วันที่ 16 พฤษภาคม 2024

“วราวุธ” เผย “พลายศักดิ์สุรินทร์” อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ทำคนไทยคลายใจหายกังวลเรื่องจะถูกส่งกลับ

People Unity News : 5 กรกฎาคม 2566 “วราวุธ” เผย “กัญจนา” พร้อมทีมแพทย์จะไปศรีลังกาอีกครั้งต้นเดือน ก.ย.นี้ ถ่ายทอดการดูแลรักษาพยาบาลช้าง ระบุ “พลายศักดิ์สุรินทร์” อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ทำคนไทยคลายใจหายห่วง หวั่นต้องส่งกลับ

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ขณะนี้กลุ่มแฟนคลับพลายศักดิ์สุรินทร์ และบรรดาคนรักช้าง มีความห่วงใย ช้างอีก 2 เชือกของไทยที่ยังอยู่ที่ประเทศศรีลังกาและสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมากต่อความเป็นไปได้ที่จะนำกลับมาประเทศไทยด้วยหรือไม่ ว่า ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยจะส่งทีมสัตวแพทย์ไปพร้อมกับ น.ส. กัญจนา ศิลปอาชา ที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้นเดือนกันยายนนี้ เพื่อดูแนวทางความร่วมมือในการทำงานระหว่างหน่วยงานของไทยและหน่วยงานของศรีลังกา ในการถ่ายทอดความรู้ เทคนิคเรื่องการดูแลรักษาพยาบาลช้าง เพราะศรีลังกาเป็นประเทศที่มีช้างเลี้ยงและช้างป่าจำนวนมาก

“สอดคล้องกับการที่มีคณะสัตวแพทย์ ของมหาวิทยาลัยเมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นเมืองที่พลายประตูผาอยู่  ได้ติดต่อมายังกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแสดงเจตจำนงว่ามีความพร้อมที่จะช่วยดูแลและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องการรักษาพยาบาลช้าง ดังนั้น จากนี้ไปการทำงานด้านสุขภาพช้างระหว่างไทยกับศรีลังกาจะมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น” นายวราวุธ กล่าว

นายวราวุธ กล่าวว่า สำหรับประเด็นของพลายประตูผาเป็นเรื่องที่แตกต่างจากพลายศักดิ์สุรินทร์ เพราะพลายศักดิ์สุรินทร์อายุเพียง 30 ปี ยังหนุ่ม ขณะที่พลายประตูผาอายุเกือบ 50 ปีแล้ว ซึ่งสัตวแพทย์มีความเห็นว่าการเคลื่อนย้ายพลายประตูผาข้ามประเทศมีความเสี่ยงและเป็นอันตรายกับตัวช้างเอง วิธีที่ดีที่สุดคือให้ประตูผาได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องยั่งยืน ด้วยการทำโครงการความร่วมมือกันระหว่างไทยกับศรีลังกาในการแลกเปลี่ยนความรู้ บุคลากร เกี่ยวกับเรื่องการรักษาพยาบาลช้าง

“การทำเช่นนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาการดูแลช้างระยะยาวในประเทศศรีลังกาได้ และเชื่อว่า จะทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยคลายความห่วงกังวลต่อช้างไทยที่ยังอยู่ในศรีลังกาได้ ซึ่งโครงการแลกเปลี่ยนดังกล่าวอาจทำ MOU ขึ้น ซึ่งต้องให้กรมอุทยานฯ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) เป็นผู้ลงนามร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศศรีลังกา เพื่อทำความตกลงแลกเปลี่ยน เทคโนโลยี และความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับการดูแลช้าง ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้การดูแลช้างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องยาวนาน” นายวราวุธ กล่าว

