วันที่ 24 เมษายน 2024

รฟม.เผย รถไฟฟ้าสีชมพู แคราย-มีนบุรี โดยรวมคืบหน้า 98.03%

People Unity News : 10 กันยายน 2566 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 มีความก้าวหน้าเป็นไปตามแผนงาน โดยมีความก้าวหน้างานโยธา 96.71% งานระบบรถไฟฟ้า M&E 98.35% และความก้าวหน้าโดยรวม 98.03%

โดยในส่วนของงานโยธาของโครงการฯ ปัจจุบันผู้รับสัมปทานโครงการฯ อยู่ระหว่างการเก็บรายละเอียดของงานสถาปัตยกรรมและเตรียมความพร้อมของงานระบบไฟฟ้าในแต่ละสถานี เช่น การตกแต่งสถานี ห้องควบคุมระบบไฟฟ้า ห้องจำหน่ายตั๋ว ชั้นจำหน่ายตั๋ว เป็นต้น โดยในส่วนของสถานีแจ้งวัฒนะ14 (PK11) สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ (PK12) และสถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ (PK13) อยู่ระหว่างการดำเนินการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ก่อนเตรียมดำเนินการติดตั้งบันไดทางขึ้น-ลง โดย รฟม. ได้กำชับให้ผู้รับสัมปทานเร่งดำเนินงานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งเร่งรัดการคืนผิวจราจรบนถนนรามอินทรา ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนสีหบุรานุกิจ และถนนติวานนท์ ซึ่งเป็นแนวสายทางโครงการฯ เพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน

สำหรับด้านการเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดให้บริการโครงการฯ นั้น ปัจจุบันผู้รับสัมปทานโครงการฯ ยังอยู่ระหว่างการทดสอบเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ในช่วงแรก จากสถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ (PK12) ถึง สถานีมีนบุรี (PK30) ซึ่งการทดสอบดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งนี้ รฟม. ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาควบคุมโครงการฯ กำกับดูแลและติดตามผลการทดสอบเดินรถอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งรายงานปัญหา อุปสรรคต่างๆ ให้ รฟม. ทราบเป็นระยะ เพื่อนำมาพิจารณาความพร้อมและความเหมาะสมของแผนงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดและความสะดวกในการเข้าถึงบริการของประชาชนเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ เมื่อการดำเนินงานทั้ง 2 ส่วนข้างต้น ได้แก่ การทดสอบเดินรถเสมือนจริง และงานโยธาแล้วเสร็จ วิศวกรอิสระ (ICE) และ รฟม. จะดำเนินการตรวจสอบและประเมินความพร้อมในภาพรวมทั้งหมดของโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานมีความปลอดภัยตามมาตรฐานในระดับสากล และเมื่อผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานสากลแล้วนั้น รฟม. จึงจะพิจารณาให้ผู้รับสัมปทานเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ (Full Operation) เชิงพาณิชย์ได้ พร้อมทั้งแจ้งกำหนดการเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ และกำหนดการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการให้ประชาชนได้รับทราบต่อไป

ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ปัจจุบันมีความก้าวหน้างานโยธา 36.86% งานระบบรถไฟฟ้า M&E 19.12% และความก้าวหน้าโดยรวม 30.23% โดยตามแผนงานคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2568

Advertisement

เสนอชื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ

People unity news online :  เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2560 พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ครั้งที่ 2/2560 ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญของการประชุมดังนี้

ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการสรรหาผู้สูงอายุที่เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม มี นายบรรลุ ศิริพานิช เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์ในการสรรหา และพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และได้เสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบในการประกาศสดุดีเกียรติคุณยกย่องเป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2560 ซึ่งได้มีการคัดเลือกผู้สูงอายุที่เป็นแบบอย่างดีในสังคม เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา และได้มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ ให้เสนอชื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประยุทธ์ ปยุตโต (ป.อ. ปยุต.โต) เป็นผู้สูงอายุแห่งชาติประจำปี 2560

พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้รับทราบการจัดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ภายใต้แนวคิด “สูงวัย สูงคุณค่า ร่วมพัฒนาประเทศไทยสู่ประชารัฐ” ในวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2560  ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมกันผลักดัน ส่งเสริม และยกย่องเชิดชูผู้สูงอายุผู้มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม

People unity news online : post 30 มีนาคม 2560 เวลา 00.18 น.

