วันที่ 28 เมษายน 2024

ไทยริเริ่มจัดการประชุมลดขยะในทะเลกลุ่มประเทศอาเซียน

People unity news online : เมื่อวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับอาเซียน เรื่องการลดปริมาณขยะทะเลในกลุ่มประเทศอาเซียน “ASEAN Conference on Reducing Marine Debris in ASEAN Region” เพื่อหาแนวทางและมาตรการร่วมกันในการลดปริมาณขยะลงทะเลในกลุ่มประเทศอาเซียน และเกิดการขับเคลื่อนร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน

พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ขยะทะเลกลายเป็นประเด็นสำคัญระดับโลกที่องค์การสหประชาชาติกำลังให้ความสำคัญ เพราะได้กำหนดให้การจัดการทรัพยากรทางทะเลเป็น 1 ใน 17 เป้าหมายของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ เนื่องจากทะเลทั่วโลกที่เปรียบเสมือนขุมทรัพย์ ที่ต่างคนต่างตักตวงใช้โดยไม่คำนึงผลที่เกิดขึ้นในระยะยาว กำลังเผชิญกับขยะที่ล่องลอยจากแผ่นดินออกสู่ทะเล และจากฝั่งออกสู่ท้องทะเล โดยเฉพาะขยะพลาสติกได้สร้างปัญหามากมาย ขยะพลาสติกขนาดใหญ่ เช่น แห อวน หรือซากสิ่งของ เป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ บาดเจ็บหรือเสียชีวิต สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศโดยทำให้แนวปะการังและพื้นท้องทะเลเสื่อมโทรม ทำลายทัศนียภาพของชายหาดส่งผลต่อการประมง และการท่องเที่ยวของหลายประเทศ

พลเอก สุรศักดิ์ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยริเริ่มจัดการประชุมเรื่องการลดปริมาณขยะทะเลในกลุ่มประเทศอาเซียน ก็เพื่อให้ประเทศอาเซียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และร่วมกันกำหนดแนวทางในการจัดการปัญหาขยะทะเล เพื่อเป็นกรอบในการจัดการแก้ไขปัญหาร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน  เพราะขณะนี้หลายๆประเทศได้ให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหาขยะทะเล อาทิ จีน เพิ่งจัดการประชุมการจัดการขยะทะเลในเขตเมืองชายฝั่งในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ไปเมื่อช่วงต้นเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่อินโดนีเชีย กำลังจัดการประชุมเกี่ยวกับเรื่องขยะทะเล สำหรับประเทศไทย จากการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาขยะทะเลพบว่า ร้อยละ 80 ของขยะทะเลมาจากบนบก ส่วนขยะจากกิจกรรมทางทะเล มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ดังนั้น การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

ไทยริเริ่มจัดการประชุมลดขยะในทะเลกลุ่มประเทศอาเซียน

People unity news online : post 27 พฤศจิกายน 2560 เวลา 11.20 น.

ศอ.บต.เตรียมจัดเวทีระดมสมองทุกภาคส่วน ต่อยอดไทย-ซาอุฯ ฟื้นความสัมพันธ์

People Unity News : ศอ.บต.เตรียมจัดเวทีระดมสมองจากทุกภาคส่วน “โอกาสและศักยภาพของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายหลังไทย-ซาอุฯ ฟื้นความสัมพันธ์” ก.พ.นี้ ข้อมูลเสนอต่อรัฐบาลเพื่อจัดทำนโยบายและแนวทางการพัฒนาร่วมกับซาอุดีอาระเบีย

