วันที่ 29 มีนาคม 2024

ครม.เศรษฐกิจออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้าน เงินครองชีพ-เงินเที่ยว-สินเชื่อเกษตรกร

People Unity : นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประชุม ครม.เศรษฐกิจ เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้าน ดูแลภัยแล้ง ดูแลผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ช่วยเหลือค่าครองชีพ เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 20 ส.ค.นี้

วันนี้ (16 ส.ค.2562) เวลา 09.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ครั้งที่ 1/2562 ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน

ภายหลังการประชุม นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้าน คือ ด้านการดูแลภัยแล้ง การดูแลผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการช่วยเหลือค่าครองชีพ  ซึ่งมีทั้งงบประมาณปี 62 และวงเงินสินเชื่อสถาบันการเงินของรัฐ ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ เพื่อให้มีผลทันทีในเดือนสิงหาคม 2562

สำหรับมาตรการที่สำคัญ คือ การช่วยเหลือค่าครองชีพ ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งทุกคนที่ถือบัตรฯจำนวน 14.5 ล้านคน จะได้รับการเติมเงินพิเศษเพิ่มคนละ 500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน ระหว่างสิงหาคม – กันยายนนี้ รวม 1,000 บาท ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเดือนละ 500 บาทเป็นเวลา 2 เดือนเช่นเดียวกัน กลุ่มสุดท้าย คือเงินเลี้ยงดูบุตรสำหรับผู้ที่ถือบัตรฯ ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี ได้เดือนละ 300 บาท เป็นเวลา 2 เดือน

ส่วนมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ที่ประชุมเห็นชอบให้แจกเงินให้กับผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดนอกเขตภูมิลำเนาจำนวน 1,000 บาท โดยมีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นจำนวน 10 ล้านคน โดยต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ผ่านแอพพลิเคชันที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น และยังให้ผู้ที่ได้สิทธิ์สามารถนำค่าใช้จ่ายจริงจากการเดินทางท่องเที่ยวมาขอคืนเงินได้อีก 15% ของค่าใช้จ่ายที่ไม่เกินวงเงิน 30,000 บาท ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดจะมีความชัดเจนหลังจากเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว และยังมีการยกเว้นวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวจีน และอินเดีย แต่ต้องหารือกับหน่วยงานเกี่ยวข้องต่อไปว่าจะยกเว้นให้นานเท่าไร

ขณะที่มาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทั้งปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นเวลา 1 ปี และให้สินเชื่อฉุกเฉินจาก ธ.ก.ส. คนละไม่เกิน 50,000 บาท ปีแรกฟรีดอกเบี้ย รวมวงเงิน 50,000 ล้านบาท ปล่อยสินเชื่อฟื้นฟูความเสียหายจากผลกระทบภัยแล้งรายละไม่เกิน 5 แสนบาท วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท พร้อมทั้งขยายเวลาชำระหนี้เงินกู้ของ ธ.ก.ส. และช่วยเหลือต้นทุนการผลิตกับชาวนาที่ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 62/63 ให้กับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 3 ล้านคน

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการการส่งเสริมการลงทุนในประเทศ สำหรับผู้ที่ซื้อเครื่องจักรสามารถนำเงินค่าใช้จ่ายหักลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่า รวมทั้งมีมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีรายเล็กและกลาง ทั้งการช่วยเหลือผ่านกองทุนของรัฐบาล จากธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทย โดยมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ช่วยค้ำประกัน และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน วงเงินรวม 52,000 ล้านบาท สุดท้ายคือการช่วยพักชำระหนี้เงินต้นให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแจงว่ามาตรการต่างๆเหล่านี้ ได้มีการหารือกับสำนักงบประมาณมาโดยตลอด และคำนึงถึงวินัยการเงินการคลังเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยที่ยังสามารถเดินหน้าเติบโต และบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ร้อยละ 3 ทั้งปี

ด้าน นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวว่า ที่ประชุมตั้งเป้าหมายว่าจะดูแลเศรษฐกิจให้ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 3% ในปีนี้ โดยสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ประมาณการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้อยู่ระหว่าง 2.7 – 3.2% และมีค่ากลาง 3% โดยรายละเอียดทั้งหมดจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ ขณะที่ ครม. เศรษฐกิจครั้งต่อไปจะหารือในเรื่องของมาตรการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ และมาตรการส่งเสริมการส่งออกโดยกระทรวงพาณิชย์ในปลายเดือนสิงหาคมนี้

เศรษฐกิจ : ครม.เศรษฐกิจออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้าน เงินครองชีพ-เงินเที่ยว-สินเชื่อเกษตรกร

People Unity : post 16 สิงหาคม 2562 เวลา 19.30 น.

ข่าวดี!! การรถไฟฯ จัดโปรลดค่าขนส่งพัสดุรายย่อยไม่เกิน 2 กก. เหมาจ่าย ชิ้นละ 30 บาท

People Unity News : 17 ตุลาคม 2566 ทำเนียบฯ – การรถไฟฯ จัดโปรโมชั่นลดค่าบริการขนส่งพิเศษ พัสดุรายย่อยไม่เกิน 2 กก. เหมาจ่าย ชิ้นละ 30 บาท ช่วยลดค่าครองชีพ ถึง 31 มีนาคม 67

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม สนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนและภาคธุรกิจ ดำเนินการปรับลดค่าบริการขนส่งพิเศษสำหรับพัสดุประเภทหีบห่อวัตถุมีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม เหลือเพียงชิ้นละ 30 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยลดต้นทุนและรายจ่ายแก่ประชาชน ผู้ประกอบการ ร้านค้าขนาดเล็ก ร้านออนไลน์ รวมถึงเอสเอ็มอี ให้มีต้นทุนการขนส่งที่ถูกลงกว่าปกติถึง 50-70% เริ่มเปิดให้บริการได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 มีนาคม 2567

