วันที่ 19 พฤษภาคม 2024

ฝนถล่มทั่วไทย

People Unity News : 11 ตุลาคม 2566 กรมอุตุฯ เผยภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฝนฟ้าคะนอง 80% ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ทั้งนี้ เนื่องจากร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน โดยมีบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย

พยากรณ์อากาศรายภาค

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน สุโขทัย ตาก และกำแพงเพชร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณ จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณ จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.ชุมพร ลงไป ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

Advertisement

อย.เตือน รีวิวผลิตภัณฑ์อาหาร ต้องได้รับอนุญาตก่อนโฆษณา

People Unity News : 3 สิงหาคม 2566 อย. พบการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ในกรณีที่มีผู้เขียนรีวิวเชิญชวนให้กินแล้ว อ้างว่าหายจากโรคปวดตา ตาพร่ามัว และช่วยบำรุงสายตา ขอเตือนว่าอาหารไม่ใช่ยา รักษาโรคไม่ได้ และการโฆษณาอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษตามกฎหมาย

เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการตรวจพบการรีวิวผลิตภัณฑ์อาหารทางสื่อออนไลน์มากมาย ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอแจ้งว่าการรีวิวข้อมูลเกี่ยวกับคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารเพื่อประโยชน์ทางการค้า เข้าข่ายเป็นการโฆษณาที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนโฆษณา เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และหากข้อความที่รีวิว หรือโฆษณานั้นเป็นเท็จ โอ้อวดเกินจริง หรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อการรีวิว หรือโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารที่โอ้อวด เป็นเท็จเกินจริง ผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่ยา ไม่สามารถบำบัด บรรเทา รักษาโรคต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ อย. ได้จัดทำหลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2564 โดยระบุคำที่ไม่อนุญาตโฆษณา ซึ่งประชาชนสามารถศึกษารายละเอียดได้ตาม QR code นี้

หากมีข้อสงสัย หรือพบการกระทำฝ่าฝืน แจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือช่องทางอื่น ๆ เช่น อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th ตู้ปณ.1556 ปณผ. กระทรวงสาธารณสุข หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

Advertisement

เตือนฝนถล่ม 28 จว. ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่า

People Unity News : 2 สิงหาคม 2566 กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนฝนตกหนักถึงหนักมาก ฉบับที่ 8 ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก วันนี้ (2 ส.ค.) ได้รับผลกระทบ 28 จังหวัด ในภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก และใต้

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 8 (213/2566) มีผลกระทบจนถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2566

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

2 สิงหาคม 2566

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก และพิษณุโลก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก : จังหวัดจันทบุรี และตราด

ภาคใต้ : จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

3 สิงหาคม 2566

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดอุทัยธานี และกาญจนบุรี

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ : จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2566

Advertisement

กทม. ค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่ง หลายพื้นที่สีแดง กระทบสุขภาพ

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 14 กุมภาพันธ์ 2567 สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ เช้านี้ พุ่งสูง หลายเขตอยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เมื่อเวลา 07.00 น. สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เขตหนองแขม 80.9 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เขตคลองสามวา 78.6 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เขตธนบุรี 78.4 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เขตบางบอน 76.4 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เขตบึงกุ่ม 76.2 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร โดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 67.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ประชาชนควรสวมใส่หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร และจำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก

Advertisement

รัฐบาลห่วงไข้มาลาเรียฤดูฝน พบตัวเลขผู้ป่วยเพิ่ม

People Unity News : 16 กรกฎาคม 2566 รัฐบาลห่วงใยสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียในช่วงฤดูฝน พบตัวเลขผู้ป่วยเพิ่ม เตือนประชาชนและผู้เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง 10-14 วัน มีไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยร่างกาย ให้พบแพทย์โดยเร็ว

