วันที่ 17 พฤษภาคม 2024

สสส.หนุนพระ”มจร”ทำวิจัย”ลดเหล้า บุหรี่”เชิงพุทธเมืองปราจีนบุรี

People Unity : สสส.หนุนพระ”มจร”ทำวิจัย”ลดเหล้า บุหรี่”เชิงพุทธเมืองปราจีนบุรี พร้อมภาคีเครือข่ายลงพื้นที่ถอดบทเรียนเซ็น MOU “บวร”เกาะมะไฟประจันตคาม สืบสานเจตนารมณ์หลวงพ่อพระครูประโชติพรหมธรรม”อย่าเอาวัดมาทำบาร์ อย่าเอาศาสนามาทำบ่อน”

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา นำโดย พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ, ผศ.ดร.หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว และผู้อำนวยการหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มจร ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยฯ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายฯ ได้จัดกิจกรรมการถอดบทเรียนและพิธีลงนามความร่วมมือ โครงการเสริมสร้างสุขภาวะและเครือข่ายทางสังคมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพุทธบูรณาการ (การบำบัดพฤติกรรมทางความคิดและสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อลดเหล้า บุหรี่ เชิงพุทธบูรณาการในจังหวัดปราจีนบุรี) ที่วัดเกาะมะไฟ ต.บ้านหอย อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรีโดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 150 รูป/คน

โดยโครงการนี้คณะครุศาสตร์ มจร ได้ร่วมกับวัดเกาะมะไฟ โรงเรียนวัดเกาะมะไฟ องค์การบริหารสวนตำบลบ้านหอย ชุมชนตำบลบ้านหอยและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะแดง ทั้ง 6 หน่วยงาน ได้ตระหนักถึงพิษภัยและผลกระทบอันเกิดจากการบริโภคบุหรี่และสุรา ในฐานะปัจจัยเสี่ยงที่มีผลเสียต่อสุขภาพ จึงได้มีการศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านการจัดกิจกรรมถอดบทเรียนเกี่ยวกับ “การบำบัดพฤติกรรมทางความคิดและสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อลดเหล้า บุหรี่ เชิงพุทธบูรณาการในจังหวัดปราจีนบุรี” ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 ที่วัดเกาะมะไฟ โดยมีพระครูสถิตธรรมกิจ รองเจ้าคณะอำเภอประจันตคาม วัดเกาะแดง เป็นประธาน มีพระครูประโชติพรหมธรรม อดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะมะไฟ และผู้แทนภาคีเครือข่าย เป็นวิทยากรหลัก จากนั้นภาคีเครือข่ายได้มีการดำเนินการขยายพื้นที่จากชุมชนวัดเกาะมะไฟออกไปเป็น 5 พื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของ บ้าน วัด และหน่วยงานราชการ ผลจากการดำเนิการเบื้องต้นก่อให้เกิดบุคคลต้นแบบ จำนวน 13 คน บุคคลที่เลิกเหล้าตลอดชีวิตจำนวน 18 คนและบุคคลที่ลด ละ เลิก เหล้า ในพรรษา จำนวน 27 คน

โครงการนี้ได้เริ่มขึ้นในเวลา 13.30 น.ด้วยกิจกรรมการถอดเรียน “การขับเคลื่อนการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ” โดยผู้แทนภาคีเครือข่าย บุคคลต้นแบบ บุคคลที่เลิกเหล้าตลอดชีวิตและบุคคลที่ลด ละ เลิก เหล้า ในพรรษา โดยมีพระปลัดสรวิชญ์เป็นผู้ดำเนินการ

ผลจากการจัดกิจกรรมถอดบทเรียนพบว่า โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น วัด ผู้นำหมู่บ้าน หน่วยงานรัฐ อสม. อบต. ตลอดจนเยาวชนและสถานศึกษาในชุมชนเกาะมะไฟ ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา โดยให้ทุกคนเห็นถึงประโยชน์ในการลด ละ เลิก สุราและบุหรี่ ผลจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4-5 ปีของกลุ่มผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย และประชาชนในชุมชน ทำให้ปัจจุบันมีผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 300 คน จาก 5 หมู่บ้าน และมีผู้ที่สามารถลดละเลิกการดื่มสุราและยาเสพติดได้ถึง 250 คน

โดยผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นโครงการที่ดีและมีผลการดำเนินงานดีขึ้นตามลำดับในช่วงเริ่มโครงการ 2 ปี โดยผู้นำชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความสำคัญและเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันในการผลักดันโครงการให้เห็นผลเป็นรูปธรรม แม้แต่หน่วยงานเล็กๆ เช่น โรงเรียน ซึ่งเยาวชนเองก็สามารถส่งต่อความรู้ความเข้าใจไปถึงครอบครัวได้ นอกจากนั้น การให้ความช่วยเหลือของผู้จัดตั้งโครงการ และผู้นำชุมชน ยังมีทัศนคติในการแก้ปัญหาว่า คนในชุมชนสามารถดูแลกันได้ โดยการพัฒนาบุคคลากรให้มีความสามารถในการดูแล ด้วยการอบรมหลักการชมเป็น ถามเป็น และแก้ปัญหาเป็นให้คนในชุมชน