31 ม.ค. 65 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ที่ผ่านมา นำไปสู่การเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบียอย่างสมบูรณ์ และการส่งเสริมความร่วมมือในมิติต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ร่วมกัน ในการนี้ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) รายงานต่อนายกรัฐมนตรีว่า ได้กำหนดแนวทางต่อยอดโอกาสจากการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ดังกล่าว เพื่อเร่งขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างเป็นรูปธรรม และผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยจะมีการจัดประชุมสัมมนา หัวข้อ “โอกาสและศักยภาพของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายหลังไทย-ซาอุฯ ฟื้นความสัมพันธ์” ประมาณกลางเดือน ก.พ.นี้ เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น-ท้องที่ ข้าราชการ แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานที่ซาอุฯ และประชาชนทุกสาขาอาชีพ กว่า 500 คนที่มีประสบการณ์ทั้งการเรียน การทำงานและการใช้ชีวิตในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ซึ่ง ศอ.บต. จะรวบรวมข้อมูลที่ได้เสนอต่อรัฐบาล เพื่อใช้ประกอบการจัดทำนโยบายและแนวทางการพัฒนาร่วมกับซาอุดีอาระเบียต่อไป อีกทั้ง จะได้นำเสนอต่อการประชุมเอกอัครราชทูตและทูตานุทูตโลกอิสลามประจำประเทศไทยและเครือข่ายองค์กรนานาชาติด้านโลกอิสลาม ที่จะมีขึ้นในช่วงเดือน มี.ค.ด้วย

นางสาวรัชดา กล่าวต่อว่า การจัดประชุมเอกอัครราชทูตโลกอิสลามและเครือข่ายองค์กรนานาชาติด้านโลกอิสลามดังกล่าว เป็นการดำเนินการตามแผนการทำงานของ ศอ.บต ปี 2565 ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยฟาตอนี และสมาคม ชมรมและกลุ่มนักเรียน นักศึกษาเก่าจากโลกมุสลิม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยจะมีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทุกมิติ ครอบคุลมด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การมีส่วนร่วมของประชาชนและอื่นๆ รวมทั้ง การเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ทั้งที่สำเร็จการศึกษาจากโลกมุสลิมแล้ว ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและสานสัมพันธ์กับผู้นำประเทศที่ตนเองสำเร็จการศึกษา การนำชมพื้นที่การทำงานที่ประสบความสำเร็จจากการสร้างทรัพยากรบุคคลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

“จากการเปิดศักราชใหม่ความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ ครั้งนี้ นำไปสู่ความร่วมมือและประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและพลังงานหมุนเวียน การศึกษาและวิจัย ความมั่นคง การท่องเที่ยวและกีฬา และยังส่งผลบวกต่อความรู้สึกของชุมชนมุสลิมในประเทศที่มองซาอุดีอาระเบียเป็นศูนย์กลางศาสนาอิสลาม ขณะเดียวกันจะทำให้การประสานงานและการขับเคลื่อนงานพัฒนาระหว่างจังหวัดชายแดนใต้กับซาอุดีอาระเบียที่มีมาอย่างต่อเนื่อง สามารถขยายขอบเขตและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ เพราะจะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับความร่วมมือในทุกๆด้าน” นางสาวรัชดา กล่าว

Advertising

จากถูกติดธงแดง วันนี้ ICAO หนุนไทยเป็นศูนย์อบรมผู้ตรวจสอบด้านการบินของภูมิภาค

People Unity : ICAO พร้อมสนับสนุนไทยเป็นศูนย์การอบรมผู้ตรวจสอบด้านการบินของภูมิภาค

วันนี้ (26 กรกฎาคม 2562) เวลา 13.30 น. ณ ห้องโดมทอง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ดร.อลูมูยีหวา เบนาร์ด อลิว (Dr.Olumuyiwa Benard Aliu) ประธานคณะมนตรีองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) และคณะเข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางเยือนไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุม ICAO Global Aviation Cooperation Symposium (GACS) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 22 – 24 กรกฎาคม 2562 ณ จังหวัดภูเก็ต

นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับประธานคณะมนตรี ICAO และคณะ พร้อมทั้งขอบคุณ ICAO ที่ให้คำแนะนำและประสานงานทำให้การบินพลเรือนของไทยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยสู่ระดับสากล การนี้นายกรัฐมนตรียินดีที่การประชุม GACS ครั้งที่ 3 ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการบินระหว่างกัน และพัฒนาความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆในอนาคต

ประธานคณะมนตรี ICAO ขอบคุณไทยที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดการประชุม GACS ครั้งที่ 3 เป็นอย่างดี พร้อมทั้งชื่นชมการดำเนินการของรัฐบาลไทยในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการบินพลเรือนอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ซึ่ง ICAO ยินดีสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ไทยตั้งไว้ ทั้งนี้ ICAO ขอให้ไทยรักษาระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินให้ดียิ่งขึ้นไป พร้อมทั้งหวังว่าไทยจะสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน ICAO ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่จัดตั้ง ณ กรุงเทพฯ ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของภูมิภาค

ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทย – ICAO มีความใกล้ชิดมากขึ้น โดยไทยถือเป็นประเทศสมาชิกแรกเริ่มของ ICAO ซึ่งไทยยืนยันว่าจะพัฒนาระบบการกำกับดูแลการบินพลเรือนให้เป็นมาตรฐานสากล อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการพัฒนาผู้ตรวจสอบด้านการบิน (Inspector) ที่ยังขาดแคลน จึงจะร่วมมือกับ ICAO ในการฝึกฝนบุคลากร เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การอบรมผู้ตรวจสอบด้านการบินของภูมิภาค ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทุกประเทศต่อไปในอนาคต

ความสัมพันธ์ต่างประเทศ : จากถูกติดธงแดง วันนี้ ICAO หนุนไทยเป็นศูนย์อบรมผู้ตรวจสอบด้านการบินของภูมิภาค

People Unity : post 26 กรกฎาคม 2562 เวลา 21.20 น.

“ปานปรีย์” เข้าพบ ปธน.อิสราเอล ขอบคุณดูแลคนไทยเป็นอย่างดี

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 29 พฤศจิกายน 2566 อิสราเอล – “ปานปรีย์” เข้าพบ “ปธน.อิสราเอล” ขอบคุณดูแลคนไทยเป็นอย่างดี “ปธน.อิสราเอล” ชื่นชมความพยายามของรัฐบาลไทยในการให้ความช่วยเหลือตัวประกันจนได้รับการปล่อยตัว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ทำเนียบประธานาธิบดีอิสราเอล  นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยนางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะนาย Isaac Herzog ประธานาธิบดีอิสราเอล

โดยประธานาธิบดีอิสราเอลแสดงความเสียใจต่อการที่มีแรงงานไทยเสียชีวิต บาดเจ็บ และถูกจับเป็นตัวประกัน โดยกล่าวชื่นชมความพยายามของรัฐบาลไทยในการให้ความช่วยเหลือตัวประกันจนได้รับการปล่อยตัว

ขณะที่นายปานปรีย์ ขอบคุณฝ่ายอิสราเอลที่ให้การดูแลคนไทยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการดูแลช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ตัวประกันชาวไทยที่ได้รับการปล่อยตัว และแจ้งว่าแม้ภารกิจในครั้งนี้เดินทางมาเพื่อดูแลคนไทยเป็นการเฉพาะ แต่ก็ขอให้ฝ่ายอิสราเอลพิจารณาดำเนินการเรื่องสวัสดิภาพ สิทธิและสวัสดิการอันพึงได้สำหรับแรงงานไทยด้วย เพื่อให้แรงงานไทยสามารถกลับมาทำงานในอิสราเอลในอนาคต เมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย

ประธานาธิบดีอิสราเอล แสดงความชื่นชมประเทศไทยและคนไทย และย้ำถึงความสำคัญของแรงงานไทยต่อภาคการเกษตรอิสราเอล โดยรับปากดูแลสิทธิและสวัสดิการของแรงงานไทยต่อไป

Advertisement

ประธานาธิบดีเยอรมนี เยือนไทย เป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี 24 – 26 มกราคม

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 23 มกราคม 2567 โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ พร้อมให้การต้อนรับ หารือทวิภาคีประธานาธิบดีเยอรมนี เดินหน้ากระชับความสัมพันธ์สองประเทศ พร้อมผลักดันความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันในทุกมิติ

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เตรียมให้การต้อนรับและหารือทวิภาคีกับ ดร. ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ (H.E. Dr. Frank-Walter Steinmeier) ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในห้วงการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit) ระหว่างวันที่ 24 – 26 มกราคม 2567 ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีจะให้การต้อนรับประธานาธิบดีเยอรมนี ภริยาและคณะอย่างเป็นทางการ วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2567 ณ ทำเนียบรัฐบาล