“บิ๊กตู่” กำชับดูแลฝุ่นละออง PM 2.5 ประสานความร่วมมือประเทศเพื่อนบ้าน

People Unity News : พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำชับดูแลฝุ่นละออง PM 2.5 ประสานความร่วมมือประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมดูแลความปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่

เมื่อวานนี้ (17 ธ.ค.62) เวลา 13.00 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงแก่สื่อมวลชนถึงมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองว่า รัฐบาลดำเนินการทุกอย่างเต็มที่ โดยสั่งการให้ทุกกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งรัดการแก้ไขปัญหา วัสดุที่เหลือจากการเกษตรเช่น อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ ก็ให้นำมาทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าเกิดประโยชน์มากขึ้น หรือนำไปเป็นวัสดุเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานในโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กในชุมชน แทนการเผาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ใช้มาตรการและวิธีการใหม่ๆที่เหมาะสมในการดูแลจุดความร้อนหรือฮอตสปอตในพื้นที่ต่างๆ รวมไปถึงการขอความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีปัญหาเรื่องดังกล่าวเช่นกัน

สำหรับการใช้รถขนส่งสาธารณะ ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า รวมทั้งการก่อสร้างก็มีความก้าวหน้าโดยลำดับ หลายเส้นทางก็ได้มีการเปิดใช้แล้ว ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดการใช้รถส่วนตัวลงได้บ้าง เพื่อผลดีต่อการจราจร นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเข้าใจว่า บางกรณีก็มีความจำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวในการรับส่งลูกหลานไปโรงเรียน แต่ขอความร่วมมือในส่วนของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ หากไม่มีความจำเป็นมากนัก ก็ให้หันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะบ้าง เพราะที่ผ่านมารัฐบาลพยายามดูแลและส่งเสริมรถบริการสาธารณะให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น พร้อมๆไปกับการเร่งดำเนินการโครงสร้างพื้นฐาน ถนน เส้นทางต่างๆ ทั้งเส้นทางถนนปกติและทางด่วนพิเศษที่ต้องจ่ายเงิน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มได้เข้าถึงบริการและรับความสะดวกอย่างทั่วถึงตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

จากนั้น นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่บางพื้นที่ไม่มีน้ำทำนาปลังว่า จะต้องหาวิธีการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดให้เหมาะสมกับพื้นที่และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่ออุปโภคบริโภคของประชาชน โดยขอความร่วมมือประชาชนทุกคนใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะต้องลดปริมาณการใช้น้ำสำหรับการทำการเกษตรลงให้ได้มากที่สุด เพราะมีบางประเทศมีการใช้น้ำทำการเกษตรน้อยกว่าประเทศไทย ซึ่งได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาวิธีการและแนวทางดังกล่าวเพื่อนำมาปรับใช้กับประเทศไทย นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้เตรียมบริหารจัดการการให้ใช้น้ำบาดาลมากขึ้น เพื่อเตรียมรองรับแก้ไขปัญหากรณีน้ำอุปโภคบริโภคขาดแคลนน้ำที่และบรรเทาความเดือนร้อนให้กับประชาชน

ในช่วงท้ายของการแถลงข่าว นายกรัฐมนตรียังย้ำถึงมาตรดูแลความปลอดภัยประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมและออกมาตรการและสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งการกวดขันบังคับใช้กฎหมาย การอำนวยความสะดวก การจารจร อาชญากรรม ฯลฯ ส่วนการแก้ไขปัญหาภาคใต้ ขณะนี้ได้มีการเพิ่มมาตรการเชิงรุกมากขึ้น โดยดำเนินการเป็นไปตามกติกาสากล ในการปฏิบัติหน้าที่ก็ขอให้เจ้าหน้าที่รัฐระมัดระวังดูแลตนเองให้ดี รวมถึงการดูแลประชาชนให้ได้รับปลอดภัย พร้อมขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ด้วย

โฆษณา

รัฐบาลจัดให้! ลูกจ้างราชการ 1 ล้านคน เฮ! สิทธิกองทุนเงินทดแทนคุ้มครอง มีผล 9 ธ.ค.นี้

People unity news online : รมว.แรงงาน แถลง พ.ร.บ.กองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 2 พ.ศ.2561 ลูกจ้างส่วนราชการ 1 ล้านคนรับอานิสงส์ได้รับความคุ้มครอง เพิ่มค่าทดแทนเป็นร้อยละ 70 จากเดิมร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน หยุดงาน 1 วันได้รับค่าทดแทน ทุพพลภาพได้รับค่าทดแทนไม่น้อยกว่า 15 ปี เสียชีวิตได้รับค่าทำศพ 40,000 บาทเท่ากองทุนประกันสังคม และทายาทได้รับค่าทดแทนนาน 10 ปี พร้อมอำนวยความสะดวกนายจ้าง ลดเงินเพิ่มเหลือร้อยละ 2 และลดการจ่ายเงินเพิ่ม กรณีภัยพิบัติ มีผลบังคับใช้ 9 ธันวาคมนี้

