วันที่ 11 พฤษภาคม 2024

“หวัง อี้” รมว.ต่างประเทศจีนเข้าพบ “ประยุทธ์” หารือความร่วมมือทุกด้าน

People Unity : ไทย–จีนกระชับความร่วมมืออย่างรอบด้าน พร้อมผลักดันความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกัน

วันนี้ (1 สิงหาคม 2562) เวลา 14.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 52 สรุปสาระสำคัญการหารือ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับนายหวัง อี้ ในโอกาสเดินทางเยือนไทย พร้อมแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 70 ปี แห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปีนี้ ซึ่งจีนมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่ประสบความสำเร็จด้านการขจัดความยากจน และการพัฒนาประเทศ ซึ่งไทยหวังที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญจากจีน โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทย แสดงความเสียใจต่อการถึงแก่อสัญกรรมของอดีตนายกรัฐมนตรี หลี่ เผิง ที่มีบทบาทสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอย่างมาก

นายหวัง อี้ ประทับใจที่ไทยให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทวิภาคี และความร่วมมือระหว่างไทย-จีน เสมอมา ยืนยันว่าจีนพร้อมสานต่อความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีอย่างนี้ไปโดยตลอด เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไป โดยเชื่อมั่นว่า ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีไทยจะพัฒนาประเทศให้มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคและในโลก นอกจากนี้ จีนยังยินดีที่จะพัฒนาความร่วมมือในด้านใหม่ๆ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยี 5G เป็นต้น พร้อมหวังว่าทั้งสองประเทศจะสามารถสร้างเส้นทางสายไหมดิจิทัลระหว่างกันได้โดยเร็ว

นายกรัฐมนตรี และนายหวัง อี้ เห็นพ้องที่จะพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจให้มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ผ่านการผลักดันโครงการและแนวคิดสำคัญต่างๆ อาทิ โครงการรถไฟไทย-จีน การเชื่อมโยงเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Greater Bay Area: GBA) กับโครงการ EEC ของไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต นายหวัง อี้ เน้นย้ำว่า จีนพร้อมมีส่วนร่วมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนจีนเข้ามาลงทุนใน EEC โดยเห็นว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย-จีน และภูมิภาค พร้อมกระชับความร่วมมืออย่างรอบด้าน

ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในแม่น้ำโขง ถือเป็นแม่น้ำสายสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตของประชาชนในบริเวณนั้นอย่างมาก โดยไทยหวังที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำจากจีน

ประเด็นความขัดแย้งทางการค้าจีน – สหรัฐฯ ไทยยินดีที่ผู้นำทั้งสองประเทศได้หารือเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ และหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะยังคงรักษาช่องทางการหารือและร่วมมือกันเดินหน้าเพื่อให้สถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลายเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย

นอกจากนี้ จีนยังยินดีที่จะนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยมากขึ้น และหวังว่ามูลค่าการค้าระหว่างกันจะเพิ่มขึ้นในอนาคต นายกรัฐมนตรียินดีกับความสำเร็จในการจัดงานแสดงสินค้านำเข้านานาชาติ (China International Import Expo: CIIE) เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งสะท้อนความตั้งใจจริงของจีนที่จะส่งเสริมการเปิดกว้างและการค้าเสรี พร้อมกล่าวขอบคุณสำหรับคำเชิญของรัฐบาลจีนให้ไทยเข้าร่วมการจัดงานครั้งที่ 2 ในปลายปีนี้ ในฐานะประเทศเกียรติยศ

ทั้งนี้ จีนสนับสนุนการมีบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในเวทีต่างๆ รวมถึงบทบาทการเป็นประธานอาเซียน ในปี 2562 หวังว่า จีนจะสานต่อความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีกับไทยและในภูมิภาคนี้ต่อไป

ความสัมพันธ์ต่างประเทศ : “หวัง อี้” รมว.ต่างประเทศจีนเข้าพบ “ประยุทธ์” หารือความร่วมมือทุกด้าน

People Unity : post 1 สิงหาคม 2562 เวลา 22.30 น.

ลาวตอบรับแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจร่วมสองประเทศ 5 ปีที่ไทยเสนอ

People unity news online : นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรม คมนาคม พลังงาน ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการค้าชายแดน การเงิน การลงทุน และท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีภาคเอกชน 3 สถาบัน คณะนักธุรกิจรายใหญ่กว่า 30 ราย  และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร่วมเดินทางเยือน สปป.ลาว อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 23 – 25 พฤษภาคม 2560

โอกาสนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของไทย ได้หารือเต็มคณะเพื่อกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ นายสมดี ดวงดี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน สปป.ลาว พร้อมกับทีมเศรษฐกิจ สปป.ลาว โดยประกาศสนับสนุนการก้าวไปสู่การเป็น Battery of Asia ของ สปป.ลาว และเป็น Land Bridge เชื่อมโยงภายในอาเซียน และอาเซียนสู่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ขณะที่ฝ่ายไทยพร้อมใช้ศักยภาพสนับสนุนความร่วมมือด้านพลังงาน คมนาคม โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว เกษตร อุตสาหกรรม และการพัฒนา SMEs ซึ่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับถึงนโยบายสำคัญในการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือกลุ่มสมาชิก CLMVT เพื่อยกระดับการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวในภูมิภาคอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ซึ่งในเวทีการประชุมทีมเศรษฐกิจระหว่าง สปป.ลาวและไทยในครั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีไทยได้เสนอแนวทางจัดทำมาสเตอร์แพลนหรือแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสองประเทศระยะ 5 ปี เพื่อให้เกิดการพัฒนา สร้างโอกาส นำไปสู่การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทุกด้าน ทั้งการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ทั้งนี้มั่นใจว่าแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระยะ 5 ปี จะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือครั้งสำคัญ เอื้อประโยชน์ให้ CLMVT และเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างไทยและ สปป.ลาว ขึ้นอีกเท่าตัวหรือประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในระยะ 5 ปีด้วย

นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้นำคณะเข้าเยี่ยมคารวะ นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว โดยได้กล่าวถึงแนวคิดยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย -สปป.ลาว ระยะ 5 ปี ที่ได้เสนอต่อที่ประชุมทีมเศรษฐกิจสองฝ่าย  ซึ่งนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว  กล่าวเห็นด้วยและพร้อมสนับสนุนความร่วมมือกับไทยจัดทำยุทธศาสตร์การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวดังกล่าว

สำหรับแผนการขับเคลื่อนได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศประสานกับกระทรวงวางแผนการและการลงทุนของ สปป.ลาว เมื่อได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว จะเสนอ Master Plan ต่อการประชุม ครม.ไทย-สปป.ลาว เพื่อพิจารณาในโอกาสต่อไป

ทั้งนี้ ไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ สปป.ลาว ที่มีความใกล้ชิดกันแบบมิตรสหายที่แน่นแฟ้น ตลอดจนภูมิประเทศ ที่มีความยาวของเส้นเขตแดนประมาณ 1,810 กิโลเมตร มีพื้นที่ติดต่อกับไทย 12 จังหวัด มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตและภาษาพูดที่คล้ายคลึงกัน สามารถเข้าใจกันได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องใช้ล่ามแปล ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับไทยและ สปป.ลาว ในการต่อยอดความร่วมมือกันในทุกมิติ

People unity news online : post 27 พฤษภาคม 2560 เวลา 23.23 น.

 

เผยรายละเอียดผลการหารือนายกรัฐมนตรีไทยกับประธานาธิบดีฟิลิปปินส์

People unity news online : วันนี้ (21 มีนาคม 2560) เวลา 16.30 น. นายโรดรีโก โรอา ดูแตร์เต (H.E. Mr. Rodrigo Roa Duterte) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เดินทางถึงทำเนียบรัฐบาล โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รอให้การต้อนรับ จากนั้นทั้งสองฝ่ายร่วมกันหารือข้าราชการ ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญการหารือดังนี้

ผู้นำทั้งสองได้ร่วมหารือข้อราชการ พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่าย อาทิ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฝ่ายสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อาทิ นายเอนริเก เอ. มานาโล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายคาร์ลอส จี. โดมิงเกส ที่สาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายเอ็มมานูเอล ปินยอล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และนายเดลฟิน เอ็ม. ลอเรนซานา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นต้น

นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่ได้ต้อนรับท่านประธานาธิบดีดูแตร์เต และคณะในการเดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ โดยเป็นการเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมิถุนายน 2559 และเป็นการเยือนไทยโดยผู้นำของฟิลิปปินส์ในรอบ 6 ปี จึงมีความหมายอย่างยิ่งต่อการกระชับและการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฟิลิปปินส์

ความสัมพันธ์ทวิภาคีทั้งสองฝ่ายยืนยันความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน โดยไทยและฟิลิปปินส์เป็นมิตรเก่าแก่ซึ่งมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดและยาวนานมากว่า 68 ปี รวมทั้งการเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องที่จะกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างรอบด้านและเป็นรูปธรรม ในโอกาสที่ทั้งสองประเทศจะย่างก้าวสู่ทศวรรษที่เจ็ดของความสัมพันธ์ การเยือนครั้งนี้มีความสำคัญยิ่งในการกระชับความสัมพันธ์และหารือแนวทางความร่วมมือในเชิงลึกเพื่อยกระดับความเป็นหุ้นส่วนความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นรวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียน

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรียินดีที่ฟิลิปปินส์มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายเห็นว่าไทยและฟิลิปปินส์มีศักยภาพที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกันในอนาคต ผ่านคณะกรรมการร่วมด้านการค้า (Joint Trade Committee – JTC) ในเรื่องของการบริการ ดิจิทัล การเกษตร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของทั้งสองประเทศ