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมีกำหนดพบหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีเยอรมนี พร้อมด้วยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวทางส่งเสริมความร่วมมือในสาขาที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน พร้อมทั้งร่วมหารือร่วมกับภาคเอกชนของเยอรมนี หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเยอรมนี จะร่วมแถลงข่าว และภายหลังเสร็จสิ้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีเยอรมนี และภริยา พร้อมด้วยคณะผู้แทนเยอรมนี

นายชัย กล่าวว่า การเยือนครั้งนี้จะเป็นโอกาสการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยกับเยอรมนีให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยประธานาธิบดีเยอรมนี พร้อมคณะ จะเดินทางไปศึกษาดูงานในหลายภาคส่วนที่มีศักยภาพของไทย อาทิ โรงงานผลิตรถยนต์และยานยนต์ไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำไฮบริด โครงการผลิตข้าวที่ยั่งยืนแบบครบวงจร อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งในด้านการค้า การลงทุน พลังงาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอาชีวศึกษา

“นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า การเยือนในครั้งนี้ จะเป็นโอกาสที่สำคัญของไทยและเยอรมนี ในการเสริมสร้างความเป็นพันธมิตร ขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างกันในทุกมิติให้มีความก้าวหน้า บนพื้นฐานของค่านิยมและผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การยกระดับความสัมพันธ์สู่ความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) ตลอดจนส่งเสริมภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของไทยในเวทีระหว่างประเทศ” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

สำหรับการเยือนในครั้งนี้ ถือเป็นการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของประธานาธิบดีฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง และเป็นการเยือนประเทศไทยในระดับประธานาธิบดีของเยอรมนีเป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี นับตั้งแต่การเยือนของประธานาธิบดีโยฮันเนส เรา เมื่อปี 2545 นอกจากนี้การเยือนในครั้งนี้ ยังถือเป็นการต้อนรับผู้นำรัฐจากต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรกของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน

ภาพประวัติศาสตร์ เที่ยวบินปฐมฤกษ์ Saudia Airlines จากซาอุดีอาระเบีย – กรุงเทพ ในรอบ 32 ปี

People Unity News : ภาพประวัติศาสตร์ เที่ยวบินปฐมฤกษ์ สายการบิน Saudia Airlines จากกรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย – กรุงเทพฯ ในรอบ 32 ปี

1 มี.ค. 2565 เมื่อวาน 28 ก.พ. เที่ยวบินปฐมฤกษ์ SV846 ของสายการบิน Saudia Airlines ได้บินตรงจากเมืองเจดดาห์ – กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเวลา 18.05 น. โดยเป็นคณะนักท่องเที่ยวชาวซาอุฯ จำนวน 71 คน นับเป็นการเปิดเส้นทางบินครั้งแรกในรอบ 32 ปี และเป็นสัญญาณที่ดีในการเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวชาวซาอุฯ เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น

รวมถึงเป็นโอกาสต่อยอดในการขยายตลาดนักท่องเที่ยวขนาดใหญ่ เช่น ยุโรปและตะวันออกกลาง โดยไทยจะขยายกลุ่มเป้าหมายเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวคนรุ่นใหม่ กลุ่มนักท่องเที่ยวเดินทางครั้งแรก กลุ่มรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ กลุ่มครอบครัว ฯลฯ ซึ่งจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวของไทยที่ได้รับความนิยม ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต พัทยา พังงา กระบี่ เกาะสมุย และเชียงใหม่

Advertising

ประยุทธ์ แถลงข่าวร่วมนายกฯมาเลเซีย การหารือประเด็นสำคัญร่วมกัน 4 ด้าน

People Unity News : ประยุทธ์ แถลงข่าวร่วมนายกฯมาเลเซีย พร้อมขับเคลื่อนความร่วมมือรอบด้าน ยึดประโยชน์ประชาชนของทั้งสองประเทศ

25 ก.พ. 65 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถ้อยแถลงในการแถลงข่าวร่วมกับ ดาโตะ ซรี อิซมาอิล ซาบรี ยาคบ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล โดยนายกฯ มาเลเซีย ถือเป็นผู้นำรัฐบาลต่างประเทศคนแรกที่เยือนประเทศไทย หลังสถานการณ์โรคโควิด-19 สะท้อนความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศ

นายกฯ ไทย ชื่นชมความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของนายกฯ มาเลเซีย ในการขับเคลื่อนประเทศท่ามกลางความท้าทายต่างๆ พร้อมยืนยันความตั้งใจเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งแก่ประชาชนทั้งสองประเทศ บนพื้นฐานความไว้เนื้อเชื่อใจ เสมือน “ครอบครัวเดียวกัน”

ทั้งสองฝ่ายได้หารือประเด็นสำคัญร่วมกันใน 4 ประเด็น ดังนี้

1.การฟื้นฟูความเชื่อมโยงในทุกมิติ การเดินทางระหว่างประชาชนของสองประเทศ โดยเฉพาะการเดินทางของผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้วโดยไม่ต้องกักกันโรค ทั้ง Vaccinated Travel Lane (VTL) ของมาเลเซีย และระบบ Test and Go ของไทย รวมถึงการเดินทางผ่านพรมแดนทางบกเพิ่มเติม

2.การกระตุ้นเศรษฐกิจและแสวงหาความร่วมมือสาขาใหม่ๆ ซึ่งที่ผ่านมามีปริมาณการค้าชายแดนและผ่านแดนเพิ่มสูงขึ้น และคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีก โดยตั้งเป้ามูลค่าการค้าระหว่างกันที่ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2568 รวมถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG

3.การพัฒนาพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้และความมั่นคงชายแดน โดยนายกฯ เชิญชวนให้มาเลเซียร่วมลงทุนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงอุตสาหกรรมยางพาราและฮาลาล พร้อมชี้แจงสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งฝ่ายมาเลเซียสนับสนุนท่าทีของไทยในการแสวงหาทางออกด้วยสันติวิธี

4.การรื้อฟื้นกลไกหารือทวิภาคี ที่ครั้งนี้จะเป็นการปูทางสู่การแลกเปลี่ยนการเยือนและการประชุมหารือฯระหว่างกันต่อไป โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย – มาเลเซีย ครั้งที่ 14 ในเดือน มี.ค. นี้

Advertising

ไทยรับมอบวัคซีน Moderna จากสหรัฐฯ 1 ล้านโดส ให้คนไทยฉีดวัคซีนได้อย่างครอบคลุม

People Unity News : ไทยรับมอบวัคซีน Moderna จากสหรัฐฯ 1 ล้านโดส ให้คนไทยฉีดวัคซีนได้อย่างครอบคลุม

23 พฤศจิกายน 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีรับมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัท Moderna จากรัฐบาลสหรัฐฯ โดยมี นายไมเคิล ฮีต อุปทูตรักษาราชการชั่วคราว สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เป็นผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ เข้าร่วมพิธี

นายกรัฐมนตรีขอบคุณรัฐบาลสหรัฐฯ ประธานาธิบดีไบเดน และอุปทูตฯ ผ่านการสนับสนุนวัคซีนโควิด-19 เป็นครั้งที่ 2 ของบริษัท Moderna จำนวน 1,000,000 โดส สะท้อนถึงความเป็นมิตรแท้ ช่วยสนับสนุนให้ไทยรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนสถานการณ์ดีขึ้น และสามารถเปิดประเทศได้อีกครั้ง โดยไทยจะนำวัคซีนที่ได้รับครั้งนี้ไปกระจายฉีดอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันและเพื่อความปลอดภัยของคนไทย

ด้านนายไมเคิล ฮีต กล่าวยินดีที่มีส่วนสำคัญและภูมิใจที่ได้ร่วมสนับสนุนการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้ไทยกลับมาเปิดประเทศ และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากการสนับสนุนวัคซีนแล้ว สหรัฐฯจะพิจารณาให้การสนับสนุนด้านการรักษาต่อไปด้วย

Advertising

เผยรายละเอียดผลการหารือนายกรัฐมนตรีไทยกับประธานาธิบดีฟิลิปปินส์

People unity news online : วันนี้ (21 มีนาคม 2560) เวลา 16.30 น. นายโรดรีโก โรอา ดูแตร์เต (H.E. Mr. Rodrigo Roa Duterte) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เดินทางถึงทำเนียบรัฐบาล โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รอให้การต้อนรับ จากนั้นทั้งสองฝ่ายร่วมกันหารือข้าราชการ ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญการหารือดังนี้