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงใยประชาชนหลังรับทราบรายงานสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย (ณ 7 ก.ค. 66) กรมควบคุมโรครายงานพบผู้ป่วยเพิ่มจากสัปดาห์ก่อนหน้า 835 ราย นายกรัฐมนตรีจึงฝากความห่วงใยมายังประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีไร่มีสวนติดกับเขตพื้นที่ป่าเขา เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทหารที่ลาดตระเวนตามแนวชายแดนที่ติดพื้นที่ป่า รวมทั้งประชาชนที่ชอบเดินป่า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนเหมาะต่อการเจริญพันธุ์ของยุงหลายชนิด เสี่ยงติดเชื้อโรคมาลาเรียซึ่งมียุงก้นปล่องที่ออกหากินเวลากลางคืนเป็นพาหะนำโรค โดยกรมควบคุมโรคแนะนำให้ประชาชนสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด ใช้ยาทากันยุงหรือจุดยากันยุง หากต้องนอนค้างคืนในป่าควรกางมุ้ง หรือหากนอนเปลควรหามุ้งคลุมเปลป้องกันยุงกัด จะช่วยป้องกันโรคไข้มาเลเรีย หรือไข้ป่า ไข้จับสั่นได้

นางสาวรัชดา กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้รายงานสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย จากระบบมาลาเรียออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 7 กรกฎาคม 2566 พบผู้ป่วยสะสม 9,255 ราย (รายงานเพิ่มจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 835 ราย) จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุดได้แก่ ตาก 5,513 ราย รองลงมาคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 1,026 ราย และจังหวัดกาญจนบุรี 945 ราย เป็นคนไทย 4,158 ราย (ร้อยละ 44.9) และต่างชาติ 5,097 ราย (ร้อยละ 55.1) พบผู้เสียชีวิต 3 ราย ที่จังหวัดตาก ทั้งนี้ โรคไข้มาลาเรีย เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม โดยมียุงก้นปล่องซึ่งมักอาศัยอยู่ตามป่าเขาเป็นพาหะ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตามพื้นที่ป่าเขา รวมถึงพื้นที่แถบชายแดน มีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด อาการของโรคไข้มาลาเรีย คือ เมื่อผู้ป่วยถูกยุงก้นปล่องตัวเมียกัด จากนั้นประมาณ 10 – 14 วัน จะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะเป็นพัก ๆ อาจมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร หากไปพบแพทย์ทัน สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยาในเวลาไม่นาน แต่หากไปพบแพทย์ช้า ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง ภาวะปอดบวมน้ำ ภาวะไตวาย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้

“กรมควบคุมโรคแนะนำให้ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงโรคไข้มาลาเรีย 10 – 14 วัน แล้วมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยร่างกาย คลื่นไส้และเบื่ออาหาร ควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่โรงพยาบาล ซึ่งมีขั้นตอนคือ การเจาะเลือดหาเชื้อ หากพบเชื้อจะได้รับยา และกินยาให้ครบตามแพทย์สั่ง มาตรวจเลือดซ้ำตามแพทย์นัด และเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่เร่งดำเนินการควบคุมยุงพาหะ ในพื้นที่ให้คลอบคลุมทุกหลังคาเรือน เร่งค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในพื้นที่ ดำเนินการตามมาตรการ 1-3 -7 และเฝ้าระวังการกลับมาแพร่เชื้อใหม่ในพื้นที่ และสำหรับประชาชนเมื่อต้องเข้าป่า หรือไปในพื้นที่เสี่ยงควรป้องกันตนเอง ด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าปกคลุมแขนขาให้มิดชิด ใช้ยาทากันยุงหรือจุดยากันยุง เมื่อต้องนอนค้างคืนในป่า ควรนอนในมุ้ง โดยมุ้งต้องอยู่ในสภาพดีไม่มีรูขาด รวมทั้งนำมุ้งไปชุบสารเคมีที่มีฤทธิ์ไล่และฆ่ายุง หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422” นางสาวรัชดา กล่าว

Advertisement

อุตุฯ เผยไทยยังมีฝนฟ้าคะนอง-ภาคใต้ตกหนักบางแห่ง

People Unity News : 16 ตุลาคม 2566 กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยยังมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฝนฟ้าคะนอง 40%

กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทย ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส

Advertisement

เจ็บป่วยฉุกเฉินระดับวิกฤติช่วงสงกรานต์ เข้าได้ทุก รพ.ที่อยู่ใกล้

People Unity News : 9 เมษายน 2566 รองโฆษกรัฐบาล แจง “เทศกาลหยุดยาวสงกรานต์” หากเจ็บป่วยฉุกเฉินระดับวิกฤติ เข้ารักษาได้ทุก รพ.ที่อยู่ใกล้ ตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิ์ทุกที่” ของรัฐบาล

