วันที่ 15 พฤษภาคม 2024

“บิ๊กตู่” สั่งเร่งเครื่องโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมชายแดนใต้ แนะปลูกปาล์มให้สอดรับตลาด

People unity news online : เมื่อวานนี้ (4 เมษายน 2561) เวลา 11.00 น. ณ ห้องประชุมพญาตานี ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดปัตตานี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนภาคเอกชน ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น และผู้แทนเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนเข้าร่วมประชุม

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ชายแดน โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานีเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพต้องพัฒนาเชื่อมโยงไปสู่จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ลดความเหลื่อมล้ำ เกิดความปรองดองและความสงบในพื้นที่ต่อไป สำหรับการเสนอและดำเนินการเสนอขอโครงการต่างๆนั้น เพื่อให้เกิดผลโดยเร็วและสามารถดำเนินการได้ ให้เสนอแยกเป็นตอนๆ เป็นช่วงๆ แทนการเสนอในภาพใหญ่ และต้องรายงานการใช้งบประมาณอย่างละเอียด โปร่งใส สุจริต โดยให้คำนึงถึงความต้องการของประชาชนและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้นำเสนอโครงการสำคัญ ดังนี้

1.ความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยนายกรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการขยายกำลังการผลิตปาล์มน้ำมัน และขอให้คำนึงถึงปริมาณการปลูกปาล์มให้สอดคล้องกับความต้องการ และให้เตรียมมาตรการรองรับราคาปาล์มด้วย ในส่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว ให้กำหนดพื้นที่ปลูกมะพร้าวพร้อมจัดสรรพื้นที่สาธารณะให้ปลูกมะพร้าวโดยให้บริหารจัดการร่วมกัน  พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการต้นแบบ รวมทั้งให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่วิจัยพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการผลิต

2.การบริหารจัดการด้านพลังงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าชีวมวลใน 3 จังหวัดภาคใต้ และการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าโดยชุมชน นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เร่งรัดดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านระบบไฟฟ้าของพื้นที่และสามารถพึ่งพาตนเองได้ เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้ชายแดนเป็นแหล่งที่มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมาก

3.ผลการดำเนินงานด้านคมนาคม (ท่าเทียบเรือปัตตานี/ท่าอากาศยานเบตง) นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนด เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างความเจริญให้กับพื้นที่

4.การดำเนินงานด้านการท่องเที่ยว (การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน/แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่) นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ขยายผลการท่องเที่ยวโดยชุมชน เนื่องจากจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์ด้านรายได้โดยตรง รวมทั้งควรสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยง เชื่อมต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวควบคู่กับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่แบบแพ็คเกจ สร้างสตอรี่เรื่องราวต่างๆให้น่าสนใจ ทำอย่างไรให้คนเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยให้จัดทำแผน กำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยว และกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างเชื่อมโยงขยายไปสู่การท่องเที่ยวในกลุ่มพื้นที่ต่อไป

และ 5.ผลการดำเนินงานยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายกรัฐมนตรีได้เร่งรัดให้พัฒนาปฏิรูปการศึกษาในพื้นที่ เพื่อให้เยาวชนเข้าสู่ระบบการศึกษา การพัฒนาอาชีพ และเป็นแรงงานที่มีศักยภาพสามารถสร้างโอกาสในการทำงานต่อไป พร้อมส่งเสริมให้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตร 2 ภาษา รวมทั้งส่งเสริมให้มีโรงเรียนประจำในพื้นที่และทำให้ได้โดยเร็ว

ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำให้ส่วนราชการต่างๆ ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ หากมีปัญหาอุปสรรคให้รีบแก้ไข และพยายามหาแนวทางใหม่ๆที่สร้างสรรค์เพื่อให้การพัฒนาชายแดนใต้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

People unity news online : post 5 เมษายน 2561 เวลา 10.00 น.

