วันที่ 24 เมษายน 2024

“หมอปลา” อ่วม “รมต.อนุชา” เดินหน้าเอาผิด เผยเป็นอาญาแผ่นดิน สำนักพุทธฯต้องดำเนินการ

People Unity News : 17 พ.ค. 65 “อนุชา” เผยเดินหน้าเอาผิด “หมอปลา” ขั้นอาญาแผ่นดิน ยันสำนักพุทธ มีความเข้มแข็ง เบรก กมธ.ศาสนาปฏิรูปวงการสงฆ์

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักพุทธศาสนา กล่าวถึงปัญหาที่เกิดในวงการพระสงฆ์ รวมถึงล่าสุดกรณีหลวงปู่แสง ญาณวโร ว่า ได้ให้สำนักพุทธฯ ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้ตั้งแต่ที่เกิดเรื่องแล้ว เรื่องการผิดพระวินัยและปาราชิก ไม่ต้องพึ่งใครคนใดคนหนึ่งเข้ามาบริหารจัดการองค์กรพุทธ เพราะอย่าลืมว่าพุทธศาสนาของไทยมีมากกว่า 2,500 ปีแล้ว ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งใครที่มากล่าวอ้างว่าจะปกป้องศาสนา เพราะการกระทำบางอย่างเหมือนจะดี แต่ทำให้คนมองศาสนาไปอีกทางหนึ่ง เชื่อว่าสิ่งที่ทำมีจิตใจไม่ปกติแน่นอน

ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่าสำนักพุทธฯ ยังไม่เข้มแข็งมากพอที่จะปราบปรามพระนอกรีตนั้น นายอนุชา ยืนยันว่าสำนักพุทธฯ มีความเข้มแข็ง และดำเนินการมาตลอด เพียงแต่ไม่ได้มีการเผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ เพราะบางเรื่องเป็นเรื่องอ่อนไหว และกรณีของนายจีรพันธ์ เพชรขาว หรือหมอปลา นั้นทุกอย่างต้องว่าไปตามกฎหมาย เพราะอะไรที่ยอมไม่ได้ เป็นอาญาแผ่นดิน สำนักพุทธฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการ ถ้าไม่ทำจะกลายเป็นการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่

นายอนุชา กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีคณะกรรมการเฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นมาเข้าไปดูแลแต่ละวัดอยู่แล้ว อีกทั้งมติของมหาเถรสมาคมก็มีบทบัญญัติในการกำกับดูแลพระในแต่ละลำดับชั้น และย้ำว่าคณะสงฆ์ไม่ได้นิ่งเฉยแต่หลายเรื่องเป็นเรื่องละเอียดอ่อน มีทั้งความเชื่อ มีทั้งความเชื่อความศรัทธาที่ยังมีอยู่ในสังคม ส่วนกรณีที่กรรมาธิการศาสนาฯ เสนอแก้ พ.ร.บ.สงฆ์ นายอนุชา กล่าวว่า กรรมาธิการได้ส่งมาให้ ครม.แล้ว แต่ต้องหารือในวงกว้างให้รอบด้าน ไม่ใช่ว่าเกิดปัญหาแล้วจะด่วนตัดสินใจ โดยยกตัวอย่างกรณีใช้อาวุธปืนกราดยิงที่สหรัฐอเมริกา ก็ยังไม่ยอมให้มีการแก้ไขกฎหมาย ดังนั้น เรื่องของศาสนา ไทยเราก็ควรมีจุดยืน และทำให้ศาสนามีความเข้มแข็งเพื่อเดินไปข้างหน้า บางครั้งตนอดทนอดกลั้นเพื่อไม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของประเด็นของศาสนา แม้ว่าตนเกือบจะเหลืออดหลายครั้ง

Advertisement

เตือนประชาชนระวัง! ไข้มาลาเรียชนิด “โนวไซ” ติดต่อจากลิงสู่คนได้

People Unity News : 16 พฤษภาคม 2565 กรมควบคุมโรค เตือนผู้ที่ทำงานใกล้ชิดลิงหรืออยู่อาศัยแนวชายป่า ระวังป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรียสายพันธุ์ “โนวไซ” (Plasmodium knowlesi) ซึ่งเชื้อชนิดนี้สามารถติดต่อจากลิงสู่คนได้ โดยยุงก้นปล่องกัดลิงที่มีเชื้อแล้วมากัดคน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่า ยุงสามารถนำเชื้อจากคนสู่คนได้

ลิงที่เป็นสัตว์รังโรคในไทย ได้แก่ ลิงกัง ลิงวอก ลิงเสน ลิงแสม และลิงอ้ายเงี๊ยะ พบรายงานผู้ป่วยในไทยครั้งแรกเมื่อปี 2547 พบปีละประมาณ 10 รายมาตลอด แต่ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 64 – 31 มี.ค. 65 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรียจากเชื้อชนิดนี้แล้ว 70 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ระนอง สงขลา และตราด