ขณะเดียวกัน ประเด็นปัญหาที่ยังคงพบได้ในชุมชนคือ วิถีและค่านิยมในการดื่มของคนไทยยังคงมีอยู่ ซึ่งถือเป็นค่านิยมทางสังคมอย่างหนึ่งที่ต้องสร้างความเข้าใจใหม่ให้กับชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนคนรุ่นหลังเพื่อให้เกิดค่านิยมที่ถูกต้อง นอกจากนี้สุราในท้องถิ่นของชุมชนยังหาซื้อได้ง่ายและมีราคาถูกง่ายต่อการซื้อหามาดื่ม

ที่สำคัญภาวะจิตใจของผู้เข้าร่วมโครงการเองก็มีผลต่อการทำงานและการเข้าร่วมจนจบโครงการ โดยพบว่าที่ผ่ายมา มีบางรายได้ออกจากโครงการไปก่อน เนื่องจากไม่สามารถทนต่อภาวะทางจิตใจของตนเองได้ และการสร้างการรับรู้สำหรับผู้ที่ติดสุราให้พร้อมเผชิญและกล้าที่จะเข้ามาบำบัด หรือเข้าร่วมโครงการ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทีมทำงานในโครงการนี้ให้ความสำคัญเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่จะทำให้คนในชุมชนสามารถลด ละ เลิก การดื่มสุรา และบุหรี่ได้นั้น ต้องอาศัยกำลังใจ และความเข้มแข็งของสติและปัญญา เห็นคุณและโทษของอบายมุข โดยการใช้กระบวนการชุมชนบำบัด (community therapy) โครงการนี้ถือเป็นโครงการต้นแบบสำหรับชุมชนเกาะมะไฟ และสามรถขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ ได้ เป้าหมายคือการให้ชุมชนสามารถดูแลตัวเองได้ มีการช่วยเหลือกันของคนในชุมชน ซึ่งความต่อเนื่องในการดำเนินงานโครงการและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันต่อการขยายผลโครงการและความสำเร็จของโครงการในระยะยาวจากระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดทั่วประเทศไทยได้อย่างมั่นคง และยั่งยื่นต่อไป

ต่อมาเวลา 15.30 น. มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระหว่างคณะครุศาสตร์ มจร ร่วมกับ วัดเกาะมะไฟ โรงเรียนวัดเกาะมะไฟ องค์การบริหารสวนตำบลบ้านหอย ชุมชนตำบลบ้านหอยและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะแดง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะในการลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพุทธบูรณาการสร้างและพัฒนาเครือข่ายการสร้างสุขภาวะเพื่อการลดปัจจัยเสี่ยงบุหรี่และสุราในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และพัฒนานโยบายเพื่อการรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงบุหรี่และสุราในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีผู้แทนจากองค์กรภาคีเครือข่ายร่วมลงนามและเป็นสักขีพยานจำนวน ๒๐ รูป/คน

และเวลา 16.00 น. พระพิศาลศึกษากร,ดร. ในนามพระเดชพระคุณพระพรหมเสนาบดี กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค 7 ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ส่วนกลาง เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร ได้เมตตาเดินทางมาเป็นประธานมอบประกาศนียบัตรให้ บุคคลต้นแบบ บุคคลที่เลิกเหล้าตลอดชีวิต,บุคคลที่สามารถ ลด ละ เลิก เหล้า ในพรรษาและผู้แทนภาคีเครือข่ายและกล่าวให้โอวาทเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตอนหนี่งว่า ท่านทั้งหลายได้ตัดสินใจเลิกดื่มเหล้าและสูบบุหรี่จะทำให้มีสุขภาพกายดีสุขภาพจิตและการนอนดีขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้นประหยัดเงินในกระเป๋าเป็นการปกป้องสุขภาพของคนในครอบครัวลดอุบัติเหตุ และลดอาชญากรรมในชุมชน โดยเฉพาะการรักษาศีล 5 ถือว่าเป็นเกาะป้องกันไม่ให้เราตกไปสู่อบายมุขหรือทางแห่งความเสื่อมขอให้ท่านทั้งหลายจงเจริญในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทำกิจกรรมให้เกิดประโยชน์กับสังคมและชุมชน สืบต่อไป

จนกระทั้งเวลา 17.00 น. มีการประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการจัดโครงการฯ โดยมีพระปลัดสรวิชญ์เป็นประธานพร้อมสรุปว่า หน้าที่ของเราคือการดำเนินตามวิถีแห่งความเป็นพระโพธิสัตว์ หวังช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ทางกายและใจ สร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นภายในเพื่อโยงใยไปสู่ภายนอกผ่านภาคีเครือข่ายที่มีจิตอาสาทำความดีที่ไม่หวังสิ่งตอบแทนเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน จัดทำฐานข้อมูลเพื่อขยายผลไปในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดในที่สุดก็จะทำให้เกิดบุคคลที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีทั่วประเทศต่อไป ที่สำคัญเราต้องนึกถึงหลวงพ่อ หลวงพ่อพระครูประโชติพรหมธรรม อดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะมะไฟ ท่านเป็นแรงบันดาลใจให้เราได้ทำงานเพื่อผู้อื่นท่านฝากเราทั้งหลายว่า “อย่าเอาวัดมาทำบาร์ อย่าเอาศาสนามาทำบ่อน” ถึงท่านไม่อยู่พวกเราก็ต้องสานต่องานท่าน ถือว่าเป็นความกตัญญู ผ่านการปฏิบัติบูชา

