วันที่ 14 กรกฎาคม 2025

ประเทศไทยตอนบนฝนฟ้าคะนอง อีสาน-ตอ. ตกหนักบางพื้นที่

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 13 พฤษภาคม 2567 กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคอีสานและภาคตะวันออก ส่วน กทม.-ปริมณฑล ฝน 40% ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนชาวเรือควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวมีฝนตกหลายพื้นที่ และการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

พยากรณ์อากาศรายภาค

กทม.-ปริมณฑล : อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคเหนือ : อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง : อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และ กาญจนบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก : อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) : อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) : อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

Advertisement

การประปาฯ เปิดจุดให้บริการน้ำประปาดื่มได้ฟรี เริ่ม 13 พ.ค.นี้

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 12 พฤษภาคม 2567 กปน. เปิดจุดให้บริการน้ำประปาดื่มได้ฟรี ที่สำนักงานประปาสาขา ทั้ง 18 แห่ง และ กปน. สำนักงานใหญ่ เริ่ม 13 พ.ค. 67 นี้

นายรักษ์ศักดิ์ สุริยหาร รองผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ กปน. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงรุนแรงในปีนี้ กปน. ได้เปิดจุดให้บริการน้ำประปาดื่มได้ฟรีที่สำนักงานประปาสาขาทั้ง 18 แห่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยแล้งดังกล่าว

โดยประชาชนสามารถนำภาชนะมารับน้ำประปาดื่มได้ฟรี ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 08.00 – 20.00 น. ที่สำนักงานประปาสาขาทั้ง 18 สาขาใกล้บ้านท่าน และ สำนักงานใหญ่ การประปานครหลวง เปิดให้บริการในวันและเวลาราชการ เวลา 08.30 – 16.30 น.

ทั้งนี้ น้ำประปา ณ จุดบริการดังกล่าว ผลิตจากโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ ซึ่งใช้แหล่งน้ำดิบที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำทะเลหนุน หรือเป็นน้ำประปาที่ผ่านระบบรีเวอร์ส ออสโมซีส (Reverse Osmosis หรือ RO) ที่สามารถกำจัดความเค็มของน้ำประปาได้ อย่างไรก็ตาม กปน. ขอความร่วมมือให้ประชาชนช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด นำน้ำกลับมาใช้ใหม่อย่างรู้คุณค่า โดยสามารถติดตามสถานการณ์น้ำประปาในช่วงวิกฤตภัยแล้งผ่านทุกช่องทางของ กปน. ได้ดังนี้ http://twqonline.mwa.co.th แอปพลิเคชัน MWA onMobile, Facebook, Line, X และ Instagram : @MWAthailand หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ MWA Call Center 1125 ตลอด 24 ชั่วโมง

Advertisement

การประปาฯ-กรมชลประทาน เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนรอบใหม่ 5-15 พ.ค.นี้

Wash your hands with clean water from the faucet.

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 6 พฤษภาคม 2567 ปทุมธานี – กปน.-กรมชลประทาน เตรียมแผนรับมือน้ำทะเลหนุนรอบใหม่วันที่ 5-15 พ.ค.นี้ หลังช่วงปลายเดือน เม.ย. ทำให้น้ำเค็มเกินมาตรฐาน ส่งผลให้น้ำประปาอาจมีรสชาติเปลี่ยนแปลงบ้าง มั่นใจทุกขั้นตอนผลิตน้ำประปาที่ต้นสถานีสูบน้ำดิบสำแลถึงผลิต 3 แห่ง น้ำประปามีคุณภาพสูง ขอให้ประชาชนสบายใจ และขอให้ตามข้อมูลคุณภาพน้ำสม่ำเสมอ

นายรักษ์ศักดิ์ สุริยหาร รองผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ กปน.กล่าวว่า จากปัญหาภัยแล้งและสภาพอากาศร้อนจัดที่เกิดขึ้น กปน. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ชิด โดยที่ผ่านมา ได้เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนถึงจุดรับน้ำดิบเข้าคลองประปาของ กปน. บริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี ในบางช่วงเวลา ซึ่ง กปน. ได้ประสานความร่วมมือกับกรมชลประทาน ในการผลักดันน้ำเค็มให้ไกลบริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และหากการระบายน้ำยังอยู่ในอัตราคงที่ อาจส่งผลให้น้ำประปามีรสชาติเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในบางช่วงเวลา ในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ

ทั้งนี้ หลังค่าความเค็มที่บริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จากภาวะน้ำทะเลหนุนสูงช่วงในช่วงวันที่ 25-30 เมษายนที่ผ่ามา เกินมาตรฐานที่ 0.50 กรัมต่อลิตรบางช่วงเวลานั้น ทั้งกรมชลประทานและ กปน.เฝ้าติดตามใกล้ชิด แต่ขณะนี้เริ่มคลี่คลายลงไปมากแล้ว แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงอีกรอบในช่วงวันที่ 5-15 พฤษภาคมนี้ อาจทำให้บริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแลมีน้ำเค็มเกินมาตรฐานอีกขึ้นมาได้ และล่าสุดในเวลา 06.00 น. วันที่ 5 พ.ค. ค่าน้ำอยู่ที่ 0.27 กรัมต่อลิตร เท่ากับวานนี้ ตลอดทั้งวันของเมื่อวานนี้ ถือว่าไม่เกินค่ามาตรฐานที่ 0.50 กรัมต่อลิตรแต่อย่างใด

ทั้งนี้ การติดตามโดยกรมชลประทานได้ประสานกับการประปานครหลวงจะลดการสูบน้ำเข้าระบบช่วงที่ค่าความเค็มเกินเกณฑ์มาตรฐาน หากช่วงที่ไม่เกินมาตรฐานให้เพิ่มปริมาณการสูบเข้าระบบ เพื่อเจือจางไม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านรสชาติของน้ำประปาที่ส่งเลี้ยงพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ หากช่วงน้ำทะเลหนุน แต่หากมีความเค็มเกินมาตรฐาน กปน.จะแจ้งข่าวสารให้ประชาชนทราบ อาจทำให้น้ำประปามีรสชาติเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยช่วงเวลาบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ดังนั้น กปน. ขอความร่วมมือประชาชนกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ติดตามข้อมูลคุณภาพน้ำจาก กปน. อย่างสม่ำเสมอ และร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อรักษาทรัพยากรน้ำอันมีค่า พร้อมรับมือกับปริมาณน้ำที่น้อยลงในปีนี้

อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างความมั่นใจต่อการบริโภคน้ำดื่ม น้ำใช้ แก่ประชาชน กปน. โดยสถานีสูบน้ำดิบสำแล ตั้งอยู่ในตำบลบ้านกระแชง อำเภอเมืองจังหวัดปทุมธานี เป็นจุดเริ่มต้นของการรับน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านคลองประปาฝั่งตะวันออก ก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิตและนำจ่ายภาคครัวเรือนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 100% อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 41 กิโลเมตรไกลจากปากอ่าวไทย 90 กิโลเมตรมีปริมาณการสูบน้ำดิบประมาณ 3.8 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งระบบการผลิตและสูบน้ำประปานั้น เริ่มจากการดึงแหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่การคัดกรองภายในจนได้น้ำดิบผ่านออกทางคลองประปาฝั่งตะวันออกระยะทาง 30.5 กิโลเมตร เข้าสู่ระบบผลิตที่ผลิตน้ำบางเขน โรงผลิตน้ำสามเสนและโรงผลิตน้ำธนบุรี ก่อนส่งต่อสถานีจ่ายน้ำฝั่งตะวันออกสู่สำนักงานประปาสาขาและไปยังภาคครัวเรือนให้ประชาชนได้ใช้กัน