นายวราวุธ กล่าวว่า สำหรับพลายศรีณรงค์ จากการที่ น.ส.กัญจนาได้ไปเยี่ยมมาด้วยตัวเอง ได้เห็นว่ามีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี สุขภาพปกติดีอยู่ และการเดินทางไปศรีลังกาในต้นเดือนกันยายนนี้ น.ส.กัญจนาจะไปเยี่ยมพลายศรีณรงค์อีกครั้ง นายวราวุธ กล่าวว่า ได้รายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบรายละเอียดเรื่องการนำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับไทย รวมทั้งกรณีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับพลายศักดิ์สุรินทร์ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นที่ปลื้มปิติของชาวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทีมงานทุกคนและปวงชนชาวไทย ต้องขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติและช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของกระทรวง ทส.จนทุกอย่างราบรื่น ซึ่งการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับพลายศักดิ์สุรินทร์ไว้พระบรมราชานุเคราะห์ ทำให้ความกังวลเรื่องที่จะต้องส่งพลายศักดิ์สุรินทร์กลับศรีลังกาหรือไม่นั้นหายไป ส่วนทีมแพทย์จะรักษาอาการบาดเจ็บของพลายศักดิ์สุรินทร์อย่างเต็มที่

Advertisement

“จุรินทร์” รุกตลาดกลุ่มประเทศยูเรเซีย เพิ่มการค้า-การลงทุน ผลักดันการเจรจา FTA

People Unity News : รัฐบาลกระชับสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศยูเรเซีย เพิ่มการค้า-การลงทุน ผลักดันสู่เจรจา FTA

23 กันยายน 2564 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า รัฐบาลเดินหน้าขยายตลาดการค้า การลงทุนกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Union) ประกอบด้วย ประเทศรัสเซีย คาซัคสถาน เบลารุส อาเมเนีย และคีกีซสถาน โดยจะมีการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Commission: EEC) ครั้งที่ 2 แบบทางไกล ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 27 ก.ย.นี้  โดยฝ่ายไทยมี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

ที่ผ่านมาไทยและกลุ่มประเทศยูเรเซีย ได้มีข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายสนใจ รวมถึงการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ผ่านกลไกคณะทำงานร่วม โดยในปี 2563 มูลค่าการค้ารวมประมาณกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกหลักของประเทศไทย คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เครื่องปรับอากาศ สินค้าหลักที่ไทยนำเข้า คือ น้ำมันดิบ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ปุ๋ย ยาจำกัดศัตรูพืช สินแร่โลหะ เป็นต้น

นางสาวรัชดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมครั้งนี้ ท่าทีของประเทศไทย จะมุ่งเน้นไปที่ 1) การหาแนวทางเพื่อขยายการค้าและการลงทุนภายใต้สถานการณ์โควิด-19 2) การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนโยบาย กฏระเบียบด้านการค้าและการลงทุน เช่น การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในประเทศที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย มาตรการเยียวยาทางการค้า กฎระเบียบด้านศุลกากรและกฎระเบียบทางเทคนิคและมาตรการสุขอนามัย จะผลักดันความร่วมมือในสาขา อาทิ นวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล เกษตรอัจฉริยะ เศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (BCG โมเดล) และความร่วมมือด้านยางพารา และ 3) ติดตามความคืบหน้าเรื่องการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และกระบวนการจัดทำ FTA ของแต่ละฝ่าย

“รัฐบาลอยู่ระหว่างการศึกษา และเจรจาทำข้อตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุน โดยทุกเรื่องได้ดำเนินการอย่างรอบคอบและรับฟังข้อเสนอจากทุกภาคส่วน สำหรับการประชุมกับกลุ่มประเทศยูเรเซียในครั้งนี้ ผลลัพธ์จะนำไปสู่การยกระดับและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง เป็นช่องทางสำคัญในการผลักดันการนำไปสู่การเริ่มต้นเจรจาจัดทำ FTA ระหว่างกันในอนาคต” นางสาวรัชดากล่าว

Advertising

“บิ๊กตู่” กล่าวต่อที่ประชุม UN มุ่งการพัฒนายั่งยืนผ่านระบบสาธารณสุข โมเดลเศรษฐกิจ BCG และ Digital