ดังนั้นผู้ที่มีประวัติสัมผัสลิงในป่าในพื้นที่จังหวัดดังกล่าว แล้วมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น เหงื่อออกมาก ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย และแจ้งประวัติเข้าป่าเพื่อให้การรักษารวดเร็ว หากช้าอาจมีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงและเสียชีวิตได้

Advertisement

สนง.ประกันสังคมเร่งนายจ้างส่งหนังสือรับรองการหยุดงานของลูกจ้างเพื่อลูกจ้างรับเงิน 5 พัน

{"subsource":"done_button","uid":"2A67EC0C-8EC8-4FCE-81C7-7331C4100FF9_1580973473718","source":"other","origin":"gallery","source_sid":"2A67EC0C-8EC8-4FCE-81C7-7331C4100FF9_1584793653401"}

People Unity News : ประกันสังคมขอให้นายจ้างที่สั่งไม่ให้ลูกจ้างทำงานเพราะเหตุสุดวิสัยหรือกรณีนายจ้างถูกรัฐมีคำสั่งหยุดสถานประกอบกิจการ เร่งส่งหนังสือรับรองการหยุดงานของลูกจ้างผ่าน www.sso.go.th

นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจาก เหตุสุดวิสัย กรณีผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานกักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ทั้ง 2 กรณี สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวันให้รับตลอดระยะเวลาที่หยุดงาน ทั้งนี้ให้รับไม่เกิน 90 วัน โดยสำนักงานฯเปิดช่องทางให้บริการขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยเพื่อรองรับมาตรการดังกล่าวเป็นการเฉพาะ โดยผู้ประกันตนจะต้องยื่นขอรับสิทธิและนายจ้างมีหน้าที่รับรองการหยุดงานของลูกจ้างอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัยผ่าน e-form บนหน้าเว็บไซต์ www.sso.go.th ผลปรากฏมีผู้ประกันตนยื่นขอรับสิทธิเป็นจำนวนมากแต่ยังขาดนายจ้างรับรองการหยุดงานดังกล่าว

สื่อมวลชนได้รับการเปิดเผยว่าปัจจุบันมีผู้ประกันตนยื่นคำขอผ่านทาง e- form จำนวนกว่า 300,000 ราย และมีนายจ้างยื่นการรับรองผ่านทาง e-form จำนวนเพียงกว่า 30,000 ราย เมื่อเร่งดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเพื่อจะสามารถทำการจ่ายเงินได้ทันทีเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับ แต่พบว่านายจ้างส่วนใหญ่ยังไม่ยื่นการรับรองการหยุดงานของลูกจ้างอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย ดังนั้นขอให้นายจ้างในกลุ่มดังกล่าว เร่งยื่นรับรองการหยุดงานของลูกจ้างอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยผ่านช่องทาง e-form บนหน้าเว็บไซต์ www.sso.go.th โดยเร็วเพื่อประโยชน์แก่ตัวของลูกจ้างในสถานประกอบการนั้นเอง

ทั้งนี้ ในการยื่นรับรองการหยุดงานของลูกจ้างอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย นายจ้างเพียงระบุ วันที่หยุดงาน และวันที่ครบกำหนด โดยยื่นแบบทาง e-Form บนหน้าเว็บไซต์ www.sso.go.th สำนักงานประกันสังคมจะตอบยืนยันการรับข้อมูลของนายจ้างผ่านทาง e-mail ที่นายจ้างได้แจ้งไว้ ขณะนี้มีผู้ประกันตนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมากจึงขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนทำหน้าที่อย่างครบถ้วน ในส่วนของสำนักงานประกันสังคมก็ได้เร่งรัดการดำเนินการเพื่อให้สิทธิประโยชน์ถึงมือผู้ประกันตนโดยเร็ว

โฆษณา

อุบัติเหตุสงกรานต์ 5 วัน เกิดเหตุ 1,478 ครั้ง บาดเจ็บ 1,452 คน ตาย 204 ราย

People Unity News : ศปถ. สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงสงกรานต์ สะสม 5 วัน เกิดเหตุ 1,478 ครั้ง บาดเจ็บ 1,452 คน เสียชีวิต 204 ราย

16 เม.ย. 65 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเลขานุการ ศปถ. แถลงสรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 15 เม.ย.65 ซึ่งเป็นวันที่ 5 ของการรณรงค์ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 277 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 263 คน ผู้เสียชีวิต 44 ราย สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดยังคงเป็น ขับรถเร็วเกินกำหนด ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์