วันนี้ (15 พฤศจิกายน 2561) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการแถลงข่าว เรื่อง พระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 2 พ.ศ.2561 ณ ห้องประชุม ชั้น 7 อาคารสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3 โดยกล่าวว่า กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานหลักในการเสริมสร้างความมั่นคง ให้ประชาชนของประเทศมีหลักประกันในชีวิต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม มีสำนักงานประกันสังคมเป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนดูแลสิทธิประโยชน์แรงงานในระบบจำนวนประมาณ 12 ล้านคน และแรงงานนอกระบบประมาณ 22 ล้านคน ซึ่งปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมมีกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน โดยกองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย เงินสมทบที่มาจากลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล เพื่อให้ความคุ้มครองกรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน ส่วนกองทุนเงินทดแทน เป็นเงินที่จ่ายในกรณีที่ประสบอันตรายในการทำงานให้กับนายจ้าง โดยนายจ้างเป็นผู้จ่ายเข้ากองทุนฯ 480 บาท/คน/ปี ให้ความคุ้มครองการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ค่าทำศพ จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย ตาย หรือสูญหาย

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวต่อว่า ในปีนี้กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้กำหนดให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.เงินทดแทน เหตุเพราะบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้าง กระทรวงแรงงานจึงได้เสนอแก้ไข พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ ปี พ.ศ.2561 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 ธันวาคม 2561 นี้ สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ดังกล่าวจะขยายความคุ้มครองแก่ลูกจ้าง อาทิ คุ้มครองลูกจ้างของส่วนราชการหรือองค์กรที่ไม่แสวงหากำไนทางเศรษฐกิจจำนวน 1 ล้านคน เพิ่มค่ารักษาพยาบาลจากเดิม 2 ล้านบาท จนถึงสิ้นสุดการรักษา เพิ่มค่าฟื้นฟูจากเดิม 24,000 บาท เป็น 40,000 บาท เพิ่มค่าทำศพ 33,000 บาทเป็น 40,000 บาท เพิ่มค่าทดแทนจากเดิม 60 % ของค่าจ้าง เป็น 70 % ของค่าจ้าง โดยจ่ายตั้งแต่จากเดิมหยุดงาน 3 วันเป็นตั้งแต่วันแรกที่เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพจากเดิม 15 ปีเป็นตลอดชีวิต และกรณีตาย จะจ่ายค่าทดแทนแก่ทายาทจากเดิม 8 ปีเป็น 10 ปี ส่วนประโยชน์ของนายจ้าง ปรับลดเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน จากเดิมร้อยละ 3 และเงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่าย ในกรณีที่ประสบภัยพิบัติ รัฐมนตรีมีอำนาจลดการจ่ายเงินเพิ่ม ตลอดจนเป็นการเพิ่มช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออำนวยความสะดวกในการยื่น – แจ้งเงินสมทบช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย

People unity news online : post 15 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.04 น.

นายกฯห่วงเด็กติดโทรศัพท์มือถือ แนะพ่อแม่-ครู-โรงเรียนควบคุมดูแล

People Unity : นายกรัฐมนตรีห่วงใยปัญหาเด็กติดโทรศัพท์ แนะพ่อแม่-ครูช่วยวางแผนการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม ป้องกันสมาธิสั้น ใช้อารมณ์รุนแรง

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงปัญหาเด็กไทยติดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งพบได้ตั้งแต่นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงวัยรุ่น โดยกว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีการสำรวจ หยิบโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งแรกหลังตื่นนอน และยังใช้โทรศัพท์เป็นกิจกรรมสุดท้ายก่อนเข้านอน ส่งผลให้เกิดอาการสมาธิสั้น การใช้สมองในส่วนความทรงจำลดลง และอารมณ์มีแนวโน้มรุนแรงฉุนเฉียวง่ายขึ้น

“พ่อแม่ผู้ปกครองมักจะระมัดระวังป้องกันอันตรายภายนอกบ้านไม่ให้เกิดขึ้นกับบุตรหลานของตน แต่อาจมองข้ามภัยจากโทรศัพท์มือถือที่คืบคลานเข้ามาถึงในบ้านแม้กระทั่งในห้องนอน ดังนั้น สิ่งที่ควรทำคือกำหนดเวลาให้เด็กเล่นโทรศัพท์ไม่เกินวันละ 1-2 ชม. พาเด็กออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านหรือใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น และหมั่นเอาใจใส่ดูแลสอดส่องพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด หากพบมีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์หรือนักจิตวิทยา”

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่าสัปดาห์นี้โรงเรียนจะเปิดเทอมแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองและครูจึงต้องตระหนักในเรื่องนี้และช่วยเด็กวางแผนการใช้ชีวิตทั้งเรื่องเรียนและการพัฒนาทักษะอื่นๆ โดยปัญหาเด็กติดโทรศัพท์นั้นมีให้เห็นจริงรอบตัวเรา และยังสะท้อนออกมาในรูปแบบของละครสอนใจ เช่น วัยแสบสาแหรกขาด ซึ่งทุกคนสามารถศึกษาเรียนรู้และใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี

สังคม : นายกฯห่วงเด็กติดโทรศัพท์มือถือ แนะพ่อแม่-ครู-โรงเรียนควบคุมดูแล

People Unity : post 16 พฤษภาคม 2562 เวลา 10.30 น.

ก.อุดมศึกษาฯลุยทำแผน”สมาร์ทฟาร์มเมอร์เครือข่ายม.ราชภัฏลำปาง-สสน.

