วันที่ 27 เมษายน 2024

“จุรินทร์” รุกตลาดกลุ่มประเทศยูเรเซีย เพิ่มการค้า-การลงทุน ผลักดันการเจรจา FTA

People Unity News : รัฐบาลกระชับสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศยูเรเซีย เพิ่มการค้า-การลงทุน ผลักดันสู่เจรจา FTA

23 กันยายน 2564 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า รัฐบาลเดินหน้าขยายตลาดการค้า การลงทุนกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Union) ประกอบด้วย ประเทศรัสเซีย คาซัคสถาน เบลารุส อาเมเนีย และคีกีซสถาน โดยจะมีการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Commission: EEC) ครั้งที่ 2 แบบทางไกล ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 27 ก.ย.นี้  โดยฝ่ายไทยมี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

ที่ผ่านมาไทยและกลุ่มประเทศยูเรเซีย ได้มีข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายสนใจ รวมถึงการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ผ่านกลไกคณะทำงานร่วม โดยในปี 2563 มูลค่าการค้ารวมประมาณกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกหลักของประเทศไทย คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เครื่องปรับอากาศ สินค้าหลักที่ไทยนำเข้า คือ น้ำมันดิบ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ปุ๋ย ยาจำกัดศัตรูพืช สินแร่โลหะ เป็นต้น

นางสาวรัชดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมครั้งนี้ ท่าทีของประเทศไทย จะมุ่งเน้นไปที่ 1) การหาแนวทางเพื่อขยายการค้าและการลงทุนภายใต้สถานการณ์โควิด-19 2) การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนโยบาย กฏระเบียบด้านการค้าและการลงทุน เช่น การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในประเทศที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย มาตรการเยียวยาทางการค้า กฎระเบียบด้านศุลกากรและกฎระเบียบทางเทคนิคและมาตรการสุขอนามัย จะผลักดันความร่วมมือในสาขา อาทิ นวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล เกษตรอัจฉริยะ เศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (BCG โมเดล) และความร่วมมือด้านยางพารา และ 3) ติดตามความคืบหน้าเรื่องการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และกระบวนการจัดทำ FTA ของแต่ละฝ่าย

“รัฐบาลอยู่ระหว่างการศึกษา และเจรจาทำข้อตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุน โดยทุกเรื่องได้ดำเนินการอย่างรอบคอบและรับฟังข้อเสนอจากทุกภาคส่วน สำหรับการประชุมกับกลุ่มประเทศยูเรเซียในครั้งนี้ ผลลัพธ์จะนำไปสู่การยกระดับและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง เป็นช่องทางสำคัญในการผลักดันการนำไปสู่การเริ่มต้นเจรจาจัดทำ FTA ระหว่างกันในอนาคต” นางสาวรัชดากล่าว

Advertising

“ปานปรีย์” ระบุไทยยึดกลไกอาเซียนแก้ปัญหาการเมืองเมียนมา ย้ำไทยให้ความสำคัญการทูตเชิงมนุษยธรรม

People Unity News : 14 กันยายน 2566 นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีสถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมาว่า ประเทศไทย และเมียนมา ถือเป็นมิตรประเทศกัน ซึ่งสถานการณ์เมียนมานั้น ถือเป็นปัญหาภายใน ที่ควรได้รับการแก้ไขตามกระบวนการกฎหมายของเมียนมา และตามกลไกของอาเซียน โดยไม่ควรละเลยอาเซียน เพราะอาเซียนก็ยังคงมีเอกภาพอยู่ และยังคงมี 5 ฉันทามติร่วมของอาเซียน ที่มอบหมายให้เมียนมาดำเนินการตามฉันทามตินั้น ซึ่งรัฐบาล ก็ยังคงยึดถือตามฉันทามติดังกล่าวด้วย