สำหรับสินค้าใช้บริการขนส่งดังกล่าว นายคารมกล่าวว่า จะต้องบรรจุในกล่องหรือซองที่ปิดมิดชิด แข็งแรง เป็นสินค้าที่ไม่เน่าเสียง่าย และมีน้ำหนักต่อชิ้นไม่เกิน 2 กิโลกรัม เช่น อะไหล่ เสื้อผ้า อาหารแห้ง โดยคิดอัตราค่าบริการแบบเหมาจ่ายชิ้นละ 30 บาท ตลอดระยะทางที่มีการขนส่งสินค้าของขบวนรถสินค้าและขบวนรถโดยสาร นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการสามารถรวมส่งสินค้าในครั้งเดียวกันได้ถึง 10 ชิ้น ซึ่งจะคิดค่าบริการเป็นรายชิ้นโดยไม่คิดค่าบริการยกขึ้นลง ตลอดจนมีการรับประกันความเสียหายของสินค้าที่เกิดจากการขนส่งตามระเบียบของการรถไฟฯ อีกด้วย

“ขอเชิญชวนประชาชนใช้บริการโปรโมชั่นพิเศษนี้ได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุดข้าราชการ และสามารถใช้บริการได้ทุกสถานีที่มีการรับ-ส่งสินค้าของการรถไฟฯ ซึ่งแต่ละครั้งจะใช้เวลาขนส่งจากต้นทางถึงปลายทางที่รวดเร็วภายใน 1-2 วัน ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.railway.co.th หรือ Call Center 1690” นายคารม กล่าว

Advertisement

“จุรินทร์”ทำยอดอีก 2,400 ล้านที่เยอรมนี ขายผลิตภัณฑ์ยาง

People Unity News : “จุรินทร์”ทำยอดอีก 2,400 ล้านที่เยอรมนี ขายผลิตภัณฑ์ยาง ถุงมือยางทางการแพทย์ เครื่องดื่ม อาหารพร้อมประกาศลุยตลาดยุโรปต่อเนื่อง

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เยือนประเทศเยอรมนี โดยช่วงเช้า เวลา 9.30 – 10.00 น. เป็นประธานและสักขีพยานการลงนาม MOU ระหว่างนักธุรกิจไทยและเยอรมนี (ข้าวและเครื่องดื่ม) ณ โรงแรม Hyatt Regency Dusseldorf ผู้ส่งออกไทย บริษัท ยูนิเวอร์แซลไรซ์ จำกัด กับ บริษัท Kreyenhop & Kluge GmbH & Co. KG และผู้ส่งออกไทย บริษัท Boonrawd Trading International Co.,Ltd กับ บริษัท Kreyenhop & Kluge GmbH & Co. KG

ภายหลังการลงนาม นายจุรินทร์ กล่าวว่า ได้นำกระทรวงพาณิชย์และการยางแห่งประเทศไทยและภาคเอกชนมาเยือนประเทศเยอรมันนีเที่ยวนี้ มีกิจกรรมหลัก 3 เรื่องด้วยกันเรื่องที่หนึ่งการยางแห่งประเทศไทยและภาคเอกชนมาเจรจาขายยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางสองก็คือพระเอกชนมาร่วมงานเมดิก้า Mecida 2019 ซึ่งเป็นงานที่เยอรมันจัดงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวกับการแพทย์และการดูแลสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในโลกติดต่อกันมาหลายปี กิจกรรมที่สามก็คือการยางพาภาคเอกชนไทยและกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศไปส่งเสริมการขายสินค้าไทยในห้างค้าส่งรายใหญ่ของเยอรมันคือห้าง METRO ซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วประเทศใน 760 สาขาด้วยกันซึ่งสินค้าส่วนใหญ่คือสินค้าอาหาร อาหารสำเร็จรูป สำหรับการนำการยางและภาคเอกชน มาขายสินค้าทางการเกษตรนั้นปรากฏ ผลคือวันนี้ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจหรือ MOU ในการขายข้าวถุง และขายข้าวสารถุง จำนวน 6000 ตันให้กับภาคเอกชนของเยอรมัน มูลค่า 250 ล้านบาทโดยประมาณ และสองก็คือขายเครื่องดื่มให้กับภาคเอกชนประมาณ 40 ล้านบาทและผลิตภัณฑ์ยางนั้นสามารถทำยอดขายรวมกันเป็นถุงมือยางเพื่อการแพทย์ 2000 ล้านบาทโดยประมาณและสินค้าอื่นๆในงาน MEDICA คาดการณ์ว่าจะทำยอดปีนี้ที่มาร่วมงานประมาณ 150 ล้านบาท รวมมูลค่าทั้งหมดเป็น 2400 ล้านบาท สำหรับการเดินทางมาเยี่ยมเยอรมันครั้งนี้

สำหรับงาน MEDICA นั้นมีภาคเอกชนไทยมาร่วมงานทั้งหมด 16 บริษัทด้วยกัน สินค้าที่นำมาเจรจาในเรื่องของการขายประกอบด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือทางด้านการดูแลสุขภาพการกายภาพบำบัด อุปกรณ์ที่ใช้ในกระดูก อุปกรณ์ไฟฟ้าทางการแพทย์และของที่ใช้แล้วทิ้งทางการแพทย์ เป็นต้นที่การยางแห่งประเทศไทยนั้นถือว่าเป็นตลาดใหม่สำหรับการยางเพราะฉะนั้นการยางก็ได้มีการนัดผู้นำเข้าของเยอรมันเจรจาแต่ว่ายังต้องใช้เวลาในการนับหนึ่งแต่เชื่อว่าการยางจะสามารถที่จะขายยางได้เยอะทีเดียว