People Unity : “องอาจ ปัญญาชาติรักษ์” ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาฯ ลุยทำแผน”สมาร์ทฟาร์มเมอร์เครือข่ายม.ราชภัฏลำปาง-สสน.

วันที่ 26 ต.ค.2562 นายองอาจ ปัญญาชาติรักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ประชุมทำแผนปฏิบัติการกับกลุ่มเครือข่ายมหาวิทยาลัยในจังหวัดลำปาง และสถาบันสารสนเทศและทรัพยากรน้ำ (สสน.) เพื่อพัฒนา “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นายองอาจ กล่าวว่า จากที่ รมว กระทรวง อว. มีนโยบายการพัฒนา “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” วันนี้ได้มีโอกาสขึ้นรูปแผนการพัฒนาเกษตรกรไปสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ทั้งในส่วนของพืชสัตว์เศรษฐกิจยุคปัจจุบัน และยุคใหม่ เช่น ไผ่ กัญชง ซึ่งนอกจากการขยายผลจากของเดิม ยังจะต้องมีแผนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร การรับรองคุณภาพ การวิจัยความรู้ก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว การศึกษาตลาดในรูปแบบต่างๆ การขนส่งผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการที่ครบทั้งห่วงโซ่และจะต้องเตรียมแผนการพัฒนาเกษตรกรต่อไป

“รมว. กระทรวง อว. ได้ตั้งงบประมาณสำหรับการพัฒนา Smart Farmer ไว้ 500 ล้านบาท ในปี 2563 ซึ่งแนวทางคือ ให้ทุกภาคส่วนของกระทรวงที่มีทั้ง สถานบันวิจัยต่างๆ เช่น สวทช วว วศ รวมผลังกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ พัฒนากลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย โดยตั้งเป้าอย่างเป็นรูปธรรมที่ 500 กลุ่มภายใน 6 เดือน และเพิ่มรายได้จากการพัฒนาการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า อย่างใน 20% รวมทั้งจะดึงเอาพลังและองค์ความรู้ของนักศึกษาลงไปช่วยแก้ไขปัญหาทางการ เกษตรในพื้นที่จริงอีกด้วย”

“กนกวรรณ”ตรวจสนามกีฬาร.ร.กีฬาอุบลฯ เตรียมแข่งกีฬา กศน.เกมส์ครั้งที่ 5

People Unity News : “กนกวรรณ” เสมา 3 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความพร้อมของสนามกีฬาโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลฯ เพื่อเตรียมการในการแข่งขันกีฬา กศน.เกมส์ ครั้งที่ 5 ปลื้ม กศน.อุบลเดินหน้าจัดการศึกษาเพื่อผู้ด้อยโอกาสได้ตามเป้า

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2562 ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมคณะทำงาน รมช. และ นายธฤติ ประสานสอน ผอ.กศน.จังหวัดอุบลราชธานี ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบความพร้อมของสนาม ณ โรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬา กศน. ทั่วประเทศ ครั้งที่ 5 ใน “กศน.เกมส์” ระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2563

สำหรับกิจกรรมมีการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่  กรีฑาฟุตบอล, วอลเลย์บอล,ตะกร้อ, เปตองผสม และกอล์ฟ ซึ่งการจัดการแข่งขันกีฬาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ นักศึกษา กศน. ผู้บริหารหน่วยงาน/สถานศึกษา ครู กศน. บุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ และข้าราชการพลเรือน ในสังกัดสำนักงาน กศน.ได้เล่นกีฬาและออกกำลังกายอย่างถูกวิธี และเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างนักศึกษา กศน. ผู้บริหารหน่วยงาน/สถานศึกษา ครู กศน. บุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ และข้าราชการพลเรือน ในสังกัดสำนักงาน กศน.

ปลื้ม กศน.อุบลเดินหน้าจัดการศึกษาเพื่อผู้ด้อยโอกาสได้ตามเป้า

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 23 ดร.กนกวรรณ พร้อมด้วย นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะเดินทางไปตรวจเยี่ยมกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มเด็กเร่ร่อนที่ชุมชนท่าบ้งมั่ง เทศบาลเมืองวารินชำราบ โดย กศน. อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งในวันนี้ รมช.ศธ.ได้ให้กำลังใจครู กศน.และสอบถาม พูดคุยถึงสภาพปัญหาพร้อมมอบสื่อการเรียน การสอน ผ้าห่มแก่กลุ่มเด็กเร่ร่อนที่มาเรียนในวันนี้จำนวน 20 คน ด้วยความห่วงใย

