วันที่ 29 เมษายน 2024

ประยุทธ์ เสนอ “วัคซีน – ยารักษาโควิด-19” เป็นสินค้าสาธารณะของโลก

People Unity News : ประยุทธ์ เสนอ “วัคซีน – ยารักษาโควิด-19” เป็นสินค้าสาธารณะของโลก บนเวที Paris Peace Forum ครั้งที่ 4

วันนี้ (11 พ.ย.64) ในพิธีเปิดการประชุม Paris Peace Forum ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “Mind the gaps: Improving global governance after COVID-19” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงผ่านการบันทึกเทป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีเสนอให้วัคซีน – ยารักษาโควิด-19 เป็นสินค้าสาธารณะของโลก พร้อมสนับสนุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และโมเดลเศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

การประชุม Paris Peace Forum มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและภาคส่วนต่าง ๆ ในการเสริมสร้างสันติภาพโลกและระบอบพหุภาคีนิยม โดยปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 13 พ.ย. 64 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

Advertising

รู้หรือไม่? กลาโหมอาเซียน 10 ประเทศ มีฮอตไลน์สายตรง ไว้ติดต่อกันยามฉุกเฉิน

People Unity : รู้หรือไม่? กลาโหมอาเซียน 10 ประเทศ มีฮอตไลน์สายตรง ไว้ติดต่อกันยามฉุกเฉินด้วยนะ

รู้หรือไม่? กลาโหมอาเซียน 10 ประเทศ มีฮอตไลน์สายตรง ไว้ติดต่อกันยามฉุกเฉินด้วยนะ และในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน 10-12 ก.ค.2562 นี้ ก็จะมีการหารือให้ขยายไปยังประเทศคู่เจรจาอีก 8 ประเทศอีกด้วย

ความสัมพันธ์ต่างประเทศ : รู้หรือไม่? กลาโหมอาเซียน 10 ประเทศ มีฮอตไลน์สายตรง ไว้ติดต่อกันยามฉุกเฉิน

People unity : post 8 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.10 น.

“เตีย บันห์” หวานใส่ “บิ๊กตู่” ระบุสัมพันธ์ไทย-กัมพูชายุคนี้ใกล้ชิดกันมากที่สุด

People unity news online : วันนี้ (21 มีนาคม 2561) เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บันห์ (Somdech Pichey Sena Tea Banh ) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee – GBC) ไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 19 – 21 มีนาคม 2561 โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้พบกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชาอีกครั้ง หลังจากที่เยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการและเข้าร่วมการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ (JCR) ไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 3 และกล่าวว่ารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชานับเป็นเพื่อนคนสำคัญและรู้จักกันมาอย่างยาวนาน พร้อมชื่นชมกับบทบาทของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชาที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและกัมพูชา ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีและความร่วมมือระหว่างกันมีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น

ในโอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชากล่าวอวยพรวันเกิดนายกรัฐมนตรี ขอให้นายกรัฐมนตรีมีสุขภาพแข็งแรงและประสบความสำเร็จในภารกิจทุกประการ สำหรับการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 13 เป็นไปด้วยความราบรื่นและประสบผลสำเร็จ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศนับว่าเป็นช่วงที่ไทยและกัมพูชาใกล้ชิดกันมากที่สุด ความร่วมมือระหว่างกันมีประสิทธิภาพและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน

นอกจากนี้ ได้มีการหารือถึงความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูง ซึ่งปัจจุบันสถิติการลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชาลดน้อยลง แต่ยังคงพบว่ามีการลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชาอยู่ ทั้งสองประเทศจึงควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการสกัดกั้นการลักลอบกระทำผิด นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นร่วมกันที่จะติดตามบุคคลที่กระทำกฎหมายและหลบหนีคดีเข้าไปอยู่ในทั้งสองประเทศ เพื่อไม่ให้กลุ่มบุคคลใดใช้ประเทศไทยและกัมพูชาเป็นฐานในการก่อความไม่สงบและทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน

ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องกันว่า แม้ไทยและกัมพูชายังมีพื้นที่บริเวณชายแดนที่ทับซ้อนและยังหาข้อสรุปไม่ได้ ทั้งสองประเทศควรร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสค้าขายระหว่างกันอย่างสะดวก ตลอดจนพัฒนาพื้นที่ชายแดนให้มีความสงบสุขและมั่นคง นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายหวังว่าความเชื่อมโยงด้วยเส้นทางรถไฟในอนาคต จะทำให้ทั้งสองประเทศมีการติดต่ออย่างสะดวกและเพิ่มมูลค่าการค้าขายระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น

ทั้งสองฝ่ายยังแสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนความร่วมมือระหว่างกันในทุกมิติ ทั้งทางด้านความมั่นคง การค้าและการลงทุน รวมถึงยินดีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องสินค้าเกษตรระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องว่า ไทยและกัมพูชาควรจะดำรงความสัมพันธ์อันดี เพื่อมุ่งสร้างผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับรัฐบาลและประชาชน

People unity news online : post 21 มีนาคม 2561 เวลา 19.20 น.

ไทยถูกยกให้เป็นต้นแบบของอาเซียนในการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย

People Unity : รู้หรือไม่? ว่าประเทศไทยถูกยกให้เป็นต้นแบบของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย

รู้หรือไม่? ว่าประเทศไทยถูกยกให้เป็นต้นแบบของอาเซียน ในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing ด้วยนะ และในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหม ระหว่าง 10-12 ก.ค.2562 นี้ ก็จะยกเรื่องนี้มาพูดคุยถึงบทบาทของทหารในการช่วยแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย

ความสัมพันธ์ต่างประเทศ : ไทยถูกยกให้เป็นต้นแบบของอาเซียนในการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย

People unity : post 8 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.40 น.

ทำเนียบขาวออกแถลงการณ์ว่า “ปธน.ทรัมป์ได้โทรศัพท์มาพูดคุยกับพลเอกประยุทธ์”

People unity news online : ทำเนียบขาวออกแถลงการณ์เรื่อง “ปธน.ทรัมป์โทรศัพท์เชิญพลเอกประยุทธ์เยือนทำเนียบขาว” โดย “ทรัมป์” บอกกับ “พลเอกประยุทธ์” ว่าความสัมพันธ์ไทย – สหรัฐฯสำคัญต่อเอเชียแปซิฟิก

สำนักงานโฆษกทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีแถลงการณ์ออกมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน 2560 ระบุว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้โทรศัพท์พูดคุยหารือกับนายกรัฐมนตรีไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันอาทิตย์

แถลงการณ์ของทำเนียบขาว ชี้แจงว่า ผู้นำทั้งสองประเทศได้เน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ที่ยาวนานระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญต่อสันติภาพและความมั่นคงในแถบเอเชียแปซิฟิก

ประธานาธิบดีทรัมป์ และพลเอกประยุทธ์ ยังได้แสดงความสนใจร่วมกันอย่างแข็งขัน ให้มีการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ

ประธานาธิบดีทรัมป์ยังได้ยืนยันถึงภารกิจของสหรัฐฯ ในการมีส่วนร่วมและมีบทบาทนำในเอเชีย ด้วยความร่วมมือกับประเทศพันธมิตร อย่างเช่น ประเทศไทย

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ยังได้กล่าวเชิญนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เดินทางมาเยี่ยมเยือนที่ทำเนียบขาวด้วย

THE WHITE HOUSE

Office of the Press Secretary

FOR IMMEDIATE RELEASE

April 30, 2017

Readout of President Donald J. Trump’s Call with Prime Minister Prayut Chan-ocha‎ of Thailand

President Donald J. Trump spoke today with Prime Minister Prayut Chan-ocha‎ of Thailand. The two leaders underscored their commitment to the longstanding alliance between the United States and Thailand, which actively contributes to peace and stability in the Asia-Pacific region. President Trump and Prime Minister Prayut expressed a strong shared interest in strengthening the trade and economic ties between the two countries. President Trump affirmed the commitment of the United States to playing an active and leading role in Asia, in close cooperation with partners and allies like Thailand, and invited Prime Minister Prayut to the White House. (ข่าวจาก voathai.com)

People unity news online : post 1 พฤษภาคม 2560 เวลา 14.43 น.