ส.ส.แคนาดาสนใจฝึกสมาธิ เตรียมนิมนต์พระพุทธเปิดคอร์สที่บ้าน

People Unity : ส.ส.แคนาดาสนใจฝึกสมาธิ เตรียมนิมนต์พระพุทธเปิดคอร์สที่บ้าน ขณะที่ผลเลือกตั้งทั่วไปของประเทศแคนาดา “ทรูโด” อดีตนายกฯชนะไม่ขาด เตรียมตั้งรัฐบาลผสม ผลักดันนโยบายปลูกต้นไม้ 2 พันล้านต้นตามที่รับปากไว้กับ “เกรตา ธันเบิร์ก”

วันที่ 22 ตุลาคม 2562 สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานผลการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศแคนาดาที่มีขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562 จนกระทั้งเวลา 02.00 น. วันอังคารที่ 22 ตุลาคมตามเวลาท้องถิ่น หลังปิดการเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งทั้ง 6 โซนเวลาทั่วประเทศ อันดับ 1 คือ พรรคลิเบอรัล ที่หัวหน้าพรรคคือนายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด วัย 47 ปี ได้ 156 ที่นั่ง จากเขตเลือกตั้ง 338 เขต อันดับ 2 คือ พรรคคอนเซอร์เวทีฟ ที่หัวหน้าพรรคคือ แอนดรูว์ เชียร์ วัย 40 ปี คู่แข่งสำคัญของทรูโด พรรคของเขาได้ 122 ที่นั่ง มากกว่าการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาในปี 2558 ที่ได้ 95 ที่นั่ง

เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาเช่นนี้ทำให้นายทรูโดต้องจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคพันธมิตรที่เป็นพรรคเล็กอย่างน้อย 1 พรรค โดยนายทรูโดกล่าวกับผู้สนับสนุนในนครมอนทรีออลเมื่อวันอังคารว่า ผลการเลือกตั้งแสดงให้เห็นว่าชาวแคนาดาปฏิเสธการแบ่งแยกและความคิดด้านลบ ปฏิเสธนโยบายตัดงบประมาณและรัดเข็มขัด และลงคะแนนเพื่อสนับสนุนแผนการที่ก้าวหน้าและการลงมือปฏิบัติที่เข้มแข็งในการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ช่วยรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายทรูโดได้พบกับนางสาวเกรตา ธันเบิร์ก เยาวชนนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดน โดยรับปากว่าหากได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจะมีนโยบายเพิ่มต้นไม้ให้ได้มากถึง 2 พันล้านต้น

ขณะเดียวกันเพจ “Bhante Saranapala” พระสงฆ์ชาวศรีลังกาที่เดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ประเทศแคนาดา ได้โพสต์ภาพขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.ในพื้นที่ที่วัดตั้งอยู่ ซึ่งเป็นผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการฝึกสมาธิและมีแผนเปิดฝึกที่บ้านของเขา

“จรถะ ภิกขเว”! คณะสงฆ์อำเภออรัญประเทศจัด “สังฆะประชาปันสุขเพื่อผู้ป่วยติดเตียง”

People Unity : คณะสงฆ์อำเภออรัญประเทศสนองงาน “สมเด็จพระมหาธีราจารย์” ขับเคลื่อนงาน “สาธารณสงเคราะห์เชิงรุก” จัดกิจกรรม “สังฆะประชาปันสุขเพื่อผู้ป่วยติดเตียง” นำเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส และชาวบ้านเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียงเดือนละครั้ง ทั้งอำเภอจำนวน 163 ราย

วันที่ 22 ตุลาคม 2562 ตามที่ช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัดที่ผ่านมา สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ได้เมตตากล่าวคำพรประคองใจ ชโลมหัวใจของพุทธศาสนิกชน ความตอนหนึ่งว่า “ยามปกติญาติโยมไม่ทิ้งพระเณร ยามวิกฤตพระเณรคงทิ้งญาติโยมไม่ได้ หากไม่มีทานคือการให้ โลกนี้ย่อมอยู่ลำบาก เราต่างเกื้อกูลกัน”นั้น

คณะสงฆ์อำเภออรัญประเทศ จ.สระแก้ว ได้จัดกิจกรรม “สังฆะประชาปันสุขเพื่อผู้ป่วยติดเตียง” เมื่อขับเคลื่อนงาน “สาธารณสงเคราะห์เชิงรุก ภายใต้การนำของพระมหาศราวุธ จิตฺตทนฺโต เจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ ได้นำเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส และชาวบ้าน เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียงเดือนละครั้ง ทั้งอำเภอ 163 ราย โดยวันที่ 21 ตุลาคม 2562 คณะสงฆ์อำเภออรัญประเทศ ออกเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง มอบแพมเพิส ข้าวสารอาหารแห้ง และสวดโพชฌังคปริตร ในพื้นที่ ตำบลหนองสังข์ – หันทราย จำนวน 10 ย

กิจกรรมนี้คณะสงฆ์อำเภออรัญประเทศได้ประสานงานสำรวจหาข้อมูลผู้ป่วยติดเตียงจากสาธารณสุขอำเภออรัญประเทศ ได้ข้อมูลเบื้องต้นว่า ในพื้นที่อำเภออรัญประเทศ มีผู้ป่วยติด เตียงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จำนวน 163 ราย