นายจุรินทร์ กล่าวว่า อยากจะเรียนให้ทราบเพิ่มเติมสำหรับการเปิดตลาดในเยอรมันและสหภาพยุโรปโดยเยอรมันถือว่าเป็นผู้นำประเทศหนึ่ง ในสหภาพยุโรป เราได้มีการเตรียมการในการบุกตลาดสหภาพยุโรปในหลายเรื่องด้วยกันเรื่องที่หนึ่งคือเริ่มต้นที่จะทำเอฟทีเอระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ผมได้มอบหมายให้กรมเจรจาการค้าได้เริ่มต้นแล้วและถ้าการเจรจามีความคืบหน้าจะทำให้เร็วที่สุดเพราะจะมีผลช่วยให้การค้าระหว่างสหภาพยุโรปกับเรามีมูลค่าเพิ่มขึ้น และเราได้รับสิทธิในการส่งสินค้าบางอย่างที่ยังมีกำแพงภาษีจากสหภาพยุโรปที่ทำให้เราสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันในเรื่องภาษีนำเข้าบางตัวเช่นถุงมือยางเพื่อการแพทย์สำหรับตลาดสหภาพยุโรปรวมทั้งเยอรมันประเทศไทยต้องเสียภาษีนำเข้า 2.3% ขณะที่คู่แข่งสำคัญของเราคือมาเลเซียไม่ต้องเสียภาษีเพราะเขาได้สิทธิ์จีเอสพีซึ่งจะได้ไปจนถึงปีหน้าถ้าเราสามารถที่จะทำเอฟทีเอร่วมกันภาษีก็จะเป็นศูนย์ทำให้เราสามารถแข่งขันกับมาเลเซียได้คือสิ่งที่เราต้องเร่งรัดเอฟพีเอไทยกับอียูนอกจากนั้นสินค้าที่เราจะส่งไปยังสหภาพยุโรปต้องเป็นสินค้าที่มีมาตรฐานสูงเช่นมีเงื่อนไขด้านความยั่งยืน สิ่งแวดล้อมมาตรฐานอียูและ food safety เหล่านี้เป็นต้น

“ผู้ที่จะส่งสินค้ามาที่สภาพยุโรปต้องเป็นผู้ผลิตไทยที่ได้มาตรฐานและเป็นไปตามเงื่อนไขของอียูผมมั่นใจว่าประเทศของเราพัฒนาไปเยอะมากเรื่องการขายเหล่านี้ซึ่งเป็นข้อจำกัดบางเรื่องแต่เราสามารถที่จะบรรลุเงื่อนไขเหล่านี้ได้เพื่อให้เข้ามาแข่งขันในตลาดเหล่านี้ได้สำหรับตลาดที่ตั้งเป้าจะเข้ามาขยายในเยอรมันกับสหภาพยุโรปก็คืออย่างเรื่องผลิตภัณฑ์ยางและเรื่องข้าวโดยเฉพาะข้าวออแกนิกซ์ ซึ่งเป็นที่นิยมและไบโอพลาสติก อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง เช่นไก่แช่แข็ง เป็นต้น รวมทั้งในเรื่องของ startup ซึ่งเรามีศักยภาพเช่นในเรื่องของอนิเมชั่นภาพยนตร์สามารถที่จะมาทำความร่วมมือกับเยอรมันสหภาพยุโรปเพื่อเป็นแหล่งผลิตอนิเมชั่นบางส่วนให้กับเขาได้และที่สำคัญคือธุรกิจบริการร้านอาหารไทย สปา ก็เป็นธุรกิจบริการที่มีอนาคตสำหรับประเทศไทยในตลาดเยอรมันและตลาดสหภาพยุโรปรวมทั้งการที่เราจะต้องนำภาคเอกชนมาร่วมงานแสดงสินค้าในหลายภาคส่วนทั้งการแพทย์อาหารอื่นๆที่ ที่เค้าจัดเป็นประจำทุกปีนำผู้นำเข้าจากทั่วโลกมาที่นี่” นายจุรินทร์ กล่าว

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ทั้งนี้ทำให้ยอดขายมีความชัดเจน 2400 ล้านบาทเฉพาะทริปเดียวที่มาอย่างอื่นคือเรื่องปูทางอนาคตเช่นการยางแห่งประเทศไทยซึ่งวันนี้นัดผู้นำเข้ารายใหญ่สองรายซึ่งมีความคืบหน้าอย่างไรทางการยางก็จะรายงานให้ผมทราบในเรื่องเพื่อการเกษตรข้าวมันสำปะหลังยางพารารวมทั้งอาหารถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะเป็นเป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ถ้ามียอดส่งออกเยอะก็จะมีผลเกื้อกูลไปถึงเกษตรกรที่อยู่ในระดับฐานรากด้วยจึงเป็นเป้าหมายสำคัญ

อย่างในอนาคตสำหรับในปัจจุบันทำแล้วบางส่วนอนาคตต้องให้ความสำคัญยิ่งขึ้นคือการเพิ่มมูลค่าเราจะไม่เน้นเฉพาะการส่งยางดิบในรูปของยางแผ่นรมควันหรือรูปน้ำอย่างคนรูปยางแท่งเท่านั้นแต่ว่าหัวใจสำคัญที่เป็นนโยบายถัดจากนี้ไปที่ต้องช่วยกันทุกวิถีทางคือในเรื่องของผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปที่มีการเพิ่มมูลราคาโดยเฉพาะอย่างยิ่งถุงมือยางเพื่อการแพทย์อันนี้ยังมีตลาดในโลกที่ใหญ่มากถ้าเราแก้ปัญหาในเรื่องภาษีนำเข้าของประเทศนั้นนั้นให้เท่าเทียมกับคู่แข่งเราได้เราก็จะมีอนาคตและทำตัวเลขนำเข้าประเทศได้เยอะรวมทั้งหมอนยางพาราอันนี้ถือว่ามีอนาคตและมีมุระค่าเพิ่มเยอะมากสูงมากและมีตลาดหลายประเทศจะสามารถไปทำตลาดได้ทั้งในส่วนของตลาดยุโรปโดยเฉพาะตลาดจีนเป็นที่นิยมมากผมคิดว่าในอนาคตอันใกล้เราอ่ะต้องไปบุกจีนอีกรอบหนึ่งเพื่อทำตลาดเรื่องหมอยางพาราโดยเฉพาะคิดว่าคนจีนมีจำนวนเยอะมากคนละใบก็จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถถ่ายยังได้อีกเยอะมากบอกอยากได้เป็นนับไม่ถ้วนมาตุรกีเที่ยวนี้ 20,000,000 ใบที่เราทำ MOU ไป

