วันที่ 29 มีนาคม 2024

รัฐบาลส่งเสริมนักออกแบบคนรุ่นใหม่ก้าวสู่ตลาดโลก

People Unity News : 3 มิถุนายน 2566 นายกฯ สนับสนุนคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ให้ก้าวสู่การเป็นนักออกแบบมืออาชีพสู่ตลาดโลก จัดโครงการ Designers’ Room / Talent Thai & Creative Studio Promotion 2023

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สนับสนุนคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการดำเนินธุรกิจ ให้ได้รับโอกาสพัฒนาศักยภาพ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ รวมไปถึงช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชีย ด้วยการการจัดโครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก 2566 หรือ Designers’ Room / Talent Thai & Creative Studio Promotion 2023

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดทำโครงการ Designers’ Room / Talent Thai & Creative Studio Promotion 2023 ส่งเสริมนักออกแบบคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ให้ได้พัฒนาองค์ความรู้ และปรับตัวให้ตอบสนองความต้องการของตลาดในระดับสากล เตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นแบรนด์นักออกแบบและผู้ให้บริการการออกแบบมืออาชีพ โดยโครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก ระหว่างปี 2566 – 2567 แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 สำหรับนักออกแบบที่เคยเข้าร่วมโครงการในอดีต จะได้รับโอกาสในการเข้าร่วมการเจรจาการค้า การส่งเสริมภาพลักษณ์ ประชาสัมพันธ์แบรนด์ ในงานแสดงสินค้าและเวทีการออกแบบในต่างประเทศ ได้แก่

งานแสดงสินค้า “Bangkok Gems and Jewelry Fair” วันที่ 6 – 10 กันยายน 2566

งานแสดงสินค้า “MAISON & OBJET” ณ กรุงปารีส วันที่ 7 – 11 กันยายน 2566 และเจรจาการค้าผ่านแพลตฟอร์ม m.o.m.

งานแสดงสินค้า “COTERIE New York” วันที่ 19 – 21 กันยายน 2566

งานแสดงสินค้า “STYLE Bangkok 2024” วันที่ 20 – 24 มีนาคม 2567

งาน “Milan Design Week” วันที่ 13 – 18 เมษายน 2567

งาน “Creative Expo Taiwan” ช่วงเดือน ตุลาคม 2567

ส่วนที่ 2 สำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่ โครงการได้เปิดรับสมัครในปี 2566 ตั้งแต่วันนี้ – 16 มิถุนายน 2566 ภายใต้แนวคิด “KEEP AN EYE ON : THE CREATIVE POWER OF THE NEW ERA” เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจผ่าน 2 หลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรที่ 1 คือ การให้ความรู้พื้นฐานการเป็นนักออกแบบระดับสากล เริ่มจากการสร้างแบรนด์ การตลาดดิจิทัล และการพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การพัฒนาทักษะด้านการออกแบบหมุนเวียน (Circular Design) รวมไปถึงการพัฒนาธุรกิจสู่สังคมคาร์บอนต่ำและความยั่งยืน (SDGs)

หลักสูตรที่ 2 คือ เปิดค่ายให้นักออกแบบไทยเข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากเครือข่ายพันธมิตรของโครงการ ได้แก่ เครือบ้านและสวน ตามด้วย SC Grand และองค์กร Limited Education รวมถึงแบรนด์รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ เช่น แบรนด์ Qualy, Mobella, SARRAN และ Q Design and Play เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ นำไปต่อยอดในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน

“นายกรัฐมนตรีสนับสนุนแนวความคิดของโครงการดังกล่าว ซึ่งได้หยิบยกแนวทางนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาดำเนินการจนเห็นผลเป็นรูปธรรม เชื่อมั่นว่าการสนับสนุนคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ ให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้ในระดับสากล รวมทั้ง เพิ่มความเชื่อมั่น และส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชีย” นายอนุชา กล่าว

ทั้งนี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก 2566 หรือ Designers’ Room / Talent Thai & Creative Studio Promotion 2023 สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ทาง https://forms.gle/X9jPSTF8JAG2dj499 ตั้งแต่วันนี้ถึง 16 มิถุนายน 2566 ติดตามและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169

Advertisement

ภาครัฐจับมือเอกชนสร้างแอปฯ ส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ

People Unity News : ภาครัฐจับมือเอกชนกว่า 40 หน่วยงาน ร่วมเปิดโครงการ Digital Tourism Platform เน้นการสร้าง Platform การท่องเที่ยวแห่งชาติ
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมงานแถลงข่าวโครงการ “Digital Tourism Platform ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนกว่า 40 หน่วยงาน โดยนายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันดิจิทัลมีความสำคัญและเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะกับภาคธุรกิจแล้ว ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากไม่มีการปรับตัวรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว ธุรกิจอาจจะดำเนินไปด้วยความยากลำบาก จนอาจถึงขั้นต้องยุติการดำเนินงาน