คณะสงฆ์อำเภออรัญประเทศจึงจัดกิจกรรมเยี่ยมผู้ป่วยทั้งอำเภอ เดือนละ 1 ครั้งต่อราย โดยมีเจ้าคณะตำบลและเจ้าอาวาสทุกวัดพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา ร่วมออกเยี่ยมดูแลผู้ป่วยใน พื้นที่หมู่บ้านของตน กิจกรรมนี้เป็นการส่งเสริม “พลังบวร” โดยมีความร่วมมือจากคณะสงฆ์ อำเภออรัญประเทศ เจ้าคณะตำบลทุกตำบล เจ้าอาวาสทุกวัด สาธารณสุขอำเภออรัญประเทศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม)ในพื้นที่ และพุทธศาสนิกชน ในเขตอำเภออรัญประเทศ ซึ่งมีกำหนดการที่จะออกเยี่ยมในทุกตำบล

กิจกรรมนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่คณะสงฆ์อำเภออรัญประเทศ ได้ร่วมกับฝ่ายบ้านเมือง ร่วมกันขับเคลื่อนงาน “สาธารณะสงเคราะห์” ซึ่งเป็น 1 ใน 6 งานหลักของคณะสงฆ์ไทย ทั้งยังได้ฟื้นความหมาย คำว่า “พลังบวร” ในการทำงานร่วมกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ ด้วยความสามัคคีของพุทธบริษัททั้ง 4 ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในฐานะชาวพุทธเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

“ดีอีเอส”ผนึกกำลังมหิดลดันร่างหลักการและแนวทางเชิงจริยธรรม AI

People Unity : “ดีอีเอส” ผนึกกำลังมหิดล ผลักดันร่างหลักการและแนวทางเชิงจริยธรรม หวังพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์(AI)ที่ยั่งยืน เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างก้าวหน้า

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES)จับมือนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยมหิดล ผสานมุมมองและประสบการณ์ระดับโลกจากเอกชน โดยไมโครซอฟท์ ร่วมวางรากฐานเพื่ออนาคตของประเทศไทยในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์ (AI) มุ่งสรรสร้างสังคมไทยและเทคโนโลยีอัจฉริยะ เสริมศักยภาพให้กัน ภายใต้หลักจริยธรรม เป็นก้าวแรกในการสร้างความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และมั่นคงปลอดภัยของระบบ AI

วันที่ 21 ต.ค.2562 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศไทยได้เดินหน้า พัฒนาศักยภาพต่อไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน สำหรับด้านยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถทางการแข่งขัน คณะกรรมการฯ ได้บรรจุเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ 2 อันว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูลต่างๆ และปัญญาประดิษฐ์ให้เป็นปัจจัยสาคัญที่ขับเคลื่อนความแข็งแกร่งทาง เศรษฐกิจและสังคม ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างศักยภาพและภูมิปัญญาของคนไทยไปพร้อมกัน

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำโดยนางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เล็งเห็นถึงความสาคัญในการปูรากฐานเชิงนโยบายและแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เป็นไปในรูปแบบที่คานึงถึงบริบททางสังคมและจริยธรรม รักษาไว้ซึ่งโอกาสในการเติบโตและพัฒนา ของแรงงานคนไทย พร้อมป้องกันไม่ให้เกิดการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบที่เอนเอียง ไม่เป็นธรรม และยับยั้งการนาเทคโนโลยีนี้มาใช้ในทิศทางที่ผิดต่อจริยธรรมเป็นภัยต่อเพื่อนมนุษย์ จึงได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ร่างเอกสารหลักการและแนวทางจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ “Digital Thailand – AI Ethics Guideline” ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสาหรับทั้งผู้วิจัย ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนา และผู้ให้บริการผู้ปัญญาประดิษฐ์ ทั้งยังเป็น การชี้แจงให้ผู้รับบริการได้ทราบถึงสิทธิและความเสี่ยงในการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าว จึงถือเป็นก้าวแรกในการสร้าง ความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และมั่นคงปลอดภัยให้ระบบปัญญาประดิษฐ์ได้ ยู่ร่วมกับสังคมไทยอย่างลงตัว

นายพุทธิพงษ์กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับร่างเอกสารหลักการและแนวทางจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือ “Digital Thailand – AI Ethics Guideline” ได้ผ่านการนาเสนอสู่สาธารณชนและสื่อมวลชนเป็นครั้งแรกในวันนี้ (21 ตุลาคม 2562) โดยกระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล และภาคเอกชนในการสร้างร่างเอกสาร ดังกล่าวขึ้น เพื่อวางแนวทางในขั้นแรกเริ่มในด้านหลักการทางจริยธรรมสาหรับปัญญาประดิษฐ์ โดยสามารถแยก แนวทางนี้ออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่

1) ความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยจะต้องได้รับ การส่งเสริมความการใช้ประโยชน์ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อสร้างการแข่งขันและ พัฒนานวัตกรรม พร้อมผลักดันประเทศไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) ความสอดคล้องกับกฎหมาย จริยธรรม และ มาตรฐานสากลกาหนดให้มีแนวทางการปฏิบัติในการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ให้มีความสอดคล้องกับกฎหมาย จริยธรรม และมาตรฐานสากล โดยเคารพต่อความเป็นส่วนตัว เกียรติ สิทธิเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน

3) ความ โปร่งใสและภาระความรับผิดชอบ ควรมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบกิจกรรมที่เกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งจะต้องมีภาระ ความรับผิดชอบ ต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นตามภาระหน้าที่ของตนได้ 4) ความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ควรได้รับการออกแบบให้มีความมั่นคงปลอดภัย เพื่อป้องกันการโจมตีจากภัยคุกคาม เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูลและระบบ รวมถึงการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล ตามหลักจริยธรรม 5) ความเท่าเทียม หลากหลาย ครอบคลุม และเป็นธรรม ควรมีการออกแบบและพัฒนาโดยคานึงถึง ความเท่าเทียม หลากหลาย ครอบคลุม และความเป็นธรรม หลีกเลี่ยงการผูกขาด ลดการแบ่งแยกและเอนเอียง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนจานวนมาก และ 6) ความน่าเชื่อถือ ควรได้รับการสนับสนุนให้มีความน่าเชื่อถือและความมั่นใจในการใช้งานต่อ สาธารณะ โดยมีผลลัพธ์อย่างถูกต้องแม่นยา พร้อมการดาเนินการควบคุมคุณภาพและความครบถ้วนสมบูรณ์ของ ข้อมูลได้

“บิ๊กตู่”ตั้ง”พงศ์พร”นั่งที่ปรึกษาดูแลพุทธศาสนาต่อ

People Unity : “บิ๊กตู่”ตั้ง”พงศ์พร”นั่งที่ปรึกษาดูแลพุทธศาสนาต่อ เหตุภารกิจบางอย่างยังไม่เสร็จสิ้น ส่วนผอ.พศ.คนใหม่อยู่ที่”เทวัญ” พร้อมรับโอน “สมเกียรติ ธงศรี”รอง ผอ.พศ.เข้ากรุสำนักนายกฯ

เมื่อเวลา 12.20 น.วันที่ 21 ต.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สำหรับ พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ที่เพิ่งเกษียณอายุราชการจากตำแหน่ง ผอ.พศ. ได้มีการว่าจ้างต่อให้รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในกิจการพระพุทธศาสนา ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.62 โดยมอบหมายให้ดูแลเรื่องบางเรื่องที่ค้างอยู่ใน พศ. และเมื่อถึงเวลาได้ ผอ.พศ.คนใหม่แล้วก็จะได้แบ่งหน้าที่กันให้ถูกต้องต่อไปว่า จะให้ พ.ต.ท.พงศ์พรช่วยประสานหรือดูแลเรื่องใดบ้าง การจ้างเช่นนี้ไม่ใช่การต่ออายุ และไม่มีอำนาจทางราชการ แต่มีบทบาท โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการว่าจ้าง ขึ้นอยู่กับภารกิจหรือแล้วแต่นายกฯ

ผู้สื่อข่าวถามว่า การว่าจ้าง พ.ต.ท.พงศ์พรต่อ เพื่อให้มาดูแลคดีเงินทอนวัดหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า มีเรื่องบางเรื่องที่ต้องประสานกับหน่วยงานอื่น ซึ่งยังไม่ทราบว่า ผอ.พศ.คนใหม่เป็นใคร หาก ผอ.พศ.ถนัดในภารกิจเหล่านี้ พ.ต.ท.พงศ์พรก็จะมีบทบาทน้อยลง แต่ถ้าไม่ถนัด พ.ต.ท.พงศ์พรก็อาจจะมีบทบาทมากขึ้น แต่ว่าไม่มีอำนาจในการสั่งการ

นายวิษณุกล่าวถึงการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) คนใหม่ว่า ต้องถามนายเทวัญ ลิปตพัลลภ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแล พศ.ว่าจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 22 ต.ค.เลยหรือไม่ ซึ่งตนไม่ทราบ แต่หากจะเสนอเข้า ครม.จะต้องมีการเสนอมายังตนก่อน ส่วนที่ก่อนหน้านี้ ครม.มีมติรับโอนนายสมเกียรติ ธงศรี รอง ผอ.พศ. มาเป็นผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นการโอนในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิม และมาช่วยงานได้

“อนุทิน” ย้ำจุดยืน “บัตรทอง” ไม่ต้องร่วมจ่าย

People Unity : “อนุทิน” ย้ำจุดยืน “บัตรทอง” ไม่ต้องร่วมจ่าย พร้อมหนุนขยายสิทธิ์ครอบคลุมรักษา “ทุกโรค”

วันที่ 21 ต.ค.2562 ที่ศูนย์ประชุมวายุภักดิ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์รการ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ในงานประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การเำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กับทิศทางในอนาคต ความตอนหนึ่งว่า ระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ไม่อายใครในโลก บางที่จัดให้อยู่อันดับ 6 แต่ตนขอจัดให้อยู่อันดับ 1 เพราะบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุขมุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างน่าชื่นชม ส่วนใครจะวิพากษ์วิจารณ์ให้มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่สามารถเอาใจทุกคนได้หมด แต่ถ้าทำเต็มที่แล้ว ก็ขอให้สบายใจ ปัจจุบัน ระบบประกันสุขภาพของไทยมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง เราพยายามขยายสิทธิ์การรักษาโรคให้มากที่สุด วันนี้ โรคที่พบยาก ก็อยู่ในการครอบคลุมแล้ว เรื่องงบประมาณ ถ้าเป็นไปเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น จะไม่เสียดาย

ในอนาคตอันใกล้ หน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข จะไม่หยุดแค่การรักษา แต่ต้องสร้างชุดความคิด ให้คนไทยดูแลสุขภาพตัวเอง ออกกำลังกาย รับประทานอาหารสะอาด ถูกสุขลักษณะ และไม่พาตัวเองไปอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ วันนี้ เรามีหน่วยงานด้านสุขภาพมากมาย เราให้งบ ขอให้นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค คนไทยต้องตระหนักรู้ถึงการดูแลตนเอง อาทิ เรื่องการใช้ช้อนกลาง ถ้าทำให้คนไทยทำเป็นเรื่องปกติ จะลดความเจ็บป่วยไปได้มาก

