วันที่ 6 พฤษภาคม 2024

สปสช.เพิ่มยาแผนไทยที่มีส่วนผสมกัญชาในบัญชียาหลัก 3 รายการ

People Unity News : 15 พฤษภาคม 2565 สปสช. บรรจุ 3 ยาแผนไทยสูตรผสมกัญชา เพิ่มในสิทธิบัตรทอง ใช้รักษาผู้ป่วยอัมพาต – แก้ลมในเส้น – มือเท้าชา

คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เห็นชอบเพิ่มยาแผนไทยที่มีส่วนผสมกัญชาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร จำนวน 3 รายการ ให้ครอบคลุมผู้ใช้สิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

1.ยาแก้ลมแก้เส้น ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร

2.ยาศุขไสยาศน์ แก้ลมเปลี่ยวดำ เป็นยาเสริมในการฟื้นฟูอัมพฤกษ์ อัมพาต

3.ยาทำลายพระสุเมรุ แก้ลมในเส้น บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ที่มีอาการมือเท้าชา

การบรรจุยาแผนไทยที่มีส่วนผสมของกัญชานี้ เป็นการเพิ่มเติมจากที่ สปสช. บรรจุน้ำมันกัญชาและสารสกัดกัญชาเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง ไมเกรน พาร์กินสัน และผู้ป่วยลมชัก เป็นสิทธิประโยชน์ก่อนหน้า เป็นการขยายการดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยบัตรทองเข้าถึงการรักษา ครอบคลุมยารักษาโรคที่จำเป็นเพิ่มมากขึ้น

โดยกำหนดให้เบิกจ่ายตามผลงานรายบริการ (Feeschedule) ภายใต้บริการการแพทย์แผนไทย คาดว่าจะใช้เงินเพิ่มเติม 3,706,346 บาท ซึ่งยังอยู่ในวงเงินที่ตั้งไว้ และยังเป็นการเพิ่มการเข้าถึงยากัญชาตามนโยบายรัฐบาล

Advertisement

“ประยุทธ์” สั่งการ พศ. เข้มวินัยสงฆ์

People Unity News : 8 พฤษภาคม 2565 นายกฯ ห่วงกระแสข่าววิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม สั่งการ พศ. เข้มวินัยสงฆ์

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงความเป็นห่วงต่อกระแสข่าวที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงพระสงฆ์ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ส่งผลต่อความศรัทธาของพี่น้องประชาชน สั่งการสำนักพระพุทธศาสนา กำชับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) เข้มงวดพระสงฆ์ให้ปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด

นายธนกร กล่าวว่า หน้าที่หลักของพระสงฆ์คือ การธำรงรักษา และเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาให้ยั่งยืนสืบไป ด้วยสังฆคุณอันยิ่งใหญ่นี้ พุทธศาสนิกชนจึงควรรู้จักการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสงฆ์ที่เหมาะสม หน้าที่หลักของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ การศึกษาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา แล้วปฏิบัติตาม พร้อมทั้งนำหลักคำสอนมาเผยแผ่แก่ประชาชน การจะปฏิบัติกิจใดๆก็ตามต้องไม่ละเลยการประพฤติในส่วนที่เรียกว่า “พรหมจรรย์” ซึ่งเป็นความประพฤติเพื่อความประเสริฐ เพื่อบรรลุถึงความสิ้นกิเลส โดยประพฤติให้เป็นไปตามพุทธบัญญัติและต้องเอื้อเฟื้อ ไม่ละเมิดพุทธอาณัติอันเป็นข้อห้ามมิให้ประพฤติ หรือเรียกว่าประพฤติให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย

“นายกรัฐมนตรี ขอให้ พศจ. เร่งประสานงานกับเจ้าคณะปกครองสงฆ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด พร้อมลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และหาแนวทางร่วมกันในการทำความเข้าใจต่อสังคมให้ถูกต้อง รวมถึงสอดส่องดูแล ให้พระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติตามคำสั่งมหาเถรสมาคม เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชน สร้างศรัทธา สร้างความเหลื่อมใส ร่วมกันทำนุบำรุงศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าต่อไป” นายธนกร กล่าว