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่าภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก แต่ภาคการท่องเที่ยวยังคงเป็นเครื่องจักรสำคัญที่ช่วยประคองภาวะเศรษฐกิจของไทย ไม่ให้ชะลอตัวลงไปมากนัก ดังนั้น หากเราสามารถดึงดูดเม็ดเงินด้านการท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศจะยังคงเดินหน้าและเติบโตได้ตามที่คาดการณ์ไว้

“อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีความเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน หากมีการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว จะทำให้การท่องเที่ยวขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงฯ เห็นว่า เครื่องมือดิจิทัลจะเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนจึงพร้อมให้การสนับสนุนภาคเอกชนผลักดันโครงการความร่วมมือนี้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว” นายพุทธิพงษ์ กล่าว

ด้านนายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย    ในฐานะประธานคณะทำงานโครงการ “Digital Tourism Platform” กล่าวว่า โครงการ Digital Tourism Platform เป็นการสร้าง Platform การท่องเที่ยวแห่งชาติ ภายใต้ชื่อ Application TAGTHAi (ทักทาย)        ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนกว่า 40 หน่วยงาน ที่มีการลงนามความร่วมมือกัน โดยดำเนินการผ่านบริษัท ไทย ดิจิทัล แพลตฟอร์ม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ทั้งนี้ Platform กลางดังกล่าว จะเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลการท่องเที่ยว สินค้าและบริการของผู้ประกอบการในตลอดทั้ง Value Chain ด้านการท่องเที่ยว ยกระดับประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบครบวงจร ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล    มาเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกตลอดการเดินทาง

นอกจากนี้ ยังช่วยสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจของประเทศไทยให้มีช่องทางดิจิทัลในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวที่หลากหลายขึ้น ซึ่งโดยรวมแล้ว  จะเกิดประโยชน์ในด้านการกระจายรายได้ และการลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งตอบรับกับยุทธศาสตร์ชาติในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยเช่นกัน

เดินหน้าโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ช่วยเกษตรกรสร้างพื้นที่เกษตรแบบครบวงจร

Communication chat icon above cityscape in the night light of the city.

People Unity News : เดินหน้าโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ช่วยเหลือเกษตรกรสร้างพื้นที่เกษตรแบบครบวงจร

15 กันยายน 2564 นายสำราญ สาราบรรณ์ รองปลัดกระทรวงกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังชมความคืบหน้าของโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่จังหวัดปราจีนบุรี ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ใด้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 บรรเทาปัญหาว่างงาน ลดปัญหาเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอื่นๆ และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในท้องถิ่นเป็นแหล่งผลิตอาหาร โดยน้อมนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่มาเป็นแนวทาง ตั้งแต่รูปแบบของเกษตรทฤษฎีใหม่ในการ บริหารจัดการน้ำ เรียนรู้การจัดทำแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยคำนึงถึงการทำการเกษตร ทฤษฎีใหม่ที่สามารถสร้างแหล่งอาหารของครัวเรือน ผลผลิตที่สามารถจำหน่ายสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ดำเนินงานผลสำเร็จในพื้นที่ เกษตรกรหลายแห่งทั่วประเทศ ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 28,000 ราย โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่า 20,016 ราย นอกจากนี้ยังมีส่งเสริมการจ้างงานในโครงการแล้ว 13,649 ราย อย่างไรก็ตาม กระทรวงงเกษตรและสหกรณ์ จะเร่งเดินหน้าโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ต่อเนื่องเพื่อให้เกษตรสามารถพึ่งพาตนเองได้

Advertising

“จุรินทร์”แถลงผลสำเร็จลุยส่งออก ทั้งจีน-อเมริกามูลค่าทะลุ 16,780 ล้าน

People Unity News : “จุรินทร์”แถลงผลสำเร็จภารกิจตลาดต่างประเทศเพื่อส่งออกทั้งจีน-อเมริกา งานเดียวมูลค่าทะลุ 16,780 ล้าน ยันประกันรายได้โอนทุกงวดส่วนยางพาราต้องตรวจสอบ

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศ แถลงข่าวสรุปภารกิจการเยือนต่างประเทศ โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า สิ่งที่จะมานำเสนอในวันนี้ประกอบด้วย 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ ผลการเดินทางเยือนจีน ผลการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา และ กิจกรรมการผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรที่กระทรวงพาณิชย์จะดำเนินการเร็วๆนี้ โดยสรุปการเยือนจีนเพื่อเข้าร่วมงาน China International Import Expo (CIIE) ที่มีประธานธิบดีสี จิ้น ผิง มาเป็นประธานเปิด โดยมีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วม 46 ราย และสามารถขายสินค้าไทยได้รวมมูลค่าถึง 2,000 ล้านบาท และมีโอกาสประชาสัมพันธ์สินค้าไทยผ่านสื่อรายสำคัญๆ เช่น สถานีโทรทัศน์ CCTV, People Daily, Shanghai Daily, Weibo และ Economic Daily และร่วมกับ Bank of China นำผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม Business matching จำนวน 40 ราย