แต่ปัญหาที่ประเทศไทย ที่ได้รับผลกระทบจากเมียนมา เช่น ปัญหายาเสพติด การลักลอบข้ามแดนนั้น นายปานปรีย์ ยืนยันว่า เป็นเรื่องที่รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศจะต้องมีการพูดคุยกัน แต่ปัญหาภายในเมียนมา ทั้งความขัดแย้ง กระบวนการทางประชาธิปไตย รวมไปถึงกรณีที่เกี่ยวข้องกับนางอองซาน ซูจี อดีตที่ปรึกษาแห่งรัฐรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติพม่า เป็นเรื่องที่เมียนมาจะต้องบริหารจัดการ โดยที่ไทยจะต้องไปหารือร่วมกับอาเซียน เพื่อช่วยให้เกิดสันติภาพในเมียนมา

ส่วนจะมีการพูดคุยกับเมียนมานอกรอบที่ไม่ได้อยู่ในกรอบอาเซียนเหมือนรัฐบาลชุดก่อนหรือไม่นั้น นายปานปรีย์ ระบุว่า จะต้องพิจารณาตามความจำเป็น และปรึกษาประธานอาเซียนก่อน ซึ่งตอนนี้ก็สามารถประชุมผ่านทางออนไลน์ได้ ไม่จำเป็นจะต้องบินไปพบปะหารือกันโดยตรง ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องยากหากไทยจะหารือกับอาเซียนก่อนที่จะมีการพูดคุยกับเมียนมา แต่หากเป็นเรื่องระหว่างประเทศ เช่น ปัญหายาเสพติด ลักลอบข้ามแดน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งไทย และเมียนมา ก็สามารถพูดคุยกันได้อยู่แล้ว

นายปานปรีย์ ยังกล่าวถึงการทูตเชิงมนุษยธรรมว่า ไทยทำเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นแนวทางอาเซียนที่ไทยสนับสนุน ดังนั้นเรื่องประชาธิปไตย และการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ประเทศไทยสนับสนุนอยู่แล้วไม่มีปัญหา

Advertisement

“ปานปรีย์” เข้าพบ ปธน.อิสราเอล ขอบคุณดูแลคนไทยเป็นอย่างดี

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 29 พฤศจิกายน 2566 อิสราเอล – “ปานปรีย์” เข้าพบ “ปธน.อิสราเอล” ขอบคุณดูแลคนไทยเป็นอย่างดี “ปธน.อิสราเอล” ชื่นชมความพยายามของรัฐบาลไทยในการให้ความช่วยเหลือตัวประกันจนได้รับการปล่อยตัว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ทำเนียบประธานาธิบดีอิสราเอล  นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยนางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะนาย Isaac Herzog ประธานาธิบดีอิสราเอล

โดยประธานาธิบดีอิสราเอลแสดงความเสียใจต่อการที่มีแรงงานไทยเสียชีวิต บาดเจ็บ และถูกจับเป็นตัวประกัน โดยกล่าวชื่นชมความพยายามของรัฐบาลไทยในการให้ความช่วยเหลือตัวประกันจนได้รับการปล่อยตัว

ขณะที่นายปานปรีย์ ขอบคุณฝ่ายอิสราเอลที่ให้การดูแลคนไทยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการดูแลช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ตัวประกันชาวไทยที่ได้รับการปล่อยตัว และแจ้งว่าแม้ภารกิจในครั้งนี้เดินทางมาเพื่อดูแลคนไทยเป็นการเฉพาะ แต่ก็ขอให้ฝ่ายอิสราเอลพิจารณาดำเนินการเรื่องสวัสดิภาพ สิทธิและสวัสดิการอันพึงได้สำหรับแรงงานไทยด้วย เพื่อให้แรงงานไทยสามารถกลับมาทำงานในอิสราเอลในอนาคต เมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย

ประธานาธิบดีอิสราเอล แสดงความชื่นชมประเทศไทยและคนไทย และย้ำถึงความสำคัญของแรงงานไทยต่อภาคการเกษตรอิสราเอล โดยรับปากดูแลสิทธิและสวัสดิการของแรงงานไทยต่อไป