People Unity News : ประยุทธ์กล่าวถ้อยแถลงผ่านกิจกรรม SDG Moment มุ่งขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านระบบสาธารณสุข โมเดลเศรษฐกิจ BCG และการพัฒนาด้าน Digital ในการประชุม UNGA สมัยที่ 76

20 กันยายน 2564 เวลา 21.41 น. (ซึ่งตรงกับเวลา 10.41 น. ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถ้อยแถลงในกิจกรรม “Sustainable Development Goals (SDG Moment)” ครั้งที่ 2 ในห้วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 76 (76th Session of the United Nations General Assembly: UNGA76) ผ่านระบบประชุมทางไกล โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรียินดีที่มีส่วนร่วมในกิจกรรม SDG Moment รัฐบาลไทยร่วมกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง และได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อดำเนินนโยบายและใช้งบประมาณให้ตอบโจทย์กับการพัฒนาประเทศและนำไปสู่การบรรลุ SDGs ตลอดจนได้นำเสนอรายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติ โดยสมัครใจ (VNR: Voluntary National Review) ต่อสหประชาชาติ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีระบุถึงหมุดหมายที่สำคัญ 3 ประการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs ดังนี้

1.ส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนทุกช่วงอายุ โควิด-19 ได้ตอกย้ำความสำคัญของการมีระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมและทั่วถึง รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณสำหรับการประกันสุขภาพ ยกระดับอุตสาหกรรมทางการแพทย์และการบริการสาธารณสุขอย่างพอเพียง เร่งด่วน  เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองในยามวิกฤตได้

2.สร้าง “ความสมดุลของสรรพสิ่ง” ผ่านการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เช่น เพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ต่อยอดอุตสาหกรรมชีวภาพและพลังงานทดแทน และปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เป็นหนึ่งในฐานการผลิตขนาดใหญ่ของโลก ตั้งเป้าที่จะเพิ่มการผลิตรถไฟฟ้าพลังงานสะอาดให้ได้ร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ไทยทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2030

3.ขจัดความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาด้าน digital literacy เพื่อปลดล็อคศักยภาพให้แก่ประชาชนในประเทศ ใช้ประโยชน์จากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP ที่เกิดจาก Big Data เพื่อตอบโจทย์ความท้าทาย รวมถึงปัญหาความยากจนอื่นๆต่อไป

ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจะสำเร็จจากการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งนายกรัฐมนตรียืนยันเจตนารมณ์ของไทยที่จะก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และพร้อมร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปด้วยกัน

อนึ่ง กิจกรรม SDG Moment จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 2563 ในรูปแบบการอภิปรายทั่วไปตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติที่ต้องการย้ำความสำคัญและสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินการตามเป้าหมาย SDGs ภายในปี ค.ศ.2030 เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการกล่าวถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีไทยเป็นโอกาสประชาสัมพันธ์แผนการขับเคลื่อน SDGs ของไทย โดยเฉพาะการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นมาตรการฟื้นฟูจากโควิด – 19 ที่สร้างสมดุล

Advertising

ประธานสภาที่ปรึกษาซาอุฯ พบนายกรัฐมนตรี

People Unity News : 20 กรกฎาคม 2566 ประธานสภาที่ปรึกษาแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ “พล.อ.ประยุทธ์” พร้อมส่งเสริมการค้าการลงทุนโดยเฉพาะในเขตอีอีซี

ดร.อับดุลเลาะห์ โมฮัมเหม็ด อิบราฮิม อัล-ชีค ประธานสภาที่ปรึกษาแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ โดยทั้งสองฝ่ายยินดีจะสานต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน พร้อมส่งเสริมการค้าการลงทุนโดยเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ขณะที่ซาอุดีอาระเบีย มีแนวทางที่จะยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับหนังสือเดินทางพิเศษ และสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไป เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างทั้งสองประเทศ