ผู้นำทั้งสองได้ร่วมหารือข้อราชการ พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่าย อาทิ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฝ่ายสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อาทิ นายเอนริเก เอ. มานาโล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายคาร์ลอส จี. โดมิงเกส ที่สาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายเอ็มมานูเอล ปินยอล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และนายเดลฟิน เอ็ม. ลอเรนซานา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นต้น

นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่ได้ต้อนรับท่านประธานาธิบดีดูแตร์เต และคณะในการเดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ โดยเป็นการเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมิถุนายน 2559 และเป็นการเยือนไทยโดยผู้นำของฟิลิปปินส์ในรอบ 6 ปี จึงมีความหมายอย่างยิ่งต่อการกระชับและการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฟิลิปปินส์

ความสัมพันธ์ทวิภาคีทั้งสองฝ่ายยืนยันความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน โดยไทยและฟิลิปปินส์เป็นมิตรเก่าแก่ซึ่งมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดและยาวนานมากว่า 68 ปี รวมทั้งการเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องที่จะกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างรอบด้านและเป็นรูปธรรม ในโอกาสที่ทั้งสองประเทศจะย่างก้าวสู่ทศวรรษที่เจ็ดของความสัมพันธ์ การเยือนครั้งนี้มีความสำคัญยิ่งในการกระชับความสัมพันธ์และหารือแนวทางความร่วมมือในเชิงลึกเพื่อยกระดับความเป็นหุ้นส่วนความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นรวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียน

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรียินดีที่ฟิลิปปินส์มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายเห็นว่าไทยและฟิลิปปินส์มีศักยภาพที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกันในอนาคต ผ่านคณะกรรมการร่วมด้านการค้า (Joint Trade Committee – JTC) ในเรื่องของการบริการ ดิจิทัล การเกษตร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของทั้งสองประเทศ

ทั้งสองฝ่ายยินดีสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดพลวัตทางความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์แสดงความพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนแก่ภาคเอกชนไทยที่สนใจไปลงทุนในฟิลิปปินส์ด้วย

โอกาสนี้ทั้งสองฝ่ายยินดีกับการต่ออายุบันทึกความตกลงว่าด้วยการซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฟิลิปปินส์ออกไปอีก 2 ปี (2560–2561) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารระหว่างทั้งสองประเทศ

ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว นายกรัฐมนตรียินดีที่ชาวฟิลิปปินส์นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น โดยพร้อมสนับสนุนให้ชาวไทยไปท่องเที่ยวในฟิลิปปินส์มากขึ้นเช่นกัน เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชนของทั้งสองประเทศและการเป็นประชาคมอาเซียน

ความร่วมมือด้านการเกษตร ไทยและฟิลิปปินส์สามารถเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน รวมทั้งหารือแนวทางเพื่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของทั้งสองประเทศได้ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไทยมีนโยบายการพัฒนาและสร้างเกษตรกรสู่ smart farmer เพื่อพัฒนาและยกระดับการผลิตสินค้าเกษตร เพิ่มมูลค่าและราคาสินค้าเกษตร และอาหาร รวมทั้งให้สามารถเกิดการจัดพื้นที่การผลิตด้านการเกษตรกรรมและป่าไม้ที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

ความร่วมมือด้านพลังงาน ทั้งสองฝ่ายยินดีกับความคืบหน้าด้านความร่วมมือทางพลังงานระหว่างกัน โดยไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวว่ายินดีเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 2 ที่กรุงมะนิลาในปีนี้

ความร่วมมือด้านการศึกษา นายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณครูชาวฟิลิปปินส์ที่ได้มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในสถาบันการศึกษาไทย ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่เยาวชนไทย และยินดีที่ทั้งสองประเทศมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากรครู การศึกษาดูงานและฝึกอบรมในระดับอุดมศึกษาระหว่างกัน