สหรัฐคงสถานะไทย Watch List ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 6 พฤษภาคม 2567 อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เผยสหรัฐคงสถานะไทยในบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List) ย้ำชื่นชมประเทศไทยพัฒนาการและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยได้ดีเยี่ยม แต่สหรัฐมีข้อห่วงกังวลปัญหามีการลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ การแอบอ้างสิทธิในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ และอื่นๆ ขอให้ไทยแก้ไข

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (United States Trade Representative : USTR) ประกาศสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้ารายสำคัญ ภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐ มาตรา 301 พิเศษ (Special 301) ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา โดยคงสถานะไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List : WL) ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ดำเนินการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยมาอย่างต่อเนื่อง และพร้อมเดินหน้าชี้แจงสหรัฐ ถึงพัฒนาการ และเร่งขับเคลื่อนการเจรจาแผนงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP Work Plan) เพื่อผลักดันให้ไทยหลุดจากบัญชี WL

ทั้งนี้ จากการประกาศสถานะดังกล่าว สหรัฐตระหนักถึงพัฒนาการด้านการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย โดยเฉพาะการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายลิขสิทธิ์ และกฎหมายสิทธิบัตร รวมทั้งชื่นชมความพยายามของหน่วยงานไทยในการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและการบูรณาการภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าของสิทธิ ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ศุลกากร การจัดทำระบบฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร (Thai Customs IPR Recordation System : TCIRs) การจัดทำแผนปฏิบัติการเร่งด่วนในการดำเนินการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญา กับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ

อย่างไรก็ดี สหรัฐยังคงมีข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับปัญหาบางประการ อาทิ ยังคงมีการลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ การแอบอ้างสิทธิในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ผ่านอุปกรณ์หรือแอปพลิเคชันสำหรับการสตรีมและดาวน์โหลด content โดยไม่ได้รับอนุญาต และความล่าช้าในการดำเนินคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา

ทั้งนี้ กรมฯ มองว่าทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นหนึ่งในนโยบายหลักที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการส่งเสริม การคุ้มครอง และการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ที่ผ่านมากรมฯ ได้เร่งพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศอย่างต่อเนื่องและมีพัฒนาการที่ชัดเจน โดยไทยมุ่งมั่นดำเนินทุกภารกิจเพื่อที่จะหลุดจากบัญชี WL และทุกบัญชีให้ได้ ซึ่งเห็นได้จากการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อทุกข้อกังวลของสหรัฐ หลายเรื่องได้ดำเนินการสำเร็จไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ Smart DIP ซึ่งอำนวยความสะดวกรวดเร็วให้กับประชาชนในการให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา มีเพียงบางเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยการแสดงและสิ่งบันทึกเสียงขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO Performances and Phonograms Treaty : WPPT) และการแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร เพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (Hague Agreement Concerning International Registration of Industrial Designs : Hague Agreement)

อย่างไรก็ตาม กรมฯ มั่นใจว่าสหรัฐจะพิจารณาให้ไทยหลุดจากบัญชี WL และทุกบัญชีในไม่ช้านี้ ทั้งนี้ กรมฯ ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองและการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จึงขอเน้นย้ำว่ากรมฯ จะเร่งผลักดันให้ไทยหลุดจากบัญชี WL ให้สำเร็จโดยเร็ว โดยเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 กรมฯ หารือกับ USTR เพื่อเร่งจัดทำแผนงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP Work Plan) ร่วมกับสหรัฐ ซึ่งจะเป็นกรอบในการดำเนินการเพื่อให้ไทยหลุดจากบัญชีดังกล่าวได้ต่อไป

Advertisement

ฉลองครบรอบ 64 ปี ธอส.เปิดฝากออมทรัพย์ รับดอกเบี้ยสูง 1.80%

People unity news online : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ฉลองครบรอบ 64 ปี เอาใจผู้ที่รักการออม จัดทำ “เงินฝากออมทรัพย์ ธอส. เงินเต็มบ้าน” รับอัตราดอกเบี้ย 1.80% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชีและมียอดเงินฝากคงเหลือไม่เกิน 1 ล้านบาท ส่วนผู้ที่ยอดเงินฝากคงเหลือมากกว่า 1 ล้านบาทขึ้นไป รับอัตราดอกเบี้ย 0.90% ต่อปี เงื่อนไขเปิดบัญชีเงินฝากครั้งแรกขั้นต่ำ 500 บาท ฟรี! บัตร ATM GHB Lifestyles card ฟรีค่าธรรมเนียมการออกบัตรและค่าธรรมเนียมรายปีในปีแรก ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถเปิดบัญชีได้ที่สาขา ธอส. ทุกแห่งทั่วประเทศ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2560 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์

People unity news online : post 26 กันยายน 2560 เวลา 22.30 น.