ทั้งสองฝ่ายยินดีสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดพลวัตทางความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์แสดงความพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนแก่ภาคเอกชนไทยที่สนใจไปลงทุนในฟิลิปปินส์ด้วย

โอกาสนี้ทั้งสองฝ่ายยินดีกับการต่ออายุบันทึกความตกลงว่าด้วยการซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฟิลิปปินส์ออกไปอีก 2 ปี (2560–2561) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารระหว่างทั้งสองประเทศ

ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว นายกรัฐมนตรียินดีที่ชาวฟิลิปปินส์นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น โดยพร้อมสนับสนุนให้ชาวไทยไปท่องเที่ยวในฟิลิปปินส์มากขึ้นเช่นกัน เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชนของทั้งสองประเทศและการเป็นประชาคมอาเซียน

ความร่วมมือด้านการเกษตร ไทยและฟิลิปปินส์สามารถเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน รวมทั้งหารือแนวทางเพื่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของทั้งสองประเทศได้ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไทยมีนโยบายการพัฒนาและสร้างเกษตรกรสู่ smart farmer เพื่อพัฒนาและยกระดับการผลิตสินค้าเกษตร เพิ่มมูลค่าและราคาสินค้าเกษตร และอาหาร รวมทั้งให้สามารถเกิดการจัดพื้นที่การผลิตด้านการเกษตรกรรมและป่าไม้ที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

ความร่วมมือด้านพลังงาน ทั้งสองฝ่ายยินดีกับความคืบหน้าด้านความร่วมมือทางพลังงานระหว่างกัน โดยไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวว่ายินดีเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 2 ที่กรุงมะนิลาในปีนี้

ความร่วมมือด้านการศึกษา นายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณครูชาวฟิลิปปินส์ที่ได้มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในสถาบันการศึกษาไทย ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่เยาวชนไทย และยินดีที่ทั้งสองประเทศมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากรครู การศึกษาดูงานและฝึกอบรมในระดับอุดมศึกษาระหว่างกัน

ความร่วมมือทางวิชาการ ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ความร่วมมือทางวิชาการมีความคืบหน้า ทั้งในระดับทวิภาคีและไตรภาคีจากผลการประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยและฟิลิปปินส์สองครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยพร้อมสนับสนุนการสานต่อความร่วมมือในระดับทวิภาคีในด้านการเกษตร และในระดับไตรภาคี ในหลักสูตรด้านการพัฒนาสตรีและสตรีกับการเป็นผู้ประกอบการ

ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายกรัฐมนตรียินดีที่ไทยและฟิลิปปินส์มีการกระชับความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจากด้านนี้ถือเป็นหนึ่งในสาขาสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมนวัตกรรมของฟิลิปปินส์

ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือข้อราชการ นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ 3 ฉบับ ได้แก่ 1. ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.การดำเนินงานตามโครงการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ปี 2017 – 2022 ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย 3. ข้อปฏิบัติว่าด้วยความร่วมมือในสาขาเฉพาะระหว่างศูนย์กระบือนม ประเทศฟิลิปปินส์ และกรมปศุสัตว์ เกี่ยวกับการเลี้ยงกระบือปลักและกระบือนม

จากนั้นทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันแถลงข่าว ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยในช่วงค่ำวันเดียวกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแด่นายโรดรีโก โรอา ดูแตร์เต ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในโอกาสเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ด้วย

People unity news online : post 21 มีนาคม 2560 เวลา 23.23 น.

“เศรษฐา” เตรียมคุยนายกฯ กัมพูชา แก้ปัญหาฝุ่น

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 3 กุมภาพันธ์ 2567 นายกฯ ย้ำจะหารือนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ช่วงเยือนไทย 7 ก.พ.นี้ แก้ปัญหาฝุ่น พร้อมสนับสนุนเครื่องมือ ชี้เป็นเพื่อนบ้านกันต้องช่วยเหลือกัน เตรียมสั่งการใน ครม. ใช้มาตรการหนัก ใครฝ่าฝืนเผาถูกลงโทษ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงการหารือกับ นายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ถึงความคืบหน้าปัญหาฝุ่น หมอกควัน ว่า เรื่องนี้คุยกันตลอด และช่วงเช้าวันนี้ได้คุยกับ ผู้ช่วยของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งต้องยอมรับว่า กระทรวงเกษตรและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของกัมพูชา ไม่มีอุปกรณ์ ไม่มีปัจจัยที่เทียบเท่าเรา แต่เขาใส่ใจเหมือนกับเรา และในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชาจะเดินทางเยือนไทย จะมีการพูดคุยว่ามีเรื่องใดที่เราต้องช่วยเหลือ ยืนยันว่า ประเทศไทยพร้อมสนับสนุน เพราะหากเราเป็นเพื่อนบ้านกันไม่ช่วยเหลือกัน เราก็เดือดร้อนด้วย เราเป็นเพื่อนบ้านที่ดีมาโดยตลอด ก็ต้องช่วยเหลือกัน