Advertisement

เผยรายละเอียดการประชุม BRICS ไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศนอกกลุ่มที่จีนเชิญ

People unity news online : พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะมีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ณ เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 4 – 5 กันยายน 2560

พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกำหนดการและวัตถุประสงค์การเข้าร่วมประชุม ดังนี้

สาธารณรัฐประชาชนจีน ในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ประจำปี 2560 ได้จัดการประชุมระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (Emerging Markets and Developing Countries Dialogue หรือ EMDCD) โดยจีนได้เชิญประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาที่มีความสำคัญ มีเอกลักษณ์ และมีความสัมพันธ์ฉันมิตรที่ดีกับจีน จำนวน 5 ประเทศ ในฐานะแขกของประเทศเจ้าภาพ ได้แก่ (1) ไทย ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่มีบทบาทสำคัญและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน (2) สหรัฐเม็กซิโก ในฐานะประเทศสมาชิกกลุ่ม 20 และตัวแทนจากภูมิภาคลาตินอเมริกา (3) สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ในฐานะประเทศจากภูมิภาคตะวันออกกลาง (4) สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านของจีน และ (5) สาธารณรัฐกินี ในฐานะประธานสหภาพแอฟริกา (African Union หรือ AU)

โดยหัวข้อหลักของการประชุม EMDCD คือ การเสริมสร้างความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมเพื่อการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งประเด็นหลักที่จีนให้ความสำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมการปฏิบัติการเพื่อการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะความร่วมมือใต้–ใต้

ในโอกาสนี้ ไทยจะเน้นย้ำถึงบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาที่มีบทบาทสำคัญที่ได้รับการยอมรับในเวทีโลก ต่อยอดจากการเป็นประธานกลุ่ม 77 และเป็นแขกรับเชิญพิเศษของจีนเมื่อจีนเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำกลุ่ม 20 ในปี 2559 รวมถึงบทบาทนำในการเป็นประเทศผู้ให้ภายใต้กรอบความร่วมมือใต้-ใต้

กำหนดการเข้าร่วมการประชุม มีดังนี้

วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2560

08.00 น.         -นายกรัฐมนตรีและภริยา พร้อมด้วยคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานทหาร 2 (กองบิน 6) ไปยังเมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน

12.20 น.         -เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยเหมินเกาฉี (เวลาที่เมืองเซี่ยเหมินเร็วกว่าเวลาที่กรุงเทพฯ 1 ชั่วโมง)

-การบรรยายสรุปการเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนา

16.15 น.         -นายกรัฐมนตรีพบหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

16.40 น.         -นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

วันอังคารที่ 5 กันยายน 2560

10.15 น.           -นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนา

12.30 น.           -นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันที่เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง เป็นเจ้าภาพเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ

15.30 น.          -นายกรัฐมนตรีและภริยา พร้อมด้วยคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยเหมินเกาฉี กลับประเทศไทย

17.50 น.          -เดินทางถึงท่าอากาศยานทหาร 2 (กองบิน 6) กรุงเทพฯ

People unity news online : post 1 กันยายน 2560 เวลา 14.00 น.

 

ออสเตรเลียปรับท่าที ส่ง รมว.กลาโหมจูบปากไทย

People unity news online : 23 สิงหาคม 2560 พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. เปิดเผยว่า วันนี้ 23 ส.ค.60 เวลา 10.00 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ให้การต้อนรับ นางสาว Marise Payne รมว.กห.เครือรัฐออสเตรเลีย และคณะ ณ ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของ กห. ระหว่าง 22 – 24 ส.ค.60