“วีรศักดิ์”ปลุกร้านเสริมสวยรายย่อยคึกคักปลายปี

People Unity News : “วีรศักดิ์”ปลุกร้านเสริมสวยรายย่อยคึกคักปลายปี เปิดตัวโครงการเพิ่มศักยภาพการบริหารธุรกิจเสริมสวยอย่างมืออาชีพ หวังเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจร้าน เสริมสวยรายย่อย สามารถยืนหยัดในธุรกิจบริการไทยได้อย่างเข้มแข็ง

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2562 กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และสมาคมวิชาชีพช่างผมไทย เปิดอบรมธุรกิจและบุคคลในวิชาชีพเสริมความงาม ดึงกูรูช่างผมชื่อดังของเมืองไทยร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ตรงในการสร้างธุรกิจให้เป็นมืออาชีพ พร้อมการันตีเรียนจบกลับไปพัฒนาธุรกิจบิวตี้ในชุมชน ให้แข่งขันกันเติบโตได้แน่ คาดกิจกรรมดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นธุรกิจบริการเสริมสวยให้กลับมาคึกคักสร้างเม็ดเงินสะพัดได้ในช่วงปลายปี

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตรพิเศษ “การบริหารธุรกิจเสริมสวยอย่างมืออาชีพ” ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ว่ากิจกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายการเร่งรัดพัฒนาธุรกิจบริการไทยให้เข้มแข็งเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยในวันนี้ได้จัดการอบรมร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และสมาคมวิชาชีพช่างผมไทย สำหรับหลักสูตรนี้ได้แบ่งการอบรมเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1 เป็นเจ้าของธุรกิจเสริมสวยมาที่เปิดกิจการแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือต้องการขยายสาขา อบรมระหว่างวันที่ 13, 20-21 พฤศจิกายน 2562 และรุ่นที่ 2 สำหรับช่างและนักศึกษาที่กำลังศึกษาหลักสูตรช่างทำผม แต่งหน้า ทำเล็บ และเสริมความงาม อบรมระหว่างวันที่ 13, 27-28 พฤศจิกายน 2562

รมช.พณ. กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมในวันนี้ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม การบริหารธุรกิจร้านเสริมสวย และช่างทำผมมืออาชีพชื่อดังของเมืองไทย อาทิ ดร.สมศักดิ์ ชลาชล นายกสมาคมวิชาชีพช่างทำผมไทย, คุณไกรวิทย์ พุ่มสุโข ผู้บริหาร Sukho Salon, คุณสมเพชร ศรีชัยโย ผู้อำนวยการสถาบัน Anthony Hair, คุณวรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ด้วย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสวนาเรื่องเสริมสวยมืออาชีพ บทเรียนสำหรับประกอบการยุคใหม่, เทรนด์ผมสมัยใหม่ มืออาชีพต้องตามทัน, และเทคนิคการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จเคล็ด (ไม่) ลับ สำหรับช่างเสริมสวยมืออาชีพ อีกทั้ง กระทรวงฯยังได้ขอความร่วมมือจากผู้ผลิตสินค้าเกี่ยวกับธุรกิจทำผมชั้นนำเพื่อมาจำหน่ายในราคาพิเศษ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านวัตถุดิบหลักที่ใช้ให้บริการและสร้างรายได้เสริมแก่ธุรกิจที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