Advertisement

สธ.-WHO ถอดบทเรียนไทยรับมือโควิดสำเร็จจาก 5 ปัจจัย เตรียมแถลงในเวทีโลกปลาย พ.ค.นี้

People Unity News : วันนี้ (5 พฤษภาคม 2565) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย แถลงผลสรุปการจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า หรือ Universal Health and Preparedness Review (UHPR) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21-29 เมษายน 2565

นายอนุทินกล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เลือกประเทศไทยให้เป็นประเทศต้นแบบลำดับที่ 3 ในการนำร่องจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า จากการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี และข้อเสนอแนะระหว่างประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก ซึ่งข้อสรุปเบื้องต้นจากการจัดกิจกรรมฯ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกและทีมประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโควิด 19 เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่น ปรับตัวไปตามสถานการณ์ และเน้นการปฏิบัติได้จริง โดยพบปัจจัยสำคัญ คือ 1.มีการสนับสนุนโดยผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดนโยบายประเทศ 2.ระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็งจากการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่องกว่า 4 ทศวรรษ 3.มีความร่วมมือเชื่อมต่อทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และภาคการศึกษา รวมถึง อสม. 4.มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนและชุมชน และ 5.มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล

ส่วนอุปสรรคและความท้าทายที่ยังสามารถพัฒนาได้ คือ การบูรณาการข้อมูลจากหลายแหล่ง, การดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น แรงงาน ผู้อาศัยในชุมชนแออัด ให้เข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น, การเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินในเขตเมืองและระบบปฐมภูมิ, การต่อยอดหรือสร้างความยั่งยืนในการใช้นวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น และการจัดการกับขยะทางการแพทย์หรือขยะติดเชื้อ โดยมีข้อเสนอให้เพิ่มการลงทุนเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้สามารถใช้งานต่อเนื่อง พัฒนากำลังคนแบบสหสาขาและนำกลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีไปเตรียมพร้อมรับมือการระบาดครั้งต่อไป ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสุขภาพ สุขภาวะของประชาชนที่ครอบคลุมถึงกลุ่มเปราะบาง ยกระดับขีดความสามารถการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีน ยา ชุดตรวจ และเวชภัณฑ์ พัฒนากลยุทธ์ในการบูรณาการข้อมูล รวมถึงค้นหาและบันทึกตัวอย่างที่ดี บทเรียนที่สำคัญในการจัดการกับการระบาดใหญ่เพื่อเผยแพร่ต่อไป

“ประเทศไทยได้รับคำชมจากผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก ถึงนโยบายและมาตรการแนวทางการดำเนินงานดูแลประชาชน ทั้งการรักษาพยาบาลผู้ป่วยและการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ทางองค์การอนามัยโลก ระบุว่ายินดีสนับสนุนและร่วมทำงานกับประเทศไทย โดยขอให้ประเทศไทยจัดทำรายงาน UHPR และเสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เพื่อขอความเห็นชอบรายงาน นอกจากนี้ ให้เตรียมการแถลงประสบการณ์ UHPR ในที่ประชุม World Health Assembly (WHA) ปลายเดือนพฤษภาคม 2565 และร่วมกับอีก 3 ประเทศนำร่องในการทบทวนปรับปรุงกระบวนการ UHPR ให้ดียิ่งขึ้นก่อนนำไปใช้ในประเทศอื่นๆ” นายอนุทินกล่าว

ด้าน นพ.จอส กล่าวว่า หลักพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ประเทศใดๆ เตรียมพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ดี จะต้องมี 1.ผู้นำทางการเมืองระดับสูงรับเรื่องเป็นพันธสัญญา 2.การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และ 3.กรอบความรับผิดชอบ 3 ด้าน ได้แก่ สุขภาพถ้วนหน้า การเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และสุขภาวะที่ดีขึ้นของประชากร นอกจากนี้ ความสำเร็จจะเกิดได้ขึ้นกับการนำไปสู่การลงมือปฏิบัติโดยถือเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ซึ่ง ดร.สมิลา อัสมา ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก แสดงความชื่นชมที่รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องนี้