Advertisement

สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมลอยกระทง แทนคนไทยที่ถูกจับเป็นตัวประกัน

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 28 พฤศจิกายน 2566 วานนี้ (27 พ.ย.66) ซึ่งเป็นวันลอยกระทง นางออร์นา ซากิฟ เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ร่วมสืบสานประเพณีไทย ด้วยการลอยกระทง ณ อุทยานเบญจสิริ ร่วมกับคณะสื่อมวลชนในประเทศไทย โดยสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลได้เตรียมกระทงรักษ์โลกที่ทำจากขนมปัง รวม 180 กระทง มีทั้งกระทงที่เป็นสีฟ้า-ขาว ซึ่งเป็นสีของธงชาติอิสราเอล จำนวน 165 กระทง และอีก 15 กระทงเป็นสีธงชาติไทย

การจัดกิจกรรมครั้งนี้ของสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย นอกจากจะเป็นการร่วมสืบสานประเพณีอันดีงามของไทยแล้ว ยังเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักร่วมถึงความสำคัญของชีวิตคนไทย และประชาชนสัญชาติต่างๆ ที่ถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกัน ในเหตุการณ์การโจมตีดินแดนอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมาด้วย

เอกอัครราชทูตอิสราเอลเผยว่า ปีนี้ สถานทูตตัดสินใจจัดกิจกรรมลอยกระทงเพื่อรำลึกถึงคนไทยจำนวนหนึ่งซึ่งไม่สามารถร่วมเทศกาลกับครอบครัวได้ ดังนั้นกระทงที่นำมาในวันนี้ จึงเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงตัวประกันชาวอิสราเอลและคนไทย โดยกระทงสีฟ้า-ขาว 165 กระทงแทนจำนวนตัวประกันชาวอิสราเอล ส่วนกระทงสีขาวแดงน้ำเงิน 15 กระทง แทนจำนวนคนไทย ในโอกาสนี้เอกอัครราชทูตอิสราเอลและเจ้าหน้าที่สถานทูตอิสราเอลทุกคนขอภาวนาให้ผู้ที่ถูกจับเป็นตัวประกันได้รับอิสรภาพ กลับสู่อ้อมอกของครอบครัวในเร็ววัน นอกจากนี้ ยังกล่าวว่ากระทงของสถานทูตทำจากขนมปังที่ย่อยสลายได้ ปลากินได้ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

Advertisement

สรุปผลการเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี

People unity news online : วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 สรุปผลการเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ ระหว่างวันที่ 19 – 20 กรกฎาคม 2561 สรุปผลสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจ ดังนี้

1.ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และสมเกียรติ โดยร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ ณ ป้อมปราการทาชิโช ซึ่งภูฏานจัดขบวนเกียรติยศแบบพื้นเมือง เดินนำหน้าขบวนรถยนต์ และตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ

2.ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และการเดินทางเยือนครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่ทั้งสองประเทศสามารถกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือที่มีอยู่ให้ใกล้ชิดยิ่งกว่าเดิม

3.การเดินทางเยือนภูฏานในครั้งนี้ถือว่าได้รับเกียรติอย่างสูงสุด เนื่องจากมีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักรภูฏาน แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่มีความใกล้ชิดทางพระพุทธศาสนา สังคม วัฒนธรรม และความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งประชาชนชาวไทยต่างมีความเคารพและชื่นชมในสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏานอย่างมาก