ภาพรวมสถิติอุบัติเหตุสะสม 5 วัน ตั้งแต่ 11 – 15 เม.ย.65 เกิดอุบัติเหตุรวม 1,478 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 1,452 คน ผู้เสียชีวิต 204 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 12 จังหวัด ได้แก่ ตรัง นครพนม บึงกาฬ ปราจีนบุรี ปัตตานี ยะลา ระนอง ลำพูน สมุทรสงคราม สิงห์บุรี หนองบัวลำภู และอำนาจเจริญ

นายบุญธรรม กล่าวว่า วันนี้ (16 เม.ย.65) ประชาชนทยอยเดินทางกลับเข้าสู่ กทม.และจังหวัดเขตเศรษฐกิจ ทำให้มีปริมาณรถหนาแน่น ศปถ. ได้ประสานจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกการเดินทาง ควบคู่กับมาตรการป้องกันโควิด – 19 อย่างเข้มข้น จัดเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเส้นทางสายหลัก สายรอง ทางเลี่ยง ทางลัด ทางตรง วิ่งสวนเลน และไม่มีเกาะกลาง พร้อมคุมเข้มผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เปิดช่องทางพิเศษ เร่งระบายรถ ปิดจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ พร้อมเตือนให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ เนื่องจากประเทศไทยจะเกิดพายุฤดูร้อน ระหว่างวันนี้ – 18 เม.ย.65 ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และ กทม. อาจทำให้สภาพถนนเปียกลื่น และทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทางไม่ชัดเจน

Advertisement

รัฐบาลสั่งธนาคารเตรียมเงินสดให้เพียงพอรองรับความต้องการของประชาชนในช่วงโควิด-19

People Unity News : รัฐบาลสั่งธนาคารเตรียมเงินสดเพียงพอ รองรับความต้องการของประชาชนในสถานการณ์โควิด-19

เมื่อวานนี้ (23 มี.ค.2563) เวลา 13.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล COVID-19 ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ นายสมคิด จันทมฤก  โฆษกกระทรวงมหาดไทย ร.ต.อ. พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร และนางภานิณี มโนสันติ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานกิจการนโยบายสินเชื่อและภาครัฐ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้พำนักอยู่ที่บ้าน งดการเดินทางไปต่างจังหวัด  อย่างไรก็ตาม การประกาศปิดถานที่ต่างๆเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม – 12 เมษายน 2563 ส่งผลให้พี่น้องประชาชนหรือแรงงานต่างด้าวที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการปิดสถานบันเทิง สถานที่ต่างๆ เดินทางกลับยังภูมิลำเนาของตนเอง  ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถห้ามประชาชนเดินทางกลับได้ แต่ได้มีมาตรการการรองรับคือคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้จัดทำแผนปฏิบัติการค้นหาเฝ้าระวัง ป้องกันโรคระดับจังหวัด อำเภอและหมู่บ้าน คัดกรองผู้ที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยง เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้คัดแยกตัวและสังเกตการณ์ 14 วันตามหลักของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมกันนี้ ขอความร่วมมือประชาชนที่ยังไม่เดินทางกลับยังภูมิลำเนาให้อยู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลไปก่อน เพราะอาจไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่ หากกลับไปภูมิลำเนาอาจนำเชื้อกลับไปยังครอบครัวของตนเอง ในส่วนของการเยียวยานั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ากระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการต่างๆในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ เพื่อเยียวยาดูแลพี่น้องประชาชน สำหรับนายจ้างและลูกจ้าง ผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมมีมติลดอัตราสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนเหลือ 4% เป็นระยะเวลา 6 เดือน ขยายระยะเวลาส่งเงินสมทบงวดเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ไปอีก 3 เดือน และเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน สำนักงานประกันสังคมจ่ายอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 80 วัน

โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณรัฐบาลจีนได้มีการบริจาคเวชภัณฑ์ให้กับทางรัฐบาลไทยมีการบริจาคชุดตรวจเชื้อ จำนวน 20,000 ชุด หน้ากากอนามัย จำนวน 100,000 ชิ้น หน้ากากอนามัย ประเภท N 95 จำนวน 20,000 ชิ้น ชุดอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย (PPE : Personal Protective Equipment) จำนวน 20,000 ชุด