“อุตตม สาวนายน”ยันความเชื่อมั่นช่วยพ้นสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้ได้

People Unity News : “อุตตม สาวนายน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยันความเชื่อมั่นช่วยพ้นสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้ได้

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่ผมได้กล่าวถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในไตรมาสสุดท้ายของปีไปแล้ว ซึ่งได้แก่ มาตรการ “ชิมช้อปใช้” ที่กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย การท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชน และมาตรการประกันรายได้เกษตรกร รวมทั้งมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้โครงการ”บ้านในฝัน รับปีใหม่” สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท

สำหรับความคืบหน้าของ มาตรการ “ชิมช้อปใช้” ซึ่งขณะนี้อยู่ในเฟส 3 มียอดการจ่ายใช้รวมทั้งหมด 13,922.7 ล้านบาท โดยเป็นยอดการใช้จ่ายผ่านกระเป๋า 1 จำนวน 11,580.2 ล้านบาท และผ่านกระเป๋า 2 ที่จะได้รับเงิน Cash Back คืน เป็นจำนวน 2,342.2 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นโดยลำดับ โดย “ชิมช้อปใช้” มียอดการใช้จ่ายผ่านร้านค้า ได้แก่ ร้านชิม จำนวน 1,832.5 ล้านบาท ร้านช้อป จำนวน 8,648.5 ล้านบาท ร้านใช้ จำนวน 160.9 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 3,258.3 ล้านบาท และโรงแรม ที่พัก จำนวน 21.3 ล้านบาท

ด้านมาตรการประกันรายได้เกษตรกร จากข้อมูลของ ธ.ก.ส. ณ วันที่ 21 พ.ย.62 มีการจ่ายเงินให้กับเกษตรกร ในโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2562/63 รอบที่ 1 แล้ว 542,853 ราย เป็นจำนวนเงิน 13,050 ล้านบาท

โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562-63 จำนวน 286,003 ราย เป็นเงิน 2,595 ล้านบาท

และโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 จ่ายไปแล้ว จำนวน 590,322 ราย เป็นเงิน 3,348 ล้านบาท

ในส่วนของโครงการ”บ้านในฝัน รับปีใหม่” ที่ต้องการให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงการมีบ้านในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ในวงเงินสินเชื่อ ธอส.ประชารัฐ 5 หมื่นล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี ซึ่งเปิดให้มีการยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่ 24 ต.ค. 62 ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ยื่นขอกู้แล้วรวม 5,441 ราย วงเงิน 11,110 ล้านบาท และ ธอส.ได้อนุมัติเงินกู้ไปแล้ว 2,140 ราย วงเงิน 3,931 ล้านบาท โดยคาดว่าวงเงินรวมทั้งหมดจะมีผู้ยื่นกู้เต็มในช่วงเดือน ก.พ. 63

ด้าน ธ.ออมสิน ยังได้เตรียมออกมาตรการสินเชื่อเคหะตัวใหม่ ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) โดยเบื้องต้นได้เตรียมวงเงินปล่อยสินเชื่อไว้ประมาณ 25,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยราว 2.7-2.9% ต่อปี และตั้งเป้าจะเริ่มโครงการได้ในเดือน ธ.ค.62 โดยปรับให้มีเงื่อนไขพิเศษ อาทิ การผ่อนชำระ 10 บาทต่อเดือนในระยะแรก รวมถึงไม่จำกัดเพดานราคาบ้าน เพื่อเปิดกว้างให้ประชาชนสามารถซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีโครงการ “สินเชื่อประชาชน 555” ที่จะเปิดโอกาสให้กับผู้มีรายได้น้อยในระดับเศรษฐกิจฐานรากกู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพ โดยคิดดอกเบี้ย 0.5% ต่อเดือน ผ่อนชำระ 5 ปี ในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย

ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังก็ได้ติดตามสถานการณ์การส่งออกอย่างใกล้ชิด โดยข้อมูลการส่งออกและนำเข้า 10 เดือนของปี 2562 พบว่ามีการส่งออกรวม 2.07 แสนล้านดอลลาร์ ลดลงจากปีก่อน 2.4% การนำเข้าอยู่ที่ 1.99 แสนล้านดอลลาร์ลดลง 4.1%

โดยพบว่าการส่งออกสินค้าในเดือนต.ค. มีสัญญาณที่ดีขึ้นจากการที่สินค้าบางรายการที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ สามารถกลับมาขยายตัวได้เป็นบวกในรอบ 13 เดือน

ในส่วนการส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักของไทยที่ในภาพรวมหดตัวเพียง 0.6% แต่ในตลาดหลักอย่าง สหรัฐฯ ยังขยายตัวได้ 4.8% ญี่ปุ่นขยายตัวได้ 0.5% และตลาดตะวันออกกลาง การส่งออกขยายตัวได้ 3.7% ส่วนตลาดการส่งออกสำคัญที่หดตัวได้แก่ อินเดียที่หดตัว 17.2% จากนโยบายการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศลดลง ตลาด CLMV หดตัว 9.9%ตลาดจีนหดตัว 4.2% เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ก.พาณิชย์ คาดว่าในเดือน พ.ย.การส่งออกจะยังคงหดตัวต่อไปอีก 1 เดือน และจะขยายตัวได้อีกครั้งในเดือน ธ.ค.โดยการส่งออกทั้งปี 62 คาดว่าจะติดลบประมาณ 1.5 – 2%

นอกจากนี้ ในสัปดาห์หน้าผมมีนัดหารือกับ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (Fetco) ถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุนรวมรูปแบบใหม่ที่จะมาทดแทนกองทุนรวมLTF โดยจะต้องคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับให้มากที่สุด