4.การพบปะกับนายกรัฐมนตรีภูฏานนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างพอใจกับการหารือครั้งนี้ เนื่องจากไทยมีส่วนช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศของภูฏาน โดยเฉพาะความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนา สาธารณสุข และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นว่าความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเป็นสาขาที่ทั้งสองประเทศมีศักยภาพและเอื้อประโยชน์แก่กันได้ จึงเห็นควรผลักดันความร่วมมือดังกล่าวให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ไทยและภูฏานยังมุ่งมั่นที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันผ่านการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย – ภูฏาน (JTC) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันให้ประเด็นดังกล่าวประสบความสำเร็จได้ นอกจากนี้ ในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูต 30ปี ในปี 2562 รัฐบาลไทยยินดีสนับสนุนโครงการบริการทางการแพทย์เพื่อรักษา หู ตา จมูก และคอ รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ หู จมูก และคอ ในราชอาณาจักรภูฏาน เพื่อให้บริการรักษา การถ่ายทอดความรู้ เทคนิคและวิชาการ เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทาง รวมถึงความร่วมมือของคณะแพทย์ ไทย-ภูฏาน ในการรักษาผู้ป่วยด้วย

5.การประกอบพิธีจุดตะเกียงเนยที่เจดีย์อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ซึ่งเป็นประเพณีพื้นเมืองของภูฏานที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน โดยมีความเชื่อว่า การจุดตะเกียงน้ำมันเนยเป็นการจุดประกายปัญญาด้วย เพราะแสงสว่างที่จุดจากตะเกียง เปรียบเสมือนดวงไฟแห่งปัญญาที่ส่องสว่าง จึงหวังว่าการจุดตะเกียงเนยนี้จะเป็นแสงนำทางให้ประเทศไทยพบเจอแต่สิ่งดีๆ และไม่พบเจอกับเหตุการณ์ร้ายๆ อีกต่อไป

6.เยี่ยมชมร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Gewog One Product : OGOP) ที่ไทยมีส่วนร่วมในการริเริ่มโครงการดังกล่าว การไปเยี่ยมชมครั้งนี้ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของผลิตภัณฑ์ OGOP ที่สามารถส่งออกไปยังประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยด้วยได้

นายกรัฐมนตรียืนยันด้วยว่า ไทยจะสานต่อความร่วมมือนี้อย่างใกล้ชิดกับภูฏานต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย SEP for SDGs Partnership ในภูมิภาค อีกทั้งเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชนของทั้งสองประเทศด้วย

People unity news online : post 20 กรกฎาคม 2561 เวลา 11.50 น.

ส.ส.สหรัฐฯ เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี

People unity news online : เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2560 เวลา 19.00 น. นายกลิน ที เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นำ นาย William L. Johnson สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรครีพับลิกัน รัฐโอไฮโอ เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเยือนไทยระหว่างวันที่ 12 – 13 พฤษภาคม 2560 เพื่อรับทราบถึงนโยบายการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ พลโทวีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวชื่นชมความสัมพันธ์ไทย – สหรัฐอเมริกา ที่ยึดมั่นความเป็นพันธมิตรมายาวนาน 184 ปี  และจากการสนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีทรัมป์ ที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆนี้ ก็เป็นไปอย่างมิตรไมตรี โดยได้มีการหารือถึงความร่วมมือระหว่างไทย-สหรัฐ ฯในมิติต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีโอกาสพบปะกับภาคเอกชนจากสภาธุรกิจธุรกิจไทย-สหรัฐ ฯ รวมทั้งผู้แทนจากภาครัฐสภา หน่วยงานภาครัฐต่างๆ อาทิ  ผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก  สะท้อนให้เห็นว่า มิตรภาพและความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐฯจะยืนยาวและยั่นยืน  สำหรับการพัฒนาการเมืองไทยนั้นขอให้มั่นใจว่า รัฐบาลยึดมั่นเดินตาม Roadmap เพื่อมุ่งสู่ประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบและยั่งยืน

สำหรับความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกานั้น นายกรัฐมนตรีย้ำว่า  ไทยให้ความสำคัญกับการดูแลนักธุรกิจสหรัฐอเมริกาซึ่งมีอยู่จำนวนมากในประเทศไทยมาโดยตลอด ความสัมพันธ์ระหว่างสมาคมธุรกิจไทย-สหรัฐอเมริกาเป็นไปด้วยดี ปัจจุบันมีบริษัทไทยหลายบริษัทเข้าไปลงทุนอยู่ในสหรัฐอเมริกา ได้สร้างงานและรายได้ให้ชาวอเมริกันจำนวนมาก อาทิ บริษัท ปตท.ของไทยมีแผนเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่รัฐโอไฮโอ โดยอยู่ระหว่างศึกษาโอกาสการลงทุนสร้างศูนย์อุตสาหกรรมปิโตรเคมี (petrochemical complex) ขนาดใหญ่ด้วยเงินลงทุนกว่า 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา จึงหวังว่า นาย Johnson ในนามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะช่วยดูแลคนไทยและบริษัทไทยที่เข้าไปในลงทุนในพื้นที่ดูแลเป็นอย่างดี เนื่องจากการค้าการลงทุนที่เกิดขึ้นจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายรวมถึงชุมชนอเมริกันในพื้นที่ด้วย

ด้าน นาย Johnson สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรครีพับลิกัน รัฐโอไฮโอ ได้กล่าวแสดงความประทับใจในการเดินทางมาเยือนไทยเป็นครั้งแรก และมั่นใจว่าประชาชนสหรัฐอเมริกันและพลเมืองโอไฮโอต่างชื่นชมความสัมพันธ์ 184 ปีระหว่างไทยและสหรัฐ ฯ ทั้งนี้ สหรัฐฯพร้อมที่จะให้การดูแลนักลงทุนไทยในสหรัฐ ฯ รวมทั้งการลงทุนของไทยในรัฐโอไฮโอเช่นเดียวกัน เพราะเชื่อว่า ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของไทยจะส่วนอย่างสำคัญในการสร้างความมั่นคงในภูมิภาคด้วย

People unity news online : post 14 พฤษภาคม 2560 เวลา 22.23 น.

ไทย-สหรัฐพร้อมขยายความร่วมมือ

People Unity News : 28 พฤศจิกายน 2565 นายกฯ หารือ USABC เสนอ 3 แนวทางเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจ มุ่งส่งเสริมสร้างความเข้มแข็ง การเติบโตเศรษฐกิจอย่างสมดุลและครอบคลุม ขณะสหรัฐพร้อมขยายความร่วมมือกับไทย

คณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน (U.S.-ASEAN Business Council : USABC) นำโดยนายโรเบิร์ต โกเดค (H.E. Mr.Robert Godec) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย นาย Ted Osius ประธาน USABC และผู้แทนบริษัทสมาชิก จำนวน 43 บริษัท จากกลุ่มอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ อาทิ พลังงาน อาหารและการเกษตร สาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศ และบริการทางการเงิน เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า USABC และภาคเอกชนสหรัฐฯ ถือเป็นมิตรและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ และมีบทบาทสนับสนุนการเติบโตของไทยมาโดยตลอด รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความเห็นกับภาคเอกชน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ มีพลวัตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในการประชุมเอเปค ไทยได้ผลักดันผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมหลายประการ ทั้งการทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) ในบริบทหลังโควิด-19 และการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม โดยการนำเสนอเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on BCG)

“คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตระหว่างร้อยละ 2.7-3.2 ไทยพร้อมร่วมมือกับภาคเอกชนสหรัฐฯ มุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งและการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างสมดุลและครอบคลุม และให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม บนพื้นฐานโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อพัฒนาไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการลงทุนของภูมิภาค” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรีได้เสนอวิสัยทัศน์และแนวทางการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจไทยในยุค Next Normal 3 ประการ ได้แก่ 1.ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจที่มีความสมดุล และมุ่งเข้าสู่การเป็นสังคมปลอดคาร์บอน โดยรัฐบาลได้เร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นสีเขียว และต้องการยกระดับไทยไปสู่การผลิต EV สำหรับภูมิภาค พัฒนาองค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