จากนั้น ร.ต.อ. พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เรากำลังเข้าสู่ช่วงเวลาสุดท้ายหรือช่วงเวลาทองคำ (golden period) ซึ่งจะชี้ชะตาว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ ดังนั้น กรุงเทพมหานครจึงเร่งออกมาตรการสกัดการเคลื่อนย้ายหรือห้ามคนไม่ให้ออกมาทำกิจกรรม โดยปิดสถานที่ รวมทั้งหมด 4 คำสั่ง โดยคำสั่งที่ 1 สั่งปิด 8 สถานที่ เช่น สนามมวย สถานบริการ และเพิ่มเติมปิดสถานที่ตามคำสั่งที่ 2 รวมทั้งหมด 26 สถานที่ คำสั่งที่ 3 เป็นการขยายความคำสั่งที่ 2  และคำสั่งที่ 4 เป็นมาตรการที่ต้องดำเนินการต่อไป โดยขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน โฆษกกรุงเทพมหานครยังอธิบายเพิ่มเติมถึง ประเด็น “ห้างสรรพสินค้า” เป็นภาษากฎหมายครอบคลุมถึง ห้างทุกประเภท ศูนย์การค้า และคอมมูนิตี้มอลล์  ส่วนธนาคารในหรือนอกห้างเปิดบริการตามปกติ ประเด็นร้านอาหาร ทุกๆที่สามารถเปิดบริการได้เหมือนเดิมเพียงแต่ต้องซื้อกลับไปทานที่บ้านเท่านั้น ยกเว้นสนามบินเนื่องจากต้องรองรับผู้โดยสาร แต่ให้ใช้มาตรการเว้นระยะห่าง กรณีภาพคนแออัดที่สถานีขนส่งหมอชิตหลังคำสั่งปิดสถานที่ต่างๆ เพื่อเดินทางกลับภูมิลำเนานั้น พบว่าร้อยละ 90 เป็นชาวลาว พม่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดด่าน อีกร้อยละ 10 เป็นชาวไทยผู้ที่เดินทางกลับต่างจังหวัด พบว่าเพิ่มเพียงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ที่ใช้บริการสถานีขนส่งหมอชิตในแต่ละวันแล้ว โฆษกกรุงเทพมหานคร กล่าวขอบคุณพี่น้องประชาชนทุกท่านที่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการไม่ออกจากบ้าน

รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์และกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์การระบาดครั้งนี้รุนแรงและแพร่กระจายไปทั่วโลก คาดว่า ยังคงระบาดเป็นเวลาระยะยาว ดังนั้น ต้องช่วยกันบรรเทาสถานการณ์ อยากเห็นความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชน ปฏิบัติตามมาตรการต่างๆที่ทางการแพทย์ได้กลั่นกรอง สำหรับการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ทางอากาศระยะไกลในรูปแบบละอองฝอย โอกาสเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ กลุ่มผู้ป่วย เช่น ไอรุนแรง โรคหอบ ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมีการใส่เครื่องช่วยหายใจ แพทย์จะแนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัยแบบ N95  ขณะที่คนส่วนมากมีการแพร่กระจายเชื้อโรคทางอากาศจะเป็นแบบละอองใหญ่ อยู่ในระยะ 1 – 2 เมตร จึงได้รณรงค์เว้นระยะห่างทางสังคม ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้แนะนำผู้ที่เดินทางกลับภูมิลำเนา ขอให้ทยอยกลับ อย่ากลับเป็นกลุ่มก้อน เพราะจะเกิดความแออัด ง่ายต่อการแพร่กระจายเชื้อ เมื่อถึงบ้านขอให้ล้างมือเป็นอันดับแรก จากนั้นอาบน้ำเปลี่ยนชุดใหม่แล้ว ใส่หน้ากากอนามัย จึงค่อยทักทายญาติผู้ใหญ่ในบ้าน พร้อมระวังตนเอง เฝ้าสังเกตอาการกักตัว 14 วัน หากมีอาการให้รีบพบแพทย์ทันที

โอกาสนี้ นายสมคิด จันทมฤก  โฆษกกระทรวงมหาดไทย ยังได้แถลงแผนรองรับประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงนี้ว่า กระทรวงมหาดไทยประสานงานร่วมกับคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ แต่งตั้งคณะทำงานประกอบไปด้วย กำนัน แพทย์ประจำตำบล คณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและนายอำเภอ ซึ่งจะกระจายไปทุกหมู่บ้าน ทุกชมชน โดยมีแนวทางทำงานขั้นตอนแรก จัดทำข้อมูลเพื่อเป็นฐานข้อมูลว่าประชาชนเดินทางมาจากส่วนไหนของกรุงเทพมหานครและภูมิลำเนาอยู่ที่ใด ขั้นตอนถัดมาจะ ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ที่เดินทางกลับมา เว้นระยะห่างทางสังคม งดใช้สิ่งของร่วมกัน หมั่นล้างมือ สวมใส่หน้ากากอนามัย เฝ้าสังเกตอาการ 14 วัน รวมถึงคนในพื้นที่ชุมชนช่วยกันดูแล หากสงสัยว่าผู้ที่อยู่ในช่วงเฝ้าสังเกต มีอาการป่วยให้รีบแจ้งคณะทำงาน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณะสุขรีบเข้าไปดำเนินการทันที นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังมอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ดูแลกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันเชื้อ อุปกรณ์วัดไข้ให้กับเจ้าหน้าที่ด้วย สำหรับบุคคลที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในการเฝ้าสังเกตอาการ ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย และจะถูกดำเนินคดี