นางสาว Marise ได้กล่าวแสดงความอาลัยอย่างสุดซึ้ง ต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมทั้งได้แสดงความยินดีกับประชาชนไทย ในการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและไทย ที่มีพัฒนาการอย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะ กห.ของทั้งสองประเทศ ที่คงความต่อเนื่องในการสานต่อความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางทหารระหว่างกันอย่างใกล้ชิด ทั้งด้านการฝึก ศึกษา การรักษาสันติภาพ การลาดตระเวนทางทะเล และการแลกเปลี่ยนข่าวสาร พร้อมทั้งเสนอให้มีการฝึกการลาดตระเวนทางทะเลร่วมกันในต้นปี 61 เพื่อพัฒนาศักยภาพความร่วมมือทางทะเล  ขณะเดียวกัน ก็ขอขอบคุณไทยที่ให้การสนับสนุนออสเตรเลียในเวทีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ( ADMM Plus )  เพื่อร่วมกันรักษาความมั่นคงของภูมิภาค

พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวขอบคุณ นางสาว Marise ที่แสดงความอาลัยต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 9 พร้อมทั้งขอบคุณออสเตรเลียที่ให้การสนับสนุนความร่วมมือทางทหารกับไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะได้ส่งเรือรบเข้าร่วมพิธีสวนสนามทางเรือที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในโอกาสครบรอบ 50 ปีอาเซียนในเดือน พ.ย.60  และกล่าวว่า การเดินทางเยือนไทยของ รมว.กระทรวงต่างประเทศ และ รมว.กระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย ในระยะเวลาที่ใกล้กันที่ผ่านมา สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่แน่นแฟ้นมาโดยตลอด ทั้งนี้ ความร่วมมือทางทหารที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นระหว่างกัน จะเป็นส่วนสำคัญให้เราสามารถรับมือกับความท้าทายของภูมิภาคและของโลกร่วมกัน

People unity news online : post 23 สิงหาคม 2560 เวลา 21.20 น.

ประยุทธ์ เสนอแนวทาง 5P เพื่อความกินดีอยู่ดี การพัฒนาที่ยั่งยืน ก้าวผ่านวิกฤต ต่อที่ประชุม ASEM 13

People Unity News : ประยุทธ์ ชูแนวทาง 5P เพื่อความกินดีอยู่ดี การพัฒนาที่ยั่งยืน และก้าวผ่านวิกฤตต่างๆ ในพิธีเปิดการประชุมเอเชีย – ยุโรป ครั้งที่ 13

วันนี้ 25 พ.ย.64 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถ้อยแถลงในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มอาเซียน สำหรับพิธีเปิดการประชุมผู้นำเอเชีย – ยุโรป ครั้งที่ 13 (The 13th ASEM Summit: ASEM13) ผ่านระบบการประชุมทางไกล สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

การประชุมครั้งนี้มีหัวข้อหลักคือ “Strengthening Multilateralism for Shared Growth” ที่มุ่งสร้างพหุภาคีนิยมที่เข้มแข็งและยั่งยืน โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของ ASEM ซึ่งไทยเชื่อมั่นว่าพหุภาคีนิยมเป็นหัวใจสำคัญของความร่วมมือที่จะนำพาโลกผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ

พร้อมเสนอความร่วมมือตามแนวทาง 5P ของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของสหประชาชาติ ดังนี้

1.People ต้องสร้างความมั่นคงให้ประชาชน ASEM กว่าสี่พันล้านคน ทั้งด้านสุขภาพ ความกินดีอยู่ดี และความปลอดภัยในชีวิต

2.Partnership เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมบนพื้นฐานความเชื่อใจ เคารพซึ่งกันและกัน และมีผลประโยชน์ร่วมกัน

3.Peace ความร่วมมือระหว่าง ASEM ต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่เอื้อต่อสันติภาพ ไม่ให้เกิดการแข่งขันหรือขัดแย้ง

4.Prosperity ต้องเติบโตร่วมกัน ยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีบนกฎกติกาขององค์การการค้าโลก

5.Planet ต้องร่วมมือกันรักษาโลกใบนี้ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี ค.ศ. 2030

Advertising

ผบ.ทร.เยือนญี่ปุ่นกระชับสัมพันธ์ยาวนาน

People Unity News : 15 กุมภาพันธ์ 2566 ผบ.ทร.เยือนญี่ปุ่น ในฐานะแขกของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ย้ำสัมพันธ์ทหารเรือสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน

พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์  ผู้บัญชาการทหารเรือ เยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 12 – 16 กุมภาพันธ์ 2566 โดยผู้บัญชาการทหารเรือและคณะได้เยี่ยมชมฐานทัพเรือโยโกสุกะและฐานทัพเรือฟูนาโกชิ พร้อมทั้งเยี่ยมชมเรือเตรุสึกิ (JS Teruzuki  DD-116) ซึ่งเป็นเรือรบชั้น Destroyer ของญี่ปุ่น

ทั้งนี้ กองทัพเรือไทยและกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น มีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บังคับบัญชาเพื่อสร้างความร่วมมือและความเข้าใจอันดีอยู่เสมอ ล่าสุด ระหว่างวันที่ 5-10 พฤศจิกายน 2565 กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Western Pacific Naval Symposium (WPNS) ครั้งที่ 18 โดยจัดให้มีพิธีสวนสนามทางเรือ เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ณ อ่าวซากามิ จังหวัดคานางาว่า ซึ่งผู้บัญชาการทหารเรือได้ไปร่วมประชุมและชมการสวนสนามทางเรือ รวมทั้งกองทัพเรือได้จัดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เข้าร่วมการสวนสนามทางเรือด้วย

Advertisement

“เตีย บันห์” หวานใส่ “บิ๊กตู่” ระบุสัมพันธ์ไทย-กัมพูชายุคนี้ใกล้ชิดกันมากที่สุด

People unity news online : วันนี้ (21 มีนาคม 2561) เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บันห์ (Somdech Pichey Sena Tea Banh ) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee – GBC) ไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 19 – 21 มีนาคม 2561 โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้พบกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชาอีกครั้ง หลังจากที่เยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการและเข้าร่วมการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ (JCR) ไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 3 และกล่าวว่ารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชานับเป็นเพื่อนคนสำคัญและรู้จักกันมาอย่างยาวนาน พร้อมชื่นชมกับบทบาทของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชาที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและกัมพูชา ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีและความร่วมมือระหว่างกันมีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น

ในโอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชากล่าวอวยพรวันเกิดนายกรัฐมนตรี ขอให้นายกรัฐมนตรีมีสุขภาพแข็งแรงและประสบความสำเร็จในภารกิจทุกประการ สำหรับการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 13 เป็นไปด้วยความราบรื่นและประสบผลสำเร็จ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศนับว่าเป็นช่วงที่ไทยและกัมพูชาใกล้ชิดกันมากที่สุด ความร่วมมือระหว่างกันมีประสิทธิภาพและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน

นอกจากนี้ ได้มีการหารือถึงความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูง ซึ่งปัจจุบันสถิติการลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชาลดน้อยลง แต่ยังคงพบว่ามีการลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชาอยู่ ทั้งสองประเทศจึงควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการสกัดกั้นการลักลอบกระทำผิด นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นร่วมกันที่จะติดตามบุคคลที่กระทำกฎหมายและหลบหนีคดีเข้าไปอยู่ในทั้งสองประเทศ เพื่อไม่ให้กลุ่มบุคคลใดใช้ประเทศไทยและกัมพูชาเป็นฐานในการก่อความไม่สงบและทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน

ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องกันว่า แม้ไทยและกัมพูชายังมีพื้นที่บริเวณชายแดนที่ทับซ้อนและยังหาข้อสรุปไม่ได้ ทั้งสองประเทศควรร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสค้าขายระหว่างกันอย่างสะดวก ตลอดจนพัฒนาพื้นที่ชายแดนให้มีความสงบสุขและมั่นคง นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายหวังว่าความเชื่อมโยงด้วยเส้นทางรถไฟในอนาคต จะทำให้ทั้งสองประเทศมีการติดต่ออย่างสะดวกและเพิ่มมูลค่าการค้าขายระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น

ทั้งสองฝ่ายยังแสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนความร่วมมือระหว่างกันในทุกมิติ ทั้งทางด้านความมั่นคง การค้าและการลงทุน รวมถึงยินดีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องสินค้าเกษตรระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องว่า ไทยและกัมพูชาควรจะดำรงความสัมพันธ์อันดี เพื่อมุ่งสร้างผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับรัฐบาลและประชาชน

People unity news online : post 21 มีนาคม 2561 เวลา 19.20 น.