“มากไปกว่านั้น ธุรกิจที่ผ่านการอบรมจะสามารถนำความรู้กลับไปปิดจุดอ่อน (Pain Point) ร้านเสริมสวยของตนเอง ด้วยการใช้เทคนิคด้านการตลาดมาช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้าน การเลือกทำเลทอง ในการลงทุน การครองใจลูกค้าให้กลับมาใช้บริการซ้ำและการซื้อใจพนักงานให้เต็มใจในงานบริการ การปักหมุดร้านให้เป็นที่รู้จักในโลกออนไลน์ การบริหารเงินและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการปรับภาพลักษณ์ร้านเสริมสวยให้น่ามอง”

“ร้านเสริมสวยเป็นธุรกิจที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน มีเสน่ห์ในการเข้าถึงคนในชุมชนได้ทุกเพศทุกวัย หากพิจารณาให้ดีจะถือว่าเป็นธุรกิจสำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น แม้ธุรกิจนี้จะมีจำนวนมากเพราะเป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน งบลงทุนไม่มากส่งผลให้เกิดการแข่งขันสูง แต่ถ้าสามารถพัฒนาตนเองเข้าสู่มาตรฐานวิชาชีพได้ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถแยกความแตกต่างระหว่างร้านเสริมสวยทั่วไปกับร้านที่มีความเป็นมืออาชีพได้ ซึ่งแน่นอนลูกค้าจะต้องเลือกเข้าร้านที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า อีกทั้งถ้าธุรกิจสามารถรวมกลุ่มกันภายใต้วิชาชีพเดียวกันได้ ก็จะเพิ่มความสามารถในการพัฒนาวิชาชีพและเพิ่มอำนาจการต่อรองทางธุรกิจได้ ช่วยประหยัดต้นทุนในการบริหารธุรกิจได้อีกทาง” รมช.พณ. กล่าวในท้ายที่สุด

จากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2559 พบว่า มีธุรกิจเสริมสวยที่จัดตั้งในอยู่ในประเทศไทย จำนวน 121,296 ราย และมีมูลค่าทางการตลาดรวมกันทั้งประเทศกว่า 6 หมื่นล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ข้อมูลจากของกรมการจัดหางาน ยังพบว่า อัตราการเติบโตของธุรกิจเสริมสวยในประเทศไทยระหว่างปี 2558-2562 อยู่ที่ร้อยละ 3.4

ธนาคารออมสินแจ้งสินเชื่อเสริมพลังฐานรากวงเงิน 10,000 ล้านบาท มีผู้ขอกู้เต็มวงเงินแล้ว

People Unity News : ธนาคารออมสินแจ้ง สินเชื่อเสริมพลังฐานรากวงเงิน 10,000 ล้านบาท มีผู้ยื่นขอกู้เต็มวงเงินแล้ว

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีความห่วงใยประชาชนที่เดือดร้อน จากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยได้มอบหมายธนาคารออมสินให้การช่วยเหลือประชาชน ผ่านการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำด้วยเงื่อนไขผ่อนปรน ตามโครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท เริ่มเปิดให้ลงทะเบียนยื่นขอสินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน MyMo ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ปัจจุบันวงเงินสินเชื่อเสริมพลังฯ ได้มีประชาชนยื่นขอกู้และได้รับอนุมัติเงินกู้จนเต็มวงเงิน และธนาคารได้ปิดระบบลงทะเบียนขอสินเชื่อผ่าน MyMo แล้ว

“นับตั้งแต่เริ่มเปิดให้ประชาชนยื่นขอสินเชื่อตามมาตรการเยียวยาจากการระบาดระลอกใหม่ เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อและโอนเงินเข้าบัญชีผู้กู้ไปแล้วกว่า 4.4 แสนราย จำนวนเงินให้กู้กว่า 11,500 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นลูกค้าสินเชื่อเสริมพลังฐานรากกว่า 3 แสนราย (ให้กู้สูงสุดรายละ 50,000 บาท) และเป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย หรือสินเชื่อฉุกเฉิน จำนวน 1.4 แสนราย (ให้กู้รายละ 10,000 บาท) ซึ่งมาตรการสินเชื่อผ่อนปรนเงื่อนไขครั้งนี้ ธนาคารพิจารณาจากประวัติเครดิตผู้กู้เป็นหลัก โดยได้รับความคุ้มครองการชดเชยความเสียหายบางส่วนจากรัฐบาล อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกของการนำร่องเปิดให้บริการอนุมัติสินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน MyMo เพื่อให้สามารถพิจารณาสินเชื่อได้เร็วโดยที่ลูกค้าไม่ต้องไปติดต่อที่สาขา สอดคล้องตามมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19” นายวิทัยกล่าว

ธนาคารฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มาตรการสินเชื่อของธนาคารในครั้งนี้ จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนลงได้บ้างไม่มากก็น้อย และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปได้ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ ธนาคารออมสินขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่ยื่นกู้สินเชื่อ และขออภัยผู้กู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณาประวัติเครดิตที่ไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อมา ณ โอกาสนี้

Advertising

“สมคิด” สั่งรัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติต่อเนื่อง รักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 62

People unity : “สมคิด” ให้รัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2562

วันนี้ (13 มีนาคม 2562) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จัดสัมมนาผู้บริหารสูงสุดรัฐวิสาหกิจ หรือ “SOE CEO Forum” ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้บริหารสูงสุด (CEO) ของรัฐวิสาหกิจทั้ง 56 แห่ง เข้าร่วมการสัมมนา SOE CEO Forum ในครั้งนี้ ซึ่ง SOE CEO Forum เป็นการสัมมนาที่ได้จัดให้มีอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารนโยบายต่างๆ รวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง CEO ของรัฐวิสาหกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ระหว่างกัน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงความสำคัญของรัฐวิสาหกิจในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2558 – 2561 อัตราการเติบโตของ GDP ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมากจนทำให้ปี 2561 ประเทศไทยมี GDP เท่ากับ 4.1% จากที่ในปี 2557 ที่ GDP เติบโตต่ำกว่า 1% จากการลงทุนและการดำเนินโครงการที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาลของรัฐวิสากิจ

ทั้งนี้ นายสมคิด ได้มอบนโยบายให้รัฐวิสาหกิจยังคงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานต่างๆ ตามยุทธศาสตร์ชาติ ดังนี้

1.สานต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการลงทุนใน EEC และการพัฒนาการให้บริการแก่ประชาชนตามภารกิจ

2.เร่งรัดสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้สามารถสนับสนุนการดำเนินการตามภารกิจ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการสาธารณะแก่ประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งลงทุนและพัฒนาโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน

3.เร่งการพัฒนาการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มากขึ้น และให้มีการใช้ข้อมูลที่มีร่วมกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆแก่ประชาชน

4.ร่วมมือกันให้มากขึ้นในการพัฒนาการทำงาน ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน มีการแบ่งปันความรู้และทรัพยากรและสร้างนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งจะทำให้กลุ่มรัฐวิสาหกิจมีความเข้มแข็งมากขึ้นในการพัฒนาประเทศ

5.ขอให้รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพพิจารณาสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ที่เกี่ยวข้องกับกิจการของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้สามารถต่อยอดในการพัฒนางานต่างๆของรัฐวิสาหกิจ