รมช.ศธ.ได้เปิดเผยว่า ตนมีความตั้งใจในการลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย ที่เคยมอบให้ผอ.กศน.จังหวัดอุบลราชธานีไปขับเคลื่อนตั้งแต่คราวลงพื้นที่เมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีและขอบคุณ กศน.จังหวัดอุบลราชธานีที่ได้นำข้อสั่งการ และนโยบายจัดการศึกษาเพื่อผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเร่ร่อนและผู้พิการ ไปขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองอุบลราชธานี  (กศน.อำเภอเมืองอุบลราชธานี) ได้จัดการศึกษานอกระบบสำหรับ เด็กด้อยโอกาส มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน มีบุคลากรครูที่รับผิดชอบ จำนวน 4 คน กลุ่มเป้าหมาย ทั้งสิ้น จำนวน 101 คน  กระจายอยู่ในพื้นที่ชุมชนแออัดของอำเภอเมืองอุบลราชธานีและอำเภอวารินชำราบ จำนวน 11 ชุมชน  เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมของชุมชนเมือง ที่มีความเหลื่อมล้ำของผู้คนที่มาจากต่างถิ่น เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่  ซึ่งกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเป็นผู้ด้อยโอกาส  เนื่องจากเข้าไม่ถึงการบริการ  สวัสดิการต่างๆของภาครัฐ ด้วยองค์ประกอบหลายด้าน

“จึงต้องการความช่วยเหลือ การพัฒนา เพื่อสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ  ไม่สร้างความเดือดร้อนหรือเป็นภาระของสังคม  โดยที่นี่มีการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับเด็กด้อยโอกาส ตามกรอบนโยบาย  และภารกิจของสถานศึกษา ประกอบด้วย การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการประสานการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น เทศบาลนครอุบล เทศบาลเมืองวารินชำราบ   โรงเรียนพุทธเมตตา(วัดไชยมงคล)  สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) นับว่าเป็นผลความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติของพื้นที่เป้าหมายได้อย่างดีระดับหนึ่ง” ดร.กนกวรรณ กล่าว

จากนั้น รมช.ศธ.พร้อมคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับผู้สูงอายุ ณ โรงเรียนผู้สูงอายุ กศน.อำเภอเดชอุดม จ.อุบลราชธานี โรงเรียนผู้สูงอายุ กศน.อำเภอเดชอุดม เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2561 โดยเป็นสถานศึกษาที่เกิดจากการลงนามความร่วมมือในการจัดการศึกษา ระหว่าง เทศบาลตำบลเมืองเดช และ กศน.อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีวัตถุประสงค์มุ่งพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้สูงอายุภายใต้แนวคิด “การศึกษานอกโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต” โดยมีผู้สูงอายุในพื้นที่เขต อบต.เมืองเดช ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันทุกวันอังคารของสัปดาห์ เน้นการพัฒนาผู้สูงอายุด้วยการเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิต การเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเรียนเพื่อพัฒนาสุขภาพชีวิต ผ่านการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบที่ผู้สูงอายุจะได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน เกิดทักษะด้านการดูแลตัวเอง และพึ่งพาตัวเองได้ในระดับพื้นฐาน ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายสุขภาพใจที่ดีขึ้น มีสังคม เพื่อน ฝูง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดประโยชน์แก่ตัวผู้เรียนรวมถึงการพัฒนาความสามารถทางกาย จิต สังคม ปัญญา และ เศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิต และเห็นคุณค่าในตนเองยิ่งขึ้น

ดร.กนกวรรณ ได้กล่าวขอบคุณ ทุกฝ่ายที่จัดกิจกรรม เพื่อผู้สูงอายุ ซึ่งในอนาคตผู้สูงอายุจะมีศักย ภาพมากขึ้น จึงขอให้ผู้สูงอายุอย่าอายที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ประสบการณ์แก่กัน และเน้นย้ำให้สอดแทรกและปลูกฝังความสำคัญ ความเข้าใจที่ถูกต้องของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมไปในกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย

ดร.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ เลขาธิการ กศน. เปิดเผยว่า ขณะนี้ กศน.ได้ตั้งคณะทำงานและประชุมร่างแผนพัฒนาการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาส(เร่ร่อน)​และผู้พิการ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายในการปฎิบัติของพื้นที่ให้บรรลุเป้าหมายครอบคลุมทุกมิติต่อไป

นายธฤติ ประสานสอน ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงาน กศน.จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการโดยมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุครอบคลุมทั้ง 25 อำเภอ ซึ่งมีการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน จัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบองค์รวม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณค่าในสังคมต่อไป

4 แม่เฒ่าที่ถูกเจ้าหนี้ยึดบ้าน ได้บ้านใหม่แล้ว ผอ.ธนาคารออมสินมอบบ้านมูลค่า 1.4 ล้านบาทให้

People Unity News : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทำบุญบ้านใหม่ 4 แม่เฒ่า แจงไม่ได้ใช้เงินบริจาค แต่มูลนิธิออมสินมอบให้ เผยนายกรัฐตรีห่วงย้ำให้ทำให้เรียบร้อย ยัน “นิตยา” ไม่ใช่หัวคะแนน ถูกการเมืองป้ายสี สั่งกรมบังคับคดีปรับการทำงานยึดเอื้ออาทรเป็นหลัก