ทัังนี้ ทุกขั้นตอน ก่อนจะส่งน้ำดิบเข้าสู่คลองชลประทานทุกระบบมีการจัดการที่ดีมากทั้งการติดตั้งประตูตะแกรงดักจับขยะถึง 3 ชั้น มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นประจำ มีระบบหมุนเวียนน้ำ โดยใช้ปลาตะเพียนขาวอายุประมาณ 3 เดือน เป็นตัวทดสอบ ซึ่งปลาตะเพียนขาวเป็นสัตว์ที่ไวต่อสารเคมีและสิ่งเจือปนในน้ำ หากพบผิดปกติทางเจ้าหน้าที่จะเร่งนำตัวอย่างน้ำเข้าตรวจสอบทันที ดังนั้น การใช้ปลาตะเพียนขาว จะมีการเปลี่ยนยกชุดทุกๆ 1 เดือน และภายในสถานีมีเครื่องผลิตน้ำดิบถึง 9 เครื่อง เพื่อให้การผลิตประปาเพียงพอและทันต่อการบริโภคของประชาชน โดยทุกขั้นตอนคำนึงถึงคุณภาพและความสะอาดเป็นหลัก เพื่อมอบสิ่งที่ดีและความสะอาดให้กับประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร

ที่สำคัญ สถานีแห่งนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างเพิ่มเติมประตูป้องกันน้ำท่วมและกำแพงสูงโดยรอบเพื่อป้องกันในแต่ละปีเมื่อถึงรอบน้ำเยอะจนทำให้แม่น้ำเจ้าพระยามีน้ำสูงและท่วมโดยรอบบริเวณได้ ซึ่งประตูป้องกันน้ำท่วมนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปีหน้า นอกจากเป็นประตูป้องกันน้ำท่วมแล้ว จะใช้ควบคู่ในช่วงปกติหากเวลาใดน้ำทะเลหนุนสูงและมีความเค็มเกินมาตรฐานจะปิดประตูป้องกันน้ำท่วมชั่วคราวเพื่อลดปัญหาน้ำเค็มเข้ามาในสถานีแห่งนี้ได้ พร้อมทั้งมีแผนขยายพื้นที่เก็บน้ำภายในสถานีหากช่วงเวลาน้ำทะเลหนุนมีความเค็มภายนอกนานจะได้ปล่อยน้ำที่ไม่เกินค่ามาตรฐานไปยัง 3 สถานีผลิตน้ำสะอาดได้ต่อไป

ประชาชนสามารถติดตามคุณภาพน้ำประปารายวันได้ ผ่านช่องทางการติดต่อออนไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้ง Facebook / Line / X และ Instagram : @MWAthailand และสามารถติดตามค่าคุณภาพน้ำต่าง ๆ แบบเรียลไทม์ได้ทาง http://twqonline.mwa.co.th และแอปพลิเคชัน MWA onMobile ได้

Advertisement

กรมอุตุฯ เผยอากาศยังร้อนถึงร้อนจัด

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 4 พฤษภาคม 2567 กรมอุตุฯ เผยอากาศยังร้อนถึงร้อนจัด เตือนไทยตอนบนเฝ้าระวัง “พายุฤดูร้อน” ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย สำหรับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงอันตรายจากฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน โดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ชาวเรือควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

Advertisement

พายุฤดูร้อนถล่ม 31 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง-ลมแรง

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 3 พฤษภาคม 2567 กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5 ฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง วันนี้ (3 พ.ค.) ได้รับผลกระทบ 31 จังหวัด ในภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5 มีผลกระทบในช่วงวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2567

ในช่วงวันที่ 3–5 พ.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค.67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

วันที่ 3 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร นครราชสีมา และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี

วันที่ 4 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ : จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดอุทัยธานี และกาญจนบุรี

วันที่ 5 – 6 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 7 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด

Advertisement

การประปาฯเผยน้ำทะเลหนุนสูง น้ำประปามีรสชาติเปลี่ยนแปลง

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 2 พฤษภาคม 2567 กปน. เผยน้ำทะเลหนุนสูงเหนือสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี อย่างต่อเนื่อง น้ำประปาอาจมีรสชาติเปลี่ยนแปลงบ้าง แนะลูกค้าติดตามข้อมูลคุณภาพน้ำสม่ำเสมอ

นายรักษ์ศักดิ์ สุริยหาร รองผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ กปน. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น กปน. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาเกิดภาวะน้ำทะเลหนุนถึงจุดรับน้ำดิบเข้าคลองประปาของ กปน. บริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี ในบางช่วงเวลา ซึ่ง กปน. ได้ประสานความร่วมมือกับกรมชลประทาน ในการผลักดันน้ำเค็มให้ไกลบริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม หากการระบายน้ำยังอยู่ในอัตราคงที่อาจส่งผลให้น้ำประปามีรสชาติเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในบางช่วงเวลา ในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ที่อยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงนี้ ซึ่งหากปริมาณหรือคุณภาพน้ำประปาเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงปกติ กปน. จะมีการแจ้งข่าวสารให้ทราบอย่างต่อเนื่อง