จากนั้น นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย ยืนยันมีเงินสดมีเพียงพอให้บริการแก่ประชาชนในสภาวะฉุกเฉิน โดยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ให้บริการในหลายช่องทาง อาทิ ระบบตู้เอทีเอ็ม ธนาคารพาณิชย์ ประมาณ 54,000 ตู้ ทั่วประเทศมีปริมาณเพียงพอสำหรับประชาชนที่จะมาทำการ เบิก-ถอน หรือทำธุรกรรมต่างๆ โดยจะเติมเงินอย่างสม่ำเสมอ สาขาธนาคารเปิดให้บริการตามปกติทั้งในห้างสรรพสินค้าและนอกห้างสรรพสินค้า โดยเน้นเฝ้าระวัง กำหนดระยะห่างเข้าแถวที่ชัดเจน เนื่องจากบางสาขาสถานที่ไม่กว้างขวาง  นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Internet Mobile Banking ในการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งมีประชาชนหันมาใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เนื่องจากสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ไม่มีค่าบริการ รวมทั้งสามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้อีกด้วย  นอกจากนี้ ยังพิจารณาสถานะทางการเงินของลูกค้าที่ถดถอย จากสภาวะ การค้าขายมีหยุดชะงัก ให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารมีการเจรจากับลูกค้าถึงมาตรการต่างๆ เช่น กรณีพักชำระเงินต้นนั้น เพิ่มสภาพคล่อง ฟื้นฟูธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือระหว่างธนาคารพาณิชย์กับภาครัฐ โดยภาครัฐจัดสินเชื่อ Soft Loan ผ่านทางธนาคารออมสินสำหรับธนาคารพาณิชย์กู้เพื่อนำไปปล่อยสินเชื้อให้ประชาชน ในวงเงิน 1.5 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี หากประชาชนมีข้อสงสัย หรือต้องการความช่วยเหลือ เช่น เพิ่มวงเงินบัตรเครดิตชั่วคราว รับมาตรการด้านสินเชื่อ สามารถติดต่อ  Call Center ของธนาคารพาณิชย์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ นางภานิณี มโนสันติ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานกิจการนโยบายสินเชื่อและภาครัฐ ธนาคารอาคาสงเคราะห์ กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณโควิด-19 ว่า  ธนาคารฯได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ให้สามารถผ่อนชำระหนี้กับธนาคารต่อไปได้ โดยลูกหนี้รายย่อยในส่วนของการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบมาก่อนนั้น ได้ออกมาตรการผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ย ในอัตราดอกเบี้ย 1% ระยะเวลา 4 เดือน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มท่องเที่ยวให้ผ่อนชำระต่อไปได้และสามารถมีเงินเหลือในการดำรงชีวิต โดยจะต้องแสดงหลักฐานในการถูกลดค่าจ้างหรือวันทำงานให้ธนาคารฯสามารถพิสูจน์  สามารถยื่นความประสงค์ได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563  สำหรับกรณีได้รับผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เช่น กรณีกรุงเทพมหานครออกประกาศปิดห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ทำให้มีผู้ค้าบางส่วนหรือลูกจ้างของผู้ค้าบางส่วน ถูกลดวันทำงานหรือการจ้างลง หากลูกค้าอยู่ในช่วงของการใช้อัตราดอกเบี้ยโปรโมชั่นคือดอกเบี้ยพิเศษของธนาคารฯ สามารถผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้ 6 เดือน แต่ถ้าอยู่ในช่วงปรับอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ธนาคารก็จะมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้ โดยระยะเวลาในการผ่อนชำระอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 6 เดือนเช่นกัน สามารถยื่นความประสงค์เข้าร่วมมาตรการได้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563  ทั้งนี้ สองมาตรการมีกรอบวงเงินอยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังเพิ่มความสะดวกในการผ่อนชำระหนี้เงินกู้ ที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ผ่านบริการ GHB ALL Mobile Application Banking เพื่อชำระหนี้ผ่านโทรศัพท์มือถือแทนการชำระหนี้ที่ธนาคารหรือชำระหนี้ตามร้านค้าสะดวกซื้อต่างๆ เพื่อลดความแออัดไม่ให้คนไปรวมกันจำนวนมากเมื่อชำระหนี้แล้วสามารถดูการชำระตัดต้นตัดดอกจากใบเสร็จบนมือถือได้ทันที

