People Unity News : 18 พฤษภาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญชี้ออก พ.ร.ก.ขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.บ.อุ้มหาย ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

ผู้สื่อข่าวรายงานกรณี ส.ส. 99 คน ซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร เข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ตราขึ้นเพื่อขยายกำหนดเวลาการมีผลใช้บังคับของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25

จากเดิมที่ให้ใช้บังคับเมื่อครบกำหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือวันที่ 22 ก.พ. 66 แก้ไขเป็นให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 66 เป็นต้นไป โดยอ้างเหตุผลความไม่พร้อมด้านงบประมาณการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์และขั้นตอนการปฏิบัติงานในการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ 2 มาตรา 172 วรรคหนึ่ง จึงส่งความเห็นดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 วินิจฉัยว่า พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และให้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ไม่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. 66 ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 วรรคสาม

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 โดยวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และให้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ไม่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. 66 ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 วรรคสาม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงเพิ่มเติมกรณีวินิจฉัยว่าพ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และให้พระราชกำหนดฉบับดังกล่าวไม่มีผลใช้บังคับมาแต่ต้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 วรรคสาม โดยที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 173 วรรคสาม บัญญัติว่า กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคหนึ่ง ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลใช้บังคับมาแต่ต้น อย่างไรก็ตาม การที่พระราชกำหนดนี้ไม่มีผลใช้บังคับมาแต่ต้น ย่อมไม่กระทบต่อกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น ซึ่งสอดคล้องกับที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคสาม บัญญัติไว้ในกรณีที่รัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนดให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบต่อกิจการที่เป็นไประหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น

สำหรับการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สมควรกำหนดแนวทางปฏิบัติให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ เพื่อแก้ไขข้อจำกัดของหน่วยงานในการปฏิบัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565

ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้งและประธานยุทธศาสตร์ฯ พรรคเสรีรวมไทย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8:1 เห็นว่าการออก พ.ร.ก.เลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันทรมานอุ้มหายนั้น ขัดกับรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญ กล่าวง่ายๆ คือ พ.ร.ก.ดังกล่าว ครม. ไม่สมควรออก เพราะไม่เข้าข่ายเป็นประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ สาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือปัองปัดภัยพิบัติสาธารณะ

“นอกจากทำให้ พ.ร.ก. ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว ยังมีผลว่า ครม.ประยุทธ์ ที่ร่วมลงมติวันนั้น ทำผิดรัฐธรรมนูญด้วย ใครสนใจร้อง ป.ป.ช. ถอดถอน ครม.ทั้งคณะบ้าง” นายสมชัย ระบุ

Advertisement