศึกษาเชิงลึก เพื่อสร้างนวัตกรรมระดับชุมชน เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ให้กลุ่มเกษตรกรใช้ต่อยอดขยายผลทางธุรกิจ

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า สืบเนื่องจากเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำชาวนา องค์กรชาวนาที่ได้รับรางวัลเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 เข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องในโอกาสวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ณ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบโอวาทและนโยบาย ย้ำถึงการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลคำนึงถึงประโยชน์ที่เกษตรกรและประชาชนจะได้รับ โดยเฉพาะการพยายามหาแนวทางที่จะทำให้เกษตรกรและประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับมากขึ้น สำหรับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การขับเคลื่อนสินค้า GI ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดี นั้น

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขานรับนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี โดยนายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว มอบหมายให้นายสานิตย์ จิตต์นุพงศ์ ที่ปรึกษาอธิบดีฯ นำนายสมควร รุ่งเรือง ประธานศูนย์ข้าวชุมชนตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุราพื้นบ้าน พร้อมคณะ เข้าศึกษาดูงานวิจัยด้านการแปรรูปข้าวที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โดยนางสาวชวนชม ดีรัศมี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก พร้อมทีมนักวิจัย ได้นำชมงานวิจัยด้านการแปรรูปข้าวและการทดสอบรสชาติเครื่องดื่ม “สาโท” ที่ผลิตจากข้าวหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งทีมวิจัยได้คัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่โดดเด่นของจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ ข้าวเหนียวดำลืมผัว และข้าวเจ้า กข41 มาแปรรูปเพิ่มมูลค่า ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาวิจัย โดยศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกจะได้ทำการวิจัยและพัฒนาเพิ่มเติมเริ่มจากข้าวหมากไปจนถึงคราฟเบียร์ต่อไป

นายอนุชา กล่าวถึงข้อมูลของศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ระบุว่า เครื่องดื่มสาโทจากข้าวเหนียวดำลืมผัว และข้าวเจ้า กข41 เป็นผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งของการดำเนินงานแผนงานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าสินค้าข้าว โดยนายพูลเศรษฐ์ พรโสภณ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สังกัดศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ในฐานะหัวหน้าแผนงานวิจัยฯ ได้นำข้าวทั้ง 2 พันธุ์ ซึ่งเป็นข้าวที่เกษตรกรภาคเหนือตอนล่างนิยมปลูกกันโดยทั่วไปมาใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ โดยข้าวเหนียวดำลืมผัวเป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวกล้องสีดำ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสาโทตามกระบวนการวิจัย สามารถปรับอัตราส่วนผสมให้ได้สาโทที่มีโทนสีชมพูจนถึงสีแดงคล้ายไวน์โรเซ หรือไวน์แดงจากองุ่น ส่วนข้าวพันธุ์ กข41 เป็นข้าวเจ้าพื้นแข็งที่มีปริมาณอมิโลสสูง ค่อนข้างต้านทานต่อโรคและแมลงในเขตภาคเหนือตอนล่าง และให้ผลผลิตต่อไร่สูง เป็นพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรในจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย นิยมปลูกเป็นอย่างมาก แต่ตามปกติแล้ว เกษตรกรจะขายผลผลิตเป็นข้าวเปลือกให้กับโรงสีในราคาตามกลไกของท้องตลาดซึ่งในบางช่วงเวลาอาจได้มูลค่าไม่สูงนัก ข้าวพันธุ์นี้เมื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสาโท จะได้สาโทที่มีลักษณะใสและมีสีออกโทนสีเหลืองเล็กน้อยคล้ายไวน์ขาว

นายอนุชา กล่าวต่อไปว่า ในการวิจัยขั้นต่อไป หัวหน้าแผนงานวิจัยฯ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก เผยว่าจะเป็นการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับสภาวะกระบวนการผลิต เชื้อจุลินทรีย์จากลูกแป้ง สารประกอบสำคัญและสารให้กลิ่นรสต่าง ๆ การผลิตเป็นสุรากลั่นคุณภาพ และการใช้ข้าวไทยเป็นวัตถุดิบในการผลิตคราฟเบียร์ รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จาก by-product ของกระบวนการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และนอกจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้กล่าวมาแล้ว ทีมนักวิจัยของกรมการข้าว ยังมีเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าว เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภท functional food ผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจากข้าว และผลิตภัณฑ์จากรำข้าว เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเมื่องานวิจัยสำเร็จ จะสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ต่อยอดสู่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย เพื่อสร้างนวัตกรรมระดับชุมชนในเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าข้าว กลุ่มเกษตรกรมีองค์ความรู้ และทักษะการคิดวิเคราะห์ รวมถึงทักษะการปฏิบัติในกระบวนการแปรรูปผลผลิตข้าวของชุมชน ได้เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มเกษตรกรสามารถใช้ต่อยอดขยายผลทางธุรกิจได้ต่อไป