ปัจจุบันธนาคารฯมีลูกค้าประมาณ 1 ล้านราย ส่วนมากลูกค้าปล่อยกู้เป็นระดับล่างถึงปานกลาง วงเงินกู้สูงสุดส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 10 – 20 ล้านบาท และระดับทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 3 – 5 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ต้องใช้เงินจากมาตรการดังกล่าวประมาณ 20% – 30% และลูกค้าส่วนใหญ่เป็นในลักษณะการกู้ร่วม ซึ่งผู้กู้ร่วมบางรายยังมีอาชีพหรือมีรายได้ที่เพียงพอสามารถผ่อนชำระได้ จึงอาจไม่ได้ใช้มาตรการนี้ทั้งหมด

ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่านายกรัฐมนตรีติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการยกระดับมาตรการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน สอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ โดยให้ยาเบาจนกระทั่งเป็นยาแรง หากมีความจำเป็นก็จะใช้ยาแรงมากกว่านี้  โดยนายกรัฐมนตรีพร้อมตัดสินใจใช้มาตรการที่เข้มข้นสูงสุด โดยจะรับข้อมูลรอบด้านเพื่อพิจารณาประกอบการตัดสินใจ

นอกจากนี้  นายกรัฐมนตรียังย้ำถึงมาตรการเยียวยาช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชน โดยธนาคารรัฐและธนาคารเอกชนร่วมกันแก้ปัญหาด้านสินเชื่อ พักชำระหนี้ ขยายระยะเวลาการพักชำระหนี้ ลดดอกเบี้ยต่างๆ เพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยกระทรวงการคลังจะมีมาตรการลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จาก 3% เหลือ 1.5% เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการและบุคคลธรรมดาตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ย.นี้ หลังจากนั้นผู้ประกอบการที่ใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) จะจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย ส่วนมาตรการลดค่าครองชีพ ค่าน้ำ ค่าไฟ วันพุธนี้จะมีการลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา อีกทั้ง กระทรวงที่เกี่ยวข้องนายกรัฐมนตรีสั่งการให้ลงไปดูแลลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานที่ต่างๆ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาคณะกรรมการประกันสังคมได้ประชุมหารือกันมีแนวทางช่วยเหลือลูกจ้างผู้ประกันตนจาก COVID-19 การดูแลรักษาพยาบาลตามสิทธิ์  ไม่เสียค่าใช้จ่าย การจ่ายเงินชดเชยในช่วงที่ไม่มีการจ้างงาน สิทธิในการลางาน วันพรุ่งนี้จะมีมาตรการเยียวยาส่วนลูกจ้างที่ไม่ใช่ผู้ประกันตน ซึ่งกระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการเหล่านี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ เพื่อจะดูแลลูกจ้างที่เรียกว่า หาเช้ากินค่ำหากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถโทรสายด่วนประกันสังคม 1506

โฆษณา

สธ. ยืนยัน! ยังไม่พบ “ฟลูโรนา” ในไทย และเชื้อไข้หวัดใหญ่กับโควิดผสมเกิดเป็นไฮบริดไม่ได้

People Unity News : สธ. ยืนยัน! ยังไม่พบ “ฟลูโรนา” ในไทย และเชื้อไข้หวัดใหญ่กับโควิดผสมเกิดเป็นไฮบริดไม่ได้

8 ม.ค. 65 กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันยังไม่พบ “ฟลูโรนา” (การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และเชิ้อไวรัสโคโรนาในคนเดียวกัน) ในประเทศไทย ขณะที่เชื้อไข้หวัดใหญ่กับเชื้อโควิดผสมพันธุ์เกิดเป็นไฮบริดไม่ได้ ขอประชาชนอย่ากังวล

อาการของฟลูโรนานั้นไม่แตกต่างจากโรคโควิด-19 และโอกาสในการติดเชื้อทั้ง 2 ตัวพร้อมกันค่อนข้างน้อย แต่สิ่งที่ควรรู้ คือ ทั้งเชื้อไข้หวัดใหญ่และโควิดแพร่กระจายจากทางเดินหายใจในลักษณะที่เป็นฝอยละอองเหมือนกัน ดังนั้น การใส่หน้ากาก ล้างมือ รักษาระยะห่าง สามารถป้องกันทั้งสองโรคในเวลาเดียวกันได้

และหากต้องการสร้างภูมิคุ้มกันให้มากขึ้นควรฉีดวัคซีนป้องกัน โดยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ควรเว้นระยะจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นเวลา 1 – 2 สัปดาห์

Advertising

CAAT เรียกสายการบินหารือมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 บนเครื่อง ก่อนกลับมาเปิดให้บริการ

People Unity News : CAAT หารือมาตรการควบคุมโรคกับสายการบิน ก่อนกลับมาเปิดให้บริการ