ประยุทธ์ เสนอ “วัคซีน – ยารักษาโควิด-19” เป็นสินค้าสาธารณะของโลก

People Unity News : ประยุทธ์ เสนอ “วัคซีน – ยารักษาโควิด-19” เป็นสินค้าสาธารณะของโลก บนเวที Paris Peace Forum ครั้งที่ 4

วันนี้ (11 พ.ย.64) ในพิธีเปิดการประชุม Paris Peace Forum ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “Mind the gaps: Improving global governance after COVID-19” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงผ่านการบันทึกเทป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีเสนอให้วัคซีน – ยารักษาโควิด-19 เป็นสินค้าสาธารณะของโลก พร้อมสนับสนุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และโมเดลเศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

การประชุม Paris Peace Forum มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและภาคส่วนต่าง ๆ ในการเสริมสร้างสันติภาพโลกและระบอบพหุภาคีนิยม โดยปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 13 พ.ย. 64 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

Advertising

จีนเปิดด่านรถไฟผิงเสียง นำเข้าทุเรียน ลำไย ผลไม้ไทย 4 มกราคมนี้

People Unity News : จีนเปิดด่านรถไฟผิงเสียง นำเข้าทุเรียน ลำไย ผลไม้ไทย 4 มกราคมนี้

2 ม.ค. 65 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยว่า จากมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่เข้มงวดของด่านนำเข้าจีน ส่งผลต่อการส่งออกผลไม้ของไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ตนได้สั่งการทูตเกษตรเร่งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและตนได้หารือเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยเพื่อแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกการขนส่งผลไม้ไทย

ล่าสุดได้รับรายงานจากกงสุล (ฝ่ายเกษตร) ของไทยประจำนครกว่างโจว ว่า ด่านรถไฟผิงเสียง (เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง) ประเทศจีนได้เปิดด่านแล้ว โดยกำหนดเปิดนำเข้าผลไม้ไทยตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 17 มกราคม 2565 เพื่อคลี่คลายปัญหากรณีด่านตงซิง (เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน) ปิดด่าน ทําให้ทุเรียนและลําไยสดของประเทศไทยที่มีปริมาณมากต้องติดค้างอยู่ที่ด่านตงซิงซึ่งไม่สามารถยื่นคําร้องขอผ่านพิธีการศุลกากรเข้าประเทศจีนได้ ทางการจีนจึงประสานเป็นหนังสือขอความอนุเคราะห์ฝ่ายเกษตรฯกว่างโจวแจ้งมายังหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อํานวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการผลไม้ทําการเปลี่ยนแปลงใบรับรองสุขอนามัยพืชในช่วงวันที่ 1 – 3 มกราคม 2565 สินค้าผลไม้ไทยจะได้ยื่นคําร้องขอผ่านพิธีการศุลกากรผ่านด่านรถไฟผิงเสียงเพื่อขนส่งเข้าประเทศจีนได้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ กล่าวว่า ผู้ส่งออกต้องรีบยื่นขอเปลี่ยนแปลงใบรับรองสุขอนามัยพืชจากด่านตงชิงเป็นด่านรถไฟผิงเสียงและต้องระมัดระวังอย่าให้มีการปนเปื้อนโควิด-19 ทั้งคนขับ รถและสินค้า เพราะถ้าพบทางการจีนจะปิดด่านทันที จึงขอความร่วมมือทุกฝ่ายให้ช่วยกันเข้มงวดกวดขันอย่างเต็มที่

Advertising

Verified by ExactMetrics