มีการเปิดตัว TOPTHAI Flagship Store บน Tmall Global ของ Alibaba Group เพื่อผลักดันสินค้าแบรนด์ไทย รวมทั้งสินค้าผลไม้ และอาหารไทยเข้าสู่ตลาดจีน ภายใต้ร้าน Thailand Food Country Official Store บน Tmall.com  ตั้งเป้ามีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 100 บริษัท สร้างยอดขายได้ไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาทใน 3 ปี มีการหารือกับตลาดหลงอู๋ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ตลาดนำเข้า ค้าส่ง ค้าปลีก ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเซี่ยงไฮ้ ในการจัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการส่งเสริมผลไม้ทั่วจีน 7 แห่งพร้อมกันในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ซึ่งได้รับความมั่นใจว่าโอกาสผลไม้ไทยในตลาดยังมีอีกมาก โดยเฉพาะ ทุเรียน มะพร้าวสด มังคุด ลำไย มะม่วง โดยในปี 2563 มูลค่าการนำเข้าผลไม้รวมจากไทยจะเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 20 รวมเป็น 9,291 ล้านบาท การหารือซุปเปอร์มาเก็ตเหอม่า เฟรช – Hema Fresh (หรือ Freshhippo) ในเครือของอาลีบาบา ที่มีระบบบริหารจัดการทั้งหมดเป็นระบบดิจิทัล  โดยทาง Hema ยินดีให้ความร่วมมือผลักดันให้สินค้าไทยเข้าไปวางจำหน่ายในซุปเปอร์ฯ ให้มากขึ้น ดันให้ยอดขายสินค้าไทยใน Hema จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 50 ในปี 2563

นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับผลการเยือนสหรัฐอเมริกา ได้ผลักดันภาพยนตร์และบริการไทยในงาน American Film Market (AFM) 2019 ผ่านกิจกรรมเจรจาธุรกิจในงาน AFM ระหว่าง มีผู้ประกอบการไทย เข้าร่วมจำนวน 8 บริษัท เกิดผลเจรจาธุรกิจ รวม 281 ครั้ง เป็นมูลค่าถึง 2,000 ล้านบาท รวมถึงยังได้ขยายตลาดไปยังแพลตฟอร์มใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งยืนยันได้ว่าภาพยนตร์และบริการไทยได้รับความนิยมสูงทั่วโลก มีโอกาสอีกมาในแพล็ตฟอร์มภาพยนตร์ต่างๆ และยังหารือความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเรียนรู้วัฒนธรรมไทยกับ  Nickelodeon Animation Studio และ Walt Disney studio และ Animator คนไทยรุ่นใหม่ 8 ราย เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์การ์ตูนที่ผสมผสานวัฒนธรรมเอเชีย และหาแนวทางที่จะพัฒนาส่งเสริมคนไทยที่มีศักยภาพให้ได้มีโอกาสมาพัฒนาฝีมือ และสร้างสรรค์งานร่วมกับบริษัทระดับโลก ทั้งนี้ ในปี 2563 หลังจากนี้จะได้มีการจัดกิจกรรมพบปะผู้ผลิตแอนิเมชั่นระดับโลกเพื่อส่งเสริมเวทีการทำงานของคนไทยมากขึ้น

การหารือผู้นำเข้าข้าวและอาหารแปรรูปรายสำคัญของสหรัฐฯ 8 บริษัท (รวมสัดส่วนการนำเข้าจากทั้ง 8 บริษัทคิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของมูลค่านำเข้าข้าวจากไทยทั้งหมด) เพื่อตอกย้ำความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในฐานะพันธมิตรอย่างใกล้ชิด และกระทรวงพาณิชย์ยังมีโครงการแนะนำสินค้าและผู้ประกอบการไทยในงานแสดงสินค้าสำคัญในพื้นที่ อาทิ NPEW (Natural Product Expo West) 3 – 7 มี.ค. 2563 NRA (National Restaurant Association Show) 16 – 19 พ.ค. 2563 เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายข้าวไทยและข้าวหอมมะลิไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ในช่วงการจัดกิจกรรม และเพิ่มยอดการส่งออกข้าวไทยมาสหรัฐฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

นายจุรินทร์ กล่าวว่า อีกเรื่องคือการเข้าร่วมงาน Thai Night 2019 (8 พ.ย. 2019) โดยมีทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ เสด็จมาเป็นองค์ประธาน ในพิธี มีผู้เข้าร่วมงาน จำนวนกว่า 550 ราย จากประเทศต่างๆ มากกว่า 16 ประเทศ ซึ่งรวมถึงนักแสดงและผู้สร้างภาพยนตร์ชั้นนำ เพื่อเป็นเวทีที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยได้แสดงความสามารถและศักยภาพ รวมทั้งการใช้โลเคชั่นประเทศไทยในอุตสาหกรรมนี้