ส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าปัญหาฝุ่นมีความรุนแรงมากขึ้นได้สั่งการอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ นี้ จะมีการสั่งการหลายเรื่อง โดยเฉพาะมาตรการ หากใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกลงโทษ สินค้าต่างๆ หากพิสูจน์ทราบได้ว่า ผลิตผลออกมามีการเผาเกิดขึ้นก็จะไม่ได้รับมาตรการการช่วยเหลือ

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ดีใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทุกคนพยายามอย่างเต็มที่ แต่ปัญหานี้ ไม่ใช่ปัญหาจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจ บางคนมีรายจ่ายเพิ่มมากขึ้น หากไม่เผา ไม้ขีดก้านเดียวมันง่ายต่อการกำจัดซากวัชพืช แต่ให้องค์ความรู้ไปแล้วในสิ่งที่เขาทำไม่ถูก และตนได้ขอความร่วมมือไปยังกองทัพไปเยอะ ในการช่วยลำเลียงซากวัชพืชออกมา โรงงานทำไบโอดีเซล การทำถ่านอัด หรือทำปุ๋ย

Advertisement

ประยุทธ์ เสนอ “วัคซีน – ยารักษาโควิด-19” เป็นสินค้าสาธารณะของโลก

People Unity News : ประยุทธ์ เสนอ “วัคซีน – ยารักษาโควิด-19” เป็นสินค้าสาธารณะของโลก บนเวที Paris Peace Forum ครั้งที่ 4

วันนี้ (11 พ.ย.64) ในพิธีเปิดการประชุม Paris Peace Forum ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “Mind the gaps: Improving global governance after COVID-19” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงผ่านการบันทึกเทป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีเสนอให้วัคซีน – ยารักษาโควิด-19 เป็นสินค้าสาธารณะของโลก พร้อมสนับสนุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และโมเดลเศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

การประชุม Paris Peace Forum มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและภาคส่วนต่าง ๆ ในการเสริมสร้างสันติภาพโลกและระบอบพหุภาคีนิยม โดยปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 13 พ.ย. 64 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

Advertising

“บิ๊กตู่” กล่าวต่อที่ประชุม UN มุ่งการพัฒนายั่งยืนผ่านระบบสาธารณสุข โมเดลเศรษฐกิจ BCG และ Digital

People Unity News : ประยุทธ์กล่าวถ้อยแถลงผ่านกิจกรรม SDG Moment มุ่งขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านระบบสาธารณสุข โมเดลเศรษฐกิจ BCG และการพัฒนาด้าน Digital ในการประชุม UNGA สมัยที่ 76

20 กันยายน 2564 เวลา 21.41 น. (ซึ่งตรงกับเวลา 10.41 น. ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถ้อยแถลงในกิจกรรม “Sustainable Development Goals (SDG Moment)” ครั้งที่ 2 ในห้วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 76 (76th Session of the United Nations General Assembly: UNGA76) ผ่านระบบประชุมทางไกล โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรียินดีที่มีส่วนร่วมในกิจกรรม SDG Moment รัฐบาลไทยร่วมกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง และได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อดำเนินนโยบายและใช้งบประมาณให้ตอบโจทย์กับการพัฒนาประเทศและนำไปสู่การบรรลุ SDGs ตลอดจนได้นำเสนอรายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติ โดยสมัครใจ (VNR: Voluntary National Review) ต่อสหประชาชาติ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีระบุถึงหมุดหมายที่สำคัญ 3 ประการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs ดังนี้

1.ส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนทุกช่วงอายุ โควิด-19 ได้ตอกย้ำความสำคัญของการมีระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมและทั่วถึง รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณสำหรับการประกันสุขภาพ ยกระดับอุตสาหกรรมทางการแพทย์และการบริการสาธารณสุขอย่างพอเพียง เร่งด่วน  เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองในยามวิกฤตได้

2.สร้าง “ความสมดุลของสรรพสิ่ง” ผ่านการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เช่น เพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ต่อยอดอุตสาหกรรมชีวภาพและพลังงานทดแทน และปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เป็นหนึ่งในฐานการผลิตขนาดใหญ่ของโลก ตั้งเป้าที่จะเพิ่มการผลิตรถไฟฟ้าพลังงานสะอาดให้ได้ร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ไทยทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2030

3.ขจัดความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาด้าน digital literacy เพื่อปลดล็อคศักยภาพให้แก่ประชาชนในประเทศ ใช้ประโยชน์จากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP ที่เกิดจาก Big Data เพื่อตอบโจทย์ความท้าทาย รวมถึงปัญหาความยากจนอื่นๆต่อไป

ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจะสำเร็จจากการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งนายกรัฐมนตรียืนยันเจตนารมณ์ของไทยที่จะก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และพร้อมร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปด้วยกัน