“นายกรัฐมนตรีชื่นชมการดำเนินงานแผนงานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าสินค้าข้าว ของศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก กรมการข้าว ที่เป็นการส่งเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าข้าว เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มเกษตรกรสามารถใช้ต่อยอดขยายผลทางธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลให้ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งตอบสนองการบริโภคในยุคปัจจุบัน สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยนายกรัฐมนตรีสนับสนุนให้กรมการข้าวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าว ให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับสำหรับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น และให้มีมูลค่าสูงตามความต้องการของตลาด เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไปด้วย” นายอนุชา กล่าว

ทั้งนี้ “สาโท” เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเภทที่ไม่ผ่านกระบวนการกลั่น เช่นเดียวกับเครื่องดื่มสาเกของญี่ปุ่น เกิดจากกระบวนการหมักให้เกิดแอลกอฮอล์ (alcoholic fermentation) โดยจุลินทรีย์ในกลุ่มยีสต์ ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลในวัตถุดิบได้เป็นแอลกอฮอล์ เป็นเครื่องดื่มจากภูมิปัญญาที่คงอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตให้ได้คุณภาพ และสร้างสรรค์เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ เป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างมูลค่าให้แก่ข้าวไทย

Advertisement

รัฐบาล เร่งแก้หนี้ครัวเรือน ไกล่เกลี่ยแพ่งสำเร็จ 53,030 เรื่อง

People Unity News : 19 สิงหาคม 2566 ทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาล เผยผลสำเร็จแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ดำเนินการไกล่เกลี่ยสำเร็จ ทางแพ่ง 53,030 เรื่อง ลดค่าใช้จ่ายประชาชน 6,887,960,640 บาท ทางอาญา 353 เรื่อง ลดต้นทุนภาครัฐ 27,044,036 บาท

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลสำเร็จการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ตามนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า นับแต่พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 รัฐบาล โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ดังนี้ ฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ย 2,708 คน ขึ้นทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ย 4,656 คน เปิดหน่วยบริการไกล่เกลี่ย 1,963 แห่ง (หน่วยงานของรัฐ 82 แห่ง และศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน 1,881 แห่ง) ดำเนินการไกล่เกลี่ยสำเร็จ แบ่งเป็น ข้อพิพาททางแพ่ง 53,030 เรื่อง ลดค่าใช้จ่ายประชาชน 6,887,960,640 บาท ข้อพิพาททางอาญา 353 เรื่อง ลดต้นทุนภาครัฐ 27,044,036 บาท

นางสาวรัชดา กล่าวว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ร่วมมือกับกรมบังคับคดีสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และสถาบันการเงินจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน และยุติธรรมพบประชาชน ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องให้แก่ประชาชนที่เป็นหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หนี้เช่าซื้อรถยนต์ หนี้สินข้าราชการ หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล จำนวน 45,958 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 44,735 เรื่อง ทุนทรัพย์ที่ไกล่เกลี่ย 6,465 ล้านบาท ลดค่าใช้จ่ายประชาชน 5,810 ล้านบาท

“รัฐบาล มุ่งแก้ไขปัญหา บรรเทาความเดือนร้อนของพี่น้องประชาชน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงการแก้ไขปัญหา โดยได้จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนให้ครอบคลุมระดับตำบล ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้นำกระบวนการไกล่เกลี่ยมาใช้ก่อนฟ้องคดีต่อศาล เพิ่มทุนทรัพย์ทางแพ่งและความผิดทางอาญาให้ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้มากขึ้น รวมถึงจัดตั้งหน่วยงานระดับกรมรองรับภารกิจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีและหลังศาลพิพากษา ขอเชิญชวนประชาชนที่มีคดีพิพาทก่อนฟ้อง และหลังศาลมีคำพิพากษา ร่วมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ตอบโจทย์การแก้ไขหนี้สิน หนี้ กยศ. หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ ร่วมกันหาทางออก ฝ่าวิกฤติ สร้างโอกาส ก้าวไปด้วยกัน โดยส่วนกลาง จัดขึ้นทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 2 ของทุกเดือน ณ อาคารกระทรวงยุติธรรม (แห่งใหม่) ถนนแจ้งวัฒนะ หล้กสี่” นางสาวรัชดา ระบุ