นอกจากนั้น ยังจะมีกิจกรรมการผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรที่กระทรวงพาณิชย์จะดำเนินการเร็วๆนี้ จัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าว สินค้านวัตกรรมที่ทำจากผลไม้ และผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาค Bio Plastic ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2562 โดยดึงผู้นำเข้า ผู้ซื้อ และตัวแทนจำหน่ายจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก กว่า 130 บริษัท อาทิ ตะวันออกกลาง สหภาพยุโรป อเมริกา แอฟริกา และเอเชีย ร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจกับผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยกว่า 200 บริษัท พร้อมตั้งเป้าสร้างมูลค่าการเจรจาซื้อขายได้สูงถึง 2,800 ล้านบาท และยังมีพิธีลงนามความตกลงทางการค้า (MOU) กว่า 8 ฉบับ และการนำผู้นำเข้าต่างประเทศเยี่ยมชมสถานประกอบการที่มีศักยภาพ และการจัดนิทรรศการสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูป

ส่วนที่จะทำต่อไปในเวลาอันใกล้นี้ คือ ตนจะนำคณะนักธุรกิจเดินทางเยือนตุรกีและเยอรมัน ระหว่าง 15 – 19 พ.ย. 2562 โดยตั้งเป้าหมายจะไปขายยางพารา ผลิตภัณฑ์อาหาร อื่นๆ จะมีการลงนาม MOU ระหว่างนักธุรกิจไทยและตุรกีในกลุ่มสินค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ข้าว มันสำปะหลัง และซอสปรุงรส และ MOU ระหว่างนักธุรกิจไทยและเยอรมัน และนำผู้ส่งออกไทยที่ผลิตยางที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทางการแพทย์เข้าร่วมแสดงสินค้าในงาน MEDICA 2019 ในระหว่างวันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2562 ณ เมืองดึสเซลดอร์ฟ เพื่อผลักดันการส่งออกผลผลิตยางพาราไปยังต่างประเทศอีกด้วย

ยันประกันรายได้โอนทุกงวดส่วนยางพาราต้องตรวจสอบ

นายจุรินทร์ กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้ว่า ขอแจ้งตัวเลขว่าจากการเริ่มดำเนินการตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบ ทั้งปาล์ม ข้าว และยางพารา 3 ตัวนี้มาถึงวันนี้มีการโอนเงินส่วนต่างให้กับเกษตรกรแล้วดังนี้ โดยปาล์มน้ำมันโอนเงินให้กับเกษตรกรแล้วจำนวน 295,880 รายคิดเป็นเงิน 3,360 ล้านบาท ส่วนข้าวโอนแล้ว 440,000 รายคิดเป็นเงิน 11,400 ล้านบาท และยางพาราได้มีการโอนไปแล้ว 503,800 ราย คิดเป็นเงิน 2,868 ล้านบาท

นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับยางพารานั้นจะปัญหาทางปฏิบัติอยู่บ้าง คือกำหนดวันโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรตั้งแต่ 1-15 พฤศจิกายน แต่การยางแห่งประเทศไทยต้องไปตรวจสวนยางด้วยว่ายังทำสวนอยู่หรือไม่และผลิตยางชนิดใดยางแผ่น น้ำยางสด หรือยางก้อนถ้วย จึงจะให้ ธ.ก.ส.โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกร เนื่องจากมีบุคลากรจำกัดและต้องใช้เวลาจึงทำให้วันที่ 15 พฤศจิกายน การยางต้องตรวจสวนให้ครบถ้วน ซึ่ง รมว.กระทรวงเกษตรและตนจะให้ดำเนินการให้เร็วที่สุดเพราะเกษตรกรจำนวนมากยังรอเงินส่วนต่างโอนเข้าบัญชีอยู่

อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้หมายความว่าหลังวันที่ 1 – 15 จะไม่ได้รับเงินส่วนต่างแต่จะโอนให้ต่อเนื่องจนกว่าจะครบบัญชีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ และยางนั้นจะโอน 3 งวดต่อปีทุก 2 เดือน เดือนนี้โอน 1 ถึง 15 พฤศจิกายน 2572 งวดหน้าโอนวันที่ 1 มกรารม 2563 สำหรับ 1 มกราคม 2573 นั้นจะไม่ได้ช้ามากเหมือนงวดแรกเนื่องจากมีการตรวจส่วนครบถ้วนแล้วสามารถโอนเงินได้ทันทีภายในวันเดียวคือวันที่ 1 มกราคมงวดต่อไปก็โอนได้ครบถ้วนภายในวันเดียวกันช่วงการโอนเงินงวดแรกก็ปุบปับเพราะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ตั้งแต่มีประเทศไทยมาที่มีการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกยางจึงมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่บ้าง

แจกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ไทยนิยม ยั่งยืน) ผลิตรอบ 2 ให้ผู้มีสิทธิอีก 78,572 ราย

People Unity : กรมบัญชีกลางมอบหมายให้สำนักงานคลังจังหวัด / ทีมหมอคลังอุ่นใจ แจกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ขณะนี้ได้ผลิตบัตรฯสำหรับผู้มีสิทธิที่ข้อมูลคลาดเคลื่อน ไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน เพิ่มเติมครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว พร้อมส่งมอบให้แก่ผู้มีสิทธิ 78,572 ราย