นายกฯไทย-ผู้นำอาเซียน หารือผู้นำสหรัฐฯ ร่วมสร้างภูมิภาคที่สงบสุข ดันเศรษฐกิจควบคู่รักษาสิ่งแวดล้อม

People Unity News : วันนี้ (13 พฤษภาคม 2565) เวลา 16.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศสหรัฐอเมริกา ณ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุมหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมฯ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณประธานาธิบดีสหรัฐฯ สำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่นที่ทำเนียบขาวเมื่อคืนนี้ พร้อมกล่าวว่าการที่ผู้นำอาเซียนเดินทางมาสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดฯ สมัยพิเศษ นับเป็นโอกาสในความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ ที่ดำเนินมายาวนานถึง 45 ปี จึงควรใช้โอกาสนี้เฉลิมฉลองวาระพิเศษและร่วมกันกำหนดทิศทางการดำเนินความสัมพันธ์ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปราะบาง มีปัจจัยความท้าทายที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทั้งด้านสาธารณสุข ห่วงโซ่อุปทาน ภาวะเงินเฟ้อ วิกฤตพลังงาน และความตึงเครียดระหว่างประเทศ ล้วนส่งผลกระทบต่อความพยายามในการฟื้นตัวจากโควิด-19 โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ที่ประชุมฯ ควรร่วมกัน “มองไปข้างหน้า” และเดินหน้าไปสู่ “ความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน” โดยเป้าหมายสำคัญที่สุด คือการพัฒนาภูมิภาคที่มีสันติภาพ ความเข้มแข็ง พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อก้าวต่อไปสู่ยุค Next Normal ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อมเสนอให้อาเซียนกับสหรัฐฯ มุ่งสร้าง “ภูมิทัศน์ใหม่” ให้ภูมิภาคและโลกใน 3 เรื่อง ดังนี้

หนึ่ง “ภูมิทัศน์ด้านความมั่นคงที่เอื้อต่อการฟื้นตัวและการเติบโตอย่างยั่งยืน” โดยสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีสถาปัตยกรรมในภูมิภาคที่เข้มแข็ง และบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน นายกรัฐมนตรียินดีที่ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ฉบับใหม่ของสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับอาเซียน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินยุทธศาสตร์ดังกล่าว ตลอดจนข้อริเริ่มอื่นๆ อาทิ AUKUS และกลุ่มภาคี Quad จะเป็นไปในทิศทางที่สร้างสรรค์ สนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน และมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก

นายกรัฐมนตรีหวังว่า ผู้เล่นสำคัญต่างๆ รวมถึงประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมิตรประเทศและหุ้นส่วนที่สำคัญของอาเซียนมาอย่างยาวนาน จะทำงานร่วมกันเพื่อหาทางออกต่อความท้าทายที่เปราะบางและซับซ้อนได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ให้แก่ประชาคมโลก โดยอาเซียนพร้อมจะมีบทบาทในฐานะเวทีหลักของภูมิภาคที่จะเชื่อมโยงผู้เล่นทุกคนเข้าด้วยกันเพื่อสร้างภูมิรัฐศาสตร์ที่สงบสุข

สอง “ภูมิทัศน์ด้านเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลและห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง” นับตั้งแต่การระบาดของโรคโควิด-19 อาเซียนมีผู้บริโภคดิจิทัลรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 60 ล้านคน ซึ่งบ่งชี้ว่าอาเซียนจะเติบโตสู่การเป็นตลาดดิจิทัลที่สำคัญของโลกในอีกไม่ช้า ไทยสนับสนุนการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในภูมิภาคผ่านกลไกของ USDFC โดยมุ่งเน้นให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนร่วมกันเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลให้แก่แรงงานและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่ม MSMEs และสตาร์ทอัพ เพื่อให้สามารถแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัลได้