Advertisement

“คลัง”เผยวันหยุดยาวนักท่องเที่ยวใช้เงิน “ชิมช้อปใช้” สะพัด

People Unity News : “คลัง”เผยวันหยุดยาวนักท่องเที่ยวใช้เงิน “ชิมช้อปใช้” สะพัด ยอดสะสมกว่าหมื่นล้านบาท ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตรงตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฎิบัติงานกระทรวงการคลัง) เปิดเผยว่า หลังจากที่กระทรวงการคลังได้แนะนำมาตรการ “ชิมช้อปใช้” พร้อมรณรงค์ให้พี่น้องประชาชนท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วงสิ้นปี และไม่ควรกระจุกตัวเฉพาะเพียงเมืองหลัก แต่ควรกระจายออกสู่เมืองรองด้วย พร้อมยืนยันร้านค้าและผู้ประกอบเข้าร่วมโครงการ “ชิมช้อปใช้” ราว 180,000 ร้านค้า กระจายอยู่ 77 จังหวัดทั่วทั้งประเทศ

นายชาญกฤช กล่าวอีกว่า ในช่วงวันหยุดยาว 2-5 พ.ย. 62 เป็นระยะเวลา 4 วันติดต่อกันสำหรับคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อลดปัญหาการจราจร รองรับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน พี่น้องประชาชนให้การตอบรับการรณรงค์ท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นอย่างดี

อีกทั้ง ยอดการจับจ่ายใช้สอยผ่านแอ็ป “เป๋าตัง” ทั้งกระเป๋า 1 และกระเป๋า 2 ก็ดีเกินคาด เม็ดเงินทยอยไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากทะลุหมื่นล้านบาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

และเป็นที่น่าสังเกตว่าพี่น้องประชาชนเริ่มใช้จ่ายเงินผ่านแอ็ป “เป๋าตัง” และผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงวิสาหกิจชุมชนก็สามารถรับเงินผ่านแอ็ป “ถุงเงิน” คล่องแคล่วมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยยอดการใช้จ่าย ชิมช้อปใช้ ณ วันที่ 3 พ.ย.62 มียอดการใช้จ่ายรวม 10,667.3 ล้านบาท แบ่งเป็น ร้านชิม 1,460.1 ล้านบาท ร้านช้อป 6,171.7 ล้านบาท ร้านใช้ 141.7. ล้านบาท และร้านค้าทั่วไป 2,893.8 ล้านบาท

กระทรวงการคลังขอย้ำว่า วัตถุประสงค์หลักของโครงการ “ชิมช้อปใช้” มี 3 ประการ คือ 1. ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนรับรู้และเข้าใจนิยามของคำว่า “สังคมไร้เงินสด” ในทางปฏิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การค้าขายในสังคมยุคดิจิทัล 2. ส่งเสริมสถาบันครอบครัว เพราะพ่อ แม่ ลูก จะมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้นผ่านการท่องเที่ยว และ 3. กระจายเม็ดเงินสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากของประเทศผ่านร้านค้ารายย่อยและวิสาหกิจชุมชนอย่างแท้จริง โดยจะเพิ่มมากขึ้นแบบเป็นนัยยะในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของฤดูการท่องเที่ยว

“จากการลงพื้นที่ติดตามผลอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่พบว่า ร้านค้ารายย่อยและวิสาหกิจชุมชนสามารถเพิ่มยอดขายได้อย่างน้อย 30 เปอร์เซนต์ และบางพื้นที่ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 100 เปอร์เซนต์ แสดงว่าเงินสามารถเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ก่อให้เกิดการหมุนเวียน และกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง” นายชาญกฤชกล่าว

นางวิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า เมื่อรวมยอดผู้ลงทะเบียนโครงการ “ชิมช้อปใช้” ทั้งเฟส 1 และ 2 มีประชาชนร่วมลงทะเบียน 13 ล้านคน นับว่าเป็นกลุ่มที่มีพลังงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการหยุดยาว 4 วัน ช่วงประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน แม้ประชาชนยังเน้นใช้เงินผ่านกระเป๋า 1 เมื่อใช้เงินเพียงบางส่วนในกระเป๋า 1 แล้ว วงเงินที่เหลือ ยังทยอยใช้ได้จนถึงเดือนธันวาคม ส่วนกระเป๋า 2 ขั้นตอนการเติมเงินไม่ยุ่งยาก เพราะในแอ็บเป๋าตัง จะมีแถบการใช้สิทธิ์สองแถบ คือ กระเป๋า 1 ใช้สิทธิ์รับเงิน 1,000 บาท ส่วนกระเป๋า 2 เข้าไปในปุ่มสีส้ม กดเข้าไปจะได้รับ QR Code หรือได้รับ G-Wallet ID จากนั้นให้แคปหน้าจอ QR Code เพื่อเติมเงินในกระเป๋า 2 นอกจากนี้ ธ.กรุงไทยยังเปิดให้เติมเงินผ่านตู้ ATM เพื่อนำเงินกระเป๋า 2 ออกไปใช้จ่ายได้รับเงินชดเชยจากรัฐบาล