18 เมษายน 2562 นางญาณี แสงศรีจันทร์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมบัญชีกลางได้มอบหมายให้สำนักงานคลังจังหวัด / ทีมหมอคลังอุ่นใจ 76 จังหวัด แจกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้แก่ผู้มีสิทธิจากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ในกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ในปี 2560 ที่ยังไม่ได้ไปรับบัตรสวัสดิการฯ จากทีมไทยนิยม ยั่งยืน และอำเภอ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 เป็นต้นมา

โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า กรมบัญชีกลางได้ผลิตบัตรสวัสดิการฯ ให้แก่ผู้มีสิทธิไปแล้ว จำนวน 3,121,307 ราย โดยผลิตครั้งแรก จำนวน 3,042,735 ราย และผลิตครั้งที่ 2 สำหรับผู้มีสิทธิที่มีข้อมูลคลาดเคลื่อน ไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจนเพิ่มเติมอีก จำนวน 78,572 ราย โดยได้แจกบัตรสวัสดิการฯ ให้แก่ผู้มีสิทธิซึ่งได้นำไปใช้จ่ายแล้ว จำนวน 2,984,727 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.62 (ข้อมูล ณ วันที่ 12 เมษายน 2562) สำหรับผู้มีสิทธิที่ยังไม่ได้รับบัตรสวัสดิการฯ สามารถเดินทางไปรับบัตรสวัสดิการฯด้วยตนเองได้ที่สำนักงานคลังจังหวัด / กรุงเทพมหานคร ตามที่อยู่ปัจจุบันที่ได้ลงทะเบียนไว้ โดยนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงไปแสดงตน เพื่อขอรับบัตรสวัสดิการฯ และลงลายมือชื่อเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการรับบัตรสวัสดิการฯ หรือกรณีจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับบัตรสวัสดิการฯแทน ต้องดำเนินการ ดังนี้ 1. ให้ผู้มีสิทธิทำหนังสือมอบอำนาจและลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ 2. นำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิที่เซ็นรับรองสำเนาแล้ว แนบไปพร้อมกับหนังสือมอบอำนาจ 3. ผู้รับมอบอำนาจนำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้มีสิทธิและของผู้รับมอบ ไปยื่นที่สำนักงานคลังจังหวัด / กรุงเทพมหานคร เพื่อขอรับบัตรสวัสดิการฯแทน สำหรับการใช้งานบัตรสวัสดิการฯจะดำเนินการเช่นเดิม คือ ผู้มีสิทธิจะนำบัตรสวัสดิการฯไปใช้ได้หลังจากวันที่ได้รับบัตรสวัสดิการฯ 2 วัน เนื่องจากต้องดำเนินการ Activate บัตร เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธินำเงินในบัตรไปใช้

เศรษฐกิจ : แจกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ไทยนิยม ยั่งยืน) ผลิตรอบ 2 ให้ผู้มีสิทธิอีก 78,572 ราย

People Unity : post 18 เมษายน 2562 เวลา 11.50 น.

นายกฯสั่งเร่งติดตามผลกระทบ หลังอียูผ่าน กม.ห้ามสินค้าทำลายป่า

People Unity News : 14 ธันวาคม 2565 รองโฆษกรัฐบาล เผยนายกฯ สั่งตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากกรณีอียูผ่าน กม.ห้ามนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับการทำลายป่า เร่งทำความเข้าใจ ให้ความรู้ผู้ประกอบการ เกษตรกรตลอดห่วงโซ่การผลิต

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามรายละเอียดกรณีที่คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู) บรรลุข้อตกลงในการมีกฎหมายห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อมาจำหน่ายในสหภาพยุโรป ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะกระทบต่อสินค้าในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ น้ำมันปาล์ม ปศุสัตว์ ถั่วเหลือง กาแฟ โกโก้ ไม้และยางพารา

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวอาจจะกระทบต่อสินค้าจากประเทศไทยที่ส่งออกไปยังประเทศในสหภาพยุโรปด้วย เนื่องจากผลของกฎหมายจะบังคับให้ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าจากทั่วโลกไปขายในยุโรปจะต้องจัดทำรายงานการตรวจสอบสถานะของผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาขายว่าตลอดห่วงโซ่การผลิตนั้นไม่เกี่ยวข้องกับตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งข้อตกลงของอียูเรื่องนี้ยังเหลือขั้นตอนการอนุมัติเป็นกฎหมายเพื่อบังคับใช้อย่างเป็นทางการ แต่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้เร็วๆนี้ และจะให้เวลาผู้ประกอบการทั่วยุโรปที่นำเข้าสินค้าหรือมีห่วงโซ่การผลิตอยู่ทั่วโลกเตรียมตัวเพื่อทำรายงานรับรองกระบวนการผลิตประมาณ 18-24 เดือนแล้วแต่ขนาดของธุรกิจ

“นายกรัฐมนตรีขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามรายละเอียดของกฎหมายเรื่องนี้ว่าครอบคลุมสินค้าใดบ้าง ประเมินผลกระทบต่อประเทศไทย พร้อมกับให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการและเกษตรกรให้เกิดความเข้าใจทั้งห่วงโซ่การผลิต และปรับตัวให้ทันกับกฎกติกาใหม่ที่จะเกิดขึ้น ขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับประเด็นการผลิตที่ยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอน ซึ่งทิศทางดังกล่าวส่งผลถึงการออกมาตรการและกฎหมายในหลายประเทศ ซึ่งสามารถเป็นเครื่องกีดกันทางการค้าในระยะต่อไป” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลตระหนักถึงประเด็นดังกล่าว จึงกำหนดให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและลงทุนบนฐานเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญเร่งด่วน และได้นำเสนอเป็นหนึ่งในประเด็นหลักของการประชุมเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งสมาชิกเอเปคให้การสนับสนุน เนื่องจากเห็นพ้องต่อความเร่งด่วนที่ทั่วโลกต้องมีกระบวนการสร้างความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม

Advertisement

“จุรินทร์”รุกสร้าง”สนามบินพังงา”รองรับท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน

People Unity : “จุรินทร์”รุกสร้าง”สนามบินพังงา” ระดมทุกฝ่ายเร่งงานรองรับท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน

วันที่ 25 ต.ค.2562 เวลา 14.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางตรวจราชการ ราชการจังหวัดภูเก็ตและพังงา ได้ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 6 ของรองนายกรัฐมนตรี ภาคใต้ฝั่งอันดามันซึ่งเป็นเขตตรวจราชการในอำนาจรับผิดชอบ ประกอบด้วย ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล เวลา 14.30 น.นายจุรินทร์ เป็นประธานการประชุมกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ที่ท่าอากาศยานภูเก็ต ในวาระการก่อสร้างสนามบินพังงงา โดยภายหลังการประชุม

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรีให้ทำหน้าที่เป็นประธานรับผิดชอบ วันนี้ได้เดินทางมากับ นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะ ประเด็นสำคัญก็คือ การติดตามการคืบหน้าการก่อสร้างสนามบินพังงา ซึ่งสถานการณ์ผู้โดยสารและการท่องเที่ยวในเขตอันดามัน ปัจจุบันนี้สนามบินหลัก ที่ต้องรองรับผู้โดยสารจำนวนมากที่สุดก็คือสนามบินภูเก็ต ปรากฏว่าในสถานการณ์ปัจจุบันหลังจากที่ได้มีการขยายทุกอย่างแล้วนาทีนี้ ศักยภาพของสนามบินภูเก็ตสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 12 ล้านคน แต่ข้อเท็จจริงขณะนี้มีผู้โดยสารรวมกันแล้ว 18 ล้านคนซึ่งเกินศักยภาพที่จะรองรับได้ไป 5.5 ล้านคน

นายจุรินทร์ กล่าวว่า จึงเป็นที่มาที่จำเป็นต้องมีสนามบินอีกแห่งในเขตอันดามันที่มารองรับนักท่องเที่ยวและผู้โดยสารที่ล้นจากสนามบินภูเก็ต โครงการสนามบินจังหวัดพังงาซึ่งเกิดขึ้น ซึ่งได้มีการศึกษาเบื้องต้นเตรียมการที่จะก่อสร้างสนามบิน จะรองรับผู้โดยสารเที่ยวรวมกันที่ 25 ล้านคนซึ่งผลจากการหารือร่วมกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปว่า 1.มีความจำเป็นในการสร้างสนามบินเพื่อร่วมกันทำงานเพื่อรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นทุกวันในฝั่งอันดามันรวมทั้งนักท่องเที่ยว 2.ที่ประชุมมีมติรัฐมนตรีช่วยคมนาคมประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหาข้อสรุปว่าจากดำเนินการเพื่อให้สนามบินพังงามีความคืบหน้าต่อไปภายใต้การดำเนินการของหน่วยงานในส่วนของกระทรวงคมนาคมหน่วยใดระหว่างกรมการท่าอากาศยาน กับ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) 3.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาติดตามเรื่องนี้โดยใกล้ชิดต่อไป และ 4.ให้ผู้ตรวจสำนักนายกรัฐมนตรีติดตาม รายงานการตรวจราชการ นี้

ภารกิจตรวจราชการในครั้งนี้ นายจุรินทร์เดินทาง ภายหลังเสร็จจากภารกิจช่วงเช้า คือ การประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ครั้งที่ 2/2562 นายจุรินทร์ และคณะประกอบด้วย นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายไชยยศ จิรเมธากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายเรวัต อารีรอบ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตส.ส.ภูเก็ต นายเจือ ราชสีห์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ นางอัญชลี วานิช เทพบุตร อดีตส.ส.ภูเก็ต นางกันตวรรณ ตันเถียร ส.ส.พังงา ร่วมกับ นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าฯภูเก็ต นายจำเริญ ทิพยพงศ์ธาดา ผู้ว่าฯพังงา เรืออากาศตรี ธานี ช่วงชู ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต นางชัชชิดา อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลนุทธ์องค์กร และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ประชุม หารือ และลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อตรวจสอบพิกัดพื้นที่การสร้างสนามบินพังงา สำหรับรองรับประชาชนชาวพังงา และการท่องเที่ยงฝั่งทะเลอันดามัน โดยการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่นั้น มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการก่อสร้างสนามบินประมาณกว่า 7,300 ไร่ จากการสำรวจพบว่าพื้นที่ภายในจังหวัดภูเก็ตไม่มีพื้นที่ว่างเพียงพอและไม่มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมจึงพิจารณาหาพื้นที่จับหวัดพังงา