สำหรับกิจกรรมการทบทวน UHPR ตลอดช่วงวันที่ 21-29 เมษายน 2565 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องของการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ในสถานประกอบการและผู้ประกันตน การดูแลแรงงานทุกเชื้อชาติ ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ชลบุรี และสมุทรสาคร กิจกรรมหน่วยงานเครือข่ายและชุมชนในกรุงเทพมหานคร มีการฝึกซ้อมแผนด้วยสถานการณ์สมมติ โดยหน่วยงานจากกระทรวงต่างๆ ที่ร่วมดำเนินมาตรการรับมือภาวะฉุกเฉินกรณีโรคโควิด 19 และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการป้องกันควบคุมโรค ทำให้เห็นการประสานงานหลายภาคส่วนจนถึงในระดับชุมชน

Advertisement

เปิดรับสมัครตัวแทนจำหน่าย “สลากดิจิทัล” วันแรกมีผู้สมัคร 2,920 ราย เปิดรับสมัครถึง 10 พ.ค.นี้

People Unity News : วันนี้ (4 พฤษภาคม 2565) เวลา 10.00 น. พันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยว่า หลังจากที่เปิดรับสมัครตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือสลากดิจิทัลไปเมื่อวานนี้ เป็นวันแรก มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ เป็นตัวแทนจำหน่ายสลากดิจิทัล จำนวน 2,920 ราย โดยสำนักงานสลากฯจะเปิดรับสมัครไปจนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ผ่านทางเว็บไซต์ www.glo.or.th ทั้งนี้ หากถึงกำหนดในการเปิดรับสมัครเบื้องต้นแล้วยังได้จำนวนตัวแทนสลากดิจิทัลไม่ครบตามที่กำหนดไว้ สำนักงานฯจะพิจารณาเปิดรับสมัครเพิ่มจากกลุ่มผู้สมัครลงทะเบียนซื้อ-จองล่วงหน้าปี 2565 ต่อไป

ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวต่อไปอีกว่า คุณสมบัติของผู้สมัครจะต้องเป็นตัวแทนจำหน่ายรายย่อยทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค  หรือ ผู้ซื้อจองล่วงหน้าที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้ว เมื่อสำนักงานฯพิจารณาคุณสมบัติแล้ว จะดำเนินการจัดทำสัญญาตัวแทนจำหน่ายสลากดิจิทัล เบื้องต้นจัดทำเป็นสัญญา 1 ปี  โดยจะได้รับสลาก 5 เล่ม ตามสัญญานี้สัญญาเดียวเท่านั้น  สำหรับสลากที่จะได้รับสลากรายละ 5 เล่มนั้น จะนำเข้าสู่ระบบจําหน่ายสลากผ่านแพลตฟอร์มของสำนักงานฯทั้งหมด เพื่อทำการจำหน่ายผ่านแอปฯ เป๋าตังและถุงเงิน ของธนาคารกรุงไทย ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

พันโท หนุน ศันสนาคม กล่าวในตอนท้ายว่า โครงการจำหน่ายสลากฯผ่านแพลตฟอร์มจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือสลากดิจิทัลนี้ เป็นหนึ่งในมาตรการที่สำนักงานสลากฯมุ่งหมายจะใช้ในการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา ประกอบกับมาตรการอื่นๆไม่ว่าจะเป็น โครงการสลาก 80 ซึ่งขณะนี้เปิดให้บริการแล้ว 209 จุด ในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภาคกลาง คาดว่าจะครบทุกภูมิภาคในเดือนกรกฎาคม 2565 ส่วนโครงการลงทะเบียนผู้ซื้อ-จองล่วงหน้าฯ ที่มีผู้สมัครเข้ามาทั้งรายเก่าและรายใหม่จำนวนกว่า 1 ล้านราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยืนยันการเป็นผู้ขายจริง ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการอีกระยะหนึ่ง สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาในระยะยาวด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่นั้น จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและศึกษาผลกระทบทางสังคม  คาดว่าจะลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นได้กลางปีนี้