ด้าน นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สคร. เปิดเผยว่า ในการสัมมนา SOE CEO Forum ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารให้ CEO ของรัฐวิสาหกิจรับทราบสถานการณ์ต่างๆในปัจจุบัน และเตรียมความพร้อมต่อความท้าทายปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งให้รัฐวิสาหกิจเสนอแนะและให้ความเห็นต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ โดยที่ผ่านมารัฐวิสาหกิจถือเป็นกลไกหลักในการฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านการลงทุน การดำเนินนโยบายรัฐบาล และการนำส่งรายได้แผ่นดิน รวมทั้งมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2560 รัฐวิสาหกิจมีสินทรัพย์รวมจำนวน 15 ล้านล้านบาท เติบโต 25% จากปี 2556 และมีผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 4 แสนล้านบาท เติบโต 21% ทำให้รัฐวิสาหกิจสามารถนำส่งรายได้แผ่นดินสูงถึง 1.6 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 23% จากปี 2556 นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจยังเป็นส่วนสำคัญของการลงทุนภาครัฐ โดยในปี 2561 รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายงบลงทุน 3.8 แสนล้านบาท เติบโต 70% จากปี 2556 อีกทั้งรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินโครงการที่สำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งและความเชื่อมั่นให้แก่เศรษฐกิจของประเทศด้วย เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การดำเนินโครงการลงทุนที่สำคัญในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) การสนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศ และการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 มีความท้าทายต่อการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจ อาทิ เรื่องความไม่แน่นอนทางการเมือง สงครามทางการค้า รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและพฤติกรรมของประชาชน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฝากให้รัฐวิสาหกิจร่วมมือกันและเตรียมความพร้อมต่อความท้าทายต่างๆ โดยให้ใช้ Technology และ Big Data ให้มากขึ้น เพื่อให้ยังคงเป็นกำลังสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติต่อไปได้ และให้ สคร. สนับสนุนการทำงานของรัฐวิสาหกิจในเชิงรุกอย่างเต็มที่ในฐานะ Active Partner

เศรษฐกิจ : “สมคิด” สั่งรัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติต่อเนื่อง รักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 62

People unity : post 13 มีนาคม 2562 เวลา 21.40 น.

“พุทธิพงษ์” ถกบิ๊กเอกชน-รัฐวิสาหกิจด้านไอที หาแนวทางความร่วมมือสร้างงานให้คนไทยทำ

People Unity News : 9 พฤษภาคม 2563 ที่อาคารดีป้า ลาดพร้าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมหารือภาคเอกชน-รัฐวิสาหกิจหาแนวทางความร่วมมือในการบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือผู้ว่างงานนัดแรก หวังช่วยให้ประชาชนไทยมีงานทำ หลังสิ้นสุดวิกฤต COVID-19 พร้อมรองรับยุคเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัล และสภาวะ New Normal

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือผู้ว่างงานจากผลกระทบสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ครั้งที่ 1ร่วมกับคณะผู้บริหารจากบริษัทเอกชนขนาดใหญ่และรัฐวิสาหกิจ รวม 19 บริษัทวานนี้ ประกอบด้วย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด บริษัท เดลล์ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน)บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)(DTAC) บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (CAT) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป

โดย นายพุทธิพงษ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้มีการหารือใน 3 ประเด็นหลักคือ ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ว่างงาน พนักงานที่ถูกลดค่าตอบแทน และนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังหางานหรือเริ่มประกอบธุรกิจ อีกทั้งการพัฒนา National Digital Workplace Platform ซึ่งดีป้าจะเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการพัฒนาระบบ พร้อมร่วมมือกับบริษัทด้านดิจิทัลในการจับคู่งาน (Matching) กับผู้ที่ต้องการงาน ทั้งในรูปแบบ Digital Supporter (Non-technical) ไปจนถึง Programmer และ Data Scientist ซึ่งรัฐบาลได้ขอความร่วมมือจากภาคเอกชนในการนำส่งข้อมูลตำแหน่งงานว่างด้านดิจิทัล และนอกเหนือจากดิจิทัล เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยบริษัทจะมีสิทธิ์ในการเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติและคัดเลือกผู้สมัครด้วยตนเอง

ประเด็นถัดมาคือ การช่วยเหลือประชาชนที่ต้องการพัฒนาทักษะและความสามารถด้านต่างๆ เพิ่มเติม Reskill และ Upskill เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด รองรับการก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล รวมถึงสภาวะ New Normal โดยดีป้าจะดำเนินการช่วยเหลือและประสานงานกับบริษัทด้านดิจิทัลในการพัฒนาหลักสูตร และมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประเด็นสุดท้ายคือข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการและข้อเรียกร้องที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ โดยคณะผู้บริหารจะนำผลการประชุมครั้งนี้กลับไปหารือและนำข้อสรุปกลับมาประชุมร่วมกันอีกครั้งหลังจากนี้