อนึ่ง กิจกรรม SDG Moment จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 2563 ในรูปแบบการอภิปรายทั่วไปตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติที่ต้องการย้ำความสำคัญและสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินการตามเป้าหมาย SDGs ภายในปี ค.ศ.2030 เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการกล่าวถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีไทยเป็นโอกาสประชาสัมพันธ์แผนการขับเคลื่อน SDGs ของไทย โดยเฉพาะการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นมาตรการฟื้นฟูจากโควิด – 19 ที่สร้างสมดุล

Advertising

เผยผลสำรวจคอรัปชั่นเอเชียล่าสุด กัมพูชา-อินโดนีเซีย-เวียดนามน่าเป็นห่วง ไทยเป็นบวก

People unity news online : รายงานสำรวจด้านปัญหาการคอรัปชั่นในเอเชีย ระบุว่า การฉ้อราษฎร์บังหลวงยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาของหลายประเทศในเอเชีย แม้ว่าโครงการต่อต้านการคอรัปชั่นในบางประเทศ เช่น ประเทศจีน จะสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องนี้มากขึ้นก็ตาม

รายงานสำรวจที่จัดทำโดยองค์กร Transparency International และศูนย์ Political and Economic Risk (PERC) ในฮ่องกง ซึ่งเปิดเผยออกมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 ชี้ว่า “การรับรู้และความตื่นตัวในปัญหาคอรัปชั่นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในหมู่ชาวเอเชียในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา”

ถึงกระนั้นรายงานชิ้นนี้ระบุว่า ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของหลายประเทศในเอเชีย

ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น คือประเทศที่ประสบปัญหาคอรัปชั่นในระดับต่ำ ขณะที่ กัมพูชา อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีปัญหาคอรัปชั่นที่น่าเป็นห่วง

ในส่วนของจีน รายงานชี้ว่าดูเหมือนปัญหาการคอรัปชั่นเริ่มลดลงหลังจากประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ใช้นโยบายปราบปรามคอรัปชั่นในทุกระดับ แต่ PERC ก็ระบุว่ายังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมาก เนื่องจากการคอรัปชั่นได้ครอบคลุมไปทั่วทั้งสังคมจีน

ขณะที่ Transparency International บอกว่า ชาวจีนเกือบ 3 ใน 4 เชื่อว่าระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ซึ่งรัฐบาลปักกิ่งก็ได้พยายามใช้มาตรการหลายอย่างในการปราบปราม เช่น การเพิ่มบทลงโทษสำหรับคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงและรับสินบน และปรับแก้กฎหมายเกี่ยวกับการต่อต้านการแข่งขันอย่างไม่ยุติธรรม เป็นต้น

สำหรับอินเดียซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาการคอรัปชั่นมากที่สุดจากการสำรวจครั้งนี้ รายงานชี้ว่าแม้ชาวอินเดียส่วนใหญ่ต่างเชื่อว่าไม่มีความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาคอรัปชั่นมากนัก แต่ก็ได้ยกย่องแนวทางใหม่ๆในการแก้ปัญหาคอรัปชั่นของรัฐบาล นายนเรนธรา โมดี เช่น การยกเลิกใช้ธนบัตรมูลค่าสูงในอินเดีย

ทางด้านประเทศในเอเชียที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวรวดเร็ว เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และกัมพูชา รายงานบอกว่าประชาชนยังมีความตื่นตัวน้อยเกี่ยวกับปัญหาคอรัปชั่น

รศ.ดร.ภวิดา ปานะนนท์ แห่งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “บรรดานักลงทุนในประเทศเหล่านี้ต่างยอมรับการคอรัปชั่นในระดับหนึ่ง ว่าเป็นต้นทุนหรือความเสี่ยงในการลงทุนในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตนี้”

อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ภวิดา ปานะนนท์ ให้ความเห็นว่า “ความมั่นใจของภาคธุรกิจนั้นจะลดลง หากไม่สามารถคาดเดาได้ว่าการฉ้อฉลหรือติดสินบนนั้นจะบานปลายไปถึงขั้นไหน”

ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทย รายงานสำรวจของ Transparency International และศูนย์ Political and Economic Risk (PERC) ชี้ว่า คนไทยส่วนใหญ่มองโครงการต่อต้านคอรัปชั่นของรัฐบาลชุดปัจจุบันในแง่บวก โดย 72% ของกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าปัญหาการคอรัปชั่นได้ลดลงภายใต้รัฐบาลชุดนี้ ขณะที่ 14% มองว่ามีการคอรัปชั่นเพิ่มขึ้น

โดย PERC ระบุว่า งานวิจัยของมหาวิทยาลัยหอการค้าได้สรุปไว้ว่า มูลค่าเงินสินบนที่องค์กรต่างๆ ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐในประเทศไทย ได้ลดลงอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี

ด้าน ดร.บัณฑิต นิจถาวร แห่งสถาบันกรรมการบริษัทไทย หรือ IOD และอดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ขณะนี้โครงการต่างๆในการต่อต้านการคอรัปชั่นมีความก้าวหน้าไปมาก ด้วยความร่วมมือของรัฐบาล ภาคธุรกิจและประชาชน”