นายกฯ ชื่นชมการทำงานสนับสนุนภาคเกษตรของไทย

People Unity News : 17 พฤษภาคม 2566 โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ชื่นชมการทำงานสนับสนุนภาคเกษตรของไทย ส่งผลการส่งออกทุเรียนจากไทยไปจีนสร้างมูลค่ากว่าแสนล้านบาท พร้อมขอบคุณการสนับสนุนทุเรียนทะเลหอย สินค้า GI ย้ำมาตรฐานสินค้าไทย เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้เกษตรกร

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอบคุณความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผลยอดการส่งออกทุเรียนไทยไปจีน ในช่วงฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออก 2566 รวมมูลค่ากว่าแสนล้านบาท

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การส่งออกทุเรียนในฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 จนถึงต้นเดือนพฤษภาคม 2566 ไทยส่งออกทุเรียนสดไปจีนทั้งสิ้น 25,000 ตู้คอนเทนเนอร์ มีน้ำหนัก 4.5 แสนตัน สร้างมูลค่าการส่งออกกว่าแสนล้านบาท โดยใช้เส้นทางการส่งออก ทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศรวมทั้งเส้นทางขนส่งทางรถไฟ โดยผลการดำเนินการส่งออกเกินเป้าหมายทำยอดสูงสุด เกินกว่าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งเป้าไว้ รวมถึงทุเรียนไทยยังสามารถครองสัดส่วนตลาดในจีนได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดกว่า 90% และกระทรวงเกษตรฯ มั่นใจว่าปี 2566 จะสามารถส่งออกผลไม้เศรษฐกิจ ทั้งทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง มะม่วง มะพร้าว ฯลฯ ได้ตามเป้าหมาย คือ 4.44 ล้านตัน สร้างเงินให้ประเทศและเกษตรกรกว่า 2 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ รัฐบาลส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indication : GI) ให้กับสินค้าไทย เพื่อเพิ่มโอกาส เพิ่มมูลค่า คงคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า ซึ่งมีสินค้าเกษตรทุเรียนจากภาคใต้ชนิดใหม่ ได้รับการจดทะเบียนเพื่อให้เป็นที่รู้จัก สร้างรายได้ให้ชุมชน ได้แก่ ทุเรียนทะเลหอย ปลูกในอำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพดีและมีลักษณะโดดเด่น คล้ายทุเรียนผสมครีมหรือนมสด เนื้อสัมผัสแห้ง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

“นายกรัฐมนตรีติดตาม ชื่นชมการทำงานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของรัฐบาล และขอบคุณทุกหน่วยงาน ที่ช่วยรักษาคุณภาพของทุเรียนในการส่งออกเพื่อให้ตรงตามมาตรฐาน พร้อมร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลจะสนับสนุนผลักดันการขึ้นทะเบียน GI เน้นระบบควบคุมคุณภาพสินค้า ส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของสินค้า รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการขาย และขยายช่องทางการตลาดทุกรูปแบบ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจภายในประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทยเพื่อความยั่งยืน” นายอนุชา กล่าว

Advertisement

นายกฯหารือผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมทำงานแบบ New Normal ร่วมรัฐ-เอกชน-ประชาชน

People Unity News : นายกฯพบหารือผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เน้นการทำงานในรูปแบบ New Normal ร่วมรัฐ-เอกชน-ประชาชน

19  มิถุนายน 2563 เวลา 11.00 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี  ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำคณะผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าพบเพื่อหารือและรับฟังข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยการประสานเพื่อขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบ New Normal โอกาสนี้ นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและนายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และนางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมหารือด้วย

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยการแก้ปัญหาระยะยาว ลดผลกระทบจากปัญหาไวรัสโควิด-19 โดยดำเนินมาตรการต่างๆครอบคลุมทั้ง “เยียวยา” และ “ฟื้นฟู” เช่น การลดภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วให้มีการขยายการปรับลดค่าไฟฟ้าจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5  การลดค่าจดจำนองและค่าโอนที่ดินเหลือร้อยละ 0.01 ในปี 2563  การลดเงินสมทบประกันสังคมของนายจ้างจากร้อยละ 4 ให้เหลือเพียงร้อยละ 1 และขยายระยะเวลาลดเงินสมทบประกันสังคมของลูกจ้าง ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 63  เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและรักษาตำแหน่งงานในระบบ รวมทั้งการสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารและสถานบันการเงินของรัฐต่างๆ รวมทั้ง พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้านบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย มาตรการที่ออกมาเพราะรัฐบาลตั้งใจดูแลประชาชนทุกกลุ่มทั้งผู้ประกอบการ SMEs  แรงงานและเกษตรกร ล้วนเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยทั้งสิ้น