“2.ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน โดยรัฐบาลได้เร่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจตามข้อเสนอ Ten for Thailand เพื่อพัฒนาไทยไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคสำหรับธุรกิจ การค้า และการลงทุน และ 3.ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ไทยมุ่งผลักดันและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เร่งพัฒนาวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น และส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี หวังว่าในโอกาสฉลองครบรอบ 190 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในปี 2566 ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนจะเพิ่มพูนและแน่นแฟ้น มีพลวัตในความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้านนาย Ted Osius ประธาน USABC กล่าวว่า การพบกันครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้พบกันพร้อมหน้า และเป็นคณะที่ใหญ่สุดที่เดินทางมาประเทศไทยรวม 43 บริษัทแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและความมุ่งมั่นที่จะขยายความร่วมมือกับไทย และการลงทุนในภูมิภาคนี้ ถือเป็นโอกาสเฉลิมฉลองวาระครบครบรอบ 190 ปีของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในปีหน้าด้วย และชื่นชมความสำเร็จที่นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ประธานการประชุมเอเปค 2022 ได้อย่างยอดเยี่ยม

ส่วนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กล่าวชื่นชมความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ที่มีมาอย่างยั่งยืนยาวนาน ร่วมกันส่งเสริมความสัมพันธ์ในหลายระดับและภาคเอกชนถือว่าสำคัญเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลสหรัฐฯ พร้อมรับไม้ต่อในการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปีหน้า และยืนยันจะส่งเสริมความร่วมมือกับไทยต่อไป

ด้านผู้แทนจากบริษัทภาคเอกชนสหรัฐฯ ทั้ง 43 บริษัทจาก 6 อุตสาหกรรมหลัก ได้กล่าวแนะนำตัวและหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยแสดงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมเน้นย้ำความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือและสนับสนุนแนวคิด BCG ของไทยผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือด้านการใช้พลังงาน ผลิตภัณฑ์ อย่างคุ้มค่าและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งตัวแทนบริษัทส่วนใหญ่เห็นว่า ไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์การกลางลงทุนในด้านต่างๆ ที่มีศักยภาพ เช่น ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ (Auto Hub) ศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมทั้งพร้อมที่จะส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่พร้อมต่อการทำงาน ซึ่งจะช่วยรองรับการขยายการลงทุนของแต่ละธุรกิจในอนาคตต่อไป

Advertisement

“ธนะศักดิ์” เป็นตัวแทนนายกฯร่วมงานศพ “สก อาน”

People unity news online : เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2560 พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการกิตติมศักดิ์สมาคมมิตรภาพไทย-กัมพูชา ได้เดินทางเยือนกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในฐานะผู้แทนนายกรัฐมนตรี และผู้แทนรัฐบาลไทย เพื่อร่วมงานฌาปนกิจศพ สมเด็จวิบุลปัญญา สก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักคณะรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ส่งสารแสดงความเสียใจถึงสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ต่อการถึงแก่อสัญกรรมของสมเด็จวิบุลปัญญา สก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักคณะรัฐมนตรีกัมพูชา แล้วเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560 โดยได้กล่าวยกย่องรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักคณะรัฐมนตรีกัมพูชา ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาให้แน่นแฟ้นตลอดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และประธานสมาคมมิตรภาพกัมพูชา-ไทย อย่างยิ่งมาโดยตลอด

People unity news online : post 22 มีนาคม 2560 เวลา 19.01 น.

นายกฯ เดินทางเยือนฝรั่งเศส-อิตาลี-ญี่ปุ่น

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 15 พฤษภาคม 2567 ทำเนียบ – นายกฯ เตรียมนำคณะนักธุรกิจไทยร่วมงาน Thailand-France Business Forum พบ ปธน.ฝรั่งเศส -เยือนอิตาลีอย่างเป็นทางการ และร่วมปาฐกถา Nikkei Forum Future of Asia ครั้งที่ 29