ดร.บัณฑิต ระบุด้วยว่าปัญหาคอรัปชั่นในไทยเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกและทำกันอย่างเป็นระบบ จึงต้องอาศัยทุกฝ่ายในการช่วยกันแก้ไขจัดการ

เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว รัฐบาลไทยได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นมาดูแลคดีคอรัปชั่นโดยเฉพาะ และได้ตัดสินคดีใหญ่ๆไปแล้วหลายคดี รวมถึงคดีของอดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จุฑามาศ ศิริวรรณ ที่ถูกตัดสินจำคุก 50 ปี และคดีผู้บริหารการบินไทยรับสินบนจากบริษัทผลิตเครื่องยนต์โรลล์สรอยซ์ของอังกฤษ ที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในขณะนี้ (ข่าวจากเว็บไซต์ voathai.com 4 เมษายน 2560 ผู้สื่อข่าว Ron Corben รายงานจากกรุงเทพฯ / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

People unity news online : post 5 เมษายน 2560 เวลา 00.33 น.

นายกฯ หารือ รมว.พาณิชย์สหรัฐฯ

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 14 มีนาคม 2567 นายกฯ หารือคณะผู้แทน PEC ย้ำศักยภาพเศรษฐกิจไทย ฝ่ายสหรัฐฯ ชื่นชมบทบาทควาทเป็นผู้นำ วิสัยทัศน์นายกฯ สองฝ่ายเชื่อ การพบกันจะเป็นโอกาสยกระดับความร่วมมือทางเศรษกิจ

วันนี้ (14 มีนาคม 2567) เวลา 16.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หารือร่วมกับ นางจีนา เอ็ม. เรมอนโด (The Honorable Gina M. Raimondo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยนาย Mark Ein ประธานสภาผู้ส่งออกแห่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (The President’s Export Council: PEC) และคณะ รวม 10 ราย ซึ่งมาจากภาคเอกชนและองค์กรชั้นนำของสหรัฐฯ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและส่งเสริมโอกาสขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยภายหลังเสร็จสิ้น นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญของการหารือ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับและยินดีอย่างยิ่งที่ รมว.พาณิชย์สหรัฐฯ ได้พาคณะผู้แทน PEC เยือนไทยในครั้งนี้ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งสองฝ่ายจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ซึ่งไทยและสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันมาอย่างยาวนาน และไทยถือเป็นฐานการผลิตและการลงทุนที่เชื่อถือได้สำหรับสหรัฐฯ โดยทราบว่า คณะผู้แทน PEC ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่ง มล.ชโยทิต กฤดากร ผู้แทนการค้าไทย กล่าวว่า การหารือร่วมกันของทั้งสองฝ่ายเป็นไปด้วยดี โดยมีการพูดคุยถึงประเด็นสำคัญต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาค การส่งเสริมความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในด้านเทคโนโลยี AI ความมั่นคงทางไซเบอร์ (CyberSecurity) รวมถึงการสนับสนุนไทยด้านการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล (Digital Transformation) นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้แสดงความมุ่งมั่นของไทยในการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ โดยการหารือเป็นไปด้วยดี สะท้อนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ที่มีมาอย่างยาวนาน และทั้งสองฝ่ายพร้อมแสวงหาโอกาสในการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันมากขึ้นอีก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ฯ ชื่นชมบทบาทความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี การทำงานเชิงรุกในการส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลกมายังประเทศไทย และการเพิ่มความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ พร้อมย้ำถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งระหว่างไทยและสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯ เห็นพ้องเดินหน้าความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกันใกล้ชิดยิ่งขึ้น ซึ่งวันนี้ ได้นำประธานสภา PEC และคณะร่วมเดินทางมาไทย เป็นโอกาสสำคัญในการยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน

โอกาสนี้ นาย Mark Ein ประธาน PEC และคณะผู้แทน ได้แนะนำตัวต่อนายกรัฐมนตรีและต่างชื่นชมในบทบาทการดำเนินงานของนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลักดันและดึงดูดให้เกิดการลงทุนจากต่างประเทศมายังประเทศไทย พร้อมอำนวยความสะดวกในการลงทุน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือร่วมกันในประเด็นที่แต่ละฝ่ายให้ความสนใจ โดยเฉพาะการส่งเสริมความร่วมมือในด้านพลังงานสะอาด การเปลี่ยนผ่านสีเขียว และเทคโนโลยีสีเขียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไทยและสหรัฐฯ ให้ความสำคัญร่วมกัน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีต้องการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชนสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวของไทย ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมสำคัญ รวมถึงการสนับสนุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความร่วมมือด้านการศึกษา ตลอดจนเพิ่มพูนความร่วมมือในระดับภูมิภาคมากขึ้น

โดยนายกรัฐมนตรีย้ำว่า จะยังดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมากขึ้นต่อไป ไม่เพียงเฉพาะด้านเศรษฐกิจ แต่รวมถึงความร่วมมือด้านอื่นๆ ที่มีศักยภาพ

ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีหวังว่าการเยือนของคณะ PEC ซึ่งเป็น fact-finding visit จะทำให้สหรัฐฯ เห็นถึงโอกาสและศักยภาพของไทย พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันอย่างเต็มที่ ผ่านการยกระดับการค้าการลงทุน สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถของไทยในฐานะหุ้นส่วนที่พึ่งพาได้ในห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นของสหรัฐฯ พร้อมเชื่อมั่นว่า การประชุม IPEF Clean Economy Investor Forum ที่สิงคโปร์ จะเป็นอีกหนึ่งเวทีในการส่งเสริมโอกาสการขยายความร่วมมือระหว่างกัน

ทั้งนี้ สภาผู้ส่งออกแห่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (The President’s Export Council: PEC) ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชนและองค์กรสหรัฐฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีภารกิจสำคัญในฐานะที่ปรึกษาของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในด้านนโยบายและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการค้า โดยการเยือนของคณะ PEC ครั้งนี้เป็น fact-finding visit เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการให้คำแนะนำแก่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ พร้อมทั้งจะมีการเผยแพร่รายงานผลการเยือนต่อสาธารณชน

Advertisement

ไทยโชว์เทคโนโลยีดิจิทัลประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว-สินค้าไทยในงาน World Expo 2020 Dubai

People Unity News : ไทยโชว์ศักยภาพเทคโนโลยีดิจิทัล ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและสินค้าไทย ในงาน World Expo 2020 Dubai

3 ตุลาคม 2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชื่นชมผลสำเร็จจากการเปิดต้อนรับผู้เข้าชมทั่วโลกอย่างเป็นทางการของอาคารแสดงประเทศไทย (Thailand Pavilion) ที่สร้างขึ้นภายใต้แนวคิด “การขับเคลื่อนสู่อนาคต” (Mobility for the Future) ในงาน World Expo 2020 Dubai ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นโอกาสดีที่ไทยจะได้สร้างความเชื่อมั่นผ่านศักยภาพและความพร้อมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมผ่านนโยบาย Digital Thailand 4.0 รวมถึงวิสัยทัศน์ในการมุ่งเป็น “ศูนย์กลางดิจิทัลในภูมิภาค” ควบคู่กับการเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การค้า การลงทุน การเดินทาง การขนส่งและจุดหมายการเดินทางของประชาชนทั่วโลก ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเป็นโอกาสต่อยอดตามนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย โอกาสนี้นายกรัฐมนตรียังได้ชื่นชมโครงการที่เปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนอาสาสมัครไทยมีส่วนร่วมและเป็นตัวแทนประเทศประจำอาคารแสดงประเทศไทย เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมกับรัฐบาล “พลิกโฉมประเทศไทย” ให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อวันนี้และวันข้างหน้าสำหรับคนไทยทุกคน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นายกรัฐมนตรี มั่นใจว่าการแสดงศักยภาพของไทยในงาน World Expo 2020 Dubai จะสามารถดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติได้ ตลอดจนจะช่วยส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แผนการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทย ทั้งที่เริ่มดำเนินการแล้วและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โครงการสมุยพลัส โครงการส่วนขยายของภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ 7+7 และแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวระยะที่ 2 ที่จะเริ่มในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ใน 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งคาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ พยุงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง กระจายรายได้สู่ชุมชน และรักษาการจ้างงาน ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศจากสถานการณ์โควิด-19

สำหรับ งาน World Expo ถือเป็น 1 ใน 3 ของงานยิ่งใหญ่ระดับโลก จัดขึ้นทุกๆ 5 ปี ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยงานมหกรรมโลก โดยอาคารแสดงประเทศไทย ประกอบด้วย 3 พื้นที่หลัก ได้แก่ นิทรรศการ บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ แนวทางการพัฒนาประเทศในอนาคต พื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่ประกอบไปด้วย ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และ Showcase Thailand 4.0 การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทย และเวทีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีไทย

Advertising

“บิ๊กตู่”เปิดประชุมผู้นำธุรกิจอาเซียนครั้งที่ 5 ชูการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 3 ด้านของไทย

People Unity : นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและกล่าวปาฐกถาในโอกาสการประชุมผู้นำธุรกิจอาเซียน ครั้งที่ 5 “The Future of Thailand and ASEAN”

วันนี้ (21 มิถุนายน 2562) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานและกล่าวปาฐกถาในโอกาสการประชุมผู้นำธุรกิจอาเซียน ครั้งที่ 5 “The Future of Thailand and ASEAN” ณ ห้อง Magnolia ballroom ชั้น 10 โรงแรม Waldorf Astoria กรุงเทพมหานคร โดยในการประชุมครั้งนี้มี นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พร้อมด้วยผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูต ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชนกว่า 400 คน เข้าร่วมงาน