ที่บ้านเลขที่ 20/3 หมู่ที่ 6 ตำบลปากน้ำ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีมอบบ้านเดี่ยว 1 หลังให้แก่ 4 แม่เฒ่า และทำบุญบ้านใหม่ โดยมี นายวิรุฬ พรรณเทวี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ นายชูศักดิ์ คีรีมาศทอง ส.ส.สุโขทัย พรรคพลังประชารัฐ ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม นายอำเภอศรีสำโรง เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสิน ผู้นำท้องถิ่น ร่วมงาน

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า วันนี้ความสำเร็จการแก้ปัญหา ต้องขอบคุณธนาคารออมสินที่เป็นที่พึ่ง เป็นธนาคารเพื่อสังคมแก้ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และดูแลความเป็นอยู่ที่ดี ปัญหาของเรื่องนี้เริ่มต้นที่ส่วนที่เกี่ยวข้องได้ประสานงานมาทางตน และตนประสานผ่าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และท่านได้ส่งข่าวไปยัง นายวิทัย รัตนากร ผอ.ธนาคารออมสินและมูลนิธิออมสินเพื่อสังคม ซึ่งได้เห็นความเดือดร้อนของ 4 แม่เฒ่า จึงได้มอบบ้านให้ดำรงชีพมูลค่า 1,400,000 บาท โดยไม่ต้องจ่ายเงินซื้อ โดยมอบผ่านมูลนิธิฯ ซึ่งหลายท่านสงสัยเรื่องเงินบริจาคของประชาชนในขณะนี้ ยอดรวมเงินบริจาคประมาณ 2,100,000 บาท รวมทั้งบ้านและเงินบริจาคมูลค่า 3,500,000 บาท เราไม่ได้เอาเงินบริจาคมาซื้อบ้าน ยังอยู่เต็มๆ แต่บ้านนี้เป็นมูลนิธิออมสินที่รับผิดชอบทั้งหมด ส่วนบ้านหลังเดิม ใครมีสติปัญญาทางกฎหมายจะช่วยแม่เฒ่าอย่างไร เราเปิดโอกาสให้ช่วยได้เต็มที่ แต่ตนคงไม่ไปยุ่งเกี่ยวแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พิธีในวันนี้ มีนางโปรย อนุเคราะห์ และนางตะล่อม ทิมแย้ม เป็นตัวแทน 4 แม่เฒ่ามาร่วมพิธีรับมอบ ส่วนน.ส.ศรีนวล ทิมแย้ม และน.ส.แฉล้ม ทิมแย้ม มีอาการป่วยต้องไปพบแพทย์และจะเข้ามาที่บ้านในช่วงเย็น ทั้งนี้นายสมศักดิ์ ได้มอบพระพุทธรูปเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านใหม่ด้วย ซึ่งงานในวันนี้ก็ยังมีภาครัฐและภาคเอกชนได้เข้ามอบเงินช่วยเหลือ 4 แม่เฒ่าอีกกว่า 3 แสนบาท ซึ่งยังคงมีการเปิดรับเรื่อยๆ

หลังเสร็จพิธี นายสมศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ท่านนายกรัฐมนตรีเป็นห่วงในเรื่องนี้ และได้กำชับส่งข้อความมาหาตนเมื่อคืนให้ทำให้เสร็จ ซึ่งตนได้ชี้แจงรายละเอียดและรายงานผลเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในส่วนของเงินบริจาคจะเก็บไว้ให้คุณยายทั้ง 4 คนใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยจ่ายเดือนละ 1,600 รวมกับเบี้ยผู้สูงอายุ 800  บาท รวมเป็นเงิน 2,400  บาทต่อเดือน เฉลี่ยจะได้ประมาณ 30 ปี โดยจะมีคณะกรรมการคอยดูแล เบิกจ่ายจากบัญชีสงเคราะห์ ในส่วนของการบังคับคดี ตนก็มีข้อติดใจอยู่ อาจจะมีเรื่องของการเอื้ออาทร ซึ่งคงจะมีการปรับการทำงานของกรมบังคับคดี ให้เพิ่มเรื่องการเอื้ออาทรให้เหมือนกับธนาคารออมสิน มีความเป็นมนุษยธรรมมากขึ้น เรื่องนี้ต้องดำเนินการ และได้ร่างแนวทางไว้แล้ว สัปดาห์หน้าจะได้แจ้งให้ทุกหน่วยงานของกระทรวงในแต่ละจังหวัดประชุมกัน นอกจากนี้ตนขอประชาสัมพันธ์การทำงานของกองทุนยุติธรรม ซึ่งมีเงินช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญา และจำเลยที่สามารถช่วยด้านการประกันตัว

