People Unity News : “ประภัตร”ล่องอีสาน ลุยตรวจ  การแพร่ระบาด โรคระบาด ไหม้คอรวงข้าว   คาดเสียหายแล้วกว่า 5 แสนไร่ เตรียมระดมโดรนฉีดพ่นตามคำขอชาวนาที่ยังพอช่วยได้พร้อมเตรียมเสนอ   กนข. ขอเงินช่วยเหลือ  กล่า 1,000 ล้าน ก่อนเสนอ ครม.  ชดเชยพื้นที่เสียหาย ช่วยหลัง ผู้ว่าราชการสุรินทร์ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ

เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2562 นายประภัตร โพธสุธน รมช. เกษตรฯ พร้อมคณะได้เดินทางไปยัง บ้านหนองบัว หมู่ที่ 3 ต.ชุมพลบุรี อ.ชุมพลบุรี  จ. สุรินทร์ และบ้าน ขาม ต. หนองบัวบาน อ. รัตนบุรี  จ. สุรินทร์  เพื่อตรวจเยี่ยม  พื้นที่การแพร่ระบาดของโรคไหม้คอรวงข้าวโดยมีนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมคณะให้การตอนรับ  พร้อมกับมีการบรรยายสรุปสถานการณ์ ไหม้คอรวงข้าวโดย นายวันรบ เฮ่ประโคน เกษตรจังหวัดสุรินทร์ เพื่อวางมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรเป็นการเร่งด่วน

โดยนายประภัตร เปิดเผยว่าจากการตรวจสอบล่าสุด พบว่า นาข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นรอยต่อหลายจังหวัด  ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิขณะนี้ พบว่า นาข้าว   เสียหายแล้วประมาณ 5 แสน ไร่  โดยบางส่วนที่ยังไม่เสียหายนั้นทางผู้ว่าราชการ จ.สุรินทร์ ได้ขอให้ทางกระทรวงเกษตรประสานงานเพื่อขอโดรนจากเอกชนช่วยฉีดพ่น เข้าช่วยฉีดพ่นไตรโคเดอร์ม่าเท่าที่ยังสามารถช่วยได้  เนื่องจากเหลือเวลาอีกเพียง 20 วัน ข้าวก็จะสุกที่สามารถเก็บเกี่ยว ได้ซึ่งไม่ทันต่อการใช้ อย่างอื่นมาแก้ปัญหาโดยเฉพาะสารเคมีอาจทำให้เกิดปัญหาสารตกค้างได้จึงเลือกจะใช้วิธีการฉีดพ่นไตรโคเดอร์ม่า เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ที่สุดแล้ว โดยขณะนี้ได้ประสารงานเอกชนใจบุญและพร้อมที่จะส่งโดรนเข้ามาช่วยเหลือฟรี ส่วน ไตรโค้เดอร์ม่าก็มีการแจกฟรี จึงไม่กระทบต่อต้นทุนของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามในส่วนมาตร.ในส่วนที่ ในการช่วยเหลือในความเสียหาย เบื้อนต้นได้สั่งการให้ทางผู้ว่าราชการจ. สุรินทร์  ตั้งคณะกรรมาร เข้ามา สรุปข้อมูลความเสียหายทั้งหมด  พร้อมตรวจสอบรายละเอียด ปริมาณ ข้าวที่ลดลง เพราะบางส่วน  ไม่ได้มีการเสียหายสิ้นเชิง เพียงแต่ผลผลิตลดน้อยลง   โดยข้อมูลโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ70   ในส่วนปคิมาณผลผลิตที่เคยได้เพราะข้าวลีบซึ่งรัฐบาลอาจจะช่วยเหลือและเติมในส่วนที่ขาดหายไป ในเรื่องของราคาส่วน การชดเชยพื้นที่เสียหาย จะชดเชยให้ไร่ละ1,113 ต่อไร่ ไม่เกินไม่เกิน 20 ไร่ ตามกรอบการให้การช่วยเหลือเรื่องภัยพิบัติ    โดยคาดว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นน่าจะใช้งบประมาณในการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวประมาณ กว่า1,000  ล้านบาท เท่านั้น ซึ่จากนี้ไปคงต้องรอทาง ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  ตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมา ทำงานเพื่อสรุปรายละเอียดความเสียหายทั้งหมด  และมีการประกาศ เป็นพื้นที่ภัยพิบัติ  เพื่อสรุปข้อมูลเสนอมายังกระทรวงเกษตรก่อนที่ จะเสนอ ไปยัง คณะกรรมการนโยบายข้าว  หรือ กนข หากเห็นด้วยก็จะเสนอต่อ ครม. เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