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติได้มาร่วมงานการประชุมผู้นำธุรกิจอาเซียน ครั้งที่ 5 และกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “The Future of Thailand and ASEAN” ที่สำนักข่าว Bloomberg จัดขึ้น ในช่วงเวลานี้ที่มีความสำคัญกับประเทศไทยเพราะจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ในช่วงสุดสัปดาห์นี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของไทยว่ามีศักยภาพและความพร้อมในหลายด้านที่จะเดินหน้าไปสู่การพัฒนาพร้อมกับภูมิภาค ไทยได้ก้าวพ้นสถานการณ์ความไม่สงบ มีความปรองดอง และสามารถแก้ปัญหาคั่งค้างที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศหลายประการ ไทยได้ผ่านพ้นการเลือกตั้งทั่วไปตามกระบวนการประชาธิปไตยด้วยความเรียบร้อย เป็นไปตาม roadmap ที่กำหนด และนายกรัฐมนตรีมุ่งมั่นตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ เพื่อสืบสานนโยบาย และการพัฒนาประเทศให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้ระบุถึงดัชนีทางเศรษฐกิจต่างๆที่เป็นตัวบ่งชี้ว่า สถานการณ์ในประเทศดีขึ้นมาก เศรษฐกิจขยายตัวได้ร้อยละ 4.1 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.8 ซึ่งทั้งสองตัวชี้วัดนี้ถือเป็นอัตราที่สูงที่สูดในรอบ 6 ปี และมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ระดับ 2.53 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยก็ให้ความสำคัญในการดูแลขั้นตอนกระบวนการในการทำธุรกิจ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้ลำดับที่ดีขึ้นในการจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจในปี 2561 ของธนาคารโลก

ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 27 จากทั้งหมด 190 ประเทศ สูงขึ้นจากปีก่อนถึง 19 อันดับ และเป็นอันดับที่ 3 ในอาเซียน สำหรับภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญกับประเทศก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเยือนประเทศไทยถึง 38 ล้านคน ในปี 2561 เพิ่มขึ้น 2.9 ล้านคนจากปีก่อนหน้า และปีนี้คาดว่าเราจะได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวถึง 40 ล้านคน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีนโยบายพัฒนาด้านเทคโนโลยี พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศให้เอื้อต่อการต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม และรองรับอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการเป็นระเบียงเศรษฐกิจแห่งเอเชีย

อย่างไรก็ดี รัฐบาลส่งเสริมให้ประเทศไทยเข้มแข็งจากภายใน มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจมั่นคงกระจายลงไปถึงระดับรากหญ้า โดยให้ภาคเอกชนไทย และอาเซียนเป็นจุดแข็งที่จะลดช่องว่าง สร้างการเติบโตไปสู่รากหญ้า ทั้งนี้ ผู้มีรายได้น้อย และ SMEs และช่วยให้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับห่วงโซ่มูลค่าของโลกได้ ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันผลกระทบจากความท้าทายภายนอก ได้แก่ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจการค้า ความขัดแย้งทางการค้า รวมทั้งความท้าทายจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งรัฐบาลไทยเชื่อว่าเป็นหลักการที่สามารถนำไปปรับใช้ในบริบทการพัฒนาของอาเซียนได้ด้วย

ในส่วนของอาเซียนซึ่งมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เพราะตลาดขนาดใหญ่อันดับ 6 ของโลก มีประชากรกว่า 650 ล้านคน และอยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศที่สำคัญ จึงช่วยเพิ่มศักยภาพของอาเซียนในการที่จะพัฒนาไปเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 4 ของโลกภายในปี 2573 รวมถึงจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของภูมิภาคด้วย แม้ว่า ปัจจุบันโลกเผชิญกับความท้าทาย และการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรม นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยและอาเซียนมีศักยภาพสูงที่จะรับมือ และเป็นสนามการค้าการลงทุนที่มีเสถียรภาพ ตอบโจทย์นักลงทุนทั่วโลก

ไทยนำเสนอแนวคิดหลักของการเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ คือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” และมีเป้าหมายที่จะบรรลุความสำเร็จในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ที่ไทยต้องการผลักดันให้เป็นรูปธรรมภายในปี 2562 ได้แก่ 1) การมุ่งสู่อนาคต คือ ความพร้อมในการเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 2) การส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน และ 3) การสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้าให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีขอให้ภาคเอกชนมั่นใจและใช้ประโยชน์จากความพร้อมของไทย และอาเซียนทั้งทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพทางการเมืองที่นำไปสู่ความต่อเนื่องทางนโยบาย โดยนายกรัฐมนตรีได้อวยพรให้การจัดงานในวันนี้ประสบความสำเร็จตามที่หวังไว้ทุกประการ

ความสัมพันธ์ต่างประเทศ : “บิ๊กตู่” เปิดประชุมผู้นำธุรกิจอาเซียนครั้งที่ 5 ชูการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 3 ด้านของไทย

People Unity : post 21 มิถุนายน 2562 เวลา 11.40 น.

Verified by ExactMetrics