Advertisement

กรมทางหลวง เพิ่มเส้นทางให้รถวิ่ง 120 กม./ชม. อีก 3 เส้นทาง เริ่ม 1 พ.ค.นี้

People Unity News : 30 เม.ย. 65 นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่กรมทางหลวง (ทล.) ได้เริ่มเปิดให้รถวิ่งใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม. (เฉพาะช่องทางขวาสุด) ในเส้นทางนำร่อง (ระยะที่ 1) ที่ ทล. 32 ถนนสายเอเชีย ช่วงบางปะอิน – อ่างทอง กม. ที่ 4+100 – 50+000 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้ทางได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทาง และได้ประกาศให้ใช้ความเร็ว 120 กม./ชม. ในระยะที่ 2 เพิ่มอีก 6 สายทาง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ประกอบด้วย ทล.1 สนามกีฬาธูปะเตมีย์ – ประตูน้ำพระอินทร์ กม. ที่ 35+000 – 45+000 จังหวัดปทุมธานี ทล.1 หางน้ำหนองแขม – วังไผ่ กม. ที่ 306+640 – 330+600 จังหวัดนครสวรรค์ ทล.2 บ่อทอง – มอจะบก กม. ที่ 74+500 – 88+000 จังหวัดนครราชสีมา ทล.32 อ่างทอง – โพนางดำออก กม. ที่ 50+000 – 111+473 จังหวัดอ่างทองและสิงห์บุรี ทล.34 บางนา – ทางเข้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กม. ที่ 1+500 – 15+000 จังหวัดสมุทรปราการ และ ทล. 304 คลองหลวงแพ่ง – ฉะเชิงเทรา กม. ที่ 53+300 – 63+000 จังหวัดฉะเชิงเทรา

ปัจจุบัน ทล. ได้กำหนดเพิ่มเส้นทางให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม. และไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม. ในช่องทางขวาสุด ในระยะที่ 3 ตามประกาศผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดิน โดยจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป จำนวน 3 สายทาง ทั้งขาเข้าและขาออก ประกอบด้วย ทล.4 จำนวน 2 ช่วง ได้แก่ เขาวัง – สระพระ ระหว่าง กม. ที่ 160+000 – 167+000 และระหว่าง กม. ที่ 172+000 – 183+500 จังหวัดเพชรบุรี  (เป็นช่วงๆ) ทล.9 บางแค – คลองมหาสวัสดิ์ ระหว่าง กม. ที่ 23+400 – 31+600 กรุงเทพมหานคร และ ทล.35 นาโคก – แพรกหนามแดง กม. ที่ 56+000 – 80+600 จังหวัดสมุทรสงคราม (เป็นช่วงๆ) ซึ่ง ทล. โดยแขวงทางหลวงในพื้นที่ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมในการรองรับการใช้อัตราความเร็วใหม่ในช่วงสายทางดังกล่าว โดยคำนึงในเรื่องความปลอดภัยกับประชาชนผู้ใช้ทางสูงสุด

อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ได้ทำการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนผู้ใช้ทางได้ทราบอย่างต่อเนื่อง โดยได้บูรณาการร่วมกับตำรวจในพื้นที่ ตำรวจทางหลวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ขอความร่วมมือผู้ใช้ทางขับขี่ด้วยความระมัดระวังปฏิบัติตามกฎจราจร ป้ายเตือน ป้ายแนะนำ หากประชาชนผู้ใช้ทางต้องการแจ้งอุบัติเหตุหรือสอบถามข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) สายด่วนมอเตอร์เวย์ โทร. 1586 กด 7 และตำรวจทางหลวง โทร. 1193 ตลอด 24 ชั่วโมง