นอกจากนี้ โรคโควิด-19 ได้ตอกย้ำถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง โดยในระยะเร่งด่วน นายกรัฐมนตรีเสนอให้อาเซียนและสหรัฐฯ เร่งหารือช่องทางในการเชื่อมโยงระบบ ASEAN Single Window เข้ากับระบบนำเข้า-ส่งออกของสหรัฐฯ เพื่อให้การเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าจำเป็น และในระยะยาว เชื่อมั่นว่าอาเซียนมีศักยภาพในการเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐฯได้ โดยเฉพาะสาขายานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมการแพทย์และเวชภัณฑ์ และเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งนี้ ไทยมีเขต EEC ซึ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล่านี้ และโลจิสติกส์ที่ทันสมัย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างขีดความสามารถให้กับภูมิภาคด้วย

สาม “ภูมิทัศน์เพื่อการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีพลังมากขึ้น” โดยไทยเห็นว่าทุกประเทศต้องร่วมกันขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ ในส่วนของไทยใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นแนวทาง และผลักดันให้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปีนี้ ภายใต้หัวข้อหลัก “OPEN.CONNECT.BALANCE.” ซึ่งสอดคล้องกับสหรัฐฯที่ให้ความสำคัญและสามารถสนับสนุนข้อริเริ่ม Build Back Better World ได้เป็นอย่างดี

สำหรับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยได้แสดงความมุ่งมั่นที่ COP26 ว่าจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2065 หรือก่อนหน้านั้น ซึ่งหากอาเซียนกับสหรัฐฯ เพิ่มพูนความร่วมมือในการลงทุน และแบ่งปันเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ  โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว และพลังงานสะอาด ตลอดจนการสนับสนุนทางการเงินที่ยั่งยืน ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงไทยก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น

นายกรัฐมนตรีเชื่อว่า แนวทางที่ได้เสนอมาทั้งหมดนี้จะช่วยผลักดันให้ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ก้าวไปสู่บทใหม่ และเป็นการพิสูจน์ว่าความร่วมมือของอาเซียนและสหรัฐฯ จะยังมีความสำคัญ และมีส่วนในการส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคต่อไป พร้อมยังยินดีที่จะให้การต้อนรับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการเข้าร่วมการประชุมผู้นาเขตเศรษฐกิจเอเปคที่กรุงเทพฯ ในช่วงปลายปีนี้

ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ เวลา 18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางออกจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ไปยังท่าอากาศนานาชาติอินชอน กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศไทย โดยจะเดินทางถึงประเทศไทยในช่วงเช้าของวันที่ 15 พ.ค. 2565

อนึ่ง ในการประชุมสุดยอดอาเซียน สหรัฐฯ สมัยพิเศษครั้งนี้ ผู้นำอาเซียนและสหรัฐฯ ได้รับรองแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วม (Joint Vision Statement) แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันขับเคลื่อนความสัมพันธ์ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน โดยเน้นย้ำความสำคัญของการทำงานร่วมกัน เพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมแห่งสันติภาพในภูมิภาค และการสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน โดยมีแนวทางการดำเนินความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้

  1. การส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข ผ่านความร่วมมือต่างๆ
  2. การส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เท่าเทียม เข้มแข็ง และยั่งยืน
  3. การส่งเสริมความร่วมมือทางทะเล
  4. การพัฒนาทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุม
  5. การส่งเสริมการพัฒนาในอนุภูมิภาค
  6. การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการส่งเสริมนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน
  7. การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  8. ความร่วมมือในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ

Advertisement

เผยรายละเอียดผลการหารือนายกรัฐมนตรีไทยกับประธานาธิบดีฟิลิปปินส์

People unity news online : วันนี้ (21 มีนาคม 2560) เวลา 16.30 น. นายโรดรีโก โรอา ดูแตร์เต (H.E. Mr. Rodrigo Roa Duterte) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เดินทางถึงทำเนียบรัฐบาล โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รอให้การต้อนรับ จากนั้นทั้งสองฝ่ายร่วมกันหารือข้าราชการ ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญการหารือดังนี้

ผู้นำทั้งสองได้ร่วมหารือข้อราชการ พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่าย อาทิ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฝ่ายสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อาทิ นายเอนริเก เอ. มานาโล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายคาร์ลอส จี. โดมิงเกส ที่สาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายเอ็มมานูเอล ปินยอล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และนายเดลฟิน เอ็ม. ลอเรนซานา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นต้น

นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่ได้ต้อนรับท่านประธานาธิบดีดูแตร์เต และคณะในการเดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ โดยเป็นการเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมิถุนายน 2559 และเป็นการเยือนไทยโดยผู้นำของฟิลิปปินส์ในรอบ 6 ปี จึงมีความหมายอย่างยิ่งต่อการกระชับและการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฟิลิปปินส์

ความสัมพันธ์ทวิภาคีทั้งสองฝ่ายยืนยันความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน โดยไทยและฟิลิปปินส์เป็นมิตรเก่าแก่ซึ่งมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดและยาวนานมากว่า 68 ปี รวมทั้งการเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องที่จะกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างรอบด้านและเป็นรูปธรรม ในโอกาสที่ทั้งสองประเทศจะย่างก้าวสู่ทศวรรษที่เจ็ดของความสัมพันธ์ การเยือนครั้งนี้มีความสำคัญยิ่งในการกระชับความสัมพันธ์และหารือแนวทางความร่วมมือในเชิงลึกเพื่อยกระดับความเป็นหุ้นส่วนความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นรวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียน

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรียินดีที่ฟิลิปปินส์มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายเห็นว่าไทยและฟิลิปปินส์มีศักยภาพที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกันในอนาคต ผ่านคณะกรรมการร่วมด้านการค้า (Joint Trade Committee – JTC) ในเรื่องของการบริการ ดิจิทัล การเกษตร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของทั้งสองประเทศ

ทั้งสองฝ่ายยินดีสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดพลวัตทางความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์แสดงความพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนแก่ภาคเอกชนไทยที่สนใจไปลงทุนในฟิลิปปินส์ด้วย

โอกาสนี้ทั้งสองฝ่ายยินดีกับการต่ออายุบันทึกความตกลงว่าด้วยการซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฟิลิปปินส์ออกไปอีก 2 ปี (2560–2561) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารระหว่างทั้งสองประเทศ

ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว นายกรัฐมนตรียินดีที่ชาวฟิลิปปินส์นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น โดยพร้อมสนับสนุนให้ชาวไทยไปท่องเที่ยวในฟิลิปปินส์มากขึ้นเช่นกัน เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชนของทั้งสองประเทศและการเป็นประชาคมอาเซียน

ความร่วมมือด้านการเกษตร ไทยและฟิลิปปินส์สามารถเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน รวมทั้งหารือแนวทางเพื่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของทั้งสองประเทศได้ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไทยมีนโยบายการพัฒนาและสร้างเกษตรกรสู่ smart farmer เพื่อพัฒนาและยกระดับการผลิตสินค้าเกษตร เพิ่มมูลค่าและราคาสินค้าเกษตร และอาหาร รวมทั้งให้สามารถเกิดการจัดพื้นที่การผลิตด้านการเกษตรกรรมและป่าไม้ที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

ความร่วมมือด้านพลังงาน ทั้งสองฝ่ายยินดีกับความคืบหน้าด้านความร่วมมือทางพลังงานระหว่างกัน โดยไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวว่ายินดีเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 2 ที่กรุงมะนิลาในปีนี้

ความร่วมมือด้านการศึกษา นายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณครูชาวฟิลิปปินส์ที่ได้มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในสถาบันการศึกษาไทย ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่เยาวชนไทย และยินดีที่ทั้งสองประเทศมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากรครู การศึกษาดูงานและฝึกอบรมในระดับอุดมศึกษาระหว่างกัน