เป็นที่ชัดเจนว่า ประเทศไทย กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขคือ ทำให้สังคมผู้สูงอายุของไทยเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ เป็นผู้สูงอายุ ที่มีพลังผลักดันประเทศ

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า ภายใต้กองทุนบัตรทอง คนไทยทุกคนต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างดี รับบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ไม่ต้องร่วมจ่าย บนหลักการคือ “ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” ภายใต้ 5 นโยบายสำคัญ ดังนี้

1. กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของดูแลสุขภาพตนเอง อาทิ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วย ซึ่งจะเกิดผลดีทั้งกับประชาชนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ

2. จัดระบบการคลังด้านสุขภาพที่ยั่งยืน (Sustainability) มี 2 ตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ รายจ่ายสุขภาพทั้งหมดต้องไม่เกินร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.2 และรายจ่ายรัฐบาลด้านสุขภาพต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของรายจ่ายรัฐบาลทั้งหมด ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 16.7แม้ว่าขณะนี้ตัวชี้วัดของประเทศจะยังไม่เกินเป้าหมาย แต่ควรเร่งรัดหามาตรการรองรับ โดยเฉพาะการทำให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี ซึ่งจะเป็นหนทางที่ช่วยทำให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความยั่งยืน

3. การจัดบริการให้เพียงพอด้วยการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน อาทิ การดำเนินนโยบายลดความแออัดในโรงพยาบาลโดยผู้ป่วยรับยาร้านยาใกล้บ้านที่ช่วยลดการรอคอย เพิ่มการให้คำปรึกษาโดยเภสัชกรเพื่อการใช้ยาอย่างเหมาะสม เป็นต้น การใช้ดิจิตอลเทคโนโลยีเพื่อนัดตรวจ การเชื่อมโยงระบบข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย รวมถึงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้เข้มแข็ง

4. การลดความเหลื่อมล้ำในสิทธิประโยชน์และคุณภาพการบริการของ 3 กองทุน เปิดรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขในประเด็นที่ยังเป็นปัญหา อาทิ การร่วมจ่าย ณ จุดบริการที่ยังขาดความชัดเจน การกระจายบริการสุขภาพสู่ในพื้นที่ชนบทและเขตเมืองที่เหมาะสม และดูแลกลุ่มเปราะบางให้เข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นต้น

5. เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการกองทุนและจัดการทรัพยากรที่จำกัดอย่างคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ กำลังคน พร้อมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ ให้กับประชาชน เช่น การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกาย และการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เป็นต้น

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวมีผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเช้าร่วม เป็นจำนวนทาก อาทิ นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นายแพทย์ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. เป็นต้น

สถาบันทันตกรรมให้บริการทำฟันฟรี 300 ราย ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จย่า

People Unity : กรมการแพทย์โดยสถาบันทันตกรรม ให้บริการทำฟันฟรีแก่ประชาชน 300 ราย ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จย่า เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ พร้อมแนะพ่อแม่ดูแลสุขภาพของช่องปากและฟันของเด็กตั้งแต่แรกเกิดป้องกันปัญหาฟันผุ

วันที่ 21 ตุลาคม 2562 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เนื่องในวันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี ตรงกับวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ กรมการแพทย์โดยสถาบันทันตกรรม ได้ให้บริการและจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางทันตกรรมแก่ประชาชน เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีพระเมตตาต่อประชาชนชาวไทย ทั้งนี้การดูแลสุขภาพของช่องปากและฟันโดยเฉพาะเด็ก ถือเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญในการดูแลตั้งแต่แรกเกิด เพราะหน้าที่ของฟันนอกจากใช้บดเคี้ยวอาหารและให้ความสวยงามแล้ว ยังช่วยพัฒนาการออกเสียงได้ชัดเจน นอกจากนี้เด็กยังได้รับสารอาหารที่เพียงพอจากการมีฟันที่ดีใช้บดเคี้ยวอาหาร ส่งผลดีต่อการเรียนรู้และสติปัญญาอีกด้วย ซึ่งปัญหาสุขภาพฟันที่มักเกิดขึ้นกับเด็กคือ ฟันผุ โดยมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารจำพวกขนมกรุบกรอบ และเครื่องดื่ม
ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ หรือน้ำอัดลม

ด้านทันตแพทย์อำนาจ ลิขิตกุลธนพร ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สุขภาพช่องปากเด็กควรดูแลตั้งแต่เริ่มมีฟันน้ำนม เพราะฟันน้ำนมมีประโยชน์ทั้งในการช่วยกัด และบดเคี้ยวอาหาร ช่วยในการออกเสียง กันพื้นที่สำหรับฟันแท้ ส่งผลให้ฟันแท้เรียงตัวได้สวยงาม ซึ่งโรคฟันผุเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เกิดเป็นกรดที่สามารถละลายแร่ธาตุที่ผิวฟันและทำลายชั้นเคลือบฟัน ทำให้ฟันเกิดรูผุที่มองเห็นได้ และฟันที่ผุลึกอาจทำให้เด็กปวดฟัน ดังนั้นผู้ปกครองควรดูแลเอาใจใส่ ฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการทำความสะอาดช่องปาก สอนให้แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน สร้างบรรยากาศในการแปรงฟันให้รู้สึกสนุกผ่อนคลาย และตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน จากทันตแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำเรื่องอาหารและการดูแลสุขภาพช่องปาก ทั้งนี้ในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติปีนี้ สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ ได้ให้บริการทางทันตกรรมตรวจฟัน อุดฟัน ถอนฟันและขูดหินปูน ให้แก่ประชาชน จำนวน 300 ราย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในวันที่ 21 ตุลาคม 2562 โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป ณ สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี

“อนุทิน”นำถวายราชสักการะสมเด็จย่า เนื่องในวันพระราชสมภพและวันพยาบาลแห่งชาติ

People Unity : “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำข้าราชการ บุคลากรสายพยาบาลทั้งจากภาครัฐและเอกชน วางพานพุ่มถวายราชสักการะสมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี เนื่องวันคล้ายวันพระราชสมภพและวันพยาบาลแห่งชาติ

วันที่ 21 ต.ค.2562 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ตัวแทนพยาบาลจากภาครัฐและเอกชน และนักศึกษาพยาบาล ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และวันพยาบาลแห่งชาติ

นายอนุทินกล่าวว่า วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และรัฐบาลประกาศให้เป็นวันพยาบาลแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา ซึ่งวันนี้มีความสำคัญยิ่งต่อวิชาชีพการพยาบาล ในฐานะที่พระองค์ท่านทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาล และตลอดพระชนม์ชีพ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา วิริยะอุตสาหะ นำสิริสุขแก่ปวงชน ทุกก้าวพระบาทที่เสด็จไปถึง สมควรเป็นแบบอย่างแก่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ให้ตระหนักในภารกิจของวิชาชีพแห่งตนว่าเป็นงานบริการสุขภาพที่มีความสำคัญ

ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข พยาบาลนับเป็นบุคลากรที่มีมากที่สุดและเป็นกำลังหลักในระบบริการสาธารณสุข ปัจจุบันมีพยาบาลที่ปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นข้าราชการและจ้างงานอื่นๆ จำนวนประมาณ 110,000 คน โดยปฏิบัติงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขประมาณ 100,000 คน ในโรงพยาบาลทุกระดับ โดยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะเน้นด้านการรักษาพยาบาลขั้นต้น การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคไม่ให้เจ็บป่วย

รวมทั้งการฟื้นฟูสุขภาพ ส่วนในโรงพยาบาลใหญ่ คือโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เน้นด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีความยุ่งยากซับซ้อนต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว กระทรวงสาธารณสุขมีโยบายการพัฒนาศักยภาพและจัดการกระจายกำลังคนด้านการพยาบาลให้ได้ในสัดส่วนพยาบาล 1 คน ต่อ 300 ประชากร เพื่อยกระดับมาตรฐานบริการสุขภาพของประเทศตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ

“AI กับพุทธธรรม” วิจัยสุดทันสมัย! คณาจารย์ “ม.สงฆ์ มมร”ทำ

People Unity :  “AI กับพุทธธรรม” วิจัยสุดทันสมัย! คณาจารย์ “ม.สงฆ์ มมร”ทำ “อุทิส ศิริวรรณ”เผย “พระพุทธเจ้าเป็นนักทรัพยากรมนุษย์ที่ทันสมัย”

วันที่ 20 ต.ค.2562 ศ.ดร.อุทิส ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพุทธศาสนา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว” Uthit Siriwan” ความว่า “ประเด็นวิจัยทันสมัย AI กับพุทธธรรม? โดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) ตลอดสัปดาห์ผมใช้เวลาค่อนข้างมากค้นคว้าและอ่าน “งานวิจัยทันสมัย” AI เป็นต้น เพื่อตอบ “ประเด็น” ที่คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธร สมุทรสาคร ทั้ง 3 ท่าน ช่วยกันทำวิจัย

งานวิจัยชุดโครงการนี้น่าสนใจ เพราะประเด็นวิจัยที่ตั้งขึ้นยกตัวอย่าง “ทฤษฎี 3 สมดุล (สมดุลผลิต สมดุลบริโภค สมดุลผลประโยชน์) ที่ส่งเสริมให้เกิดการสนับสนุนกันระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค” ข้อคำถามคือ “การสร้างและใช้งานหุ่นยนต์ของผู้ผลิตย่อมมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียว คือ สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของผู้บริโภค” ประเด็นที่ผมต้องตอบคือ ท่านเห็นด้วย หรือมีข้อโต้แย้ง หรือมีข้อสนับสนุนต่อประเด็นเหล่านี้หรือไม่อย่างไร

ยกตัวอย่างคำถามวิจัย เป็นต้นว่า… 1) ในแผนประเทศไทย 4.0 ที่ยึดโยงอยู่กับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่เห็นว่าแรงงานมนุษย์เป็นต้นทุนในการผลิตอย่างหนึ่ง การบริหารจัดการกิจการให้ได้กำไรมากที่สุดวิธีการหนึ่ง ก็คือ การลดต้นทุนการผลิตและบริหารจัดการ การจ้างงานมนุษย์ก็อยู่ในขอบเขตนี้ด้วย 2) เทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ยิ่งก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใด ก็จะทำให้ผู้ประกอบการใช้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ แทนแรงงานมนุษย์มากขึ้นเท่านั้น รออีกสัก 1 ปี คงได้คำตอบจาก “ผู้ทรงคุณวุฒิ” ที่หลากหลายวงการ ผมเองก็มี “ประเด็น” ที่จะอภิปราย….