ด้าน ดร.ณัฐพลกล่าวว่า ดีป้าคาดหวังว่า การประชุมนัดแรกในวันนี้จะส่งผลให้คน IT คน Non IT รวมถึงผู้ที่ต้องการยกระดับทักษะเพื่อประกอบอาชีพใหม่มีช่องทางการหางานผ่านแพลตฟอร์มที่รัฐและเอกชนบูรณาการการทำงาน โดยมี ดีป้า เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งในเรื่องของการสร้างสังคมดิจิทัลเพื่อให้ประชาชนไทยสามารถปรับตัวรับยุค New Normal และสามารถสืบค้นงานที่ตรงตามความเชี่ยวชาญและทักษะที่เปลี่ยนไปได้

โฆษณา

รัฐบาล เร่งแก้หนี้ครัวเรือน ไกล่เกลี่ยแพ่งสำเร็จ 53,030 เรื่อง

People Unity News : 19 สิงหาคม 2566 ทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาล เผยผลสำเร็จแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ดำเนินการไกล่เกลี่ยสำเร็จ ทางแพ่ง 53,030 เรื่อง ลดค่าใช้จ่ายประชาชน 6,887,960,640 บาท ทางอาญา 353 เรื่อง ลดต้นทุนภาครัฐ 27,044,036 บาท

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลสำเร็จการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ตามนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า นับแต่พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 รัฐบาล โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ดังนี้ ฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ย 2,708 คน ขึ้นทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ย 4,656 คน เปิดหน่วยบริการไกล่เกลี่ย 1,963 แห่ง (หน่วยงานของรัฐ 82 แห่ง และศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน 1,881 แห่ง) ดำเนินการไกล่เกลี่ยสำเร็จ แบ่งเป็น ข้อพิพาททางแพ่ง 53,030 เรื่อง ลดค่าใช้จ่ายประชาชน 6,887,960,640 บาท ข้อพิพาททางอาญา 353 เรื่อง ลดต้นทุนภาครัฐ 27,044,036 บาท

นางสาวรัชดา กล่าวว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ร่วมมือกับกรมบังคับคดีสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และสถาบันการเงินจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน และยุติธรรมพบประชาชน ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องให้แก่ประชาชนที่เป็นหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หนี้เช่าซื้อรถยนต์ หนี้สินข้าราชการ หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล จำนวน 45,958 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 44,735 เรื่อง ทุนทรัพย์ที่ไกล่เกลี่ย 6,465 ล้านบาท ลดค่าใช้จ่ายประชาชน 5,810 ล้านบาท

“รัฐบาล มุ่งแก้ไขปัญหา บรรเทาความเดือนร้อนของพี่น้องประชาชน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงการแก้ไขปัญหา โดยได้จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนให้ครอบคลุมระดับตำบล ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้นำกระบวนการไกล่เกลี่ยมาใช้ก่อนฟ้องคดีต่อศาล เพิ่มทุนทรัพย์ทางแพ่งและความผิดทางอาญาให้ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้มากขึ้น รวมถึงจัดตั้งหน่วยงานระดับกรมรองรับภารกิจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีและหลังศาลพิพากษา ขอเชิญชวนประชาชนที่มีคดีพิพาทก่อนฟ้อง และหลังศาลมีคำพิพากษา ร่วมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ตอบโจทย์การแก้ไขหนี้สิน หนี้ กยศ. หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ ร่วมกันหาทางออก ฝ่าวิกฤติ สร้างโอกาส ก้าวไปด้วยกัน โดยส่วนกลาง จัดขึ้นทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 2 ของทุกเดือน ณ อาคารกระทรวงยุติธรรม (แห่งใหม่) ถนนแจ้งวัฒนะ หล้กสี่” นางสาวรัชดา ระบุ

Advertisement

13 มี.ค. “บิ๊กตู่” เปิดงาน “One Transportation for all” ที่ขอนแก่น-โคราช เร่งรถไฟทางคู่อีสาน