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2566 มีวันหยุดยาวตั้งแต่วันที่ 13-17 เมษายน 2566 ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางต่างจังหวัด เพื่อกลับบ้าน เยี่ยมเยียน เฉลิมฉลองกับครอบครัว รวมถึงทำกิจกรรมต่าง ๆ และรดน้ำดำหัวขอพรจากญาติผู้ใหญ่เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งคาดว่าปีนี้จะมีประชาชนเดินทางจำนวนมาก และมักจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นเป็นประจำ จากข้อมูลกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) ช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 ภาพรวมสถิติอุบัติเหตุ ตั้งแต่วันที่ 11 – 17 เมษายน เกิดอุบัติเหตุรวม 1,917 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 1,869 คน ผู้เสียชีวิต 278 ราย รัฐบาลจึงมีความห่วงใยประชาชน เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย สามารถใช้สิทธิ์ Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP ได้ ดังนี้

1.กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินระดับวิกฤติ หากไม่รักษาทันทีมีโอกาสเสียชีวิตสูง สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ที่สถานพยาบาลทุกแห่งที่อยู่ใกล้สุดโดยเร็ว เป็นไปตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิ์ทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) ของรัฐบาล โดยให้สถานพยาบาลที่ให้การรักษาเบิกค่าใช้จ่ายค่ารักษาจาก สปสช. ตามอัตราที่กำหนด

2.กรณีเจ็บป่วยที่ไม่ใช่ฉุกเฉินระดับวิกฤติ หรือกรณีผู้มีสิทธิบัตรทองที่เดินทางไปต่างถิ่นแล้วมีความจำเป็นต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล เช่น มีความดันโลหิตขึ้นสูง ปวดศีรษะมาก เกิดภาวะท้องเสียรุนแรง เป็นต้น กรณีนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับ สปสช. ว่าด้วยการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขกรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุหรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ระบุว่าผู้ป่วยสิทธิบัตรทองหากมีเหตุสมควร หรือกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลอื่นที่ไม่ได้ลงทะเบียนหน่วยบริการประจำและสถานพยาบาลที่ไม่ได้เข้าร่วมให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา 7 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

“ขอให้ประชาชนเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญ ในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้เพื่อความสะดวก พร้อมทั้งศึกษาข้อมูลหน่วยบริการที่อยู่ในพื้นที่ระหว่างเดินทางและจุดหมายปลายทาง เพื่อเป็นข้อมูลในการเข้ารับการรักษาพยาบาลได้โดยเร็ว ส่วนประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง ควรเตรียมพร้อมยารักษาโรคเพื่อให้เพียงพอสำหรับการเดินทาง สิ่งที่สำคัญต้องไม่ประมาท พักผ่อนให้เพียงพอก่อนเดินทาง และมีสติอยู่ตลอดเวลา ” นางสาวรัชดา กล่าว

Advertisement

เตือนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ แอบอ้างหน่วยงานรัฐให้ทำธุรกรรมผ่านมือถือ

People Unity News : 12 สิงหาคม 2566 กทม. 12 ส.ค.-รองโฆษก รบ. เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ แอบอ้างหน่วยงานรัฐหลอกลวงให้ทำธุรกรรมผ่านมือถือ กรมที่ดินออกประกาศย้ำไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ติดต่อเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แจงหน้าที่ดังกล่าวเป็นของท้องถิ่น แนะติดตั้งแอปฯ จาก App Store หรือ Play Store เท่านั้น

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ยังคงเกิดกรณีมิจฉาชีพอ้างหน่วยงานรัฐติดต่อประชาชนและหลอกหลวงให้ทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือก่อนใช้โปรแกรมเข้าควบคุมเครื่องแล้วโอนเงินออกจากบัญชีผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร และมีผู้เสียหายหลายราย โดยส่วนใหญ่ที่ยังมีการแอบอ้างก็คือ หน่วยงานที่ต้องให้บริการใกล้ชิดกับประชาชน อาทิ กรมที่ดิน กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตำรวจ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง ไปรษณีย์ สถาบันการเงิน