ขณะเดียวกันกระทรวงการคลัง ได้เตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมไว้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเดือนสุดท้ายของปีเพื่อดูแลเศรษฐกิจในประเทศให้เข้มแข็ง และจับตาสถานการณ์การส่งออกอย่างใกล้ชิด ขณะนี้เศรษฐกิจไทยต้องการ “ความเชื่อมั่น” เป็นสิ่งสำคัญ ผมเชื่อว่า หากทุกฝ่ายร่วมมือกัน เราจะสามารถผ่านพ้นสถานการณ์ในขณะนี้ไปได้

จัดกิจกรรม “Unfolding Bangkok” ดึงดูดนักท่องเที่ยวไทย – ต่างชาติ เริ่ม มิ.ย. 65 – ม.ค. 66

People Unity News : 12 พฤษภาคม 2565 เตรียมพบ 4 กิจกรรม “Unfolding Bangkok” ดึงดูดนักท่องเที่ยวไทย – ต่างชาติตามนโยบายเปิดประเทศ เริ่ม มิ.ย. 65 – ม.ค. 66

รัฐบาลนำร่องกรุงเทพฯ จัดกิจกรรมนำสนอประเทศไทยและวัฒนธรรมไทยในมิติที่แตกต่าง เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวตามนโยบายการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 65 เป็นต้นมา หวังดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วย 4 กิจกรรม ภายใต้โครงการ Unfolding Bangkok เน้นเล่าประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้นักท่องเที่ยว

คาดว่าจะสามารถดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทยได้วันละ 20,000 คน รวมถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ และกลุ่มผู้สูงอายุกำลังซื้อสูงที่มองหากิจกรรมเชิงวัฒนธรรม

Advertisement

เอกชนเชื่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลเศรษฐา 1 น่าจะทำได้จริง

People Unity News : 5 กันยายน 2566 ภาคเอกชนมั่นใจแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจด้านต่างๆของรัฐบาลเศรษฐา 1 จะทำให้เศรษฐกิจกลับมาดีขึ้นในปีหน้าโตแน่ไม่ต่ำกว่า 5% ย้ำขอให้เดินหน้าเต็มที่ แม้จะเจอปัญหาภาคการส่งออกแต่เชื่อว่าหากร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นทีมเดียวกันโอกาสส่งออกไทยปีหน้าก็จะกลับมาบวกเช่นกัน

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ภาคเอกชนได้รับรู้และรับทราบถึงแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลเศรษฐา 1 ที่จะประกาศใช้ในเร็ววันนี้ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการด้านการท่องเที่ยว ผ่านมาตรการฟรีวีซ่าเพื่อดึงนักท่องเที่ยวสำคัญอย่างชาวจีนมาเที่ยวที่เมืองไทยที่จะสร้างรายได้ให้กับไทยหลายหมื่นล้านบาท รวมทั้งยังสร้างกิจกรรมให้กับภาคธุรกิจทั้งท่องเที่ยวและต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ แนวทางลดค่าครองชีพให้กับประชาชนลดค่าน้ำมันและไฟฟ้ารวมทั้งอื่นๆลงเพื่อช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถยืนต่อไปได้ และถึงแม้ภาคเอกชนมีความเป็นห่วงเกี่ยวกับโครงการดิจิตอลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทต่อคนที่จะใช้เม็ดเงินมากกว่า 5 แสนล้านบาท แต่เห็นว่าแนวทางนี้รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยน่าจะสามารถดำเนินการได้สำเร็จ โดยโครงการนี้ถือเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้น้อยต้องการเพื่อดำรงชีพต่อไปได้ และหากรัฐบาลสามารถทำตรงนี้ได้สำเร็จพร้อมทั้งมีแนวทางบริหารประเทศที่ชัดเจนก็เชื่อว่านักลงทุนจากต่างประเทศจะหันกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแน่นอน

“ข้อเสนอเร่งด่วนด้านเศรษฐกิจของหอการค้าฯ ได้แก่ 1.การแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน ผ่านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นโยบายลดค่าครองชีพ และลดต้นทุนภาคเอกชน 2.ส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสุดท้ายและเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว และ 3. การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่ยังค้างท่อ และเร่งจัดทำงบประมาณรายจ่าย 2567 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนแผนงานต่างๆ รวมทั้งเร่งสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ภายใต้การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและเอกชน ผ่านกลไก กรอ. ทุกระดับ เพื่อผลักดัน GDP ปีนี้ให้สามารถเติบโตได้มากกว่า 3% และเป็นแรงส่งต่อให้ GDP ปีหน้าเติบโตได้ 5%” นายสนั่นกล่าว

ขณะที่ภาคการส่งออกของไทยในปีนี้ ยอมรับว่าปีนี้มีหลายปัจจัยที่กระทบทำให้ยอดการส่งออกของไทยไม่ดีนักและคาดว่าปีนี้ยอดส่งออกน่าจะติดลบประมาณ 2% แต่ในปี 67 เมื่อภาครัฐและเอกชนมาประชุมร่วมกันเพื่อเตรียมแผนการผลักดันการส่งออกแบบเจาะตลาดเชิงรุกโดยเฉพาะในกลุ่มตะวันออกกลาง อียูและตลาดใหม่ๆก็เชื่อว่าโอกาสตัวเลขการส่งออกไทยในปี 67 ก็จะมาเป็นบวกได้แน่นอนและขณะนี้อยู่ในระหว่างการนัดหมายพบกับนายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อจะได้กำหนดแนวทางร่วมกันผลักดันการส่งออกของไทยในปี 67 ได้ต่อไป

Advertisement

ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง-ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI มาเลเซีย

People Unity News : 9 ตุลาคม 2566 กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ผลักดัน “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” และ “ข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้” ขึ้นทะเบียน GI ในประเทศมาเลเซีย สร้างโอกาสส่งออกข้าวไทย สร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้ชาวนาไทย พร้อมหนุนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล เดินหน้าสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาหารของโลก

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ของไทยให้เข้มแข็ง ซึ่งสินค้า GI เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีอัตลักษณ์และมีศักยภาพแข่งขันในเวทีโลก กระทรวงพาณิชย์จึงมอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเร่งเดินหน้าส่งเสริมสินค้า GI ไทยในทุกมิติ โดยเฉพาะการยื่นขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ เพื่อขยายตลาดและเพิ่มมูลค่าสินค้า ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญามาเลเซีย (MyIPO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียน GI “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” และ “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” ในประเทศมาเลเซียเรียบร้อยแล้ว

ปัจจุบันมีสินค้า GI ไทยได้รับการขึ้นทะเบียนในต่างประเทศ รวม 8 รายการ ครอบคลุมกว่า 30 ประเทศ ได้แก่   1) ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ในสหภาพยุโรป จีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย 2) ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ในสหภาพยุโรป มาเลเซีย และอินโดนีเซีย 3) กาแฟดอยช้าง ในสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น 4) กาแฟดอยตุง ในสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และกัมพูชา 5) เส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน ในเวียดนาม 6) ผ้าไหมยกดอกลำพูน ในอินเดีย และอินโดนีเซีย 7) มะขามหวานเพชรบูรณ์ ในจีน และเวียดนาม และ 8) ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ในเวียดนาม โดยยังมีส้มโอทับทิมสยามปากพนัง อีก 1 สินค้าที่มาเลเซียอยู่ระหว่างพิจารณา

ทั้งนี้ ชาวมาเลเซียบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมรับประทานเมนูนาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) ซึ่งเป็นข้าวที่หุงกับกะทิและใบเตย รับประทานคู่กับแกงและเครื่องเคียงต่างๆ มาเลเซียจึงนำเข้าข้าวจากต่างประเทศกว่าร้อยละ 30 ตามความต้องการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งข้าวไทยได้รับความนิยมในประเทศมาเลเซีย โดยในปี 2565 ไทยส่งออกข้าวไปประเทศมาเลเซีย มูลค่ากว่า 3,200 ล้านบาท

“ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” ปลูกในฤดูนาปีบนพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกระทะขนาดใหญ่ ดินเป็นดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ความแห้งแล้ง และความเค็มในดิน ส่งผลให้ข้าวเกิดความเครียดและหลั่งสารหอม ข้าวจึงมีความหอมตามธรรมชาติมากกว่าข้าวจากแหล่งอื่น โดยมีเมล็ดข้าวยาว เรียว ข้าวสารมีเมล็ดใสและแกร่งเมื่อหุงสุกจะหอมและนุ่ม มีผลผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ รวม 5 จังหวัดกว่า 24,500 ตัน/ปี ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55 บาท สร้างรายได้กว่า 266 ล้านบาท/ปี

สำหรับ “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” ปลูกในจังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นที่ราบกว้าง เหมาะสำหรับปลูกข้าว มีแหล่งน้ำจากทะเลสาบสงขลาหนุน และมีการทับถมของตะกอน ทำให้ข้าวสังข์หยดมีคุณภาพดี เมล็ดข้าวเรียวเล็ก อ่อนนุ่มข้าวกล้องมีสีแดงจนถึงแดงเข้ม ข้าวสารมีสีขาวปนแดงแกมชมพูเป็นเอกลักษณ์ มีผลผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง 8,000 ตัน/ปี สร้างรายได้กว่า 104 ล้านบาท/ปี กรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังคงเดินหน้าส่งเสริมสินค้า GI ไทยขึ้นทะเบียน GI ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการ GI  สร้างรายได้ให้กับชุมชนและรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป

Advertisement

คลังมอบของขวัญ”บ้านในฝัน รับปีใหม่”

People Unity News : กระทรวงการคลังลั่น คนไทยทุกคนต้องมีบ้านเป็นของตัวเอง มอบของขวัญปีใหม่สุดอลังการ ผ่านโครงการ “บ้านในฝัน รับปีใหม่” พร้อมผนึกกำลังธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 3 สมาคมอสังหาฯ และผู้ประกอบการอสังหาฯ ทั่วประเทศ เปิดตัวโครงการ “บ้านในฝัน รับปีใหม่” จัดแคมเปญลดแลกแจกแถมกระหน่ำส่งท้ายปี ดีเดย์ 11.11

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฎิบัติงานกระทรวงการคลัง) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังขอความร่วมมือธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ผู้บริหาร 3 สมาคมอสังหาฯ ประกอบด้วย สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมอาคารชุดไทย สมาคมบ้านจัดสรร รวมทั้งผู้ประกอบการอสังหาฯ รายย่อย ร่วมสานฝันของพี่น้องประชาชนคนไทย เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยได้ผนึกกำลังเพื่อจัดทำโครงการ “บ้านในฝัน รับปีใหม่” ด้วยการออกโปรโมชั่นยิ่งใหญ่สุดอลังการส่งท้ายปี 2562 ชนิดไม่เคยมีมาก่อน โดยใช้สโลแกน “ซื้อปุ๊บ โอนปั๊บ รับทันที 3 สิทธิพิเศษ” สิทธิ์ที่ 1. กู้ ธอส. ดอกเบี้ยคงที่ 2.5% นาน 3 ปี วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท หมดแล้วหมดเลย สิทธิ์ที่ 2. ฟรีทันที ค่าโอนและค่าจดจำนอง และสิทธิ์ที่ 3. รับโปรโมขั่น ลดแลกแจกแถม พร้อมส่วนลดพิเศษสุดอลังการจากโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าร่วม ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ และคอนโดมิเนียม ทั้งนี้กำหนดให้เฉพาะที่อยู่อาศัยวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท

โครงการ “บ้านในฝัน รับปีใหม่” จะเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่านั้น โดยวัตถุประสงค์หลักของกระทรวงการคลัง เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับพี่น้องประชาชน ให้มีบ้านเป็นของตัวเอง สร้างความมั่นคงให้ครอบครัว ซึ่งเป็นการส่งเสริมการออมที่มีความสำคัญประการหนึ่ง โดยตั้งเป้าอยู่ที่ 35,000 ยูนิต ซึ่งผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ทุกรายสามารถเข้าร่วมโครงการได้พร้อมกันทั่วประเทศ โดยติดต่อลงทะเบียนผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่มีสาขากระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมสามารถขอดาวน์โหลดไฟล์โครงการ “บ้านในฝัน รับปีใหม่” เพื่อทำป้ายประชาสัมพันธ์ติดหน้าโครงการได้ทันที