สำหรับการได้รับสิทธิ์เงินชดเชยจากการใช้เงินผ่านชิมช้อปใช้ วงเงิน 30,000 บาทแรก ได้รับเงินชดเชยร้อยละ 15 ของมูลค่าซื้อขายแต่ไม่เกิน 4,500 บาท หากซื้อเกิน 30,000-50,000 บาท ได้รับเงินชดเชยร้อยละ 20 ของเงินใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 4,000 บาท ทั้งสองโครงการใช้เงินได้ถึงสิ้นปี 62 ยอมรับว่าแม้จะได้รับเงินชดเชยคืนภายหลังโครงการครบกำหนดไปแล้ว แต่ให้ถือว่าเป็นเงินของตนเองจากการซื้อสินค้าแล้วได้รับชดเชยคืนจากภาครัฐ  หลังจากนี้จะมีโครงการแคมเปญใหญ่ ธ.กรุงไทย ร่วมกับการท่องเที่ยว โหมกระหน่ำลดราคา เพื่อดึงนักท่องเที่ยวออกไปเที่ยวช่วงปลายนี้ ให้ติดตามการประกาศแคมเปญในเร็วๆ นี้

“ประภัตร”เปิดด่านการค้าโค-กระบือ ที่ชายแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สอด​ จ.ตาก

People Unity : “ประภัตร”เปิดด่านการค้าโค-กระบือ ที่ชายแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สอด​ จ.ตาก พร้อมลงนามความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่กับหน่วยงานภาครัฐ

วันที่ 24 ต.ค.2562 นายประภัตร โพธสุธน  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดด่านการค้าโค-กระบือ  ที่บริเวณท่า 23 (ท่าลุงคำ) ริมแม่น้ำเมย บ้านวังแก้ว(ห้วยกะโหลก หมู่ 4 ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก โดยมี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก​ นายชัยวุฒิ บรรณวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์  นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก เขต 3  พรรคพลังประชารัฐ​ นายชัยพฤกติ์ เชียรธานรักษ์ นายอำเภอแม่สอด​ ดร.เทอดเกียรติ​ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีนครแม่สอด​ ​และเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ จำนวนกว่า 300 คน ให้การต้อนรับ

ในโอาสนี้ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก  กล่าวรายงานสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าโค-กระบือ จากนั้นรมช.เกษตรได้ตรวจเยี่ยมคอกสัตว์ และพบปะเกษตรกรผู้เลี้ยง กลุ่มผู้ค้าขาย โค-กระบือ และผู้เลี้ยงโคขุน หลังจากนั้นได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงาน ที่ด่านกักกันสัตว์ตาก(แม่สอด) คอกกักบ้านวังแก้ว
นายประภัตร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ จีนเข้ามาตีตลาด โค กระบืออย่างหนัก และยังกดราคา  ทำให้เมื่อ 2-3 เดือน​ เราจำเป็นต้องปิดด่าน เพื่อให้ตลาดขาดและมีความต้องการมากขึ้น

วันนึ้จึงมาทำให้เปิดด่านการค้าโค-กระบือ ที่ชายแดนไทย-เมียนมา และเพิ่มราคาระหว่าง กก.ละ   99 -​100  บาท และกลับส่งไปขายจีน กก.ละ 105-110 บาท​ (ซึ่งคิดนน.ตัวโค ระหว่าง 320-400 กก.) ส่วนขนาด นน.ตัวที่เล็กก็ราคาลดน้อยลง กก.ละ  95 บาท เพื่อนำไปขุนต่อ  โดยมีตลาดกลางซื้อขาย และมีการประกันราคาด้วย  ทั้งนี้แต่ละครอบครัวจะได้รับโค- กระบือรายละ 5 ตัวต่อครอบครัวและสามารถนำมาเป็นหลักประกัน ในการกู้ได้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้อีกด้วย นอกจากนี้ภายในงานกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ลงนาม MOU ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการดำเนินโครงการฯ เป็นอย่างดี

Verified by ExactMetrics