“มีคนครหาบอกว่านางนิตยา จิวตระกูล โจทย์ผู้ฟ้อง 4 แม่เฒ่า เป็นหัวคะแนนและสนิทกับผม ขอยืนยันไม่เป็นความจริง การให้ข้อมูลลักษณะนี้เป็นเกมการเมือง เป็นการพยายามให้ร้ายป้ายสีผม พฤติกรรมเช่นนี้เป็นการกระทำที่เลวจริงๆ ตนไม่ได้สนิทสนมและไม่เคยพบกับนางนิตยา 20 กว่าปีแล้ว ซึ่งเมื่อวานตนรู้สึกโกรธมากที่ไปหาที่บ้านแต่ไม่เปิดบ้านให้พบ ดังนั้นข้อครหาไม่เป็นความจริง” นายสมศักดิ์ กล่าว

Advertising

สสส. ยก”ตำบลชมภูโมเดล” ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ด้วย”สุนทรียสนทนา”

People Unity News : สสส. ยก”ตำบลชมภูโมเดล” ต้นแบบพื้นที่บูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สร้างงาน-รายได้ ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ผลิตนักสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการในชุมชน ขยายผลสู่ 5 จังหวัดภาคเหนือ พร้อมเดินหน้านำร่อง “ธนาคารเวลา”  

วันที่ 15 พ.ย. 2562 ที่ศูนย์บริการคนพิการตำบลชมภู ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ นายพิทยา จินาวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการกำกับทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คณะกรรมการกำกับทิศทางการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ และคณะกรรมการกำกับทิศทางการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาบริการสาธารณะตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้สุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ “การสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ คนพิการ และการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน” ภายใต้โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น ชุมชน และคนพิการ โครงการพัฒนากลไกสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับคนพิการที่มีงานทำและมีอาชีพ  โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ: บูรณาการและยกระดับกลไกขับเคลื่อนการเข้าถึงโอกาสงานและอาชีพของคนพิการให้ดำเนินการได้อย่างยั่งยืน และ  โครงการประเมินความเป็นไปได้และถอดบทเรียนการดำเนินงานธนาคารเวลาในระดับชุมชน

ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลการประมาณการผู้พิการในภาพรวมทั้งประเทศปี 2562 พบว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้พิการประมาณ 2 ล้านคน หรือร้อยละ 3.01 โดย 3 อันดับแรกเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย รองลงมาคือคนพิการทางการได้ยิน และคนพิการทางการมองเห็น ซึ่งสสส.โดยแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะทำงานครอบคลุม 4 มิติ คือ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ, ด้านเศรษฐกิจ, ด้านสังคมและการเรียนรู้ และด้านสภาพแวดล้อม เพื่อให้คนพิการทุกคนมีศักยภาพและสามารถทำงานหรืออยู่ร่วมกันกับคนปกติได้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน

ทพ.ศิริเกียรติ กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตำบลชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ สสส.ได้ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ผ่านการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการต่างๆของสสส. อาทิ  “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ: บูรณาการและยกระดับกลไกขับเคลื่อนการเข้าถึงโอกาสงานและอาชีพของคนพิการให้ดำเนินการได้อย่างยั่งยืน” เพื่อส่งเสริมและยกระดับให้คนพิการที่ได้รับการจ้างงานและการประกอบอาชีพ มีศักยภาพ มีสุขภาวะ สามารถใช้ชีวิตอย่างอิสระและพึ่งพาตนเองได้ โดยระหว่างปี 2561-2562 มีการจ้างงานและสนับสนุนอาชีพคนพิการต่อเนื่อง กว่า 4,000 อัตรา นอกจากนี้มีการพัฒนาศักยภาพคนพิการ รวมถึงผลิตนักสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการในชุมชน (นสส) ภายใต้โครงการพัฒนากลไกสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับคนพิการที่มีงานทำและมีอาชีพ และเน้นกระบวนการทำงานสร้างเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชนผ่านโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น ชุมชน และคนพิการ เพื่อให้การทำงานด้านการฟื้นฟู และพัฒนาศักยภาพของคนพิการ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จนเป็นต้นแบบ ขยายผลไปสู่พื้นที่ ในภาคเหนือ 5  จังหวัด ได้แก่เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย และแม่ฮ่องสอน จำนวน  17  พื้นที่

นายอนันต์ แสงบุญ ผู้ใหญ่บ้าน ม.4 ตำบลชมภู จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ตำบลชมภูมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,676 ไร่มีประชากรทั้งหมด 7,215 คน เป็นคนพิการ 291 คนหรือร้อยละ 4 คนพิการส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุจำนวน 164 คน (ร้อยละ 56.4) รองลงมาอยู่ในวัยแรงงาน วัยรุ่น และวัยเด็กคิดเป็น ร้อยละ 38.8 ,2.7 และ2.1 ตามลำดับส่วนใหญ่เป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวคิดเป็นร้อยละ 71.1 ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตำบลชมภูนั้น เดิมติดรูปแบบสังคมสงเคราะห์ คือตั้งรับงบประมาณและสิ่งของบริจาค ขาดการเสริมสร้างศักยภาพคนพิการที่ครบองค์รวมกาย จิต ปัญญา สังคม(สุขภาวะ) ขาดการรวมกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ ขาดข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการและบริบทต่างๆรอบด้าน ในเรื่องสิทธิการจ้างงาน