Advertisement

“อนุชา” ชี้ขายสลากบนแพลตฟอร์ม ต้องมีปริมาณมากพอ ปัญหาสลากเกินราคาจะลดลง คาดเริ่มงวด 16 มิ.ย.ได้

People Unity News : วันนี้ (27 เมษายน 2565) เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ชั้น 3 สานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเสนอขายหรือขายสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคาเกินกว่าที่กำหนดในสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยว่า การประชุมในวันนี้ เป็นการประชุมเพื่อรับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการทั้ง 3 คณะ โดยในเบื้องต้น ที่ประชุมได้เห็นชอบ มาตรการที่จะเพิ่มความเข้มข้นในการแก้ไขปัญหาการขายสลากเกินราคา ได้แก่ มาตรการทางแพ่ง มาตรการทางอาญา และมาตรการทางกฎหมายอื่นๆ โดยมาตรการทางแพ่ง ต้องมีการแก้ไขสัญญาการรับสลากไปจำหน่าย ระหว่างสำนักงานสลากฯ กับตัวแทน รายย่อย และสมาคม องค์กร โดยเพิ่ม “หน้าที่และความรับผิดชอบ” ในการควบคุมกำกับดูแลตัวแทนจำหน่าย เพื่อแก้ไขและลดปัญหาการเปลี่ยนมือของสลาก มีวางเงิน “มัดจำ” เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา รวมถึง การกำหนด “เบี้ยปรับ” กรณีมีการกระทำผิดสัญญา ซึ่งคณะอนุกรรมการจะศึกษาในรายละเอียดต่อไป และเห็นว่า การปรับแก้ไขรูปแบบของสัญญาสามารถดำเนินการได้ทันที นอกจากนี้ ต้องมีการเพิ่มมาตรการทางอาญา โดยเห็นควรออกใบอนุญาตให้ผู้ขายสลาก รวมถึงการใช้มาตรการทางกฎหมายอื่นๆ เช่น การกำหนดฐานความผิดเพิ่ม กรณีมีทำให้ราคาสลากมีความปั่นป่วน การขายสลากเกินราคาที่กระทำโดยเปิดเผย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การตรวจสอบการชำระภาษีอากร เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความคืบหน้าของมาตรการต่างๆ ที่สำนักงานฯกำลังดำเนินการ ประกอบด้วย โครงการสลาก 80 ขณะนี้ ให้บริการแล้ว จำนวน 209 จุดใน กทม. และภาคกลาง ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 151 ราย ภาคตะวันออก 48 ราย อยู่ระหว่างการจัดทำสัญญา และจะเดินทางไปคัดเลือกที่ภาคเหนือ และภาคใต้ อีกเกือบ 1,500 ราย ภายในเดือนพฤษภาคม 2565 เพื่อให้โครงการ สลาก 80 ทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของการจำหน่ายสลากบนแพลตฟอร์ม โดยร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย พัฒนาแพลตฟอร์มจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยใช้แอปถุงเงินและแอปเป๋าตัง เป็นหลัก  คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในงวด 16 มิถุนายน 2565 โดยสำนักงานฯ จะนำเสนอคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อให้ความเห็นชอบในวันพรุ่งนี้ (28 เมษายน 2565) สำหรับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ สำนักงานฯ เตรียมนำเสนอคณะกรรมการสลากฯ เพื่อดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและศึกษาผลกระทบทางสังคม ประจาปี 2565 โดยระยะแรก จะรับฟังความคิดเห็น 2 รูปแบบ ได้แก่ สลากตัวเลข 3 หลัก และสลากกินแบ่งรัฐบาล 6 หลัก หรือแบบที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน คาดว่าจะลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นได้กลางปีนี้