รัฐบาลขอย้ำเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อผู้ที่ติดต่อผ่านช่องต่างๆ โดยง่าย แม้ผู้ติดต่อจะสามารถแจ้งข้อมูลส่วนบุคคลหรือธุรกรรมที่ประชาชนเคยติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ได้ถูกต้องแม่นยำก็ตาม โดยปัจจุบันหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงานไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ติดต่อไปยังประชาชนโดยตรง โดยเฉพาะหากเป็นการติดต่อมาแล้วให้ทำธุรกรรมผ่านมือถือ เช่น กดลิงค์ สแกนคิวอาร์โค้ด ติดตั้งแอปพลิเคชัน สแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน อย่าลงมือทำธุรกรรมทันทีให้ตรวจสอบให้แน่ใจก่อน หากมีกรณีข้อสงสัยให้ประชาชนเป็นฝ่ายติดต่อกลับไปยังหน่วยงานนั้นโดยตรง เช่น ผ่านเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงาน หรือไปติดต่อสอบถาม ณ สำนักงานหน่วยงานนั้นๆ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 ส.ค.66 กรมที่ดินได้ออกประกาศเรื่อง เตือนภัยกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมที่ดินหลอกลวงผู้เสียหาย ระบุถึงรูปแบบที่มิจฉาชีพแอบอ้างกรมที่ดินในขณะนี้ มีทั้งการทำหนังสือราชการปลอม ทำเว็บไซต์ปลอม และโทรศัพท์ติดต่อประชาชนโดยอ้างเนื้อหาเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แล้วหลอกให้เพิ่มเพื่อนผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์เพื่อส่งลิงค์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม เมื่อเหยื่อหลงเชื่อติดตั้งแอปฯ คนร้ายจะรีโมตมาควบคุมเครื่องระหว่างนั้นโทรศัพท์จะขึ้นข้อความ “ระหว่างทำการตรวจสอบห้ามใช้งานมือถือ” ซึ่งคนร้ายจะใช้ช่วงเวลานี้ ดำเนินการโอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย

ทั้งนี้ กรมที่ดินไม่มีอำนาจหน้าที่ในการประเมินหรือจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่หน้าที่ดังกล่าวเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล) หากประชาชนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง

“กรมที่ดินได้เน้นย้ำว่าไม่มีแนวทางปฏิบัติในการมอบหมายเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินให้ติดต่อสอบถามหรือแนะนำให้ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินและห้องชุดให้มาปรับปรุงข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่อย่างใด ดังนั้นหากมีผู้แอบอ้างว่าติดต่อจากเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า หากประชาชนต้องการใช้บริการหน่วยงานต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชันนั้น ขอให้ดาวน์โหลดผ่าน App Store หรือ Play Store เท่านั้น ไม่ดาวน์โหลดจากช่องทางอื่นหรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่บุคคลไม่รู้จักส่งมาให้โดยเด็ดขาด ไม่ทำการสแกนใบหน้า หรือยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก ไม่กดลิงค์จาก SMS แปลกปลอม เพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ ไม่ควรตั้งรหัสเข้าเครื่องที่ซ้ำกับรหัสเข้า Mobile Banking

ทั้งนี้ เมื่อมีผู้ติดต่อมาทางโซเชียลมีเดียโดยแอบอ้างหน่วยงานต่างๆ ให้สังเกตที่ชื่อแอคเคาน์จะต้องมีโล่สีเขียว หรือน้ำเงินเข้มเท่านั้น เพื่อยืนยันตัวตนจริง โดยหากมีข้อสงสัยเรื่องใดขอให้ติดต่อกลับไปยังหน่วยงานนั้นด้วยตนเอง

Advertisement

ทั่วไทยอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาฯ อากาศเย็นตอนเช้า

People Unity News : 22 พฤศจิกายน 2566 กรมอุตุฯ เผยทั่วไทยอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาฯ กับมีหมอกตอนเช้า โดยภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงให้ระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอากาศแห้ง และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่าง (ฝั่งตะวันออก) ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

พยากรณ์อากาศรายภาค

ภาคเหนือ อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-18 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ตอนบนของภาค : อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก 1-2 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาค : มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพฯ และปริมณฑล อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

Advertisement

ทั่วไทยฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง กทม.ตก 70%

People Unity News : 30 ตุลาคม 2566 กรมอุตุฯ เผยทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฝนฟ้าคะนอง 70% ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นระลอกใหม่ได้แผ่ปกคลุมถึงบริเวณประเทศเวียดนามและลาวตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันนี้ ขณะที่มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากลมกระโชกแรง ฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

พยากรณ์อากาศรายภาค

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณ จ.ชัยภูมิ และนครราชสีมา อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณ จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณ จ.ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณ จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

Advertisement

Verified by ExactMetrics