ผมคิดอะไร? คิดว่าโลกในยุคเปลี่ยนผ่านพุทธศาสนาใช้ “ตอบ” โจทย์วิจัยประเด็นปัญหาชาวโลกในยุคดิจิทัลได้เพราะจะว่าไปแล้ว “พระพุทธเจ้า” เน้นให้ใช้แรงงานคนน้อย แต่ทำแล้วได้ผลงานมากอยู่แล้ว ยกตัวอย่างให้พระจาริกไปรูปเดียว และให้ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า โดยเฉพาะเพื่อ “ประโยชน์” “เกื้อกูล” และ “ความสุข” บอกตรง ผมว่า “พระพุทธเจ้า” เป็น “นักทรัพยากรมนุษย์” ที่ทันสมัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศ.ดร.อุทิส ศิริวรรณได้ติดตามพัฒนาการของเทคโนโลยีขึ้นสูงและแสดงความเห็นที่สัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้คณะสงฆ์เห็นความสำคัญ อย่างเช่นได้นำเสนอล่าสุดเรื่อง “การศึกษา’อุทิส ศิริวรรณ’นักวิชาการด้านพุทธศาสนา แนะใช้ ‘AI-IoT’ต่อยอดบาลีพุทธศาสตร์ศึกษาระดับป.เอก https://www.banmuang.co.th/news/education/163540)

กรมควบคุมโรคเผยผลโพลชี้ปชช.ตาสว่าง! 3 สารเคมีทางการเกษตรมีอันตรายสูง

People Unity :  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยผลดีดีซีโพล (DDC Poll) ชี้ประชาชนห่วงสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว จากการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่มีอันตรายสูง 3 ชนิด โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการเลิกใช้สารเคมีดังกล่าว ส่วนใหญ่เห็นว่าควรเลิกซื้อผัก ผลไม้ หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งกรมควบคุมโรค พร้อมเดินหน้าสนับสนุนองค์ความรู้ทางหลักวิชาการ และดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ยกเลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่มีอันตรายสูง 3 ชนิด ลดผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของเกษตรกรและประชาชนในประเทศ

วันที่ 20 ตุลาคม 2562 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรค ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพ ดีดีซีโพล (DDC Poll) เรื่อง“สารเคมีทางการเกษตรที่มีอันตรายสูง 3 ชนิด (พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต)” จากประชาชนกลุ่มตัวอย่าง 3,500 คน ในพื้นที่ 25 จังหวัดทั่วประเทศ โดยสำรวจเมื่อวันที่ 9 – 13 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา

จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญพบว่า ประชาชนมีความรู้เรื่องสารเคมีใช้ทางการเกษตรที่มีอันตรายสูง 3 ชนิด อยู่ในเกณฑ์ดี กล่าวคือ ร้อยละ 87.7 รู้จักและเคยได้ยินสารเคมีดังกล่าว และร้อยละ 61.6 รู้จักและเคยได้ยินสารเคมีดังกล่าวมาจากข่าวและสื่อมวลชน ส่วนข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่า สารเคมีดังกล่าว ทำให้เกิดอาการผิดปกติคือ โรคผิวหนัง แผลติดเชื้อ ร้อยละ 51.4 รองลงมาคือคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว, ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าคนทั่วไปได้รับสารเคมีดังกล่าว จากการสัมผัสการทำเกษตรกรรม ร้อยละ 59.9 รองลงมาคือการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่มีอันตรายสูง 3 ชนิด นั้น จากผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าจะมีส่วนร่วมในการเลิกใช้สารเคมีดังกล่าว โดยการเลิกซื้อผัก ผลไม้ หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารเคมีทางการเกษตร ร้อยละ 73.7 รองลงมาคือเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร และแนะนำคนอื่นให้เลิกใช้สารเคมีทางการเกษตรด้วย นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังคิดว่า ถ้าไม่มีสารเคมีดังกล่าวใช้ในเกษตรกรรม จะเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร ร้อยละ 59.2 รองลงมาคือหันไปใช้เกษตรอินทรีย์ จากผลการสำรวจดังกล่าว ทำให้เห็นว่าประชาชนเป็นห่วงสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว ที่สำคัญประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่มีอันตรายสูง 3 ชนิดข้างต้น

นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของกรมควบคุมโรค และหน่วยงานในสังกัดทุกแห่ง สนับสนุนให้ยกเลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่มีอันตรายสูง 3 ชนิด เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของเกษตรกร และประชาชนในประเทศ ซึ่งการใช้สารเคมีในทางเกษตรกรรม มีผลกระทบและอันตรายต่อสุขภาพของผู้ฉีดพ่นสารเคมี และผู้ทำงานในพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค พร้อมสนับสนุนองค์ความรู้ทางหลักวิชาการ และดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนามาตรการทางกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 เพื่อยกระดับการเฝ้าระวังภัยสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรกรรม ประชาชนสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ขณะเดียวกัน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็น “คลิปวิดีโอ” ความยาว 3.30 นาที ปลุกพลังคนไทยร่วมส่งเสียงถึงคณะกรรมการวัตถุอันตราย จำนวน 29 คน ให้มีมติแบน 3 สารพิษอันตราย ประกอบด้วย พาราควอต คลอร์ไฟริฟอส และไกลโฟเซต

Verified by ExactMetrics