ความร่วมมือทางวิชาการ ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ความร่วมมือทางวิชาการมีความคืบหน้า ทั้งในระดับทวิภาคีและไตรภาคีจากผลการประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยและฟิลิปปินส์สองครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยพร้อมสนับสนุนการสานต่อความร่วมมือในระดับทวิภาคีในด้านการเกษตร และในระดับไตรภาคี ในหลักสูตรด้านการพัฒนาสตรีและสตรีกับการเป็นผู้ประกอบการ

ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายกรัฐมนตรียินดีที่ไทยและฟิลิปปินส์มีการกระชับความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจากด้านนี้ถือเป็นหนึ่งในสาขาสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมนวัตกรรมของฟิลิปปินส์

ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือข้อราชการ นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ 3 ฉบับ ได้แก่ 1. ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.การดำเนินงานตามโครงการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ปี 2017 – 2022 ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย 3. ข้อปฏิบัติว่าด้วยความร่วมมือในสาขาเฉพาะระหว่างศูนย์กระบือนม ประเทศฟิลิปปินส์ และกรมปศุสัตว์ เกี่ยวกับการเลี้ยงกระบือปลักและกระบือนม

จากนั้นทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันแถลงข่าว ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยในช่วงค่ำวันเดียวกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแด่นายโรดรีโก โรอา ดูแตร์เต ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในโอกาสเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ด้วย

People unity news online : post 21 มีนาคม 2560 เวลา 23.23 น.

พรุ่งนี้ “บิ๊กตู่” ไปประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 2 ที่กัมพูชา

People unity news online : นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 2

วันนี้ (9 มกราคม 2561) พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยภารกิจด้านต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเข้าร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 2 (2nd Mekong-Lancang Leaders’ Meeting) ในวันที่ 10 มกราคม 2561 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 2 (2nd Mekong-Lancang Leaders’ Meeting) จะจัดขึ้นในวันที่ 10 มกราคม 2561 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชาจะเป็นประธานร่วมกับจีน ภายใต้หัวข้อ แม่น้ำแห่งสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของเรา (Our River of Peace and Sustainable Development) ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะทบทวนการดำเนินงานของประเทศสมาชิกจากการประชุมผู้นำฯ ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนมีนาคม 2559 พร้อมทั้งจะกำหนดทิศทางและกิจกรรมของกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ในอนาคต โดยสมาชิกทั้งหมด 6 ประเทศ ประกอบด้วย จีน กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม จะหารือร่วมกันเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงบนพื้นฐานของความเท่าเทียม ภายใต้หลักการการมีส่วนร่วม ความสมัครใจ และหลักฉันทามติ

ในการประชุมครั้งนี้ ไทยมุ่งมั่นที่จะ (1) พัฒนากรอบความร่วมมือดังกล่าวให้ทันสมัยมากขึ้น (2) ส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกรอบแม่โขง – ล้านช้างกับแนวคิดหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (Belt Road Initiative – BRI) เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของอนุภูมิภาค (3) ไทยยังสนับสนุนให้กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้อนุภูมิภาคเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแบบยั่งยืนผ่านการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและโครงการสำคัญของประเทศไทย อาทิ นโยบายประเทศไทย 4.0 ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และนโยบายประเทศไทย+1 (4) การยกระดับความร่วมมือด้านน้ำระหว่างประเทศสมาชิก ให้ได้รับประโยชน์ร่วมกัน บนพื้นฐานของความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้ภาคการเกษตรของแต่ละประเทศมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป

เอกสารผลลัพธ์การประชุม 2 ฉบับ ได้แก่ (1) แผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี แม่โขง – ล้านช้าง พ.ศ. 2561 – 2565  (5 – Year Plan of Action 2018 – 2022) เป็นเอกสารที่จะกำหนดแนวทางการดำเนินงานของกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ในระยะ 5 ปีข้างหน้า และ (2) ปฏิญญาพนมเปญ (Phnom Penh Declaration) เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำจะมุ่งสนับสนุนกรอบความร่วมมือดังกล่าวให้บรรลุเป้าประสงค์ของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประชาชนในประเทศลุ่มน้ำโขงขอเพิ่มค่า โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดจะพบหารือทวิภาคีกับสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และนายหลี่ เค่อ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีนด้วย

People unity news online : post 9 มกราคม 2561 เวลา 13.50 น.

Verified by ExactMetrics