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) โดย นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ CAAT เชิญสายการบินสัญชาติไทยและสายการบินต่างชาติ กว่า 20 สายการบิน มาประชุมเพื่อหารือทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการควบคุมโรค เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับมาเปิดให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศ วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 หลังจากที่ก่อนหน้านี้สายการบินส่วนใหญ่ได้ประกาศหยุดให้บริการชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ณ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ผู้อำนวยการ CAAT กล่าวว่า “แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศจะลดลงและสายการบินภายในประเทศเตรียมกลับมาให้บริการได้ แต่ทุกสายการบินยังจะต้องปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด โดยให้ขายบัตรโดยสารในลักษณะที่นั่งเว้นที่นั่ง เมื่อถึงช่วงเดินทางต้องรักษาระยะห่างระหว่างผู้โดยสาร (Social Distancing) ทุกขั้นตอนตั้งแต่การเช็กอิน การขึ้นและลงเครื่องบิน จะไม่มีบริการอาหารและเครื่องดื่มระหว่างเที่ยวบิน ทั้งนี้เส้นทางที่มีระยะเวลาการบินเกินกว่า 90 นาที สายการบินจะต้องกันที่นั่งแถวหลังไว้พิเศษสำหรับแยกผู้โดยสารที่มีอาการน่าสงสัยระหว่างเที่ยวบิน ด้านลูกเรือจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย ถุงมือ และ Face shield ส่วนผู้โดยสารต้องรับผิดชอบสวมใส่หน้ากากอนามัยมาเองและใส่ตลอดเวลาการเดินทาง รวมถึงไม่สามารถนำอาหารของตนเองมารับประทานในเครื่องบินได้”

ทั้งนี้ ขอให้ผู้โดยสารตรวจสอบเที่ยวบินที่ให้บริการในประเทศกับสายการบินโดยตรง เนื่องจากอาจจะยังไม่เปิดให้บริการในทุกเส้นทาง และสามารถติดตามประกาศการเดินทางทางอากาศที่เกี่ยวกับ COVID-19 ได้ที่ www.caat.or.th/corona

โฆษณา

แนะแม่ตั้งครรภ์ ระวังยุงลายกัดแพร่เชื้อไวรัสซิกา

People Unity News : 20 สิงหาคม 2566 รองโฆษกรัฐบาล เผยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกาในไทย สัปดาห์ที่ 31/66 พบผู้ป่วยครบทุกภาค กรมควบคุมโรคแนะแม่ตั้งครรภ์ ระวังยุงลายกัดแพร่เชื้อไวรัสซิกา ทารกเสี่ยงพัฒนาการช้า

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรณีสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทย ในสัปดาห์ที่ 31 คือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 9 สิงหาคม 2566 พบผู้ป่วยสะสมจำนวน 172 ราย อัตราป่วย 0.26 ต่อประชากรแสนคน ไม่พบผู้เสียชีวิต พบผู้ป่วยครบทุกภาค กระจายใน 21 จังหวัด โดยพบอัตราป่วยสูงสุดในภาคกลาง รองลงมา คือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกรมควบคุมโรค ได้ออกคำเตือนในช่วงนี้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยยุงลาย เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ทำให้มีน้ำขังตามภาชนะต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ก่อให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งโรคติดเชื้อไวรัสซิกานี้ สามารถติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ เป็นโรคที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเฝ้าระวังและป้องกันตนเองอย่าให้ถูกยุงกัด เพราะหากแม่ติดเชื้อไวรัสซิกาแล้ว อาจส่งผลให้เด็กที่คลอดออกมามีความผิดปกติ

นางสาวรัชดา กล่าวถึงข้อมูลกรมควบคุมโรคระบุว่า โรคติดเชื้อไวรัสซิกา มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ทำให้ผู้ป่วยมีผื่นแดงตามลำตัวและแขนขา มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ตาแดง และสามารถติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คือ ทารกเกิดความพิการทางสมองและระบบประสาท ส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีความผิดปกติ เช่น ศีรษะเล็ก การได้ยินผิดปกติ และพัฒนาการช้า เป็นต้น โดยกรมควบคุมโรคแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ควรป้องกันตนเองอย่าให้ถูกยุงกัด ไปฝากครรภ์ตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์จนกว่าจะคลอด หากตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสซิกาต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยสูตินรีแพทย์

“นอกจากนี้ กรมควบคุมโรคย้ำขอให้ประชาชนทั่วไปช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณบ้านและในชุมชน โดยใช้มาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค คือ 1) เก็บบ้าน ให้สะอาดไม่ให้ยุงลายเข้ามาเกาะพัก 2) เก็บขยะ ภายในบริเวณบ้านและชุมชน ให้เรียบร้อยไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 3) เก็บน้ำ เก็บภาชนะกักเก็บน้ำให้มิดชิดเพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ รวมถึงการป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัดด้วยการทายากันยุง และนอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวดกันยุง เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และขอให้ประชาชนสังเกตอาการป่วยของคนในครอบครัว ไม่ควรซื้อยาลดไข้ในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ได้แก่ แอสไพริน และไอบูโพรเฟนมารับประทาน และให้รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์หรือสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องรวดเร็ว จะช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