People unity : รัฐบาลเดินหน้าโครงข่ายคมนาคมรถไฟทางคู่ โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานเปิดงาน “One Transportation for all : ระบบคมนาคมหนึ่งเดียว เพื่อประชาชนทุกคน” ณ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเป็นประธานเปิดงาน “One Transportation for all : ระบบคมนาคมหนึ่งเดียว เพื่อประชาชนทุกคน” โดยกระทรวงคมนาคม เพื่อพัฒนาเครือข่ายคมนาคมและศูนย์กลางคมนาคมขนส่งทางรางและถนน ณ จังหวัดนครราชสีมา และทดลองการเดินรถในโครงการพัฒนาระบบโครงข่ายรถไฟทางคู่ เส้นทางสายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และความก้าวหน้าการดำเนินโครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ณ จังหวัดขอนแก่น พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย โดยในวันพุธที่ 13  มีนาคม 2562  นายกรัฐมนตรีจะปฏิบัติภารกิจสำคัญ ณ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา  ดังนี้

ช่วงเช้า นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิดการใช้งานอาคารสถานีรถไฟขอนแก่น และตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่และทดลองเดินรถในโครงการพัฒนาระบบโครงข่ายรถไฟทางคู่ เส้นทางสายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น  ช่วงบ่าย เป็นประธานเปิดงาน “One Transportation for all : ระบบคมนาคมหนึ่งเดียว เพื่อประชาชนทุกคน” ของกระทรวงคมนาคม และตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-นครราชสีมา จุดเชื่อมต่อการคมนาคมรถไฟทางคู่

ทั้งนี้ การตรวจราชการส่วนภูมิภาคเป็นหนึ่งในภารกิจที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินนโยบายรัฐบาลด้วยตนเอง อีกทั้งยังทำให้เข้าใจลักษณะพื้นที่ สภาพปัญหา ความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง เพื่อเป้าหมายการพัฒนาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาภาค แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาจังหวัด ทำให้จัดสรรงบประมาณได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด  นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยสร้างการรับรู้ของประชาชนต่อนโยบายของรัฐบาล และเป็นขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่และประชาชนในพื้นที่อีกด้วย

เศรษฐกิจ : 13 มี.ค. “บิ๊กตู่” เปิดงาน “One Transportation for all” ที่ขอนแก่น-โคราช เร่งรถไฟทางคู่อีสาน

People unity : post 11 มีนาคม 2562 เวลา 10.20 น.

รอง ปธ.ธนาคารโลกเข้าพบ “สมคิด” อวยไทยมาถูกทาง

People unity news online :  วันนี้ (30 มีนาคม 2560) เวลา 15.00 น. นาง Victoria Kwakwa รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เข้าเยี่ยมคารวะ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในโอกาสเยือนไทย ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรองประธานธนาคารโลกได้หารือถึงเศรษฐกิจของประเทศไทยและโครงการที่รัฐบาลจะพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว โดยรองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงภูมิหลังทางเศรษฐกิจของไทยที่ต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 ซึ่งประเทศไทยต้องใช้เวลา 6-7 ปีในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้ทำให้ประเทศไทยได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ประเทศต้องการไม่ใช่แค่ตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ประเทศไทยจำเป็นต้องปฏิรูป ซึ่งการปฏิรูปจะต้องมุ่งสร้างดุลยภาพการเติบโต โดยการสร้างความเข้มแข็งจากภายในเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก

รองนายกรัฐมนตรีระบุเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับ CLMVT ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่กำลังเจริญเติบโตและเป็นกลไกขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียน ประเทศไทยจึงยินดีร่วมมือกับธนาคารโลกจัดทำแผนแม่บทสำหรับการพัฒนา CLMVT และนำเสนอแผนดังกล่าวให้กลุ่มประเทศ CLMVT เพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งทางรองประธานธนาคารโลกได้แสดงความเข้าใจและยินดีร่วมมือกับไทยในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ รองประธานธนาคารโลกยังกล่าวชื่นชมนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 รวมถึงการเตรียมความพร้อมทางด้านการศึกษาและแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

People unity news online : post 30 มีนาคม 2560 เวลา 20.58 น.

Verified by ExactMetrics