ความร่วมมือทางวิชาการ ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ความร่วมมือทางวิชาการมีความคืบหน้า ทั้งในระดับทวิภาคีและไตรภาคีจากผลการประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยและฟิลิปปินส์สองครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยพร้อมสนับสนุนการสานต่อความร่วมมือในระดับทวิภาคีในด้านการเกษตร และในระดับไตรภาคี ในหลักสูตรด้านการพัฒนาสตรีและสตรีกับการเป็นผู้ประกอบการ

ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายกรัฐมนตรียินดีที่ไทยและฟิลิปปินส์มีการกระชับความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจากด้านนี้ถือเป็นหนึ่งในสาขาสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมนวัตกรรมของฟิลิปปินส์

ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือข้อราชการ นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ 3 ฉบับ ได้แก่ 1. ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.การดำเนินงานตามโครงการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ปี 2017 – 2022 ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย 3. ข้อปฏิบัติว่าด้วยความร่วมมือในสาขาเฉพาะระหว่างศูนย์กระบือนม ประเทศฟิลิปปินส์ และกรมปศุสัตว์ เกี่ยวกับการเลี้ยงกระบือปลักและกระบือนม

จากนั้นทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันแถลงข่าว ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยในช่วงค่ำวันเดียวกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแด่นายโรดรีโก โรอา ดูแตร์เต ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในโอกาสเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ด้วย

People unity news online : post 21 มีนาคม 2560 เวลา 23.23 น.

ประยุทธ์ หารือคณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯตอกย้ำความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดระหว่างกัน

People Unity News : โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ หารือ คณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ยืนยัน ไทย-สหรัฐฯ พร้อมตอกย้ำความเป็นหุ้นส่วน เดินหน้าความร่วมมือในทุกมิติ

วันนี้ (8 พฤศจิกายน 2564) 11.00 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นาย Amerish “Ami” Bera ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ด้านเอเชีย แปซิฟิก เอเชียกลาง และการไม่แพร่ขยายอาวุธ คณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ หัวหน้าคณะ นำคณะสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเดินทางเยือนไทย นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงสาระสำคัญของการหารือ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับคณะสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ สู่ประเทศไทย โดยถือเป็นคณะแรกที่เยือนไทยนับตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สะท้อนถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น และยาวนานระหว่างกัน ทั้งนี้ ไทยยินดีที่ความสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยนการเยือน และความร่วมมือในมิติต่างๆ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลไทยพร้อมสนับสนุนการทำงานร่วมกับสหรัฐฯอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์ร่วมกันอย่างรอบด้าน

ด้านประธานคณะอนุกรรมาธิการ ยินดีที่ได้เดินทางมาเยือนไทยในครั้งนี้ ไทย และสหรัฐฯมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และมีความร่วมมือในทุกมิติ ทั้งนี้ ด้วยสถานการณ์และความท้าทายในปัจจุบัน ความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดระหว่างกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยคณะ ส.ส. สหรัฐฯพร้อมสนับสนุนรัฐบาลไทย และส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย

ทั้งสองฝ่ายพร้อมกระชับความร่วมมือระหว่างกัน และยินดีที่รัฐบาลไทยและสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีไบเดน มีนโยบายสำคัญที่สอดคล้อง และมีท่าทีร่วมกันในประเด็นที่เป็นที่สนใจในเวทีโลกหลายประเด็น อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งรวมถึงการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด- 19 ทั้งในมิติด้านมาตรการทางสาธารณสุขและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