โดยลูกค้าสามารถติดตามคุณภาพน้ำประปารายวันได้ ผ่านช่องทางการติดต่อออนไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้ง Facebook/ Line/ X และ Instagram : @MWAthailand และสามารถติดตามค่าคุณภาพน้ำต่างๆ แบบเรียลไทม์ได้ทาง http://twqonline.mwa.co.th และแอปพลิเคชัน MWA onMobile เพื่อให้ลูกค้าเตรียมตัวรับสถานการณ์ ตลอดจนวางแผนการใช้น้ำประปาและสำรองน้ำประปาได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

นายรักษ์ศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กปน. ขอความร่วมมือประชาชนในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ติดตามข้อมูลคุณภาพน้ำจาก กปน. อย่างสม่ำเสมอ และร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อรักษาทรัพยากรน้ำอันมีค่า พร้อมรับมือกับปริมาณน้ำที่น้อยลง

Advertisement

ด่วน!! กรมอุตุฯออกประกาศเตือนฉบับที่ 3 พายุฤดูร้อนถล่มหลายจังหวัดภาคเหนือ-อีสาน-กลาง 3-7 พ.ค.นี้

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 2 พฤษภาคม 2567 กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือน พายุฤดูร้อนบริเวณไทยตอนบน ฉบับที่ 3 มีผลกระทบ 3-7 พ.ค.67 โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 3 มีผลกระทบในช่วงวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2567

ในช่วงวันที่ 3–5 พ.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

วันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี

วันที่ 5 – 6 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 7 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด

Advertisement

ยันภัยแล้งปีนี้ไม่ขยายวงกว้าง ประกาศเขตภัยพิบัติแค่ 4 จังหวัด

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 29 เมษายน 2567 เลขาธิการ สทนช. ระบุภัยแล้งปี 67 ถือว่าไม่ขยายวงกว้าง โดยมีพื้นที่ที่ประกาศเขตภัยพิบัติแล้งเพียง 4 จังหวัด ส่วนสถานการณ์น้ำภาคตะวันออก ได้ประสานงานในการระบายน้ำให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ฤดูแล้งจะสิ้นสุดปลายเดือนเมษายนนี้ โดยสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวมปัจจุบัน ปริมาณน้ำรวม 55% ของความจุเก็บกักที่ 44,209 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้การ 35% หรือ 20,033 ล้าน ลบ.ม.

ขณะนี้มีอ่างเก็บน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่ง โดยในภาคเหนือคือ เขื่อนสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ เขื่อนจุฬาภรณ์ ภาคตะวันออกคือ เขื่อนคลองสียัด ภาคกลางคือ เขื่อนกระเสียว ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อยมี 85 แห่ง

ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศในปีนี้ น้อยกว่าปีที่แล้วอยู่ 2% ซึ่งนับว่า อยู่ในเกณฑ์ดี แม้ประเทศไทยจะมีฝนตกน้อยกว่าค่าปกติจากอิทธิพลของสภาวะเอลนีโญ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วางแผนกักเก็บน้ำในช่วงต้นฤดูแล้งไว้ให้ได้มากที่สุดเพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้ง รวมถึงสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนเนื่องจากมีโอกาสเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงได้ ดังนั้น จึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้ว ยังคงงดปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 โดยให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐที่จะประชาสัมพันธ์ช่วงเวลาส่งเสริมการเพาะปลูก เพื่อป้องกันปัญหาความเสี่ยงขาดแคลนน้ำซึ่งจะสร้างความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร

เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ภัยแล้งปีนี้ ไม่ขยายวงกว้าง ปัจจุบันมีพื้นที่ตามประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพียง 4 จังหวัดได้แก่ จ. กาญจนบุรี จ. ชลบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ และ จ. บุรีรัมย์ โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ การขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภคซึ่งหน่วยงานได้เร่งให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่