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในตอนท้ายว่า กรณีแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่สำนักงานฯ กำลังทดสอบระบบและเริ่มดำเนินการเร็วๆนี้ ปริมาณสลากที่จะนำเข้าจำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์นั้น ควรจะมีปริมาณมากพอที่จะสร้างแรงกระเพื่อม ทำให้ความรุนแรงของปัญหาสลากเกินราคาลดลงได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ได้ขอให้สำนักงานฯ ศึกษาวิเคราะห์ ส่วนลดจากการจำหน่าย มีความเหมาะสมหรือเพียงพอหรือไม่อย่างไร และในส่วนของมาตรการต่างๆของสำนักงานฯ ที่จะดำเนินการต่อจากนี้ไป ขอให้คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง เร่งสร้างการรับรู้และสื่อสารให้ประชาชนอย่างแพร่หลายต่อไป สำหรับการลงพื้นที่ตรวจสอบการค้าสลากออนไลน์เกินราคา ขอให้ประสานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการพิจารณาความเหมาะสมในการปิดให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดการค้าสลากเกินราคาในรูปแบบออนไลน์อีกต่อไป

Advertisement

ด่วน ครม. เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สูงสุด 250 บ./เดือน เป็นเวลา 6 เดือน (เม.ย. – ก.ย. 65)

People Unity News : เฮ! ครม. อนุมัติเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุที่ได้เบี้ยยังชีพฯ สูงสุด 250 บ./เดือน เป็นเวลา 6 เดือน บรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจ

26 เมษายน 2565 ที่ประชุม ครม. (26 เม.ย. 65) อนุมัติหลักการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิสวัสดิการเบี้ยยังชีพ จำนวน 10,896,444 ล้านคน เฉลี่ย 100 – 250 บ./เดือน/ราย ตามช่วงอายุ เป็นเวลา 6 เดือน (เม.ย. – ก.ย. 65) เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 ในขณะนี้

การจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษฯ ครั้งนี้ เป็นการจ่ายเพิ่มจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามช่วงอายุ ดังนี้

1.อายุ 60 – 69 ปี ที่รับเบี้ยยังชีพ 600 บ./เดือน จะได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 100 บ./เดือน รวมเป็น 700 บ./เดือน/คน

2.อายุ 70 – 79 ปี ที่รับเบี้ยยังชีพ 700 บ./เดือน จะได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 150 บ./เดือน รวมเป็น 850 บ./เดือน/คน

3.อายุ 80 – 89 ปี ที่รับเบี้ยยังชีพ 800 บ./เดือน จะได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 200 บ./เดือน รวมเป็น 1,000 บ./เดือน/คน

4.อายุ 90 ปีขึ้นไป ที่รับเบี้ยยังชีพ 1,000 บ./เดือน จะได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 250 บ./เดือน รวมเป็น 1,250 บ./เดือน/คน

Advertisement

รัฐบาลสืบสาน อนุรักษ์ “โนรา” สู่ Soft Power ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย

People Unity News : รัฐบาลร่วมสืบสาน อนุรักษ์ “โนรา” หลัง UNESCO ประกาศเป็นมรดกโลกด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ สู่ Soft Power ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย

25 เม.ย. 65 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานพิธีเปิดงานโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านการแสดงโนรา “สืบสานศิลป์แผ่นดินโนรา มรดกโลกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 ส.ค. 65 พร้อมชมการแสดงชุด “กำเนิดมโนราห์” โดยนักเรียน รร.อุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย พัทลุง

“โนรา” หรือ “มโนราห์” (Nora) เป็นศาสตร์การรำของไทย เป็นศิลปะพื้นบ้านของพี่น้องชาวใต้ ที่ UNESCO ประกาศเป็นมรดกโลกด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ซึ่งนับเป็นเรื่องน่ายินดีที่วัฒนธรรมไทยสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ และสามารถดึงดูดให้ทั้งชาวต่างชาติและคนไทยหันมาสนใจศิลปะวัฒนธรรมไทยมากขึ้น นับเป็นหนึ่ง Soft Power สำคัญของไทย ที่จะช่วยจะส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคใต้ผ่านการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคใต้ต่อไป

Advertisement

รพ.เอกชน นอกระบบบัตรทองกว่า 100 แห่ง พร้อมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว

People Unity News : 24 เม.ย. 65 สปสช. เผย รพ.เอกชนกว่า 100 แห่ง พร้อมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว เพิ่มความสะดวกและเข้าถึงบริการ ลดความแออัดใน รพ.รัฐ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เผยว่าปัจจุบันมีโรงพยาบาลเอกชน (นอกระบบบัตรทอง) กว่า 100 แห่ง เข้าร่วมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว

โดยโรงพยาบาลเอกชนกลุ่มนี้ จะให้บริการผู้ป่วยโควิด-19 สีเขียว ที่มีอาการดังต่อไปนี้

✔️มีไข้อุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป

✔️จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก มีผื่น ถ่ายเหลว ตาแดง

ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการคัดกรอง เพื่อแยกกลุ่มอาการก่อน “หากเข้าเกณฑ์โควิด-19 กลุ่มสีเขียว” จะเข้าสู่ระบบการรักษาและดูแล ทั้งนี้ รพ.เอกชน จะให้การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. 65 ที่ผ่านมา

นอกจากผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวสิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือสิทธิ สปสช. สามารถไปใช้บริการได้แล้วนั้น ผู้ป่วยสิทธิข้าราชการที่เบิกจากกรมบัญชีกลางก็สามารถไปรักษาได้ที่โรงพยาบาลเอกชนกลุ่มนี้ได้ รวมทั้งผู้ป่วยสิทธิพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สำหรับรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมให้บริการผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่ https://www.nhso.go.th/page/privatehospital_green

Advertisement

เตรียมพร้อมรับเปิดเทอม เน้นเรียน On-Site ยึดมาตรการ 6-6-7 ไม่นำการฉีดวัคซีนเป็นเงื่อนไขมาเรียน

People Unity News : 22 เมษายน 2565 กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ในเดือน พ.ค.นี้  โดยกำหนดนโยบายให้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ on-site หรือ จัดการเรียนการสอนที่สถานศึกษาให้มากที่สุด และไม่นำเรื่องการฉีดวัคซีนมาเป็นเงื่อนไขในการมาเรียนของนักเรียน ขณะเดียวกัน จะรณรงค์ให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล – ชั้น ปวส. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้มากที่สุด

ส่วนการดูแลนักเรียน เบื้องต้นอาจแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มาโรงเรียนได้ ต้องเว้นระยะห่างในการทำกิจกรรมต่างๆ และกลุ่มที่ไม่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนได้ ให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้เรียน เช่น การเรียนการสอนแบบ ON-LINE ผ่านอินเทอร์เน็ต และ ON-HAND สำหรับนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ ให้นำหนังสือ แบบฝึกหัด ใบงาน ไปเรียนรู้ที่บ้าน เป็นต้น

📌สำหรับมาตรการความปลอดภัย 6-6-7 เพื่อลดความเสี่ยงโควิดในสถานศึกษา ที่สถานศึกษาต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  ประกอบด้วย

6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ คัดกรองวัดไข้ ลดการแออัด และทำความสะอาด

6 มาตรการเสริม ดูแลตนเอง ใช้ช้อนกลางส่วนตัว กินอาหารปรุงสุกใหม่ ลงทะเบียนเข้าออกโรงเรียน สำรวจตรวจสอบ และกักกันตัวเอง

ส่วนแนวทาง 7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศึกษา 1.ประเมิน TSC+ และรายงานผลผ่าน MOE COVID อย่างต่อเนื่อง 2.Small Bubble ทำกิจกรรมแบบกลุ่มย่อย 3.อาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการ  4.อนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งอากาศ ความสะอาด น้ำ ขยะ 5.School Isolation มีแผนเผชิญเหตุและซักซ้อม 6.Seal Route  ดูแลการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน  7.School Pass สำหรับทุกคนในสถานศึกษาเพื่อไว้ตรวจสอบข้อมูลทางสาธารณสุข

Advertisement

Verified by ExactMetrics