นางรัดเกล้า อินทวงศ์  สุวรรณคีรี  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (15 พ.ค.) เวลา 23.30 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปยังกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 12 ชม.  และจะเดินทางถึงกรุงปารีส วันพรุ่งนี้ (16 พ.ค.) เวลา 07.10 น. ตามเวลาท้องถิ่นกรุงปารีส ซึ่งช้ากว่ากรุงเทพฯ 5 ชั่วโมง

การเดินทางในครั้งนี้ เป็นการเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 15 – 16 พฤษภาคม 2567 ณ กรุงปารีส การเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ และกิจกรรมคู่ขนาน ระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม 2567 ณ เมืองมิลาน และกรุงโรม และการเข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum Future of Asia ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤษภาคม 2567 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ในส่วนของการเดินทางเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นการเยือนเพื่อนำคณะนักธุรกิจไทยร่วมงาน Thailand – France Business Forum ซึ่งเป็นผลสำเร็จจากการเดินทางเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567 เป็นการจัดงานส่งเสริมการค้าระหว่างกันและสนับสนุนให้ภาคเอกชนฝรั่งเศสเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น

ในครั้งนี้นายกรัฐมนตรีจะพบหารือกับนายเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เพื่อติดตามผลความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะในด้านการค้าการลงทุน อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และ soft power ตลอดจนร่วมกันผลักดันประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะการยกระดับความสัมพันธ์ไทย – ฝรั่งเศส สู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ตามที่ระบุไว้ในแผนการ (Roadmap) การดำเนินความสัมพันธ์ไทย – ฝรั่งเศส ค.ศ. 2022 – 2024

ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเดินทางเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ พบหารือกับนางจอร์จา เมโลนี (H.E. Mrs. Giorgia Meloni) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิตาลี เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอิตาลี ซึ่งในปี 2567 จะครบรอบ 156 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน    พร้อมขยายความร่วมมือในสาขาที่ไทยและอิตาลีมีศักยภาพร่วมกัน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน การท่องเที่ยวเชิงกีฬา วิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชกรรม และกลาโหม โดยนายกรัฐมนตรีจะผลักดันประเด็นสำคัญ เช่น การยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยในเขตเชงเกน และการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย – สหภาพยุโรป ให้สามารถสรุปภายในปี 2568 (ค.ศ. 2025)    รวมถึงประเด็นการรับแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากอิสราเอลไปทำงานในอิตาลีในอนาคต โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจะพบหารือกับนาย Attilio Fontana ผู้ว่าการแคว้นลอมบาร์เดีย ซึ่งเป็นแคว้นที่สำคัญที่สุดด้านเศรษฐกิจของอิตาลีด้วย

การเยือนในครั้งนี้จะเป็นโอกาสพบหารือภาคเอกชนรายใหญ่ระดับโลกของอิตาลี และ นาย Carlo Capasa ประธาน the National Chamber of Italian Fashion โดยจะเชิญชวนภาคเอกชนอิตาลีให้มาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแฟชั่นและ Soft Power การเกษตรและอาหาร ยานยนต์ พลังงาน การเงินและพันธบัตร Sustainability Linked Bonds รวมถึงโครงการแลนด์บริดจ์

จากนั้น นายกรัฐมนตรี จะเดินทางต่อเนื่องไปยังกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเข้าร่วมและกล่าวปาฐกถาในการประชุม Nikkei Forum Future of Asia ครั้งที่ 29 ซึ่งหัวข้อหลักในปีนี้ คือ Asian Leadership in an Uncertain World พร้อมจะเสนอให้เอเชียมีความร่วมมือสำคัญ ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงด้านการค้าการลงทุนเพื่อเปิดโอกาสธุรกิจ 2) เสริมสร้างความยั่งยืนโดยเน้นเศรษฐกิจและพลังงานสีเขียว 3) การร่วมมือเพื่อเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล และ 4) การปรับกระบวนทัศน์ของระบบพหุพาคีใหม่ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจของเอเชีย และก้าวข้ามสถานการณ์โลกที่ผันผวน ท้าทาย

Advertisement

Verified by ExactMetrics