สำหรับสถานการณ์ในภาคตะวันออกซึ่งมีเกษตรกรในบางพื้นที่เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ได้หารือร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในการบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ จ. จันทบุรี ให้เพิ่มการระบายน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ทั้งนี้ แนวโน้มของปริมาณฝนจะเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือน พ.ค. เป็นต้นไป โดยกำชับให้ทุกหน่วยงานเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน ตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ซึ่งคาดว่า ช่วงปลายฤดู สภาวะลานีญาจะทำให้บางพื้นที่มีฝนตกมากกว่าค่าปกติ

ขณะที่กรมชลประทานเดินหน้าติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ดังนี้

– สำนักงานชลประทานที่ 9 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 14 นิ้ว (เพิ่มเติม) จำนวน 2 เครื่อง บริเวณ หมู่ที่ 7 ตำบลเขาสมิงและหมู่ที่ 8 ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด

– สำนักงานชลประทานที่ 11 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง บริเวณปลายคลองโซน 19 ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

– สำนักงานชลประทานที่ 15 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง บริเวณบ้านมะนาวหวาน ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ส่วนการกำจัดวัชพืชกีดขวางทางน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำมีดังนี้

– สำนักงานชลประทานที่ 10 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ กำจัดวัชพืช บริเวณ ปตร.พระอินทราชา และ ปตร.กลางคลองหนึ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ รวมถึงรักษาความสะอาดและลดปัญหาน้ำเน่าเสีย บริเวณ คลองระพีพัฒน์แยกตก และคลองระบายน้ำที่ 1 ตำบลพยอม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นอกจานี้สำนักงานชลประทานที่ 16 สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ จำนวน 1 คัน ขนาด 6,000 ลิตร วันละ 3 เที่ยว เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการอุปโภค ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ทั้งนี้ กรมชลประทานดำเนินการกำจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาคุณภาพน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำและระบายน้ำ และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ พร้อมกับเน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทานบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ในการเข้าไปช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน

Advertisement

ข่าวดี แบงก์รัฐพร้อมใจลดดอกเบี้ยลง 0.25%

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 26 เมษายน 2567 สมาคมแบงก์รัฐ  ขานรับนโยบายรัฐ  ลดดอกเบี้ยลง 0.25% หวังช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบาง

ตามที่รัฐบาลโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบายช่วยเหลือบรรเทาภาระของลูกค้ารายย่อย และกลุ่มเปราะบาง  ผู้เดือดร้อนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ในขณะนี้นั้น

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ  เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 มีมติร่วมกัน ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบางตามนโยบายรัฐบาล โดยธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เอสเอ็มอี ดีแบงก์  เอ็กซิมแบงก์  และ บสย. ร่วมกันลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับลูกค้ารายย่อยทุกกลุ่มลงร้อยละ 0.25  อันได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย (MRR – Minimum Retail Rate) อัตราดอกเบี้ยตามประกาศ (Prime Rate) และอัตรากำไรอ้างอิงสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (SPRR – Standard Profit Rate for Prime Retail Customer) เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นระยะเวลา 6 เดือน

ในขณะที่ ธ.ก.ส.  ร่วมลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบางลงร้อยละ 0.25  เป็นระยะเวลา 6 เดือนด้วยเช่นกัน เนื่องจากได้มีการพักชำระหนี้เกษตรกรไปแล้วก่อนหน้านี้

สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และธนาคารสมาชิกฯ ตระหนักถึงภาระต้นทุนทางการเงินของประชาชนและสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวในขณะนี้ โดยสมาคมฯ พร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการทางการเงินต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้น เพื่อบรรเทาภาระและช่วยเสริมสภาพคล่องในครัวเรือน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Advertisement

อุตุฯ เตือนไทยตอนบนร้อนจัด แนะเลี่ยงทำงานในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 25 เมษายน 2567 กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด แนะหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานาน ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กรุงเทพฯ-ปริมณฑล อากาศร้อนจัดบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย

ในขณะที่มีแนวสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

กรุงเทพฯ และปริมณฑล อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 28-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส

Advertisement

Verified by ExactMetrics