ภายหลังได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดทำความเข้าใจเรื่องคนพิการโดยผ่านการทำกิจกรรมที่เรียกว่า “สุนทรียสนทนา” และการจำลองความพิการ ทำให้เครือข่ายได้ปรับมุมมองที่มีต่อคนพิการและปรับรูปแบบการทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เปลี่ยนจากการมองคนพิการเป็นเพียงผู้รับ กลายเป็นการสนับสนุนให้คนพิการมีความเข้มแข็งและมีความมั่นใจในตนเองจนสามารถลุกขึ้นมาทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆในชุมชน สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับคนพิการ จนสามารถรวมกลุ่มกันตั้งเป็นศูนย์บริการคนพิการ ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่และกำลังเข้าสู่การจดทะเบียนเป็นศูนย์บริการคนพิการทั่วไปของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)

นอกจากนี้ ศูนย์บริการคนพิการยังได้ดำเนินการด้านอีกอื่นๆได้แก่ ธนาคารเวลา เป็นหน่วยจัดการร่วม สสส.ระดับพื้นที่(Node)เพื่อขยายงาน CBR ในพื้นที่อื่นๆต่อไป และร่วมกับโครงการอื่นๆของสสส.ในการพัฒนานักสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการ(นสส.)และร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการดำเนินงานปรับสภาพบ้านคนพิการและผู้สูงอายุอีกด้วย

นางมัลลิกา ตะติยาพรพันธ์ ผู้อำนวยการ รพ.สต. ต.บ้านพญาชมพู กล่าวว่า ตำบลชมภูมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยใช้กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน CBID (Community-based Inclusive Development) พัฒนาด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา การเลี้ยงชีพ  ด้านสังคมและการเสริมพลังไปพร้อมๆกันในคนพิการและครอบครัวคนพิการ มีการพัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมโดยเฉพาะความรอบรู้ที่เป็นปัจจัยกำหนดความเข้าใจด้านสุขภาพ โดยมีเครือข่ายของนักสร้างเสริมสุขภาวะในชุมชน(นสส.) เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชน มุ่งเน้นเป้าหมาย “ป้องกันความพิการ” ใช้วิธีมองปัญหาแบบรอบด้านและส่งเสริมป้องกันความพิการในผู้ที่มีความเสี่ยง ทั้งกลุ่มแม่และเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยความดัน

สธ.เดินหน้าจัดตั้ง”สถาบันกัญชาทางการแพทย์”ทำหน้าที่วิจัย

People Unity : สธ.เดินหน้าจัดตั้ง “สถาบันกัญชาทางการแพทย์” ทำหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม วิจัย พัฒนา การใช้กัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาล

วันที่ 28 ต.ค.2562 ที่สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธเนศ ดุสิตสุนทรกุล ว่าที่ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ ได้เปิดเผยว่า หลังจากสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดระดมความคิดวางแผนจัดตั้ง “สถาบันกัญชาทางการแพทย์” ขึ้น เพื่อความยั่งยืนกัญชาทางการแพทย์ไว้ในกระทรวงสาธารณสุข การจัดตั้ง สถาบันกัญชาทางการแพทย์ ทำหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม วิจัย พัฒนา การใช้กัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้กัญชามากขึ้น เพราะปัจจุบันกัญชาได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนเป็นจำนวนมากและสนใจปลูก แต่ไม่เข้าใจข้อกฎหมาย รวมไปถึงการขออนุญาติในการปลูก

ที่สำคัญที่สุดยังมีประชาชนไม่เข้าใจข้อกฏหมายพากันปลูกและถูกเจ้าหน้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปจับกุม ประชาชนบางส่วนบางกลุ่มที่ยังไม่ขึ้นมามาบนดินยังแอบปลูกกัญชา ปัญหาเหล่านี้สำนักปลัดกระทรวงเป็นห่วงพี่น้องประชาชน โดยนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีคำสั่งถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ทำงานเร่งด่วนเพราะท่านห่วงพี่น้องประชาชนได้ใช้กัญชาอย่างถูกต้อง

วันนี้จึงได้มีการประชุมครั้งแรก เพื่อตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนให้พี่น้องประชาชนเข้าใจเรื่องของกัญชา มีองค์ความรู้เรื่องกัญชา ที่มีหลายหน่วยงานเข้ามาเป็นกรรมการและองค์กรภาคเอกชนมาระดมความคิด เพื่อก่อตั้งสถาบันกัญชาทางการแพทย์ โดยมีนายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและเป็น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย ม.รังสิต นายสุกษม อามระดิษ เลขานุการสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย และตัวแทนจากสภาเกษตรกรแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ซึ่งการระดมคนทำงานเพื่อให้เกิดสถาบันกัญชาทางการแพทย์ ทางคณะทำงานต้องการให้ประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว เพราะพี่น้องประชาชนรอเรื่องนี้อยู่

Verified by ExactMetrics