ทั้งนี้หวังว่าแคมเปญดังกล่าวจะเป็นที่สนใจของพี่น้องประชาชนที่ยังไม่มีและกำลังมองหาที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง สามารถกระตุ้นยอดขายและเร่งให้เกิดการโอนในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ได้เป็นอย่างดี อันจะช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจพัฒนาการคมนาคมมีความคึกคักมากขึ้น และช่วยให้เม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทางหนึ่ง

ชาวนาเฮ! รัฐบาลออกมาตรการช่วยผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด 3 โครงการ

People unity news online : นายกรัฐมนตรีประชุม นบข. ครั้งที่ 3/61 เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด 3 โครงการ

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2561 เวลา 09.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 3/2561 โดยมี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ซึ่งภายหลังการประชุม นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขานุการ นบข. ได้แถลงผลการประชุม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ข้าว การส่งออกข้าวของไทยจะยังคงมีทิศทางที่ดี เนื่องจากมีการทยอยส่งมอบข้าวตามสัญญาซื้อขายข้าวที่ผ่านมา และมีคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มเติมจากความต้องการข้าวในตลาดโลกที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งภูมิภาคแอฟริกา ทำให้มีคำสั่งซื้อมารองรับผลผลิตข้าวที่จะออกในช่วงปลายปีได้เป็นอย่างดี สำหรับการส่งมอบข้าวแบบจีทูจีให้รัฐบาลจีนในงวดที่ 5 ปริมาณ 1 แสนตัน แล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2561 และอยู่ในระหว่างการเจรจาตกลงซื้อขายข้าวงวดที่ 6 ปริมาณ 100,000 ตัน และภาคเอกชนของไทยชนะการประมูลนำเข้าข้าวในประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์มีแผนขยายตลาด โดยจัดคณะผู้แทนไปเจรจาขยายตลาด จัดกิจกรรมส่งเสริมประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ และคุณภาพข้าวไทยในประเทศจีนและตลาดสำคัญทั่วโลก

ที่ประชุมเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาโครงการข้าวตามนโยบายของรัฐบาล จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 (2) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 (3) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 (4) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 (5) โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 (6) โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 ซึ่งอยู่ระหว่างการระบายข้าวและส่งมอบ จากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน 2561 เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2561 และมอบหมายให้ อคส. และ อ.ต.ก. เร่งระบายจ่ายข้าวออกจากคลังสินค้ากลาง และเบิกค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาข้าวสารที่ค้างจ่ายให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

ที่ประชุมรับทราบการดำเนินงานมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 60/61 ด้านการตลาด ในการดึงอุปทานข้าวเปลือกออกจากตลาดเป้าหมาย 12.5 ล้านตัน ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก และการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวค่าปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าว และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ซึ่งสามารถดึงอุปทานออกจากตลาดได้ 6.64 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 53.12 ของเป้าหมาย ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกทุกชนิดปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่มีราคาถึงตันละ 15,500-18,500 บาท

พร้อมกันนี้ ที่ประชุมรับทราบแผนการดำเนินโครงการเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดข้าว กข43 และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว ปีการผลิต 2561/62 ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดย

(1) สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มวิสาหกิจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 52 แห่ง แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการรับซื้อข้าว กข43 จากเกษตรกรภายใต้ระบบนาแปลงใหญ่ในราคานำตลาด (ตกลงราคารับซื้อสูงกว่าข้าวเจ้าแต่ไม่เกินข้าวปทุมธานี) พื้นที่เพาะปลูกเป้าหมาย 31,183.75 ไร่ คาดการณ์ผลผลิต ประมาณ 10,000 ตันข้าวสาร

(2) ผู้ประกอบการแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว โดยมีผู้ประกอบการแปรรูปข้าวเพื่อผลิตน้ำนมข้าว จำนวน 5 ราย แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะรับซื้อผลผลิตข้าวจากเกษตรกรระบบนาแปลงใหญ่ในราคานำตลาด และได้รับราคาที่สูงเพิ่มมากขึ้น

(3) ร่วมกับองค์การอาหารและยา ในการประชุมหารือเพื่อสร้างความเข้าใจการเผยแพร่ฉลากผลิตภัณฑ์ข้าว กข43 เพื่อป้องกันปัญหาการแอบอ้างสรรพคุณข้าว กข43 ที่เกินจริง

(4) ร่วมกับโมเดิร์นเทรด กำหนดจัดกิจกรรม “บอกรักแม่ด้วยกระเช้าผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว” ระหว่างวันที่ 9-16 สิงหาคม 2561 และกิจกรรม “รณรงค์บริโภคน้ำนมข้าวในช่วงเทศกาลกินเจ” ระหว่างวันที่ 8-17 ตุลาคม 2561 ในห้างโมเดิร์นเทรดทั่วประเทศ

(5) การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมและสร้างการรับรู้คุณประโยชน์ของการบริโภค ข้าว กข43 และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวผ่านสถานีวิทยุ และรายการอาหารเพื่อสุขภาพที่มีชื่อเสียงระดับประเทศตลอดช่วงระยะเวลาเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2561

(6) กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน เดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ รณรงค์ให้ประชาชนเลือกซื้อสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและคุณประโยชน์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด 3 โครงการ ดังนี้

1.โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพ

(1) โครงการสินเชื่อช่วยเหลือชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ให้สินเชื่อแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อชะลอการจำหน่ายผลผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ในเขตพื้นที่เพาะปลูกทุกจังหวัด เป้าหมาย 2 ล้านตันข้าวเปลือก โดยให้ค่าฝากเก็บตันละ 1,500 บาท โดยจ่ายพร้อมสินเชื่อก่อน ตันละ 1,000 บาท และภายหลัง 500 บาท