Advertisement

แนะฉีดวัคซีนเด็กอายุ 12-18 ปีที่มีโรคประจําตัวเสี่ยงติดโควิดในจังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

People Unity News : แนะผู้ปกครองในจังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ที่มีเด็กอายุ 12-18 ปี มีโรคประจําตัวเสี่ยงอาการรุนแรงหากติดโรคโควิด-19 ให้รีบพาเด็กไปรับวัคซีน

17 ส.ค.64 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ยังคงมีแนวโน้มการติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น เฉพาะกลุ่มเด็กและวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี พบติดเชื้อรายใหม่ในสัปดาห์แรกเดือนสิงหาคม 7,787 คน และมีจำนวนการติดเชื้อรายใหม่ในสัปดาห์ที่ 2 เพิ่มขึ้นเป็น 8,733 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวกลุ่มวัยเรียนวัยรุ่น จึงเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ล่าสุดราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยมีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคโควิด-19 ในจังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด กลุ่มผู้ป่วยเด็กที่มีโรคประจําตัวที่มีความเสี่ยงของโรคโควิด-19 ที่รุนแรง ได้แก่ โรคอ้วน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเบาหวาน และกลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า แต่ยังไม่แนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กทั่วไปที่แข็งแรงดีจนกว่าจะมีวัคซีนที่มากขึ้น

จากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ประเทศไทยมีเด็กและวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี 5,196,248 คน พบติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ 1 เมษายน–14 สิงหาคม 2564 จำนวน 41,832 คน คิดเป็นร้อยละ 0.8 ในจำนวนนี้เสียชีวิต 8 คน ทั้งหมดเป็นกลุ่มเด็กป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น พิการทางสมอง มะเร็ง และหัวใจ เป็นต้น

พ่อแม่ ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กและวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี ที่เป็น 7 กลุ่มโรคเสี่ยง และมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย สามารถให้เด็กเข้ารับบริการฉีดวัคซีนตามที่ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยแนะนำได้ โดยสอบถามและประสานนัดหมายกับสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลที่ประกาศให้บริการ

Advertising

 

รบ.แจง มติ ครม.ให้หยุดพิเศษ 31 ก.ค. หากกระทบ ปชช. หน่วยราชการบางแห่งไม่หยุดได้

People Unity News : 26 กรกฎาคม 2566 รองโฆษกรัฐบาล ย้ำมติ ครม. 31 ก.ค. เป็นวันหยุดพิเศษราชการ หากกระทบประชาชน หัวหน้าส่วนราชการ พิจารณาไม่หยุดได้

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก 1 วัน ในปี 2566 ทำให้มีวันหยุดยาวต่อเนื่อง 6 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 นั้น

ปรากฏว่า มีการแชร์ข้อความที่เป็นมติคณะรัฐมนตรีไม่ครบถ้วน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องให้บริการประชาชนเกิดความกังวลว่าจะทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน นางสาวรัชดา กล่าวย้ำว่า ถึงแม้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกำหนดให้เป็นวันหยุดพิเศษ สำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจในการให้บริการประชาชน หรือมีความจำเป็นหรือราชการสำคัญ ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้น พิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร โดยไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและกระทบต่อการให้บริการประชาชน

สำหรับรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงแรงงานพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมของการกำหนดให้วันดังกล่าวข้างต้น เป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี

จึงเห็นได้ว่าการกำหนดให้เป็นวันหยุด ไม่ได้หมายความว่าทุกส่วนราชการต้องหยุดให้บริการประชาชน ในส่วนราชการไหนที่จำเป็นต้องให้บริการประชาชน หัวหน้าส่วนราชการจะเป็นผู้พิจารณาแนวทางปฎิบัติงาน

นางสาวรัชดา ย้ำว่าในการกำหนดวันหยุดราชการกรณีพิเศษเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นวันหยุดยาว และนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจในเรื่องการท่องเที่ยวทุกครั้ง คณะรัฐมนตรีจะมีการพิจารณาและประกาศล่วงหน้าเป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการพิจารณาวันหยุดพิเศษของทางราชการ สำหรับปีนี้ช่วง 6 เดือนแรกได้ประกาศไปเรียบร้อยแล้ว และเดิมทางคณะรัฐมนตรีตั้งใจว่าในช่วง 6 เดือนหลัง จะเป็นการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดใหม่ แต่ด้วย ณ ปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถมีการจัดตั้งรัฐบาลได้ คณะรัฐมนตรีชุดรักษาการจึงต้องหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาตามความเหมาะสม โดยได้พิจารณาอย่างรอบคอบและถึ่ถ้วนแล้ว

Advertisement

Verified by ExactMetrics