โอกาสนี้  ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกล่าวประทับใจต่อคำแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีถึงรูปแบบการทำงานของ “วิธีการทำงานแบบ New Normal ของนายกรัฐมนตรี” ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน โดยวันนี้นายกรัฐมนตรีสร้างโอกาสและเวทีให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศและหน่วยงานภาครัฐ ร่วมพูดคุยหารือถึงข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนอย่างตรงไปตรง รวมทั้งการที่รัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือ เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม ต่อเนื่องจนถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากมาตรการต่างๆ ประเทศไทยสามารถเปลี่ยนวิกฤต “โควิด-19” ให้กลายเป็น “โอกาส” หลังจากไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างดี จนได้รับการยอมรับและชื่นชมจากนานาประเทศ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยังแสดงความความมั่นใจด้วยว่า ประเทศไทยจะกลายเป็นเป้าหมายปลายทางที่น่าสนใจทั้งสำหรับนักลงทุนและนักท่องเที่ยวสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง

นายกรัฐมนตรียังย้ำว่าวันนี้คือการทำงานแนวใหม่ “New Normal” ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน ประชาชน ลดปัญหา อุปสรรคและเน้นให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานให้เป็นมิติใหม่ของการทำงานเพื่อประเทศไทยอย่างแท้จริง

Advertising

“สุพัฒนพงษ์” เยือนญี่ปุ่นครั้งแรกนับจากโควิดระบาด ดึงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์-เทคโนโลยีขั้นสูง

People Unity News : 20 เมษายน 2565 บีโอไอ เผยรองนายกรัฐมนตรี นำคณะหน่วยงานด้านเศรษฐกิจเดินทางไปชักจูงการลงทุน ณ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมพบหารือกับบริษัทชั้นนำในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ สานความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับกลุ่มอุตสาหกรรม BCG ย้ำไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญในภูมิภาค

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 19 – 23 เมษายน 2565 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ผู้แทนการค้าไทย นำคณะหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทยเดินทางไปชักจูงการลงทุน ณ กรุงโตเกียว และ จังหวัดคานากาวะ ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นการเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19

“สถานการณ์การระบาดของโควิด – 19 ของโลกเริ่มคลี่คลาย ทำให้หลายประเทศรวมทั้งไทยเริ่มเปิดประเทศ และสามารถเดินทางระหว่างประเทศได้ ในช่วงเวลานี้การลงทุนถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ บีโอไอจึงต้องเร่งจัดกิจกรรมชักจูงลงทุน ประชาสัมพันธ์มาตรการส่งเสริมการลงทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน” นางสาวดวงใจกล่าว

วัตถุประสงค์ของการเดินทางเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ เพื่อสานต่อข้อริเริ่มการเป็นหุ้นส่วนการร่วมสร้างสรรค์ (co – creation) ระหว่างไทย – ญี่ปุ่น และนำไปสู่การลงทุนในอนาคต ภายใต้ข้อริเริ่ม “Asia – Japan Investing for the Future Initiative” หรือ AJIF ที่ทั้งสองฝ่ายได้ประกาศเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

สำหรับการเดินทางเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี และคณะฯ มีกำหนดการเข้าพบ นายฮิโรคาสึ มัตสึโนะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น รวมทั้งหารือกับ นายฮากิอูดะ โคอิจิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น สมาพันธ์สมาคมธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น (KEIDANREN) รวมถึงบริษัทเอกชนรายใหญ่ของญี่ปุ่น ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อนำเสนอนโยบายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่ไทยให้ความสำคัญ ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การแพทย์ อุตสาหกรรมกลุ่ม BCG การท่องเที่ยวและบริการ

นางสาวดวงใจกล่าวว่ารัฐบาลไทยได้ออกมาตรการหลายประการเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกนักลงทุนหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ มาตรการส่งเสริมการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า มาตรการด้านภาษี และการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวข้องกับยานพาหนะไฟฟ้า เช่น สถานีชาร์จยานพาหนะไฟฟ้า และการส่งเสริมโรงงานผลิตแบตเตอรี่ เป็นต้น

มาตรการส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับยานพาหนะไฟฟ้า รวมถึงการส่งเสริมโรงงานผลิตแบตเตอรี่ จะส่งผลให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะด้วย ถือเป็นโอกาสดีที่บริษัทญี่ปุ่นทั้งในกลุ่มยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการเชิญชวนให้นักธุรกิจและนักลงทุนญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาพำนักในประเทศไทย โดยกำหนดวีซ่าประเภทพิเศษคือวีซ่าสำหรับผู้พำนักระยะยาว (Long – Term Resident Visa: LTR) ซึ่งมีอายุถึง 10 ปี และญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับวีซ่าประเภทใหม่นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มบุคลากรทักษะสูง

Advertisement

Verified by ExactMetrics