ทั้งนี้ มีโครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่ง คชก. ได้อนุมัติกรอบวงเงินเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2561 จำนวน 250 ล้านบาท เป้าหมาย เกษตรกรรายคนและสถาบันเกษตรกร ที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ ประมาณ 10,000 ราย โดยกำหนดวงเงินกู้กรณีเกษตรกรรายคนไม่เกินรายละ 150,000 บาท และกรณีสถาบันเกษตรกรแห่งละไม่เกิน 3,000,000 บาท

-การกำหนดวงเงินสินเชื่อ โดยพิจารณาจากราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ราคาที่เกษตรกรควรจะได้รับ (จากต้นทุนการผลิต+กำไรที่ควรจะได้รับ) และราคาข้าวเปลือกที่สะท้อนจากราคาส่งออกที่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งในตลาดโลก ดังนี้ ข้าวหอมมะลิ 11,800 บาท/ตัน ข้าวเปลือกเหนียว 10,200 บาท/ตัน ข้าวเปลือกเจ้า 7,500 บาท/ตัน ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 8,900 บาท/ตัน

ทั้งนี้ สถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะต้องจัดสรรค่าฝาก ตันละ 1,000 บาท ให้แก่สมาชิก (ปีที่ผ่านมาสมาชิกไม่ได้รับค่าฝากเก็บ)

-ระยะเวลาดำเนินการ 1 พ.ย.61 – 28 ก.พ.62 (ภาคใต้ ถึง 31 ก.ค.62)

(2) ค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพ ให้เฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยช่วยตามพื้นที่ปลูกข้าวจริง ไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกิน 12 ไร่ หรือไม่เกินครัวเรือนละ 18,000 บาท (จากปีที่ผ่านมาช่วยเหลือไร่ละ 1,200 บาท ไม่เกิน 10 ไร่)

ทั้งนี้ จะช่วยเหลือเฉพาะเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูกข้าวนาปี 2561/62 กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น จึงขอให้เกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวในปีนี้แล้ว แจ้งการขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานเกษตรในพื้นที่ เพื่อสามารถเข้าร่วมโครงการฯ ช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาลต่อไป

2.โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ได้แก่ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่ายหรือแปรรูป เป้าหมาย 2 ล้านตัน โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 และสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ระยะเวลา 1 ต.ค.61 – 31 ธ.ค.62

3.โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ทั้งนี้ โรงสีต้องรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรในช่วง 1 พ.ย.61- 31 มี.ค.62 ภาคใต้ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย.62

ทั้งนี้ ให้ ธ.ก.ส. และกระทรวงพาณิชย์ จัดทำรายละเอียดงบประมาณเพื่อนำเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาตาม พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง พ.ศ. 2561 ตามระเบียบ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

ที่ประชุมยังรับทราบการระบายข้าวในสต็อกของรัฐ โดยเมื่อเดือนมิถุนายน 2561 รัฐบาลได้นำข้าวในสต็อกออกมาระบายเข้าสู่อุตสาหกรรม ซึ่งได้รับการอนุมัติจำหน่าย รวมทั้งสิ้น 1.96 ล้านตัน มูลค่า 10,198 ล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ชนะการประมูลกับองค์การคลังสินค้า (อคส.) และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) แบ่งเป็น

-การจำหน่ายข้าวสารในสต็อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคน (กลุ่มที่ 2) ครั้งที่ 1/2561 ปริมาณ 1.44 ล้านตัน มูลค่า 8,410 ล้านบาท

-การจำหน่ายข้าวสารในสต็อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคนและสัตว์ (กลุ่มที่ 3) ครั้งที่ 1/2561 ปริมาณ 0.52 ล้านตัน มูลค่า 1,788 ล้านบาท

ปริมาณข้าวคงเหลือข้าวที่จะนำออกมาระบายเข้าสู่อุตสาหกรรมภายในเดือนกันยายน 2561 ปริมาณรวม 0.069 ล้านตัน แบ่งเป็น ข้าวกลุ่มที่ 2 ปริมาณ 0.047 ล้านตัน และกลุ่มที่ 3 ปริมาณ 0.022 ล้านตัน

ชาวนาเฮ! รัฐบาลออกมาตรการช่วยผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด 3 โครงการ

People unity news online : post 12 กรกฎาคม 2561 เวลา 10.10 น.

ก.เกษตร-ก.พาณิชย์ ทำโครงการ “ข้าวแกง 20 บาท” บรรเทาภาระค่าครองชีพประชาชน

People Unity News : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ นำร่อง “ร้านข้าวแกง 20 บาท” บางพลัด – บางกอกน้อย บรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ตั้งเป้าขยายทั่ว กทม. ร้านที่สนใจ ติดต่อ สายด่วนธงฟ้า 1569

7 ก.พ. 65 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับเครือข่ายภาคเอกชน จัดโครงการ “ข้าวแกง 20 บาท ถูกใจชุมชน” นำร่อง 10 ร้านค้า ในชุมชนเขตบางพลัดและบางกอกน้อย เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน โดยโครงการฯ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ปัจจัยการผลิต และวัตถุดิบต่างๆ เช่น เนื้อไก่ ไข่ไก่ ให้พ่อค้าแม่ค้าที่เข้าร่วมโครงการนำไปปรุงเป็นข้าวแกง จำหน่ายแก่ประชาชนในราคา 20 บาท

รวมถึงมอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวแก่ตัวแทนชุมชนเพื่อไปปลูกใช้ในครัวเรือน และหากเหลือใช้สามารถนำส่งขายแก่ร้านข้าวแกงในโครงการฯได้ ทั้งนี้ ตั้งเป้าหมายให้มีร้านข้าวแกง 20 บาททั่ว กทม. ชุมชนละอย่างน้อย 1 ร้าน ร้านข้าวแกงที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ติดต่อได้ที่ ไลน์แอด @khowgang20baht หรือ โทร. 025075682 หรือสายด่วนธงฟ้า 1569

Advertising

Verified by ExactMetrics