ส่วนการแก้ปัญหาการแพร่รับบาดเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำ ขึ้นมาอีก ตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่กรมการข้าวเข้าทำความเข้าใจและฝึกอบรมให้กับเกษตกรป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ไหม้คอรวงข้าวโดยจะฝึกอบรมให้กับเกษตรกร ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมพร้อมเรื่องการ เตรียมการเพาะปลูกข้าวในฤดูต่อไป โดยเกษตรกรจะต้องมีการคลุกเม็ดพันธ์ ข้าว กับไตรโคเดอร์ม่าก่อนหว่านข้าวในฤดูกาลต่อไป  ขณะเดียวกันจะต้องรู้หลักการใช้ปุ๋ยให้ถูกวิธ๊ โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรีย   ซึ่งการ การใช้ปุ๋ยที่ผิดหลักเป็นสาเหตุหนึ่งขอการเกิดโรคระบาดด้วย

“วันนี้เท่าที่ตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่า เหลืออีกไม่ถึง 20 วัน ก็ จะสิ้นสุดระยะเวลาการเก็บเกี่ยวทั้งหมด คงจะต้องปล่อย   ซึ่งทางผู้ว่าราชการ สุรินทร์ ก็ร้องขอให้ ช่วยระดมฉีดพ่น ไตรโคเดอร์ม่า ช่วยและช่วยให้เราประสาน โดรนเข้ามาช่วย เบื้องตนได้มีการประสาน ไปกับกลุ่มเอกชน เขารับปากจะเข้ามาช่วยฟรี ซึ่ง จะเข้ามาดำเนินการทันที ในวันที่7 พฤศจิกายนนี้  ก็จะระดมฉีดพ่น เท่าที่จะช่วยได้เพราะหากฉีดพ่นเคมีคงจะไม่ดี เพราะอาจเกิดปัญหาสารตกค้างได้วิธีการนี้น่าจะดีที่สุด ส่วนการให้การช่วยเหลือ ก็ ได้สั่งการให้ทางผู้ว่าราชการ จังหวัดตั้งคณะทำงานร่วมกับทางกรมการข้าว เพื่อสรุปข้อมูลรวมกัน  ก่อนเสนอ รายละเอียดเพื่อเสนอต่อ คณะกรรมการ  กนข . และเสนอ ครม. ต่อไป โดยเบื้องต้นก็คาดว่าน่าจะใช้งบประมาณกว่า1,000ล้านบาท    “นายประภัตร กล่าว นายประภัตร กล่าวด้วยว่า ในส่วนความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั้งฝนแล้ง น้ำท่วม และโรคระบาดที่เกิดขึ้น ตนยอมรับว่า อาจเสียหายจริงแต่ไม่น่าถึงขั้นขาดแคลน และขออย่าตื่นตระหนก ยืนยันว่าปริมาณผลผลิตยังเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศอย่างแน่นอนส่วนเรื่องราคา ที่อาจสูงขึ้นเป็นเรื่องของกระทรวงพาณิชย์ จะต้องเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการบริหารจัดการ” นายประภัตร กล่าว

ด้านนายไกรสร กล่าวว่า จากการดำเนินการในเรื่องการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของ โรค ไหม้คอรวงข้าว  ทางจังหวัดได้ดำเนินการช่วยเหลืออย่างเต็มที่  โดยจากการฉีดพ่นไตรโคเดอร์ม่า มี่ผ่านมาสามารถชะลอการระบาด ได้จริง เมื่อเทียบกับพื้นที่ ที่ไม่ได้มีการฉีดพ่น จากนี้ไป คงจะต้องทำความเข้าใจถึงวิธีปกกันการแพร่ระบาดและเร่งดำเนินการตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกรให้เร็วที่สุด  และจากการตรวจสอบยังพบด้วยว่าพื้นที่ มีการระบาดของโรคไหม้คอรวงข้าวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ ใช้สารเคมี และจากการตรวจสอบพบว่า พื้นที่ การส่งเสริมการปลูกข้าวอินนทรีย์ ไม่มีการระบาดของโรคไหม้คอรวงข้าวแม้แต่พื้นที่เดียว