โอกาสนี้ นายกฯ กล่าวยินดีที่การค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ยังคงขยายตัว แม้ในช่วงโควิด-19 พร้อมย้ำว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสนับสนุนภาคเอกชนสหรัฐฯ ที่ลงทุนในประเทศไทย นายกรัฐมนตรีได้พบหารือกับภาคเอกชนสหรัฐฯ เป็นประจำทุกปี ในขณะที่ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า ความร่วมมือด้านความมั่นคงและการทหาร ก็ยังคงเป็นอีกส่วนสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ ทั้งนี้ ไทยมุ่งมั่นจะเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรและความร่วมมือกับสหรัฐฯอย่างใกล้ชิดต่อไป

นอกจากนี้ ไทยมุ่งหวังที่จะเห็นภูมิภาคนี้มีความมั่งคั่ง มั่นคง และธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเช่นเดียวกับสหรัฐฯ โดยท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ และความท้าทายต่างๆ ไทยพร้อมร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินบทบาทที่สร้างสรรค์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะผ่านกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค เช่น อาเซียน ACMECS และ US-Mekong Partnership

Advertising

ประยุทธ์ เสนอแนวทาง 5P เพื่อความกินดีอยู่ดี การพัฒนาที่ยั่งยืน ก้าวผ่านวิกฤต ต่อที่ประชุม ASEM 13

People Unity News : ประยุทธ์ ชูแนวทาง 5P เพื่อความกินดีอยู่ดี การพัฒนาที่ยั่งยืน และก้าวผ่านวิกฤตต่างๆ ในพิธีเปิดการประชุมเอเชีย – ยุโรป ครั้งที่ 13

วันนี้ 25 พ.ย.64 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถ้อยแถลงในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มอาเซียน สำหรับพิธีเปิดการประชุมผู้นำเอเชีย – ยุโรป ครั้งที่ 13 (The 13th ASEM Summit: ASEM13) ผ่านระบบการประชุมทางไกล สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

การประชุมครั้งนี้มีหัวข้อหลักคือ “Strengthening Multilateralism for Shared Growth” ที่มุ่งสร้างพหุภาคีนิยมที่เข้มแข็งและยั่งยืน โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของ ASEM ซึ่งไทยเชื่อมั่นว่าพหุภาคีนิยมเป็นหัวใจสำคัญของความร่วมมือที่จะนำพาโลกผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ

พร้อมเสนอความร่วมมือตามแนวทาง 5P ของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของสหประชาชาติ ดังนี้

1.People ต้องสร้างความมั่นคงให้ประชาชน ASEM กว่าสี่พันล้านคน ทั้งด้านสุขภาพ ความกินดีอยู่ดี และความปลอดภัยในชีวิต

2.Partnership เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมบนพื้นฐานความเชื่อใจ เคารพซึ่งกันและกัน และมีผลประโยชน์ร่วมกัน

3.Peace ความร่วมมือระหว่าง ASEM ต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่เอื้อต่อสันติภาพ ไม่ให้เกิดการแข่งขันหรือขัดแย้ง

4.Prosperity ต้องเติบโตร่วมกัน ยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีบนกฎกติกาขององค์การการค้าโลก

5.Planet ต้องร่วมมือกันรักษาโลกใบนี้ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี ค.ศ. 2030

Advertising

สหรัฐชื่นชมผลงานปราบปรามการค้ามนุษย์ไทยดีขึ้นต่อเนื่อง

People Unity News : 27 พฤศจิกายน 2565  “พล.อ.ประวิตร” โชว์ผลงานปราบปรามการค้ามนุษย์ เน้นย้ำต้องเข้มงวด ยกระดับไทยให้ดียิ่งขึ้นในปี 2566 ด้าน กต.สหรัฐ ชื่นชมไทยดีขึ้นต่อเนื่อง

วันนี้ (27 พ.ย.65) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และประธานคณะอนุกรรมการร่วมว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ ไทย-สหรัฐอเมริกา (ฝ่ายไทย) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดการต้อนรับผู้แทนสำนักงานตรวจสอบและต่อต้านการค้ามนุษย์ (J/TIP Office) กต.สหรัฐฯ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในประเทศไทย ประจำปี 2565

พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ กล่าวว่า น.ส. Caitlin Heidenreich ผู้แทน J/TIP ของ กต.สหรัฐฯ พร้อมด้วย น.ส. Rebecca Hunter รองที่ปรึกษาฝ่ายการเมือง น.ส. Angeline Bickner ผู้ช่วยฝ่ายการเมือง น.ส. Elska Vuong ผู้ช่วยฝ่ายการเมือง และ น.ส.จันทร์เจ้า จันทร์ศิริ ฝ่ายการเมืองของสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมชมหน่วยปฏิบัติหลัก (3P) ได้แก่ ด้านการดำเนินคดี ด้านการป้องกัน และด้านการคุ้มครอง โดยสรุปดังนี้

วันที่ 22 พ.ย.65 พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. พร้อมภาคีเครือข่ายประชาสังคมและ TIP Report Hero ชาวไทยทั้ง 3 คน นายสมพงค์ สระแก้ว น.ส.วีรวรรณ ม็อสบี้ น.ส.อภิญญา ทาจิตต์ ให้การต้อนรับคณะเข้าเยี่ยมชมฟังบรรยายสรุปผลงานของ ศพดส.ตร. ที่มีผลจับกุมคดีค้ามนุษย์ รวม 231 คดี ในปี 2565 โดยเฉพาะผลงานชุดปฏิบัติการ TICAC ที่มีสถิติจับกุมคดีล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต รวม 398 คดี ในปี 2565 ยอดสูงสุดในรอบ 8 ปี เนื่องจากได้มีการปรับรูปแบบในการสืบสวนทางออนไลน์ และปฏิบัติการร่วมกับ NGO ควบคู่กับได้รับความร่วมมือจากผู้เสียหายเป็นพยานมากขึ้น โดยใช้แผนกลไกการส่งต่อฯ (NRM) ของรัฐบาล ต่อมาวันที่ 23 พ.ย.65 พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ นำคณะเข้าเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการทําการประมง (FMC) ของกรมประมง และฟังบรรยายสรุปขั้นตอนตรวจแรงงานของศูนย์ PIPO ความร่วมมือกับภาคเอกชนในการนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) และมาตรฐานแรงงานไทย (TLS) มาตรฐานการปฏิบัติงาน ตรวจคัดกรองการบังคับใช้แรงงาน (SOP) และผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้นำคณะเยี่ยมชมสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดปทุมธานี นำเสนอพัฒนาการความก้าวหน้าที่สำคัญ อาทิ สถิติการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหาย การให้ความสำคัญในการคุ้มครองช่วยเหลือที่คำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหาย (Trauma Informed Care) และการพัฒนาแนวทางการให้อิสระแก่ผู้เสียหาย (Freedom of Movement) ในการเดินทางเข้าออกสถานคุ้มครอง และการใช้เครื่องมือสื่อสารสำหรับผู้เสียหายกลุ่มผู้ใหญ่

พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ เปิดเผยว่า ฝ่ายสหรัฐอเมริกาชื่นชมความก้าวหน้าของรัฐบาลในการนำแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติฯ (NRM) ไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะโครงการสำคัญ (Flagship) อาทิ การจัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (ดอนเมือง) งบลงทุนราว 150 ล้านบาทเศษ การตั้งศูนย์บูรณาการคัดแยก 10 จังหวัดในพื้นที่เสี่ยง การตั้งทีมสหวิชาชีพคัดกรองแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในเรือประมงในพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล จำนวน 40,000 คน เป้าหมายสัมภาษณ์ครบ 100% การซุ่มคัดกรองแรงงานกลุ่มเสี่ยงทั่วประเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร ประธาน ปคม./ปกค. โดยได้เป็นกำลังใจและขอบคุณเจ้าหน้าที่ “ทีมประเทศไทย” ที่ได้ทุ่มเททำงานมาตลอดทั้งปี และยังได้เน้นย้ำให้ปราบปรามอย่างเข้มงวด ห้ามมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์อย่างเด็ดขาด เพื่อยกระดับประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นในปี 2566

Advertisement

Verified by ExactMetrics